ข่าวในประเทศ - สมาคมผู้ผลิตเอทานอลไทย เห็นช่องทางกระตุ้นความต้องการใช้ E85 หลังพบชุดควบคุมการปรับเปลี่ยนพลังงานทางเลือก Conversion Kit ใช้ได้ผลจริงกับรถยนต์หลากหลายยี่ห้อและหลายรุ่น ชี้ช่วยชาติลดการนำเข้าน้ำมันเบนซิน เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรไทย ด้านผู้แทนกลุ่มผู้ผลิตและนำเข้าชี้เป็นทางเลือกที่คุ้มค่าให้แก่ผู้ขับขี่รถยนต์ การันตีไม่ส่งผลกระทบกับเครื่องยนต์
นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมผู้ผลิตเอทานอลไทย เปิดเผยว่า จากแผนพัฒนาพลังานทดแทน 15 ปี ภาครัฐจำเป็นต้องเร่งประชาสัมพันธ์ และสร้างความเชื่อมั่น รวมถึงผลักดันให้เกิดความต้องการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น โดยในส่วนของแก๊สโซฮอล์นั้น ส่วนหนึ่งที่จะขยายความต้องการใช้ได้ก็คือในกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้รถยนต์รุ่นเก่า ซึ่งยังมีข้อจำกัดในการใช้ E20 และ E85 (มีส่วนผสมของเอทานอล 20% และ 85% ตามลำดับ)
“ปัจจุบันกำลังการผลิตเอทานอลนั้นมีเกินพอ สามารถรองรับการใช้ E20 และ E85 ที่เพิ่มขึ้นได้สบายๆ ผู้ผลิตเอทานอลก็พร้อมเสมอที่จะสนองตอบแนวนโยบายรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาพลังงานของชาติ ด้วยการหันมาใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยชาติประหยัดเงินจากการนำเข้าน้ำมันเบนซินจากต่างประเทศแล้ว ที่สำคัญที่สุดยังช่วยเกษตรกรไทยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากความต้องการวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมาจากผลผลิตทางการเกษตร ทั้งอ้อย มันสัมปะหลัง ข้าวโพด” นายสิริวุทธิ์ กล่าว
ด้าน นายอารยะ ชั้นกาญจน์ ผู้แทนกลุ่มบริษัทผู้ผลิตและนำเข้าอุปกรณ์ชุดควบคุมการปรับเปลี่ยนพลังงานทางเลือก เปิดเผยว่า Conversion Kit เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคที่ใช้ติดตั้งกับรถยนต์เครื่องยนต์เบนซิน ระบบหัวฉีด โดยจะทำหน้าที่เสมือนสมองกลควบคุมระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ ให้สามารถใช้น้ำมันเบนซินผสมกับเอทานอล E10 E20 หรือแม้กระทั่ง E85 ได้ จึงถือเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับผู้ขับขี่รถยนต์ในยุคน้ำมันแพง
“เราได้มีการศึกษาวิจัยเรื่องของการใช้แก๊สโซฮอล์ E85 จากกรณีศึกษาทั้งในและต่างประเทศ จนมั่นใจได้ว่าการใช้ E85 จะไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อเครื่องยนต์ ในทางกลับกัน เราพบว่า การใช้น้ำมัน E85 ทำให้เครื่องยนต์สะอาด มีอายุยาวขึ้น เครื่องยนต์มีกำลังเพิ่มขึ้น ที่สำคัญคือช่วยลดมลภาวะ ช่วยประหยัดเงินตราของประเทศ และสอดคล้องกับจุดแข็งของประเทศไทยที่เป็นประเทศเกษตรกรรม จึงควรเร่งนำพืชผลทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานทดแทน” นายอารยะ กล่าว
สำหรับการติดตั้ง Conversion Kit เพื่อให้รถยนต์สามารถเติมน้ำมันที่ผสมเอทานอลในระดับ E85 ได้นี้ ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคที่ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของภาครัฐที่ต้องการส่งเสริมและผลักดันการพัฒนาและใช้พลังงานทดแทน
นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมผู้ผลิตเอทานอลไทย เปิดเผยว่า จากแผนพัฒนาพลังานทดแทน 15 ปี ภาครัฐจำเป็นต้องเร่งประชาสัมพันธ์ และสร้างความเชื่อมั่น รวมถึงผลักดันให้เกิดความต้องการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น โดยในส่วนของแก๊สโซฮอล์นั้น ส่วนหนึ่งที่จะขยายความต้องการใช้ได้ก็คือในกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้รถยนต์รุ่นเก่า ซึ่งยังมีข้อจำกัดในการใช้ E20 และ E85 (มีส่วนผสมของเอทานอล 20% และ 85% ตามลำดับ)
“ปัจจุบันกำลังการผลิตเอทานอลนั้นมีเกินพอ สามารถรองรับการใช้ E20 และ E85 ที่เพิ่มขึ้นได้สบายๆ ผู้ผลิตเอทานอลก็พร้อมเสมอที่จะสนองตอบแนวนโยบายรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาพลังงานของชาติ ด้วยการหันมาใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยชาติประหยัดเงินจากการนำเข้าน้ำมันเบนซินจากต่างประเทศแล้ว ที่สำคัญที่สุดยังช่วยเกษตรกรไทยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากความต้องการวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมาจากผลผลิตทางการเกษตร ทั้งอ้อย มันสัมปะหลัง ข้าวโพด” นายสิริวุทธิ์ กล่าว
ด้าน นายอารยะ ชั้นกาญจน์ ผู้แทนกลุ่มบริษัทผู้ผลิตและนำเข้าอุปกรณ์ชุดควบคุมการปรับเปลี่ยนพลังงานทางเลือก เปิดเผยว่า Conversion Kit เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคที่ใช้ติดตั้งกับรถยนต์เครื่องยนต์เบนซิน ระบบหัวฉีด โดยจะทำหน้าที่เสมือนสมองกลควบคุมระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ ให้สามารถใช้น้ำมันเบนซินผสมกับเอทานอล E10 E20 หรือแม้กระทั่ง E85 ได้ จึงถือเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับผู้ขับขี่รถยนต์ในยุคน้ำมันแพง
“เราได้มีการศึกษาวิจัยเรื่องของการใช้แก๊สโซฮอล์ E85 จากกรณีศึกษาทั้งในและต่างประเทศ จนมั่นใจได้ว่าการใช้ E85 จะไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อเครื่องยนต์ ในทางกลับกัน เราพบว่า การใช้น้ำมัน E85 ทำให้เครื่องยนต์สะอาด มีอายุยาวขึ้น เครื่องยนต์มีกำลังเพิ่มขึ้น ที่สำคัญคือช่วยลดมลภาวะ ช่วยประหยัดเงินตราของประเทศ และสอดคล้องกับจุดแข็งของประเทศไทยที่เป็นประเทศเกษตรกรรม จึงควรเร่งนำพืชผลทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานทดแทน” นายอารยะ กล่าว
สำหรับการติดตั้ง Conversion Kit เพื่อให้รถยนต์สามารถเติมน้ำมันที่ผสมเอทานอลในระดับ E85 ได้นี้ ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคที่ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของภาครัฐที่ต้องการส่งเสริมและผลักดันการพัฒนาและใช้พลังงานทดแทน