พูดถึงในการลงทุนกับกองทุนรวมแล้ว การที่นักลงทุนจะพิจารณาว่าจะลงทุนในกองทุนไหน ค่ายใด ก็จะต้องพิจารณาจากคุณภาพการบริหารงาน นโยบายการลงทุนของกองทุน ลักษณะการบริหารงานของค่ายนั้นๆ ว่าสอดคล้องกับความต้องการและวัตถุประสงค์การลงทุนที่ต้องการหรือไม่ รวมถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ว่าสมเหตุสมผลมากน้อยเพียงไร เราก็จะได้กองทุนที่เหมาะสมกับความตั้งใจของนักลงทุน
เมื่อเลือกประเภทกองทุนและระดับความเสี่ยงที่ต้องการลงทุนได้แล้ว นักลงทุนก็จะมีรายชื่อกองทุนกลุ่มหนึ่งที่มีนโยบายและระดับความเสี่ยงใกล้เคียงกันอยู่ในมือ ขั้นตอนที่ยากที่สุดขั้นหนึ่งของการลงทุนในกองทุนรวมก็คือ แล้วเราจะเลือกลงทุนกองใดในกลุ่มกองทุนที่หมายตาไว้
วิธีหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหา เลือกไม่ถูก รักพี่เสียดายน้อง ได้นั่นคือ การย้อนกลับไปยังวัตถุประสงค์เริ่มต้นของการลงทุนที่ว่าเรายอมนำเงินมารับความเสี่ยงเพื่ออะไร นั่นคือ “ผลตอบแทน” เพราะทุกคนที่ลงทุนล้วนมีเป้าหมายอยู่ที่ผลตอบแทนทั้งสิ้น และเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้การพิจารณาเลือกกองทุนจากผลตอบแทนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นคือ เครื่องชี้วัดที่ขาดไม่ได้อย่าง “เกณฑ์มาตรฐาน” หรือ Benchmark ของกองทุนรวมแต่ละประเภท
# เกณฑ์มาตรฐาน (Benchmark) มีความสำคัญอย่างไร จัดทำขึ้นเพื่ออะไร
เกณฑ์มาตรฐานในการวัดผลกองทุนรวม ที่ประกาศโดยสมาคมบริษัทจัดการลงทุน เป็นค่าอ้างอิงที่ริษัทจัดการตกลงร่วมกันว่านี่คือ ค่าอ้างอิงที่สะท้อนถึงผลการดำเนินงานของการลงทุนในตราสารแต่ละประเภทว่าเป็นอย่างไร โดยกองทุนแต่ละประเภทก็จะมีเกณฑ์มาตรฐานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่ากองทุนนั้นๆ มีนโยบายการลงทุนเป็นอย่างไร ซึ่งนักลงทุนพึงจะต้องศึกษาก่อนการลงทุนเพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจในการลงทุนได้อย่างถูกต้อง อาทิเช่น
กองทุนที่ลงในตราสารทุนหรือกองทุนหุ้น ก็จะใช้เกณฑ์มาตรฐานจากตลาดหุ้นเพื่อมาใช้เปรียบเทียบไม่ว่าจะเป็น SET INDEX, SET100 หรือ SET50 ขึ้นอยู่กับนโยบายกองทุนหุ้นกองนั้นๆ ว่ามีกรอบใหญ่ของการลงทุนอย่างไร ถ้าเป็นกองทุนหุ้นทั่วไปก็จะใช้ SET INDEX เป็นเกณฑ์มาตรฐาน หรือถ้าเป็นกองทุนดัชนีที่อ้างอิงกับดัชนี SET50 ก็จะใช้ดัชนี SET50 เป็นเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อนำมาเปรียบเทียบผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ของตลาดได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม ดังตัวอย่าง ผลการดำเนินงานย้อนหลัง ข้อมูล ณ วันที่ xx/mm/yy กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น
ตาราง 1
หมายเหตุ *เกณฑ์มาตรฐานที่นำมาใช้ตามเกณฑ์สมาคม คือ ผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET INDEX)
ดังตัวอย่างแสดงให้เห็นว่า กองทุน AAA เปรียบเทียบผลการดำเนินงานย้อนหลังในช่วงเวลาต่าง ๆ แล้วมีผลการดำเนินงานที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (SET INDEX) ในส่วนของกองทุนBBB มีผลการดำเนินงานที่สามารถเอาชนะเกณฑ์มาตรฐาน (SET INDEX) ของตลาดได้ในทุกช่วงเวลาที่นำมาเปรียบเทียบเพราะฉะนั้นกองทุนBBB ก็เป็นกองทุนที่มีความน่าสนใจในการลงทุนมากกว่า จะเห็นได้ว่า มาตรฐานที่นำมาเปรียบเทียบนั้นต้องเป็นไปตามนโยบายของกองทุนตามไปด้วย
