ถ้อยความหยามหมิ่นปรามาสประชาชนผู้ตื่นตัวเป็นพลเมืองขับเคลื่อนประเด็นสาธารณะ ไม่ว่าจะสเกลจำกัดแค่ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข ผังเมือง ค้าปลีกข้ามชาติ บรรษัทเกษตรกรรมยักษ์ใหญ่ หรือกว้างขวางระดับเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นอกจากจะสะท้อนความตื้นเขินคับแคบของผู้นำรัฐที่ผูกขาดนโยบายสาธารณะว่าต้องมาจากสภาฯ แล้ว ยังฉายภาพความอหังการมมังการข่มขู่คุกคามพลเมืองเห็นต่างผ่านการปักป้ายปรปักษ์หรือถึงขั้นปราบปราม
มากกว่านั้น การกีดกันภาคประชาชนไม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองหลังสิ้นสุดพิธีกรรมเลือกตั้ง 4 วินาทียังแสดงความ ‘อกตัญญู’ ต่อประชาชนของบรรดานักการเมืองปัจจุบันผู้ได้รับอานิสงส์จากการเคลื่อนไหวของการเมืองภาคประชาชนบนท้องถนนราชดำเนินนับแต่ 14 ตุลา 16 ที่พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยแบบตัวแทน
สายธารประชาธิปไตยไทยที่ก้าวสู่ปีที่ 76 จึงแห้งเหือดลงเรื่อยๆ เพราะตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 พัฒนาการระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยไม่ได้ก้าวหน้าทัดเทียมอนารยประเทศต้นแบบเลยด้วยขาดการร่วมคิดร่วมสร้างร่วมฝันของประชาชน
ระบอบประชาธิปไตยที่ถอยหลังจึงยึดโยงกับการบริหารชาติบ้านเมืองแบบลุอำนาจของกลุ่มชนชั้นปกครองทั้งสวมหมวกอำมาตยาธิปไตยและประชาธิปไตย โดยเฉพาะสังกัดหมวกใบหลังผู้พยายามเนียนกลืนกับกระแสโลกาภิวัตน์ที่ชูธงเลือกตั้งว่าเป็นทั้งวิธีเข้าถึงและใช้อำนาจ ทั้งที่มากครั้งตั้งใจบิดเบือนหลักการกฎหมายสูงสุด และศีลธรรมดีงามเพื่อแสวงประโยชน์โภชผลมิชอบ
การตื่นรู้รวมตัวกันชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธของพลเมืองผู้คัดค้านนโยบายสาธารณะที่ไร้วุฒิภาวะทางความรู้ วิสัยทัศน์ และขัดกับวิถีชีวิต หรือกล้าหาญต้านทานอำนาจแทรกแซงตุลาการและข้อมูลข่าวสารสาธารณะ จึงต้องถูกดิสเครดิตหรือทำลายโดยนักการเมืองผู้ลุ่มหลงอวิชชามองการเมืองเป็นของนักการเมือง ไม่มีการเมืองของประชาชน
ฉลากมากมายจึงถูกนำมาประทับตราประชาชนผู้ลุกขึ้นมาเป็นพลเมืองดีตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐผ่านการยัดเยียดข้อหาเกร่อๆ ว่าเป็นแก๊งข้างถนนทำลายชาติบ้านเมือง โดยอ้างวาทกรรมความชอบธรรมว่าตนเองมาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
การเมืองของนักการเมืองจึงเป็นการไขว่คว้าชัยชนะในสนามเลือกตั้งให้ได้ทุกวิถีทาง มากเท่าๆ กับพยายามตัดตอนสิทธิทางการเมืองของประชาชนที่ไปกระทบอำนาจของพวกเขาอย่างการประชาพิจารณ์ การลงประชามติ การเสนอกฎหมาย และการถอดถอน
ฉะนั้นเพื่อความสงบสุข ประชาชนที่ยังไม่เปลี่ยนเป็นพลเมืองจึงสยบยอมนักการเมืองเสมอมา ไม่ว่าจะเผชิญอำนาจอยุติธรรมฉ้อฉลคอร์รัปชันกลั่นแกล้งเท่าใด!
