แรงงานถือเป็นปัจจัยการผลิตประเภทหนึ่งนอกเหนือจากที่ดิน ทุน และผู้ประกอบการ และหากพิจารณาลงไปถึงตัวแปรหลักสำคัญในกระบวนการผลิตก็คงหนีไม่พ้นแรงงานกับทุน สำหรับประเทศกำลังพัฒนาในช่วงต้นของการพัฒนามักขาดแคลนทุน แต่มีกำลังแรงงานอยู่มากจึงนิยมใช้กระบวนการผลิตที่เน้นการใช้แรงงาน ปัญหาที่หลายประเทศประสบก็คือ กำลังแรงงานเริ่มลดลงอันเนื่องมาจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (โดยเฉพาะประเทศกลุ่มยุโรป) คุณภาพของแรงงานหรือระดับทักษะฝีมือของกำลังแรงงานยังไม่สูงนัก และแนวโน้มต้นทุนค่าแรงงานที่สูงขึ้น ในกรณีของประเทศไทย ปัญหาทั้ง 3 ประการข้างต้นได้เกิดขึ้นแล้ว
จากการศึกษาสถานการณ์ของตลาดแรงงานของประเทศไทยโดยกระทรวงแรงงานและ TDRI ได้ข้อสรุปว่า
ในด้านอุปสงค์ของแรงงานเมื่อดูจากยอดการจ้างแรงงานซึ่งเข้าระบบประกันสังคม ในปี 2550 พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 7,806,196 คน เป็นแรงงานชาย 4,183,991 คน (ร้อยละ54) ที่เหลือเป็นแรงงานหญิง 3,622,205 คน ในจำนวนทั้งหมดนี้เป็นแรงงานไร้ฝีมือและกึ่งฝีมือกว่าครึ่ง กิจการที่มีผู้ทำงานมากที่สุดอยู่ในกลุ่มการผลิตด้านอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มอาหารและอาหารสัตว์ กลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม หากพิจารณาในระดับจังหวัดพบว่า มีการทำงานกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ส่วนกลาง ได้แก่ กทม.และปริมณฑลซึ่งเป็นตลาดแรงงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 59 ของแรงงานรวม ในด้านการรับแรงงานเข้าทำงานในระหว่างปี 2549-2550 พบว่า มีการรับเข้างานในตำแหน่งงานใหม่ร้อยละ 18 แต่เป็นการรับเข้าทำงานแทนคนงานเก่าที่ลาออกถึงร้อยละ 82 ส่วนการลาออกจากงานของแรงงานในระหว่างปี 2549-2550 พบว่า ลูกจ้างส่วนใหญ่ ถึงร้อยละ 90 ลาออกเอง ด้านสาขาอาชีพพบว่า แรงงานทั่วไปซึ่งเป็นกลุ่มแรงงานไร้ฝีมือยังมีความต้องการในตลาดแรงงานสูง ในประเด็นด้านคุณภาพของแรงงาน พบว่าแรงงานกลุ่มต่างๆ ยังขาดแคลนความสามารถอย่างมากในเรื่องของด้านภาษาต่างประเทศและคอมพิวเตอร์
ด้านอุปทานแรงงาน พบว่ามีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้น จำนวน 496,013 คน แต่มีผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายเพียง 233,005 คน ส่วนผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษารวมประมาณสองแสนรายแบ่งเป็นระดับ ปวช. และระดับปวส./อนุปริญญา จำนวนใกล้เคียงกัน โดยผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาทั้ง 2 ระดับ ส่วนมากเลือกสาขาอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม (บริหารธุรกิจ) ถึงประมาณร้อยละ 80 สำหรับจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา พบว่ามีผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 149,688 คน ปริญญาโท 21,884 คน และปริญญาเอก 244 คน ทั้งนี้ กว่าร้อยละ 80 ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาจบวิชาที่มิใช่สายวิทยาศาสตร์ ในประเด็นการมีงานทำหลังจบการศึกษานั้น โดยเฉลี่ยทุกระดับการศึกษามีอัตราการมีงานทำในระดับต่ำเพียงไม่เกินร้อยละ 30 เท่านั้น
จากการพยากรณ์อุปสงค์และอุปทานระดับประเทศและระดับจังหวัด พ.ศ. 2551-2554 คาดว่าการจ้างงานรวมของประเทศในช่วงปี 3 ปีข้างหน้า จะมีอัตราการเติบโตร้อยละ 1.05 โดยการจ้างงานในภาคการเกษตรฯ จะหดตัวลงประมาณร้อยละ 3.3 ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมและบริการมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 และ 3.5 ตามลำดับ โดยในปี 2554 คาดว่าการจ้างงานรวมของประเทศอยู่ที่ 37 ล้านคน เป็นภาคเกษตรกรรม 12 ล้านคน ภาคอุตสาหกรรม 9 ล้านคน และภาคบริการ 16 ล้านคน อันที่จริงการที่ภาคเกษตรฯ หดตัวลงก็เป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจเนื่องจากผลของการใช้เครื่องมือเครื่องจักรแทนแรงงาน และการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรฯ มาสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการซึ่งให้ผลตอบแทนที่มั่นคงและสูงกว่า อย่างไรก็ดีการคาดการณ์ข้างต้นถือเป็นเครื่องเตือนเราว่า ในอนาคตภาคเกษตรกรรมของไทยจะลดความสำคัญลงเรื่อยๆ ทั้งในด้านของการเป็นการเป็นตลาดแรงงาน และภาคการผลิตของประเทศ (ซึ่งภาคเกษตรกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้ไม่ถึงร้อยละ 10) อาจจะถึงเวลาที่เราต้องหันกลับมาดูความสมดุลระหว่างภาคอุตสาหกรรมและบริการ กับภาคการเกษตรกันใหม่แล้วก็ได้
