ผมเคยเขียนและบรรยายไว้ว่าประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม จะมีความวุ่นวายทางการเมือง เพราะเป็นระยะเวลาที่ คตส.จะสรุปคดีต่างๆ ส่งให้อัยการ แล้วก็เป็นความจริงในการพยายามแก้ปัญหานี้ การเข้าแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมย่อมทำได้ยาก อย่างดีก็ประวิงเวลาไว้ อีกทางเลือกหนึ่งก็คือ ล้มคดีเสียเลยด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยอาศัยเสียงข้างมากในสภาฯ แต่ก็ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เพิ่งผ่านการประชามติมาไม่กี่เดือน จะรอไปแก้เอาปีหน้าก็ไม่ทันการ เพราะคดีจาก คตส.จะต้องพิจารณากันในเร็ววันนี้
ดังนั้น การเมืองไทยในปีนี้จึงเป็นการเมืองเรื่องส่วนตัวโดยแท้ และเป็นภาวะที่มีความเสื่อมโทรมทางการเมืองมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน ตั้งแต่มีนายกรัฐมนตรีที่ได้รับการสนับสนุนมาเพื่อทำงานแก้ไขปัญหาส่วนตัวให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ไปจนถึงรัฐมนตรีที่บรรดาคน 111 คน ที่เคยมีอิทธิพลแต่เล่นการเมืองไม่ได้ ส่งเข้ามาเป็นตัวแทน คณะรัฐมนตรีชุดนี้จึงด้อยทั้งคุณวุฒิ และประสบการณ์ บางคนก็มีความเป็นมาที่น่ารังเกียจของสังคม
แต่พ.ต.ท.ทักษิณก็ไม่มีทางเลือก ความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญถูกต่อต้านด้วยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งยังมีประชาชนสนับสนุนอย่างกว้างขวางผิดความคาดหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณและพรรคพวก การชุมนุมของพันธมิตรฯ ทำให้มีการขุดคุ้ยเรื่องราวของทักษิณขึ้นมาอีก แม้สมัคร เฉลิม และจักรภพจะโดนประณามบ้าง แต่คนที่ยับเยินที่สุดก็คือ ทักษิณ นั่นเอง
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่น่าศึกษา เพราะเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่มีลักษณะพิเศษคือ
1. ไม่มีการรวมตัวกันเป็นองค์กรที่ถาวร
2. เป็นการเคลื่อนไหวมวลชนที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันทีเป็นธรรมชาติ
3. เป็นการเคลื่อนไหวที่มีการระดมทุนสนับสนุนอย่างกว้างขวางในระหว่างการชุมนุม
4. เป็นการร่วมมือระหว่างคนทั่วประเทศ และจากคนไทยในต่างประเทศด้วย
5. การชุมนุมสร้างชุมชนการเมืองที่มีพลัง และมีภราดรภาพ
6. ผู้เข้าชุมนุมทำการชุมนุมอย่างสงบ มีความอดทน อดกลั้นสูง มีระเบียบวินัย
7. ผู้เข้าชุมนุมมีจิตใจกล้าหาญ ไม่เกรงกลัวภยันตราย
8. ผู้เข้าชุมนุม และผู้สนับสนุนมีส่วนร่วมโดยตรงในการเคลื่อนไหว
9. การชุมนุมทางการเมืองมีการผสมผสานสาระความเอาจริงเอาจังกับความสนุกสนานเพลิดเพลิน
10. มีการนำแผนรวมหมู่ คือ มีแกนนำที่ไม่มีผู้นำเดี่ยว
11. ลักษณะของแกนนำมีความแตกต่างหลากหลายทางความรู้ สถานภาพ ประสบการณ์ แต่สามารถใช้จุดแข็งของแต่ละคนสร้างพลังให้กลุ่มได้เป็นอย่างดี
12. การเคลื่อนไหวมีกลยุทธ์ที่ดี มีความยืดหยุ่นสูง
การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีผู้เข้าร่วมเรือนแสน และเมื่อรวมผู้ชมทีวีด้วยแล้วก็น่าจะนับได้หลายล้านคน จัดเป็นการเรียนรู้ทางการเมืองโดยตรงที่ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร และความคิดเห็นทางการเมืองอย่างกว้างขวาง การตื่นตัวทางการเมืองที่เข้มข้นนี้ย่อมมีผลต่อทัศนคติทางการเมือง และพฤติกรรมทางการเมืองของคนไทยอย่างมาก
