ผู้จัดการรายวัน - ททท.เร่งมือทำแผนการตลาดประจำปี 2552 ระบุ 3 ปัจจัยลบที่มีอิทธิพลสูงต่อการจับจ่ายทั้ง ปัญหาราคาพลังงาน เศรษฐกิจ และความผันผวนของค่าเงิน เกิดภาวะการแข่งขันเข้มข้น เผยหมัดเด็ด พลิกวิกฤติเป็นโอกาส ชูจุดขายแวลู ฟอร์ มันนี่ หันซบประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน และประเทศเศรษฐกิจดี อย่างกลุ่มตะวันออกกลาง และอินเดีย
นายสุรพล เศวตเศรณี รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ททท.อยู่ระหว่างการจัดทำแผนการตลาดประจำปี งบประมาณ 2552 โดย ปีนี้ ได้นำข้อมูลด้านปัญหาพลังงาน สภาวะเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในภูมิภาค ตลอดจน ความผันผวนของค่าเงิน ซึ่งถือเป็นตัวแปรหลักที่จะเข้ามากระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มาร่วมวิเคราะห์ด้วย
โดยจะนำมารวมกับผลการประเมินตลาดของปี 2550-2551 จากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้มาร่วมหารือกับภาคเอกชนและสายการบิน ก่อนจะกำหนดเป็นกลยุทธ์ของแผนการตลาดที่จะใช้ปฎิบัติงานในปี 2552 คาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้น พร้อมประกาศเป็นแผนได้ในต้นเดือนกรกฎาคมศกนี้ จากนั้นจะนำมาจัดสรรกับการใช้งบประมาณประจำปี 2552 ซึ่ง ททท.ได้รับมารวมทั้งหมดกว่า 4 พันล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 15% โดยให้ความสำคัญตามลำดับ
ในกรอบเบื้องต้นที่ร่วมหารือกับสำนักงาน ททท.ในแต่ละภูมิภาค โดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศ ได้ข้อสรุปว่าจะต้องใช้วิกฤตเป็นโอกาส โฟกัสตรงไปยังตลาดที่ยังมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ กลุ่มผู้มีกำลังซื้อสูง เช่น กลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง รวมถึงกลุ่มที่ยังพอมีกำลังการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว โดยหันมาเลือกเดินทางท่องเที่ยวระยะใกล้แทนระยะไกล ซึ่งมีหลายประเทศ ในกลุ่มเอเชีย ,เอเชียตะวันออก และ เอเชียใต้ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี มาเก๊า และ อินเดีย เป็นต้น
"ยอมรับว่าปัจจัยลบที่น่าห่วงมากในปีหน้า คือภาวะเศรษฐกิจโลกและปัญหาพลังงาน ซึ่งทุกธุรกิจจะถูกกระทบหมดไม่ใช่แค่วงการท่องเที่ยว ดังนั้นเราต้องวางแผนรับมือไว้พร้อมกับการดูแลจัดสรรงบประมาณที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะมีทั้งการเดินสายออกงานเทรดโชว์ โรดโชว์ การจัดกิจกรรมทางการตลาดร่วมกับบริษัทนำเที่ยว หรือสินค้าในโปรดักส์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ แต่ทั้งนี้ ททท.ก็ต้องฟังความเห็นจากภาคเอกชนด้วย เพราะเป็นผู้ที่สัมผัสกับลูกค้า เพื่อจะได้นำเสนอสินค้าและบริการได้ตรงตามความต้องการ เพราะเศรษฐกิจโลกเป็นเช่นนี้ เชื่อว่าการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น"
ทั้งนี้ ททท. เชื่อว่าการวิเคราะห์ตลาดเชิงภูมิศาสตร์ดังกล่าวจะช่วยพลิกวิกฤตเป็นโอกาสให้แก่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทยได้และชดเชยในบางตลาดที่อาจลดลง เช่น ตลาดอเมริกา เพราะการเดินทางระยะใกล้ย่อมเสียหาใช้จ่ายน้อยกว่าระยะไกล ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาจะได้รับบริการที่คุ้มค่าเงินที่จ่ายไป หรือ แวลู ฟอร์ มันนี่
อย่างไรก็ตาม ททท.ก็ยังคงไว้ใน 3 แนวทางหลัก คือ รักษาฐานตลาดเก่า มุ่นเพิ่มสัดส่วนในกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ และ การมองหาตลาดใหม่ขึ้นมาเพิ่มเติม ซึ่งในส่วนของฐานตลาดเก่า ที่รู้จักและคุ้นเคยกับประเทศไทยแล้ว เช่น ตลาดสแกนดิเนเวีย ททท.จะกระตุ้นให้เกิดการมาซ้ำได้บ่อยขึ้น โดยต้องมีการให้ความรู้เรื่องการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆที่มีอยู่ในประเทศไทย เพราะปัจจุบันตลาดนี้จะนิยมเดินทางเข้ามาเที่ยวเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้น
