7. จอมคนของหวงอี้ (ต่อ)
เห็นบ้านเมืองเป็นแบบนี้แล้ว ก็อดปวดร้าวใจไม่ได้ และทำให้นึกถึงคำพังเพยของจีนวลีหนึ่งที่กล่าวว่า “เฮิ่นแถว่ปู้เฉิงกัง” แปลเป็นภาษาไทยว่า แค้นที่หลอมเหล็กมิกลายเป็นเหล็กกล้า ซึ่งต้องการสื่อความหมายว่า รู้สึกคับแค้นใจที่บ้านเมืองไม่รุ่งเรืองกว่านี้ และผู้คนไม่ดีงามกว่านี้
พวกเราจะทำอะไรได้อีก นอกจากแปรความคับแค้นนี้ให้กลายเป็นพลัง และรอเวลาที่จะลุกขึ้นมาโรมรันกับความชั่วร้ายอีกครั้งให้ถึงที่สุด ในระหว่างนี้การได้อ่าน “มังกรคู่สู้สิบทิศ” ของหวงอี้อีกครั้ง กลับให้พลังและกำลังใจแก่เหล่าผู้กล้าได้อย่างดียิ่ง
โค่วจง และ ฉีจื่อหลิง ผู้เป็นตัวเอกของมหากาพย์กำลังภายในเรื่อง “มังกรคู่สู้สิบทิศ” แม้มีชาติกำเนิดที่ยากไร้ แต่ทั้งคู่กลับสามารถถีบตัวขึ้นมาโดดเด่นเป็นยอดฝีมือ และจอมคนในวงการยุทธจักร อีกทั้งยังมีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ได้ก็เพราะทั้งคู่ประสบความสำเร็จอย่างบังเอิญดุจสวรรค์ประทานให้ในการฝึก เคล็ดวิชาอมตะ ในตำราเต๋าโบราณที่แต่งโดย กว่างเฉิงจื่อ ผู้เป็นอาจารย์ของจักรพรรดิหวงตี้ยุคบรรพกาล ตำราวิเศษเล่มนี้ หวงอี้บรรยายว่าเขียนด้วยอักษรโบราณจารึกบนกระดองเต่า ตำราทั้งเล่มมีตัวหนังสือเจ็ดพันสี่ร้อยตัว แต่แปลถอดความเป็นภาษาปัจจุบันได้สามพันกว่าตัว ภายในเล่มมีคำอรรถาธิบายของผู้ที่เคยศึกษาตำราเล่มนี้ เขียนกำกับไว้อย่างละเอียดถี่ยิบ แต่เนื่องจากเขียนด้วยเนื้อหาที่ลึกล้ำยากแก่ความเข้าใจ จึงสร้างความงุนงงสงสัยแก่ผู้คนยิ่งกว่าต้นฉบับเดิมเสียอีก
ยังดีที่ภายในเล่มมีภาพวาดรูปมนุษย์รวมเจ็ดภาพ อยู่ในอิริยาบถที่ผิดแผกแตกต่าง ทั้งยังจัดทำเครื่องหมายชี้นำลักษณะต่างๆ เช่นจุดสีแดง และหัวธนู ดูเหมือนเป็นการบรรยายวิธีการฝึกวิชาแขนงใดแขนงหนึ่ง แต่ครั้นพอมีคนทดลองหัดตามที่เขียนไว้ในตำรานี้กลับเกิดอาการเลือดลมปั่นป่วน ธาตุไฟเข้าแทรกร่าง เท่าที่ผ่านมาจึงไม่มีใครหัดเคล็ดวิชาอมตะนี้ได้สำเร็จ
จึงไม่น่าแปลกใจที่มีผู้คนจำนวนไม่น้อยใจปัจจุบันมองว่า เคล็ดวิชาอมตะ ในตำราเต๋าโบราณเล่มนี้ เป็น “วิชาลวงโลก” ของสำนักพรตแห่งลัทธิเต๋า เนื่องจาก โค่วจง กับ ฉีจื่อหลิง ไม่มีพื้นฐานการฝึกวิชาฝีมือ และกำลังภายในมาก่อน ชอนกุนบี ผู้เป็นมารดาบุญธรรม จึงสอน วิชานั่งกรรมฐาน ให้แก่ทั้งคู่ดังนี้
“อิทธิเดชสรรพเปลี่ยนแปลง เพียบพร้อมสมบูรณ์อยู่ในตัวเอง พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง มันดำรงอย่างสมบูรณ์พร้อมอยู่แล้วเสมอ มนุษย์แต่ละคนล้วนมีคลังวิเศษอันลึกล้ำ และพลังซ่อนเร้นที่แฝงอยู่อย่างไร้ขอบเขตจำกัด เพียงแต่ผู้คนส่วนใหญ่ถูกความยึดติด ยึดมั่นถือมั่นนานัปการซ่อนบดบังปิดกั้นเอาไว้...”