ปรากฏการณ์นี้คือพลังใหม่ของสังคมการเมืองที่กำลังเข้าสู่สภาวะพรรคเดียว เมื่อรัฐสภาและรัฐบาลถูกครอบงำด้วยพรรคการเมืองพรรคเดียวที่อาศัยเงินทุนจำนวนมาก และการจัดตั้งอย่างเป็นระบบเข้าแทรกแซงกลไกของรัฐ และอำนาจทั้งสามฝ่ายได้จนไม่มีพรรคการเมืองอื่นใด หรือแม้แต่คณะทหารจะทำการทัดทานได้ พลังจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงกลายเป็นแรงเหนี่ยวรั้งถ่วงดุลอำนาจที่สำคัญที่สุด และด้วยลักษณะเฉพาะ 12 ประการดังกล่าวข้างต้น พลังนี้จึงเป็นพลังที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้
ฝ่ายอำนาจรัฐพยายามจัดตั้งกลุ่มต่อต้านขึ้นมา แต่ก็ยากที่จะมีพลังเพราะเป็นการจ้างวานอันธพาลและกุ๊ย เมื่อเทียบกับคุณภาพของผู้เข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯ แล้วก็เห็นได้ชัดว่ามีระยะห่างมาก ฝ่ายหนึ่งรับจ้างมา อีกฝ่ายหนึ่งมาด้วยใจ พลังของผู้ชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงเหนือกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้
เมื่อวิเคราะห์จากทฤษฎีรัฐศาสตร์ ปรากฏารณ์นี้น่าจะทำให้นักทฤษฎีพัฒนาการทางการเมืองต้องทบทวนทฤษฎีใหม่ที่ว่าประชาชนในประเทศไทยไม่สนใจการเมือง การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ ด้วยความสงบเป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้ทฤษฎีฝูงชนบ้าคลั่งที่ไร้สติที่เรียกกันว่า “ม็อบ” ซึ่งเห็นว่าฝูงชนขาดสติและจิตสำนึก แต่การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ มีจิตสำนึกแบบพุทธเป็นพื้นฐาน อย่างน้อยผู้นำสองคนคือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และสนธิ ลิ้มทองกุล ก็เป็นผู้ใฝ่ใจในธรรม ทั้งสองได้นำคติธรรมจากพุทธธรรมมาเป็นธงนำในการเคลื่อนไหว
แนวคิดที่ได้จากปรากฏการณ์นี้อาจเรียกได้ว่าเป็น “การเมืองแบบฉับพลัน” หรือ “Spontaneous Politics” การเมืองแบบฉับพลันไม่ได้มาจากการจัดตั้งล่วงหน้า แต่เกิดจากความรู้สึกร่วมกันที่มีต่อสถานการณ์ทางการเมือง และการมีส่วนร่วมมีความเข้มข้นจริงจัง นอกจากนั้นก็มีลักษณะเฉพาะ 12 ประการดังกล่าวมาแล้ว
นักรัฐศาสตร์ทั้งไทยและต่างประเทศ จะต้องศึกษาปรากฏการณ์นี้ไว้ ผมในฐานะผู้เห็นด้วยและสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อยากกล่าวว่า นอกจากคุณูปการที่กลุ่มพันธมิตรฯ ได้ทำและมีต่อการเมืองไทยแล้ว ก็ยังได้เป็นกรณีศึกษาให้เห็นถึง การเมืองแบบฉับพลัน อีกด้วย
ดังนั้น การเมืองไทยในปีนี้จึงเป็นการเมืองเรื่องส่วนตัวโดยแท้ และเป็นภาวะที่มีความเสื่อมโทรมทางการเมืองมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน ตั้งแต่มีนายกรัฐมนตรีที่ได้รับการสนับสนุนมาเพื่อทำงานแก้ไขปัญหาส่วนตัวให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ไปจนถึงรัฐมนตรีที่บรรดาคน 111 คน ที่เคยมีอิทธิพลแต่เล่นการเมืองไม่ได้ ส่งเข้ามาเป็นตัวแทน คณะรัฐมนตรีชุดนี้จึงด้อยทั้งคุณวุฒิ และประสบการณ์ บางคนก็มีความเป็นมาที่น่ารังเกียจของสังคม
แต่พ.ต.ท.ทักษิณก็ไม่มีทางเลือก ความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญถูกต่อต้านด้วยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งยังมีประชาชนสนับสนุนอย่างกว้างขวางผิดความคาดหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณและพรรคพวก การชุมนุมของพันธมิตรฯ ทำให้มีการขุดคุ้ยเรื่องราวของทักษิณขึ้นมาอีก แม้สมัคร เฉลิม และจักรภพจะโดนประณามบ้าง แต่คนที่ยับเยินที่สุดก็คือ ทักษิณ นั่นเอง
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่น่าศึกษา เพราะเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่มีลักษณะพิเศษคือ
1. ไม่มีการรวมตัวกันเป็นองค์กรที่ถาวร
2. เป็นการเคลื่อนไหวมวลชนที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันทีเป็นธรรมชาติ
3. เป็นการเคลื่อนไหวที่มีการระดมทุนสนับสนุนอย่างกว้างขวางในระหว่างการชุมนุม