ส่วนตลาดที่มีกำลังซื้อสูงและไม่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ก็ต้องเร่งสร้างความพึ่งพอใจ เพื่อให้เขาเลือกที่จะเดินทางเข้ามาประเทศไทยอีก ส่วนตลาดหลักเดิมที่อาจผกผันตามภาวะเศรษฐกิจ ก็ต้องคิดแผนการตลาดให้เอื้อกับสถานการณ์
นายสุรพล เศวตเศรณี รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ททท.อยู่ระหว่างการจัดทำแผนการตลาดประจำปี งบประมาณ 2552 โดย ปีนี้ ได้นำข้อมูลด้านปัญหาพลังงาน สภาวะเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในภูมิภาค ตลอดจน ความผันผวนของค่าเงิน ซึ่งถือเป็นตัวแปรหลักที่จะเข้ามากระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มาร่วมวิเคราะห์ด้วย
โดยจะนำมารวมกับผลการประเมินตลาดของปี 2550-2551 จากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้มาร่วมหารือกับภาคเอกชนและสายการบิน ก่อนจะกำหนดเป็นกลยุทธ์ของแผนการตลาดที่จะใช้ปฎิบัติงานในปี 2552 คาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้น พร้อมประกาศเป็นแผนได้ในต้นเดือนกรกฎาคมศกนี้ จากนั้นจะนำมาจัดสรรกับการใช้งบประมาณประจำปี 2552 ซึ่ง ททท.ได้รับมารวมทั้งหมดกว่า 4 พันล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 15% โดยให้ความสำคัญตามลำดับ
ในกรอบเบื้องต้นที่ร่วมหารือกับสำนักงาน ททท.ในแต่ละภูมิภาค โดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศ ได้ข้อสรุปว่าจะต้องใช้วิกฤตเป็นโอกาส โฟกัสตรงไปยังตลาดที่ยังมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ กลุ่มผู้มีกำลังซื้อสูง เช่น กลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง รวมถึงกลุ่มที่ยังพอมีกำลังการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว โดยหันมาเลือกเดินทางท่องเที่ยวระยะใกล้แทนระยะไกล ซึ่งมีหลายประเทศ ในกลุ่มเอเชีย ,เอเชียตะวันออก และ เอเชียใต้ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี มาเก๊า และ อินเดีย เป็นต้น
"ยอมรับว่าปัจจัยลบที่น่าห่วงมากในปีหน้า คือภาวะเศรษฐกิจโลกและปัญหาพลังงาน ซึ่งทุกธุรกิจจะถูกกระทบหมดไม่ใช่แค่วงการท่องเที่ยว ดังนั้นเราต้องวางแผนรับมือไว้พร้อมกับการดูแลจัดสรรงบประมาณที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะมีทั้งการเดินสายออกงานเทรดโชว์ โรดโชว์ การจัดกิจกรรมทางการตลาดร่วมกับบริษัทนำเที่ยว หรือสินค้าในโปรดักส์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ แต่ทั้งนี้ ททท.ก็ต้องฟังความเห็นจากภาคเอกชนด้วย เพราะเป็นผู้ที่สัมผัสกับลูกค้า เพื่อจะได้นำเสนอสินค้าและบริการได้ตรงตามความต้องการ เพราะเศรษฐกิจโลกเป็นเช่นนี้ เชื่อว่าการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น"
ทั้งนี้ ททท. เชื่อว่าการวิเคราะห์ตลาดเชิงภูมิศาสตร์ดังกล่าวจะช่วยพลิกวิกฤตเป็นโอกาสให้แก่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทยได้และชดเชยในบางตลาดที่อาจลดลง เช่น ตลาดอเมริกา เพราะการเดินทางระยะใกล้ย่อมเสียหาใช้จ่ายน้อยกว่าระยะไกล ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาจะได้รับบริการที่คุ้มค่าเงินที่จ่ายไป หรือ แวลู ฟอร์ มันนี่
อย่างไรก็ตาม ททท.ก็ยังคงไว้ใน 3 แนวทางหลัก คือ รักษาฐานตลาดเก่า มุ่นเพิ่มสัดส่วนในกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ และ การมองหาตลาดใหม่ขึ้นมาเพิ่มเติม ซึ่งในส่วนของฐานตลาดเก่า ที่รู้จักและคุ้นเคยกับประเทศไทยแล้ว เช่น ตลาดสแกนดิเนเวีย ททท.จะกระตุ้นให้เกิดการมาซ้ำได้บ่อยขึ้น โดยต้องมีการให้ความรู้เรื่องการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆที่มีอยู่ในประเทศไทย เพราะปัจจุบันตลาดนี้จะนิยมเดินทางเข้ามาเที่ยวเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้น
ส่วนตลาดที่มีกำลังซื้อสูงและไม่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ก็ต้องเร่งสร้างความพึ่งพอใจ เพื่อให้เขาเลือกที่จะเดินทางเข้ามาประเทศไทยอีก ส่วนตลาดหลักเดิมที่อาจผกผันตามภาวะเศรษฐกิจ ก็ต้องคิดแผนการตลาดให้เอื้อกับสถานการณ์