“การฝึกวิชากำลังภายใน จำเป็นต้องรวมจิตให้เป็นหนึ่งเดียวจึงจะสามารถละวางความยึดติดในตัวตนจนขานไข ความลับแห่งฟ้า ได้ อีกทั้งความรู้และความเข้าใจที่เป็นปัญญาญาณทั้งปวงก็จะประเดประดังมาสู่ผู้นั้นเอง...”
“ก่อนฝึกลมปราณ ควรบ่มนิสัย ให้ขจัดจิตฟุ้งซ่านทั้งมวล จากนั้นนั่งขัดสมาธิให้มั่น หันเท้าซ้ายออกนอก พับเท้าขวาหาด้านในในลักษณะโอบธาตุหยินเพื่อหยาง ส่วนสองมือ นิ้วหัวแม่มือซ้ายแตะนิ้วกลาง นิ้วหัวแม่มือขวาซุกเข้ามือซ้าย มือขวาหันออกนอกในลักษณะโอบธาตุหยางเพื่อหยิน”
จะว่าไปแล้ว เคล็ดวิชานั่งกรรมฐานที่ชอนกุนบีถ่ายทอดให้แก่เด็กหนุ่มทั้งคู่ ก็เป็นแนวทางเดียวกับเคล็ดวิชาอมตะนั่นเอง ต่อมาชอนกุนบีเสียชีวิตอย่างกะทันหัน เด็กหนุ่มทั้งสองก็ถูกทางการตามล่าต้องหลบซ่อนตัวอยู่ในหุบเขา ไม่มีอะไรทำ จึงเริ่มฝึกลมปราณจากตำราเคล็ดวิชาอมตะ โดยฝึกตามรูปภาพที่เขียนไว้ในนั้นโดยไม่ได้อ่านข้อความอักษรโบราณที่เขียนไว้ในนั้น พูดง่ายๆ ก็คือ ฝึกมั่วๆ ไปโดยไม่คิดมาก เพียงแต่ต้องการจดจ่อกับการฝึกปรือ จะได้ลดทอนความปวดร้าวจากการเสียชีวิตของชอนกุนบีลงไปบ้าง
แต่แล้วเรื่องพิสดารก็พลันอุบัติขึ้น เด็กหนุ่มทั้งสองกลับสามารถเปิดไข ประตูแห่งลมปราณ ได้โดยบังเอิญ พวกเขารู้สึกว่าฟ้าดินกระจ่างแจ่มชัด มิเพียงมีสีสันสวยงาม ไม่ว่าแผ่นฟ้า แผ่นดิน ต้นไม้ใบหญ้า ก้อนหิน คล้ายมีชีวิตเกี่ยวพันกับพวกเขาราวกับว่าตัวเองกลายเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
ความสำเร็จทางด้านลมปราณของผู้ที่สามารถเปิดไขประตูแห่งลมปราณ หรือประตูแห่งวิชากำลังภายในเข้าไปได้ก็คือ จะทำให้ คนผู้นั้นมองโลกด้วยสายตาที่เปลี่ยนไปจากเดิม โลกใบนี้คล้ายเปลี่ยนไปเป็นหมดจดสดใสขึ้นมา
ต่อมาทั้งโค่วจง และฉีจื่อหลิงก็ฝึกลมปราณสำเร็จถึงขอบเขตพลังลมปราณหมุนเวียนภายในร่างกายไม่ขาดตอนในแนวทางพรตของลัทธิเต๋า ซึ่งเป็นพื้นฐานของพลังลมปราณขั้นสูง ซึ่งมีผู้ที่สามารถฝึกลมปราณในระดับนี้ได้เพียงไม่กี่คนเท่านั้น แม้จะมีผู้บำเพ็ญภาวนาตามแนวทางนี้มากมายสุดคณานับก็ตาม
ที่กล่าวมาข้างต้น แม้จะเป็นแค่นิยายกำลังภายในที่เกิดจากจินตนาการของหวงอี้ก็จริง แต่มันกลับมี ความจริงของแนวทางพรตของลัทธิเต๋า ดำรงอยู่อย่างไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะ ความจริงของลมปราณ (ชี่) ที่เป็นคลังวิเศษอันลึกล้ำที่ดำรงอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน
ถ้าหากคนเราต้องการแสวงหา “ความเป็นที่สุด” หรือ “ความสุดยอด” แห่งตัวตนของตนแล้ว คนเราจักมิได้รับความพอใจอย่างถึงที่สุดได้หรอก ถ้าหากการแสวงหาความเป็นที่สุดนั้นอยู่ที่ภายนอกตน หรือจบอยู่แค่ภายนอกตน จะมีก็แต่การแสวงหาความเป็นที่สุดแห่งตนจากภายในตนเท่านั้น คนเราถึงจะได้รับความพอใจอย่างสูงสุดโดยแท้จริงได้
ชี่ หรือ ปราณ คือลมหายใจของจักรวาฬ และเป็นตัวตนอันเป็นแก่นแท้ของมนุษย์ หากปราศจาก ปราณ แล้ว คนเราจะเป็นเพียงกองเลือดเนื้อและกระดูกเท่านั้น ร่างกายของคนเรานั้นมีความเปลี่ยนแปลงเป็นอนิจจังอยู่ตลอดเวลา แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงก็คือ ปราณ ไม่ว่าร่างกายของเราจะคงอยู่หรือแตกดับ หรือประชุมรวมธาตุขึ้นมาเป็นอีกชีวิตหนึ่ง ปราณ ก็ยังคงดำรงอยู่เช่นนั้นเสมอ
การแสวงหา ความเป็นอมตะ (immortality) ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของแนวทางพรตแบบลัทธิเต๋านั้น จึงมีความเป็นไปได้ก็เพราะ ปราณ มี ความเป็นอมตะ นั่นเอง เพียงแต่ ความเป็นอมตะ ที่ว่านี้มิอาจบรรลุได้ที่ กายเนื้อ แต่สามารถบรรลุได้ที่ จิตวิญญาณ เท่านั้น ส่วน กายเนื้อ นั้น สามารถบรรลุได้แค่ ความมีอายุวัฒนะ (longevity)หรือ อายุยืน เท่านั้น
การฝึกวิชาลมปราณที่ถูกต้องตามแนวทางพรตแบบเต๋า จักต้องเป็น การบำเพ็ญ ที่มุ่งบรรลุ ความมีอายุวัฒนะ กับ ความเป็นอมตะ ไปพร้อมๆ กัน การมุ่งฝึกลมปราณโดยมุ่งเน้นเฉพาะสุขภาพกาย และความมีอายุวัฒนะอย่างเดียวโดยละเลยหรือไม่เอาใจใส่ในเรื่องความเป็นอมตะของจิต จึงไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องสมบูรณ์ เพราะสองสิ่งนี้ในสายตาของลัทธิเต๋าแนวทางพรตเป็นสิ่งที่จะต้องฝึกฝน บ่มเพาะ บำเพ็ญควบคู่กันไปอย่างมีสมดุลเสมอ จึงจะเป็นแนวทางการบำเพ็ญที่ถูกต้องแท้จริงตามหลักการของลัทธิเต๋าแนวทางพรตที่มีมาหลายพันปีแล้ว
วิชาลมปราณ เป็นศาสตร์และศิลปะแห่งการพัฒนาศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ทั้งทางกายและทางจิตของแนวทางพรตแบบเต๋าที่เป็นภูมิปัญญาโบราณที่มีลักษณะบูรณาการที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์แห่งอารยธรรมของมนุษยชาติ มนุษย์ปัจจุบันควรให้ความใส่ใจกับ ปราณ มากกว่านี้ อำนาจ ชื่อเสียง เงินทอง มีความหมายสำหรับชีวิตสมัยใหม่ก็จริง แต่เชื่อเถอะมันไม่วิเศษ และมีคุณค่ามากกว่า ปราณ หรอก
เพราะ ปราณ คือ ชีวิต การฝึกปราณ คือ การเผชิญหน้ากับ ชีวิตที่แท้จริง อย่างเป็นประสบการณ์โดยตรง ปราณ ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการรักษาสมดุลของร่างกาย ของสภาพแวดล้อม และของอารมณ์ของคนเรา การฝึกลมปราณจะทำให้เกิดความกลืมกลืน และความสมดุลอันเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาในสายตาของเต๋า เพราะ การฝึกปราณเป็นกระบวนการที่บูรณาการมนุษย์กับจักรวาฬเข้าด้วยกัน
