ธปท.หวั่นยุคราคาน้ำมันแพง อาจกระทบให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า และปัญหาเงินเฟ้อรุนแรง ระบุ นโยบายแก้ไขปัญหาพลังงานควรหันมาดูแลคนที่อ่อนแอปรับตัวไม่ได้ในสถานการณ์น้ำมันสูง ส่วนการชดเชยราคาน้ำมันควรทำเท่าที่จำเป็นและชั่วคราวเท่านั้น เพราะอาจลดความสามารถในการแข่งขันและงบประมาณได้
นางศิริพรรณ นาครทรรพ ผู้บริหารทีมวิเคราะห์เศรษฐกิจ ฝ่ายเศรษฐกิจภายในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกบทความ “นโยบายพลังงานในยุคน้ำมันแพง” โดยระบุว่า จากราคาน้ำมันดิบดูไบที่ทะลุ 109 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแตะ 120 เหรียญต่อบาร์เรลภายในปีนี้ ขณะนี้เริ่มมีความวิตกกังกลว่า แนวโน้มราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และจะคงตัวอยู่ในระดับสูงจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทบต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์การอุปโภคบริโภคในประเทศที่เริ่มดีขึ้นในไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมา และต่อเนื่องในเดือนแรกของปีนี้ และอาจจะส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงภาคการผลิต และการจ้างงาน และในที่สุดเศรษฐกิจไทยอาจจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดกันไว้ได้ นอกจากนั้น ยังอาจจะก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อที่รุนแรงมากขึ้น
ดังนั้น นโยบายการแก้ไขปัญหาพลังงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่ต้องคำนึงถึงผลระยะยาว และอิงกับกลไกตลาดให้มากที่สุด โดยผู้บริหารทีมวิเคราะห์เศรษฐกิจของ ธปท.ให้ความเห็นว่า การใช้นโยบายพลังงานทางเลือกเป็นมาตรการหนึ่งที่รัฐบาลต้องดำเนินการ แต่จะต้องคำนึงถึงผลกระทบข้างเคียงต่อราคาพืชพลังงานที่อาจจะกระทบ ต่อราคาอาหารของประเทศ ขณะที่การดูแลกลุ่มประชาชนที่อ่อนแอเป็นพิเศษ ให้มีเวลาปรับตัวรับราคาน้ำมันที่แพงก็เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม การเข้าไปชดเชยราคาน้ำมันเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ แต่ควรทำเฉพาะที่จำเป็นและชั่วคราวเพื่อบรรเทาผลกระทบจากน้ำมันแพง แต่ไม่ควรทำเป็นระยะเวลานาน เพราะนอกจากจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากแล้ว ยังส่งผลให้ภาคการผลิตไม่มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งในที่สุดจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ ขณะที่ ธปท.มีความเห็นว่า ในระยะยาวทางแก้ คือ การจัดสรรงบประมาณการลงทุนในด้านการประหยัดพลังงาน ระบบขนส่งมวลชน รถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ รวมทั้งส่งเสริมให้ภาคเอกชนลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนประหยัดพลังงานเพิ่มข้นด้วย
นางศิริพรรณ นาครทรรพ ผู้บริหารทีมวิเคราะห์เศรษฐกิจ ฝ่ายเศรษฐกิจภายในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกบทความ “นโยบายพลังงานในยุคน้ำมันแพง” โดยระบุว่า จากราคาน้ำมันดิบดูไบที่ทะลุ 109 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแตะ 120 เหรียญต่อบาร์เรลภายในปีนี้ ขณะนี้เริ่มมีความวิตกกังกลว่า แนวโน้มราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และจะคงตัวอยู่ในระดับสูงจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทบต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์การอุปโภคบริโภคในประเทศที่เริ่มดีขึ้นในไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมา และต่อเนื่องในเดือนแรกของปีนี้ และอาจจะส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงภาคการผลิต และการจ้างงาน และในที่สุดเศรษฐกิจไทยอาจจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดกันไว้ได้ นอกจากนั้น ยังอาจจะก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อที่รุนแรงมากขึ้น
ดังนั้น นโยบายการแก้ไขปัญหาพลังงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่ต้องคำนึงถึงผลระยะยาว และอิงกับกลไกตลาดให้มากที่สุด โดยผู้บริหารทีมวิเคราะห์เศรษฐกิจของ ธปท.ให้ความเห็นว่า การใช้นโยบายพลังงานทางเลือกเป็นมาตรการหนึ่งที่รัฐบาลต้องดำเนินการ แต่จะต้องคำนึงถึงผลกระทบข้างเคียงต่อราคาพืชพลังงานที่อาจจะกระทบ ต่อราคาอาหารของประเทศ ขณะที่การดูแลกลุ่มประชาชนที่อ่อนแอเป็นพิเศษ ให้มีเวลาปรับตัวรับราคาน้ำมันที่แพงก็เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม การเข้าไปชดเชยราคาน้ำมันเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ แต่ควรทำเฉพาะที่จำเป็นและชั่วคราวเพื่อบรรเทาผลกระทบจากน้ำมันแพง แต่ไม่ควรทำเป็นระยะเวลานาน เพราะนอกจากจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากแล้ว ยังส่งผลให้ภาคการผลิตไม่มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งในที่สุดจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ ขณะที่ ธปท.มีความเห็นว่า ในระยะยาวทางแก้ คือ การจัดสรรงบประมาณการลงทุนในด้านการประหยัดพลังงาน ระบบขนส่งมวลชน รถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ รวมทั้งส่งเสริมให้ภาคเอกชนลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนประหยัดพลังงานเพิ่มข้นด้วย