ถึงกระนั้นก็ตาม ใช่ว่าความคุ้นเคยของนักการเมืองที่ทอดยอดยาวกว่า 7 ทศวรรษนี้จะไม่ถูกท้าทายเลย แต่แท้ที่จริงกลับแหลมคมขึ้นเรื่อยๆ ในห้วง 5 ปีผ่านมา อันเนื่องมาจากประชาชนทบทวีเท่าทันเล่ห์เพทุบายนักการเมือง และไม่น้อยไม่ถอยถอดใจในการถูกอำนาจรัฐข่มเหงรังแก
แต่ตรงข้ามกลับรวมกลุ่มกันเหนียวแน่นด้วยสัมพันธภาพแนวราบ และแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้ผ่านสื่อสารมวลชนเพื่อขจัดวัฒนธรรมอำนาจบาตรใหญ่ที่ครอบงำโครงสร้างสังคมไทยมาช้านาน
นักการเมืองในนามรัฐบาลที่ชาญฉลาดจึงต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากปิดกั้นมาเปิดกว้างให้ภาคประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้นในการแสดงความคิดความเห็นบนเวทีสาธารณะถึงจะขัดแย้งกับนโยบายรัฐ รวมถึงส่งเสริมการรวมกลุ่มกันของพลเมืองในประเด็นต่างๆ อย่างกว้างขวางด้วยกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมที่ถ้อยถักความรู้เข้ากับความรู้สึกจนตก ‘ผลึก’
ต่างจากนักการเมืองขลาดเขลาที่ประกาศกร้าวเป็นปฏิปักษ์กับการเมืองภาคประชาชนด้วยข้ออ้างอ่อนด้อยวุฒิภาวะประชาธิปไตยว่าตนเองกุมเสียงข้างมากจากการชนะเลือกตั้ง จึงสามารถใช้อำนาจรัฐอันอุปทานว่าเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะตนจะกระทำการใดๆ ก็ได้โดยไม่นำพาเสียงข้างน้อยที่รวมตัวต่อต้านตามการรับรองสิทธิเสรีภาพของรัฐธรรมนูญทั้ง 2540 และ 2550
การถ่ายโอนอำนาจอธิปไตยที่เป็นของปวงชนชาวไทยสู่มือนักการเมืองผ่านสนามเลือกตั้งจึงกัดกร่อนแก่นแกนประชาธิปไตยเมืองไทยให้เหลือเพียงกระพี้ เพราะตราบใดปวงชนคนไทยยังไม่ตื่นตัวเป็นพลเมือง ตราบนั้นเจตนารมณ์ประชาธิปไตยที่ให้อำนาจสูงสุดเป็น ‘ของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน’ ย่อมไร้หนทางเกิดขึ้นจริง
ยิ่งกว่านั้นยังยากมากหากรัฐยังยึดติดกระบวนทัศน์อำนาจนิยมแนวดิ่ง ครองตนในความคับแคบแห่งโลกทัศน์และชีวทัศน์ที่มองกิจกรรมการเมืองทุกอย่างของประชาชนว่าเป็นพวกขัดขวางประชาธิปไตย ทำลายเม็ดเงินเศรษฐกิจการลงทุน ตลอดจนทอนความสงบสุขสามัคคีของชาติบ้านเมือง เพียงเพราะพวกเขาไม่ได้เข้าสู่ระบบเลือกตั้ง
ทั้งที่ ‘หมวกพลเมือง’ ที่สวมใส่โดยประชาชนมีคุณค่ายั่งยืนกว่าหัวโขนการเมืองมหาศาล เพราะเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพจากการครอบครองเลข 13 หลักบนบัตรประชาชนมาพัฒนาระบอบประชาธิปไตยผ่านการเคลื่อนไหวทางการเมืองระดับต่างๆ ในนามของมวลชนพลเมืองมุ่งมั่นเสียสละ หาญกล้าต่อกรกับนักการเมืองผู้สถาปนาตัวเองเป็นขวากหนามการเมืองภาคพลเมือง