หากมองในอีกแง่มุมหนึ่ง มนุษย์ทุกคนเป็นแค่ลมหายใจของ ปราณ เท่านั้น การไหลเวียนของ ปราณ ภายในตัวเรานี่เองที่ทำให้คนเราเคลื่อนไหวได้ เพราะ ปราณ กระตุ้นสมองของเรา คนเราจึงคิดอย่างสร้างสรรค์ได้ เพราะปราณเคลื่อนไหวลิ้นของเรา คนเราจึงพูดได้ เพราะปราณไหลเวียนสู่มือของเรา คนเราจึงเขียนหรือจับสิ่งของได้ เพราะปราณไหลเวียนสู่เท้าของเรา คนเราจึงเดินและวิ่งได้
จึงเห็นได้ว่า ปราณ เป็นสิ่งที่ต้องไหลเวียนตลอดทั่วร่างกายของคนเราอย่างราบรื่น จึงจะนำมาซึ่งสุขภาพที่สมบูรณ์ได้ ถ้า ปราณ ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายของคนเรา ไม่ว่าคนผู้นั้นจะหล่อหรือสวยเพียงใด หรือมีอำนาจมากมายแค่ไหน หรือมีความมั่งคั่งเพียงใดก็ตาม ทุกสิ่งย่อมกลายเป็นความว่างเปล่า คนผู้นั้นจะไม่ต่างไปจากเปลือกหอยกลวง เพราะหากปราศจาก ปราณ เสียแล้ว คนผู้นั้นก็เท่ากับหมดอายุขัยไปแล้ว
ด้วยเหตุนี้ ปราณ จึงเป็น โชคชะตาของคนเรา ด้วย ปราณ ที่ไหลเวียนอยู่ในตัวเรา โดยเฉพาะถ้าเริ่มฝึกฝนตั้งแต่เด็กมันจะไปกำหนดลักษณะทางกายภาพ ระดับสติปัญญา บุคลิกภาพ การเคลื่อนไหว ภาวะทางจิตใจ พรสวรรค์ และเส้นทางชีวิตในอนาคตของผู้นั้นได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว
ปราณ ของคนเราแต่ละคนมีการแสดงออกที่หลากหลายไม่เหมือนกันก็จริง แต่โดยหลักการของเต๋าแล้ว การฝึกปราณให้หมุนเวียนโคจรไปทั่วร่าง โดยเฉพาะให้ไหลโคจรเวียนขึ้นบนศีรษะจนก่อให้เกิดออร่า หรือราศีอันสูงส่งขึ้นมาได้ จะถือว่าเป็นภาวะที่ดีที่สุดของปราณ หรือที่เรียกกันว่า ปราณสุดยอด
ปราชญ์โบราณ เคยกล่าวเอาไว้ว่า
“ผู้บรรลุ ย่อมช่วยจุนเจือทั้งแผ่นดิน
ผู้ข้นแค้น ย่อมคิดถึงแต่เรื่องของตนเอง”
ผู้ที่ฝึกฝนลมปราณจนถึงขั้น ปราณสุดยอด ได้แล้ว มีหรือที่จะอยู่นิ่งเฉย ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นแบบนี้ เขาจะต้องทำอะไรบางอย่าง และเข้าร่วมในการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของประเทศนี้อย่างไม่ต้องสงสัย ในโลกนี้มีเรื่องมากหลายดูไปคล้ายเป็นไปไม่ได้ แต่กลับเป็นไปได้ ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจากการสร้างสรรค์ต่อสู้ของ ผู้มีจิตปณิธาน ทั้งสิ้น คอยดูไปเถิด (ยังมีต่อ)