4. เป็นการร่วมมือระหว่างคนทั่วประเทศ และจากคนไทยในต่างประเทศด้วย
5. การชุมนุมสร้างชุมชนการเมืองที่มีพลัง และมีภราดรภาพ
6. ผู้เข้าชุมนุมทำการชุมนุมอย่างสงบ มีความอดทน อดกลั้นสูง มีระเบียบวินัย
7. ผู้เข้าชุมนุมมีจิตใจกล้าหาญ ไม่เกรงกลัวภยันตราย
8. ผู้เข้าชุมนุม และผู้สนับสนุนมีส่วนร่วมโดยตรงในการเคลื่อนไหว
9. การชุมนุมทางการเมืองมีการผสมผสานสาระความเอาจริงเอาจังกับความสนุกสนานเพลิดเพลิน
10. มีการนำแผนรวมหมู่ คือ มีแกนนำที่ไม่มีผู้นำเดี่ยว
11. ลักษณะของแกนนำมีความแตกต่างหลากหลายทางความรู้ สถานภาพ ประสบการณ์ แต่สามารถใช้จุดแข็งของแต่ละคนสร้างพลังให้กลุ่มได้เป็นอย่างดี
12. การเคลื่อนไหวมีกลยุทธ์ที่ดี มีความยืดหยุ่นสูง
การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีผู้เข้าร่วมเรือนแสน และเมื่อรวมผู้ชมทีวีด้วยแล้วก็น่าจะนับได้หลายล้านคน จัดเป็นการเรียนรู้ทางการเมืองโดยตรงที่ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร และความคิดเห็นทางการเมืองอย่างกว้างขวาง การตื่นตัวทางการเมืองที่เข้มข้นนี้ย่อมมีผลต่อทัศนคติทางการเมือง และพฤติกรรมทางการเมืองของคนไทยอย่างมาก
ปรากฏการณ์นี้คือพลังใหม่ของสังคมการเมืองที่กำลังเข้าสู่สภาวะพรรคเดียว เมื่อรัฐสภาและรัฐบาลถูกครอบงำด้วยพรรคการเมืองพรรคเดียวที่อาศัยเงินทุนจำนวนมาก และการจัดตั้งอย่างเป็นระบบเข้าแทรกแซงกลไกของรัฐ และอำนาจทั้งสามฝ่ายได้จนไม่มีพรรคการเมืองอื่นใด หรือแม้แต่คณะทหารจะทำการทัดทานได้ พลังจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงกลายเป็นแรงเหนี่ยวรั้งถ่วงดุลอำนาจที่สำคัญที่สุด และด้วยลักษณะเฉพาะ 12 ประการดังกล่าวข้างต้น พลังนี้จึงเป็นพลังที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้
ฝ่ายอำนาจรัฐพยายามจัดตั้งกลุ่มต่อต้านขึ้นมา แต่ก็ยากที่จะมีพลังเพราะเป็นการจ้างวานอันธพาลและกุ๊ย เมื่อเทียบกับคุณภาพของผู้เข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯ แล้วก็เห็นได้ชัดว่ามีระยะห่างมาก ฝ่ายหนึ่งรับจ้างมา อีกฝ่ายหนึ่งมาด้วยใจ พลังของผู้ชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงเหนือกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้
เมื่อวิเคราะห์จากทฤษฎีรัฐศาสตร์ ปรากฏารณ์นี้น่าจะทำให้นักทฤษฎีพัฒนาการทางการเมืองต้องทบทวนทฤษฎีใหม่ที่ว่าประชาชนในประเทศไทยไม่สนใจการเมือง การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ ด้วยความสงบเป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้ทฤษฎีฝูงชนบ้าคลั่งที่ไร้สติที่เรียกกันว่า “ม็อบ” ซึ่งเห็นว่าฝูงชนขาดสติและจิตสำนึก แต่การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ มีจิตสำนึกแบบพุทธเป็นพื้นฐาน อย่างน้อยผู้นำสองคนคือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และสนธิ ลิ้มทองกุล ก็เป็นผู้ใฝ่ใจในธรรม ทั้งสองได้นำคติธรรมจากพุทธธรรมมาเป็นธงนำในการเคลื่อนไหว
แนวคิดที่ได้จากปรากฏการณ์นี้อาจเรียกได้ว่าเป็น “การเมืองแบบฉับพลัน” หรือ “Spontaneous Politics” การเมืองแบบฉับพลันไม่ได้มาจากการจัดตั้งล่วงหน้า แต่เกิดจากความรู้สึกร่วมกันที่มีต่อสถานการณ์ทางการเมือง และการมีส่วนร่วมมีความเข้มข้นจริงจัง นอกจากนั้นก็มีลักษณะเฉพาะ 12 ประการดังกล่าวมาแล้ว
นักรัฐศาสตร์ทั้งไทยและต่างประเทศ จะต้องศึกษาปรากฏการณ์นี้ไว้ ผมในฐานะผู้เห็นด้วยและสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อยากกล่าวว่า นอกจากคุณูปการที่กลุ่มพันธมิตรฯ ได้ทำและมีต่อการเมืองไทยแล้ว ก็ยังได้เป็นกรณีศึกษาให้เห็นถึง การเมืองแบบฉับพลัน อีกด้วย