กล่าวอย่างเอียงข้างประชาชน สังคมไทยในภาคส่วนต่างๆ ต้องผนึกพลังกับพลเมืองถั่งโถมโหมแรงใจกายกำจัดผู้กุมอำนาจรัฐเหี้ยมโหดที่มองมวลมหาประชาชนเป็นศัตรูต้องสังหารให้สิ้นซากหากเห็นต่างกับตนเอง ควบคู่กับยกระดับความเข้าใจในสารัตถะประชาธิปไตยว่าจะขาดหายการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนไม่ได้ในทำนองเดียวกันกับต้องมีการเมืองในสภาฯ
ทว่าท่ามกลางความบกพร่องของระบอบประชาธิปไตยไทยที่ถูกลดทอนลงเหลือแค่การได้เสียงข้างมากจากการเลือกตั้ง การเคลื่อนไหวของมวลชนบนท้องถนนที่มีเป้าหมายตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจรัฐจึงถูกบิดเบือนเป็น ‘กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย’ เสมอมา และยังเลวร้ายขึ้นมากจากการดูถูกว่ามี ‘เพียงหยิบมือเดียว’ เมื่อเทียบกับคะแนนเสียงเลือกตั้งที่เขาได้รับมา
แม้ว่าตามหลักการประชาธิปไตยแล้ว พลเมืองเพียงหลักร้อยหรือมหาศาลเรือนล้านนั้นต่างก็ต้องได้รับความเคารพจากรัฐบาลผู้พร่ำรำพันว่ามาจากการเลือกตั้งอย่างเสมอหน้ากัน หรือว่ารัฐบาลยังใจแคบแอบจิตมองมวลชนที่สนับสนุนรัฐบาลเท่านั้นว่าเป็นพลเมือง
การเคลื่อนไหวของพลเมืองในบริบทสังคมไทยทั้งในมิติคัดค้านนโยบายสาธารณะหรือต่อต้านการเมืองนั้นจึงต้องเน้นคุณภาพควบคู่กับ ‘ปริมาณ’ เป็นสำคัญ เพื่อจะก่อเกิดมวลวิกฤต (Critical mass) ทางการเมืองในลักษณาการเดียวกันกับทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์ที่เชื้อเพลิงยูเรเนียม 233 และ 235 หรือพลูโตเนียม 239 จะผ่านกระบวนการทำให้เข้มข้น ก่อนเก็บไว้ภายใต้สภาวะวิกฤตเพื่อพร้อมจะแตกตัวพวยพุ่งพลังมหาศาล
มวลวิกฤตนิวเคลียร์ฟิสิกส์ว่าคำนวณยากแล้ว แต่มวลวิกฤตทางสังคมระดับปฏิรูปทางการเมืองกลับยากมากกว่า ด้วยไม่มีสมการใดให้คำตอบแน่ชัดได้ว่าตัวเลขที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงควรเป็นเท่าใดในมวลสมาชิกทั้งหมดของสังคมไทย
ไม่เพียงเท่านั้นยังไม่อาจทำนายว่าพลเมืองคนที่หนึ่งร้อยที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมไทยได้เหมือนลิงธรรมดาตัวที่หนึ่งร้อยที่นำลิงทั้งฝูงไปล้างมันเทศที่ลำธารแทนการปัดทรายก่อนลิ้มชิมรสอย่างในเรื่องราวลิงตัวที่หนึ่งร้อย (Hundredth monkey effect) ในหนังสือ Lifetide ของ Lyall Watson จะมาถึงเมื่อใด