เห็นบ้านเมืองเป็นแบบนี้แล้ว ก็อดปวดร้าวใจไม่ได้ และทำให้นึกถึงคำพังเพยของจีนวลีหนึ่งที่กล่าวว่า “เฮิ่นแถว่ปู้เฉิงกัง” แปลเป็นภาษาไทยว่า แค้นที่หลอมเหล็กมิกลายเป็นเหล็กกล้า ซึ่งต้องการสื่อความหมายว่า รู้สึกคับแค้นใจที่บ้านเมืองไม่รุ่งเรืองกว่านี้ และผู้คนไม่ดีงามกว่านี้
พวกเราจะทำอะไรได้อีก นอกจากแปรความคับแค้นนี้ให้กลายเป็นพลัง และรอเวลาที่จะลุกขึ้นมาโรมรันกับความชั่วร้ายอีกครั้งให้ถึงที่สุด ในระหว่างนี้การได้อ่าน “มังกรคู่สู้สิบทิศ” ของหวงอี้อีกครั้ง กลับให้พลังและกำลังใจแก่เหล่าผู้กล้าได้อย่างดียิ่ง
โค่วจง และ ฉีจื่อหลิง ผู้เป็นตัวเอกของมหากาพย์กำลังภายในเรื่อง “มังกรคู่สู้สิบทิศ” แม้มีชาติกำเนิดที่ยากไร้ แต่ทั้งคู่กลับสามารถถีบตัวขึ้นมาโดดเด่นเป็นยอดฝีมือ และจอมคนในวงการยุทธจักร อีกทั้งยังมีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ได้ก็เพราะทั้งคู่ประสบความสำเร็จอย่างบังเอิญดุจสวรรค์ประทานให้ในการฝึก เคล็ดวิชาอมตะ ในตำราเต๋าโบราณที่แต่งโดย กว่างเฉิงจื่อ ผู้เป็นอาจารย์ของจักรพรรดิหวงตี้ยุคบรรพกาล ตำราวิเศษเล่มนี้ หวงอี้บรรยายว่าเขียนด้วยอักษรโบราณจารึกบนกระดองเต่า ตำราทั้งเล่มมีตัวหนังสือเจ็ดพันสี่ร้อยตัว แต่แปลถอดความเป็นภาษาปัจจุบันได้สามพันกว่าตัว ภายในเล่มมีคำอรรถาธิบายของผู้ที่เคยศึกษาตำราเล่มนี้ เขียนกำกับไว้อย่างละเอียดถี่ยิบ แต่เนื่องจากเขียนด้วยเนื้อหาที่ลึกล้ำยากแก่ความเข้าใจ จึงสร้างความงุนงงสงสัยแก่ผู้คนยิ่งกว่าต้นฉบับเดิมเสียอีก
ยังดีที่ภายในเล่มมีภาพวาดรูปมนุษย์รวมเจ็ดภาพ อยู่ในอิริยาบถที่ผิดแผกแตกต่าง ทั้งยังจัดทำเครื่องหมายชี้นำลักษณะต่างๆ เช่นจุดสีแดง และหัวธนู ดูเหมือนเป็นการบรรยายวิธีการฝึกวิชาแขนงใดแขนงหนึ่ง แต่ครั้นพอมีคนทดลองหัดตามที่เขียนไว้ในตำรานี้กลับเกิดอาการเลือดลมปั่นป่วน ธาตุไฟเข้าแทรกร่าง เท่าที่ผ่านมาจึงไม่มีใครหัดเคล็ดวิชาอมตะนี้ได้สำเร็จ
จึงไม่น่าแปลกใจที่มีผู้คนจำนวนไม่น้อยใจปัจจุบันมองว่า เคล็ดวิชาอมตะ ในตำราเต๋าโบราณเล่มนี้ เป็น “วิชาลวงโลก” ของสำนักพรตแห่งลัทธิเต๋า เนื่องจาก โค่วจง กับ ฉีจื่อหลิง ไม่มีพื้นฐานการฝึกวิชาฝีมือ และกำลังภายในมาก่อน ชอนกุนบี ผู้เป็นมารดาบุญธรรม จึงสอน วิชานั่งกรรมฐาน ให้แก่ทั้งคู่ดังนี้
“อิทธิเดชสรรพเปลี่ยนแปลง เพียบพร้อมสมบูรณ์อยู่ในตัวเอง พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง มันดำรงอย่างสมบูรณ์พร้อมอยู่แล้วเสมอ มนุษย์แต่ละคนล้วนมีคลังวิเศษอันลึกล้ำ และพลังซ่อนเร้นที่แฝงอยู่อย่างไร้ขอบเขตจำกัด เพียงแต่ผู้คนส่วนใหญ่ถูกความยึดติด ยึดมั่นถือมั่นนานัปการซ่อนบดบังปิดกั้นเอาไว้...”