จากการศึกษาสถานการณ์ของตลาดแรงงานของประเทศไทยโดยกระทรวงแรงงานและ TDRI ได้ข้อสรุปว่า
ในด้านอุปสงค์ของแรงงานเมื่อดูจากยอดการจ้างแรงงานซึ่งเข้าระบบประกันสังคม ในปี 2550 พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 7,806,196 คน เป็นแรงงานชาย 4,183,991 คน (ร้อยละ54) ที่เหลือเป็นแรงงานหญิง 3,622,205 คน ในจำนวนทั้งหมดนี้เป็นแรงงานไร้ฝีมือและกึ่งฝีมือกว่าครึ่ง กิจการที่มีผู้ทำงานมากที่สุดอยู่ในกลุ่มการผลิตด้านอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มอาหารและอาหารสัตว์ กลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม หากพิจารณาในระดับจังหวัดพบว่า มีการทำงานกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ส่วนกลาง ได้แก่ กทม.และปริมณฑลซึ่งเป็นตลาดแรงงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 59 ของแรงงานรวม ในด้านการรับแรงงานเข้าทำงานในระหว่างปี 2549-2550 พบว่า มีการรับเข้างานในตำแหน่งงานใหม่ร้อยละ 18 แต่เป็นการรับเข้าทำงานแทนคนงานเก่าที่ลาออกถึงร้อยละ 82 ส่วนการลาออกจากงานของแรงงานในระหว่างปี 2549-2550 พบว่า ลูกจ้างส่วนใหญ่ ถึงร้อยละ 90 ลาออกเอง ด้านสาขาอาชีพพบว่า แรงงานทั่วไปซึ่งเป็นกลุ่มแรงงานไร้ฝีมือยังมีความต้องการในตลาดแรงงานสูง ในประเด็นด้านคุณภาพของแรงงาน พบว่าแรงงานกลุ่มต่างๆ ยังขาดแคลนความสามารถอย่างมากในเรื่องของด้านภาษาต่างประเทศและคอมพิวเตอร์
ด้านอุปทานแรงงาน พบว่ามีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้น จำนวน 496,013 คน แต่มีผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายเพียง 233,005 คน ส่วนผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษารวมประมาณสองแสนรายแบ่งเป็นระดับ ปวช. และระดับปวส./อนุปริญญา จำนวนใกล้เคียงกัน โดยผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาทั้ง 2 ระดับ ส่วนมากเลือกสาขาอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม (บริหารธุรกิจ) ถึงประมาณร้อยละ 80 สำหรับจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา พบว่ามีผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 149,688 คน ปริญญาโท 21,884 คน และปริญญาเอก 244 คน ทั้งนี้ กว่าร้อยละ 80 ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาจบวิชาที่มิใช่สายวิทยาศาสตร์ ในประเด็นการมีงานทำหลังจบการศึกษานั้น โดยเฉลี่ยทุกระดับการศึกษามีอัตราการมีงานทำในระดับต่ำเพียงไม่เกินร้อยละ 30 เท่านั้น
จากการพยากรณ์อุปสงค์และอุปทานระดับประเทศและระดับจังหวัด พ.ศ. 2551-2554 คาดว่าการจ้างงานรวมของประเทศในช่วงปี 3 ปีข้างหน้า จะมีอัตราการเติบโตร้อยละ 1.05 โดยการจ้างงานในภาคการเกษตรฯ จะหดตัวลงประมาณร้อยละ 3.3 ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมและบริการมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 และ 3.5 ตามลำดับ โดยในปี 2554 คาดว่าการจ้างงานรวมของประเทศอยู่ที่ 37 ล้านคน เป็นภาคเกษตรกรรม 12 ล้านคน ภาคอุตสาหกรรม 9 ล้านคน และภาคบริการ 16 ล้านคน อันที่จริงการที่ภาคเกษตรฯ หดตัวลงก็เป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจเนื่องจากผลของการใช้เครื่องมือเครื่องจักรแทนแรงงาน และการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรฯ มาสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการซึ่งให้ผลตอบแทนที่มั่นคงและสูงกว่า อย่างไรก็ดีการคาดการณ์ข้างต้นถือเป็นเครื่องเตือนเราว่า ในอนาคตภาคเกษตรกรรมของไทยจะลดความสำคัญลงเรื่อยๆ ทั้งในด้านของการเป็นการเป็นตลาดแรงงาน และภาคการผลิตของประเทศ (ซึ่งภาคเกษตรกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้ไม่ถึงร้อยละ 10) อาจจะถึงเวลาที่เราต้องหันกลับมาดูความสมดุลระหว่างภาคอุตสาหกรรมและบริการ กับภาคการเกษตรกันใหม่แล้วก็ได้