การเมืองไทยในวันนี้จึงกำลังรอการปรากฏตัวของ ‘พลเมืองคนที่หนึ่งร้อย’ เพื่อจะเป็นมวลวิกฤตผลักดันระบอบประชาธิปไตยไปถึงฝั่งฝันหลังล้มละลายมากว่า 7 ทศวรรษด้วยหัวใจระทึก.-
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแหงชาติ (มสช.) www.thainhf.org
มากกว่านั้น การกีดกันภาคประชาชนไม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองหลังสิ้นสุดพิธีกรรมเลือกตั้ง 4 วินาทียังแสดงความ ‘อกตัญญู’ ต่อประชาชนของบรรดานักการเมืองปัจจุบันผู้ได้รับอานิสงส์จากการเคลื่อนไหวของการเมืองภาคประชาชนบนท้องถนนราชดำเนินนับแต่ 14 ตุลา 16 ที่พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยแบบตัวแทน
สายธารประชาธิปไตยไทยที่ก้าวสู่ปีที่ 76 จึงแห้งเหือดลงเรื่อยๆ เพราะตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 พัฒนาการระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยไม่ได้ก้าวหน้าทัดเทียมอนารยประเทศต้นแบบเลยด้วยขาดการร่วมคิดร่วมสร้างร่วมฝันของประชาชน
ระบอบประชาธิปไตยที่ถอยหลังจึงยึดโยงกับการบริหารชาติบ้านเมืองแบบลุอำนาจของกลุ่มชนชั้นปกครองทั้งสวมหมวกอำมาตยาธิปไตยและประชาธิปไตย โดยเฉพาะสังกัดหมวกใบหลังผู้พยายามเนียนกลืนกับกระแสโลกาภิวัตน์ที่ชูธงเลือกตั้งว่าเป็นทั้งวิธีเข้าถึงและใช้อำนาจ ทั้งที่มากครั้งตั้งใจบิดเบือนหลักการกฎหมายสูงสุด และศีลธรรมดีงามเพื่อแสวงประโยชน์โภชผลมิชอบ
การตื่นรู้รวมตัวกันชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธของพลเมืองผู้คัดค้านนโยบายสาธารณะที่ไร้วุฒิภาวะทางความรู้ วิสัยทัศน์ และขัดกับวิถีชีวิต หรือกล้าหาญต้านทานอำนาจแทรกแซงตุลาการและข้อมูลข่าวสารสาธารณะ จึงต้องถูกดิสเครดิตหรือทำลายโดยนักการเมืองผู้ลุ่มหลงอวิชชามองการเมืองเป็นของนักการเมือง ไม่มีการเมืองของประชาชน
ฉลากมากมายจึงถูกนำมาประทับตราประชาชนผู้ลุกขึ้นมาเป็นพลเมืองดีตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐผ่านการยัดเยียดข้อหาเกร่อๆ ว่าเป็นแก๊งข้างถนนทำลายชาติบ้านเมือง โดยอ้างวาทกรรมความชอบธรรมว่าตนเองมาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
การเมืองของนักการเมืองจึงเป็นการไขว่คว้าชัยชนะในสนามเลือกตั้งให้ได้ทุกวิถีทาง มากเท่าๆ กับพยายามตัดตอนสิทธิทางการเมืองของประชาชนที่ไปกระทบอำนาจของพวกเขาอย่างการประชาพิจารณ์ การลงประชามติ การเสนอกฎหมาย และการถอดถอน
ฉะนั้นเพื่อความสงบสุข ประชาชนที่ยังไม่เปลี่ยนเป็นพลเมืองจึงสยบยอมนักการเมืองเสมอมา ไม่ว่าจะเผชิญอำนาจอยุติธรรมฉ้อฉลคอร์รัปชันกลั่นแกล้งเท่าใด!