“การฝึกวิชากำลังภายใน จำเป็นต้องรวมจิตให้เป็นหนึ่งเดียวจึงจะสามารถละวางความยึดติดในตัวตนจนขานไข ความลับแห่งฟ้า ได้ อีกทั้งความรู้และความเข้าใจที่เป็นปัญญาญาณทั้งปวงก็จะประเดประดังมาสู่ผู้นั้นเอง...”
“ก่อนฝึกลมปราณ ควรบ่มนิสัย ให้ขจัดจิตฟุ้งซ่านทั้งมวล จากนั้นนั่งขัดสมาธิให้มั่น หันเท้าซ้ายออกนอก พับเท้าขวาหาด้านในในลักษณะโอบธาตุหยินเพื่อหยาง ส่วนสองมือ นิ้วหัวแม่มือซ้ายแตะนิ้วกลาง นิ้วหัวแม่มือขวาซุกเข้ามือซ้าย มือขวาหันออกนอกในลักษณะโอบธาตุหยางเพื่อหยิน”
จะว่าไปแล้ว เคล็ดวิชานั่งกรรมฐานที่ชอนกุนบีถ่ายทอดให้แก่เด็กหนุ่มทั้งคู่ ก็เป็นแนวทางเดียวกับเคล็ดวิชาอมตะนั่นเอง ต่อมาชอนกุนบีเสียชีวิตอย่างกะทันหัน เด็กหนุ่มทั้งสองก็ถูกทางการตามล่าต้องหลบซ่อนตัวอยู่ในหุบเขา ไม่มีอะไรทำ จึงเริ่มฝึกลมปราณจากตำราเคล็ดวิชาอมตะ โดยฝึกตามรูปภาพที่เขียนไว้ในนั้นโดยไม่ได้อ่านข้อความอักษรโบราณที่เขียนไว้ในนั้น พูดง่ายๆ ก็คือ ฝึกมั่วๆ ไปโดยไม่คิดมาก เพียงแต่ต้องการจดจ่อกับการฝึกปรือ จะได้ลดทอนความปวดร้าวจากการเสียชีวิตของชอนกุนบีลงไปบ้าง
แต่แล้วเรื่องพิสดารก็พลันอุบัติขึ้น เด็กหนุ่มทั้งสองกลับสามารถเปิดไข ประตูแห่งลมปราณ ได้โดยบังเอิญ พวกเขารู้สึกว่าฟ้าดินกระจ่างแจ่มชัด มิเพียงมีสีสันสวยงาม ไม่ว่าแผ่นฟ้า แผ่นดิน ต้นไม้ใบหญ้า ก้อนหิน คล้ายมีชีวิตเกี่ยวพันกับพวกเขาราวกับว่าตัวเองกลายเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
ความสำเร็จทางด้านลมปราณของผู้ที่สามารถเปิดไขประตูแห่งลมปราณ หรือประตูแห่งวิชากำลังภายในเข้าไปได้ก็คือ จะทำให้ คนผู้นั้นมองโลกด้วยสายตาที่เปลี่ยนไปจากเดิม โลกใบนี้คล้ายเปลี่ยนไปเป็นหมดจดสดใสขึ้นมา
ต่อมาทั้งโค่วจง และฉีจื่อหลิงก็ฝึกลมปราณสำเร็จถึงขอบเขตพลังลมปราณหมุนเวียนภายในร่างกายไม่ขาดตอนในแนวทางพรตของลัทธิเต๋า ซึ่งเป็นพื้นฐานของพลังลมปราณขั้นสูง ซึ่งมีผู้ที่สามารถฝึกลมปราณในระดับนี้ได้เพียงไม่กี่คนเท่านั้น แม้จะมีผู้บำเพ็ญภาวนาตามแนวทางนี้มากมายสุดคณานับก็ตาม
ที่กล่าวมาข้างต้น แม้จะเป็นแค่นิยายกำลังภายในที่เกิดจากจินตนาการของหวงอี้ก็จริง แต่มันกลับมี ความจริงของแนวทางพรตของลัทธิเต๋า ดำรงอยู่อย่างไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะ ความจริงของลมปราณ (ชี่) ที่เป็นคลังวิเศษอันลึกล้ำที่ดำรงอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน
ถ้าหากคนเราต้องการแสวงหา “ความเป็นที่สุด” หรือ “ความสุดยอด” แห่งตัวตนของตนแล้ว คนเราจักมิได้รับความพอใจอย่างถึงที่สุดได้หรอก ถ้าหากการแสวงหาความเป็นที่สุดนั้นอยู่ที่ภายนอกตน หรือจบอยู่แค่ภายนอกตน จะมีก็แต่การแสวงหาความเป็นที่สุดแห่งตนจากภายในตนเท่านั้น คนเราถึงจะได้รับความพอใจอย่างสูงสุดโดยแท้จริงได้
ชี่ หรือ ปราณ คือลมหายใจของจักรวาฬ และเป็นตัวตนอันเป็นแก่นแท้ของมนุษย์ หากปราศจาก ปราณ แล้ว คนเราจะเป็นเพียงกองเลือดเนื้อและกระดูกเท่านั้น ร่างกายของคนเรานั้นมีความเปลี่ยนแปลงเป็นอนิจจังอยู่ตลอดเวลา แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงก็คือ ปราณ ไม่ว่าร่างกายของเราจะคงอยู่หรือแตกดับ หรือประชุมรวมธาตุขึ้นมาเป็นอีกชีวิตหนึ่ง ปราณ ก็ยังคงดำรงอยู่เช่นนั้นเสมอ
การแสวงหา ความเป็นอมตะ (immortality) ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของแนวทางพรตแบบลัทธิเต๋านั้น จึงมีความเป็นไปได้ก็เพราะ ปราณ มี ความเป็นอมตะ นั่นเอง เพียงแต่ ความเป็นอมตะ ที่ว่านี้มิอาจบรรลุได้ที่ กายเนื้อ แต่สามารถบรรลุได้ที่ จิตวิญญาณ เท่านั้น ส่วน กายเนื้อ นั้น สามารถบรรลุได้แค่ ความมีอายุวัฒนะ (longevity)หรือ อายุยืน เท่านั้น
การฝึกวิชาลมปราณที่ถูกต้องตามแนวทางพรตแบบเต๋า จักต้องเป็น การบำเพ็ญ ที่มุ่งบรรลุ ความมีอายุวัฒนะ กับ ความเป็นอมตะ ไปพร้อมๆ กัน การมุ่งฝึกลมปราณโดยมุ่งเน้นเฉพาะสุขภาพกาย และความมีอายุวัฒนะอย่างเดียวโดยละเลยหรือไม่เอาใจใส่ในเรื่องความเป็นอมตะของจิต จึงไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องสมบูรณ์ เพราะสองสิ่งนี้ในสายตาของลัทธิเต๋าแนวทางพรตเป็นสิ่งที่จะต้องฝึกฝน บ่มเพาะ บำเพ็ญควบคู่กันไปอย่างมีสมดุลเสมอ จึงจะเป็นแนวทางการบำเพ็ญที่ถูกต้องแท้จริงตามหลักการของลัทธิเต๋าแนวทางพรตที่มีมาหลายพันปีแล้ว
วิชาลมปราณ เป็นศาสตร์และศิลปะแห่งการพัฒนาศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ทั้งทางกายและทางจิตของแนวทางพรตแบบเต๋าที่เป็นภูมิปัญญาโบราณที่มีลักษณะบูรณาการที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์แห่งอารยธรรมของมนุษยชาติ มนุษย์ปัจจุบันควรให้ความใส่ใจกับ ปราณ มากกว่านี้ อำนาจ ชื่อเสียง เงินทอง มีความหมายสำหรับชีวิตสมัยใหม่ก็จริง แต่เชื่อเถอะมันไม่วิเศษ และมีคุณค่ามากกว่า ปราณ หรอก