ถึงกระนั้นก็ตาม ใช่ว่าความคุ้นเคยของนักการเมืองที่ทอดยอดยาวกว่า 7 ทศวรรษนี้จะไม่ถูกท้าทายเลย แต่แท้ที่จริงกลับแหลมคมขึ้นเรื่อยๆ ในห้วง 5 ปีผ่านมา อันเนื่องมาจากประชาชนทบทวีเท่าทันเล่ห์เพทุบายนักการเมือง และไม่น้อยไม่ถอยถอดใจในการถูกอำนาจรัฐข่มเหงรังแก
แต่ตรงข้ามกลับรวมกลุ่มกันเหนียวแน่นด้วยสัมพันธภาพแนวราบ และแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้ผ่านสื่อสารมวลชนเพื่อขจัดวัฒนธรรมอำนาจบาตรใหญ่ที่ครอบงำโครงสร้างสังคมไทยมาช้านาน
นักการเมืองในนามรัฐบาลที่ชาญฉลาดจึงต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากปิดกั้นมาเปิดกว้างให้ภาคประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้นในการแสดงความคิดความเห็นบนเวทีสาธารณะถึงจะขัดแย้งกับนโยบายรัฐ รวมถึงส่งเสริมการรวมกลุ่มกันของพลเมืองในประเด็นต่างๆ อย่างกว้างขวางด้วยกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมที่ถ้อยถักความรู้เข้ากับความรู้สึกจนตก ‘ผลึก’
ต่างจากนักการเมืองขลาดเขลาที่ประกาศกร้าวเป็นปฏิปักษ์กับการเมืองภาคประชาชนด้วยข้ออ้างอ่อนด้อยวุฒิภาวะประชาธิปไตยว่าตนเองกุมเสียงข้างมากจากการชนะเลือกตั้ง จึงสามารถใช้อำนาจรัฐอันอุปทานว่าเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะตนจะกระทำการใดๆ ก็ได้โดยไม่นำพาเสียงข้างน้อยที่รวมตัวต่อต้านตามการรับรองสิทธิเสรีภาพของรัฐธรรมนูญทั้ง 2540 และ 2550
การถ่ายโอนอำนาจอธิปไตยที่เป็นของปวงชนชาวไทยสู่มือนักการเมืองผ่านสนามเลือกตั้งจึงกัดกร่อนแก่นแกนประชาธิปไตยเมืองไทยให้เหลือเพียงกระพี้ เพราะตราบใดปวงชนคนไทยยังไม่ตื่นตัวเป็นพลเมือง ตราบนั้นเจตนารมณ์ประชาธิปไตยที่ให้อำนาจสูงสุดเป็น ‘ของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน’ ย่อมไร้หนทางเกิดขึ้นจริง
ยิ่งกว่านั้นยังยากมากหากรัฐยังยึดติดกระบวนทัศน์อำนาจนิยมแนวดิ่ง ครองตนในความคับแคบแห่งโลกทัศน์และชีวทัศน์ที่มองกิจกรรมการเมืองทุกอย่างของประชาชนว่าเป็นพวกขัดขวางประชาธิปไตย ทำลายเม็ดเงินเศรษฐกิจการลงทุน ตลอดจนทอนความสงบสุขสามัคคีของชาติบ้านเมือง เพียงเพราะพวกเขาไม่ได้เข้าสู่ระบบเลือกตั้ง
ทั้งที่ ‘หมวกพลเมือง’ ที่สวมใส่โดยประชาชนมีคุณค่ายั่งยืนกว่าหัวโขนการเมืองมหาศาล เพราะเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพจากการครอบครองเลข 13 หลักบนบัตรประชาชนมาพัฒนาระบอบประชาธิปไตยผ่านการเคลื่อนไหวทางการเมืองระดับต่างๆ ในนามของมวลชนพลเมืองมุ่งมั่นเสียสละ หาญกล้าต่อกรกับนักการเมืองผู้สถาปนาตัวเองเป็นขวากหนามการเมืองภาคพลเมือง