เพราะ ปราณ คือ ชีวิต การฝึกปราณ คือ การเผชิญหน้ากับ ชีวิตที่แท้จริง อย่างเป็นประสบการณ์โดยตรง ปราณ ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการรักษาสมดุลของร่างกาย ของสภาพแวดล้อม และของอารมณ์ของคนเรา การฝึกลมปราณจะทำให้เกิดความกลืมกลืน และความสมดุลอันเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาในสายตาของเต๋า เพราะ การฝึกปราณเป็นกระบวนการที่บูรณาการมนุษย์กับจักรวาฬเข้าด้วยกัน
หากมองในอีกแง่มุมหนึ่ง มนุษย์ทุกคนเป็นแค่ลมหายใจของ ปราณ เท่านั้น การไหลเวียนของ ปราณ ภายในตัวเรานี่เองที่ทำให้คนเราเคลื่อนไหวได้ เพราะ ปราณ กระตุ้นสมองของเรา คนเราจึงคิดอย่างสร้างสรรค์ได้ เพราะปราณเคลื่อนไหวลิ้นของเรา คนเราจึงพูดได้ เพราะปราณไหลเวียนสู่มือของเรา คนเราจึงเขียนหรือจับสิ่งของได้ เพราะปราณไหลเวียนสู่เท้าของเรา คนเราจึงเดินและวิ่งได้
จึงเห็นได้ว่า ปราณ เป็นสิ่งที่ต้องไหลเวียนตลอดทั่วร่างกายของคนเราอย่างราบรื่น จึงจะนำมาซึ่งสุขภาพที่สมบูรณ์ได้ ถ้า ปราณ ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายของคนเรา ไม่ว่าคนผู้นั้นจะหล่อหรือสวยเพียงใด หรือมีอำนาจมากมายแค่ไหน หรือมีความมั่งคั่งเพียงใดก็ตาม ทุกสิ่งย่อมกลายเป็นความว่างเปล่า คนผู้นั้นจะไม่ต่างไปจากเปลือกหอยกลวง เพราะหากปราศจาก ปราณ เสียแล้ว คนผู้นั้นก็เท่ากับหมดอายุขัยไปแล้ว
ด้วยเหตุนี้ ปราณ จึงเป็น โชคชะตาของคนเรา ด้วย ปราณ ที่ไหลเวียนอยู่ในตัวเรา โดยเฉพาะถ้าเริ่มฝึกฝนตั้งแต่เด็กมันจะไปกำหนดลักษณะทางกายภาพ ระดับสติปัญญา บุคลิกภาพ การเคลื่อนไหว ภาวะทางจิตใจ พรสวรรค์ และเส้นทางชีวิตในอนาคตของผู้นั้นได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว
ปราณ ของคนเราแต่ละคนมีการแสดงออกที่หลากหลายไม่เหมือนกันก็จริง แต่โดยหลักการของเต๋าแล้ว การฝึกปราณให้หมุนเวียนโคจรไปทั่วร่าง โดยเฉพาะให้ไหลโคจรเวียนขึ้นบนศีรษะจนก่อให้เกิดออร่า หรือราศีอันสูงส่งขึ้นมาได้ จะถือว่าเป็นภาวะที่ดีที่สุดของปราณ หรือที่เรียกกันว่า ปราณสุดยอด
ปราชญ์โบราณ เคยกล่าวเอาไว้ว่า
“ผู้บรรลุ ย่อมช่วยจุนเจือทั้งแผ่นดิน
ผู้ข้นแค้น ย่อมคิดถึงแต่เรื่องของตนเอง”
ผู้ที่ฝึกฝนลมปราณจนถึงขั้น ปราณสุดยอด ได้แล้ว มีหรือที่จะอยู่นิ่งเฉย ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นแบบนี้ เขาจะต้องทำอะไรบางอย่าง และเข้าร่วมในการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของประเทศนี้อย่างไม่ต้องสงสัย ในโลกนี้มีเรื่องมากหลายดูไปคล้ายเป็นไปไม่ได้ แต่กลับเป็นไปได้ ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจากการสร้างสรรค์ต่อสู้ของ ผู้มีจิตปณิธาน ทั้งสิ้น คอยดูไปเถิด (ยังมีต่อ)