กล่าวอย่างเอียงข้างประชาชน สังคมไทยในภาคส่วนต่างๆ ต้องผนึกพลังกับพลเมืองถั่งโถมโหมแรงใจกายกำจัดผู้กุมอำนาจรัฐเหี้ยมโหดที่มองมวลมหาประชาชนเป็นศัตรูต้องสังหารให้สิ้นซากหากเห็นต่างกับตนเอง ควบคู่กับยกระดับความเข้าใจในสารัตถะประชาธิปไตยว่าจะขาดหายการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนไม่ได้ในทำนองเดียวกันกับต้องมีการเมืองในสภาฯ
ทว่าท่ามกลางความบกพร่องของระบอบประชาธิปไตยไทยที่ถูกลดทอนลงเหลือแค่การได้เสียงข้างมากจากการเลือกตั้ง การเคลื่อนไหวของมวลชนบนท้องถนนที่มีเป้าหมายตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจรัฐจึงถูกบิดเบือนเป็น ‘กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย’ เสมอมา และยังเลวร้ายขึ้นมากจากการดูถูกว่ามี ‘เพียงหยิบมือเดียว’ เมื่อเทียบกับคะแนนเสียงเลือกตั้งที่เขาได้รับมา
แม้ว่าตามหลักการประชาธิปไตยแล้ว พลเมืองเพียงหลักร้อยหรือมหาศาลเรือนล้านนั้นต่างก็ต้องได้รับความเคารพจากรัฐบาลผู้พร่ำรำพันว่ามาจากการเลือกตั้งอย่างเสมอหน้ากัน หรือว่ารัฐบาลยังใจแคบแอบจิตมองมวลชนที่สนับสนุนรัฐบาลเท่านั้นว่าเป็นพลเมือง
การเคลื่อนไหวของพลเมืองในบริบทสังคมไทยทั้งในมิติคัดค้านนโยบายสาธารณะหรือต่อต้านการเมืองนั้นจึงต้องเน้นคุณภาพควบคู่กับ ‘ปริมาณ’ เป็นสำคัญ เพื่อจะก่อเกิดมวลวิกฤต (Critical mass) ทางการเมืองในลักษณาการเดียวกันกับทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์ที่เชื้อเพลิงยูเรเนียม 233 และ 235 หรือพลูโตเนียม 239 จะผ่านกระบวนการทำให้เข้มข้น ก่อนเก็บไว้ภายใต้สภาวะวิกฤตเพื่อพร้อมจะแตกตัวพวยพุ่งพลังมหาศาล
มวลวิกฤตนิวเคลียร์ฟิสิกส์ว่าคำนวณยากแล้ว แต่มวลวิกฤตทางสังคมระดับปฏิรูปทางการเมืองกลับยากมากกว่า ด้วยไม่มีสมการใดให้คำตอบแน่ชัดได้ว่าตัวเลขที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงควรเป็นเท่าใดในมวลสมาชิกทั้งหมดของสังคมไทย
ไม่เพียงเท่านั้นยังไม่อาจทำนายว่าพลเมืองคนที่หนึ่งร้อยที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมไทยได้เหมือนลิงธรรมดาตัวที่หนึ่งร้อยที่นำลิงทั้งฝูงไปล้างมันเทศที่ลำธารแทนการปัดทรายก่อนลิ้มชิมรสอย่างในเรื่องราวลิงตัวที่หนึ่งร้อย (Hundredth monkey effect) ในหนังสือ Lifetide ของ Lyall Watson จะมาถึงเมื่อใด
การเมืองไทยในวันนี้จึงกำลังรอการปรากฏตัวของ ‘พลเมืองคนที่หนึ่งร้อย’ เพื่อจะเป็นมวลวิกฤตผลักดันระบอบประชาธิปไตยไปถึงฝั่งฝันหลังล้มละลายมากว่า 7 ทศวรรษด้วยหัวใจระทึก.-
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแหงชาติ (มสช.) www.thainhf.org