ข้อสำคัญประการหนึ่งที่ ต้องไม่ลืมสำหรับการลงทุนในกองทุนหุ้น นั่นคือ หลักเบื้องต้นของการลงทุนในกองทุนหุ้นที่ควรเป็นการลงทุนระยะยาว ผู้จัดการกองทุนบริหารจัดการโดยมองเป้าหมายของผลตอบแทนในระยะยาวมากกว่าระยะสั้นๆ ในบางจังหวะที่ตลาดหุ้นผันผวน กองทุนที่ดีก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ดัชนีได้ และไม่ได้หมายความว่ากองทุนนั้นๆ ไม่น่าลงทุน ดังนั้นการมองผลตอบแทนของกองทุนหุ้นจึงควรให้ความสำคัญกับผลตอบแทนในระยะยาวนาน 1 ปีขึ้นไปมากกว่า
กองทุนตราสารหนี้ ซึ่งตราสารที่ลงทุนจะได้แก่เงินฝากและตราสารหนี้ต่างๆ มีทั้งที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการหาเกณฑ์มาตรฐานก็จะนำค่าเฉลี่ยระหว่างผลตอบแทนของ ThaiBMA Government Bond Index ที่เป็นผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล ร้อยละ50 มารวมกับอัตราผลตอบแทนดอกเบี้ยประจำ 1 ปี เฉลี่ยของธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์สำหรับบุคคลธรรมดาวงเงิน 1 ล้านบาท ร้อยละ50 มาใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานของกองทุนตราสารหนี้ทั่วไป ซึ่งหากเป็นกองทุนตราสารหนี้ที่มีเงื่อนไขการลงทุนเฉพาะลงไป เช่นกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนที่ระบุอายุการลงทุนชัดเจน ก็จะมีเกณฑ์มาตรฐานที่เฉพาะเจาะจงลงไปเพื่อให้ใช้เป็นตัวชี้วัดเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่ชัดเจนขึ้น
ทั้งนี้การใช้ประโยชน์จากเกณฑ์มาตราฐานกองทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย จะยังไม่มากเท่า SET INDEX ที่เป็นเกณฑ์มาตรฐานของกองทุนหุ้น ทั้งนี้เนื่องจากการลงทุนในตราสารหนี้ของนักลงทุนไทยยังไม่แพร่หลาย ส่วนใหญ่การซื้อขายจะเกิดขึ้นกับนักลงทุนสถาบัน โดยนักลงทุนรายย่อยที่ซื้อกองทุนรวมมักนำไปเทียบเคียงกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำธนาคารพาณิชย์ พันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้เอกชนที่เสนอขายทั่วไปและนักลงทุนสามารถเข้าลงทุนได้จริงมากกว่า
สำหรับกองทุนผสม ที่ลงทุนทั้งตราสารทุนและตราสารหนี้ผสมผสานกัน จึงมีเกณฑ์ที่ใช้ต่างจากกองทุนหุ้น โดยเกณฑ์ที่ใช้สำหรับกองทุนผสมจึงเป็นการผสมโดยถ่วงน้ำหนักระหว่างค่าเฉลี่ยระหว่างผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ร้อยละ 50 ผลตอบแทนของ ThaiBMA Government Bond Index ร้อยละ 25 และอัตราผลตอบแทนของดอกเบี้ยประจำ 1 ปี เฉลี่ยของธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์สำหรับบุคคลธรรมดาวงเงิน 1 ล้านบาท อีกร้อยละ 25
แล้วกองทุนที่ท่านสนใจลงทุน มีผลการดำเนินงานเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานแล้วเป็นอย่างไร??
เมื่อเลือกประเภทกองทุนและระดับความเสี่ยงที่ต้องการลงทุนได้แล้ว นักลงทุนก็จะมีรายชื่อกองทุนกลุ่มหนึ่งที่มีนโยบายและระดับความเสี่ยงใกล้เคียงกันอยู่ในมือ ขั้นตอนที่ยากที่สุดขั้นหนึ่งของการลงทุนในกองทุนรวมก็คือ แล้วเราจะเลือกลงทุนกองใดในกลุ่มกองทุนที่หมายตาไว้
วิธีหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหา เลือกไม่ถูก รักพี่เสียดายน้อง ได้นั่นคือ การย้อนกลับไปยังวัตถุประสงค์เริ่มต้นของการลงทุนที่ว่าเรายอมนำเงินมารับความเสี่ยงเพื่ออะไร นั่นคือ “ผลตอบแทน” เพราะทุกคนที่ลงทุนล้วนมีเป้าหมายอยู่ที่ผลตอบแทนทั้งสิ้น และเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้การพิจารณาเลือกกองทุนจากผลตอบแทนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นคือ เครื่องชี้วัดที่ขาดไม่ได้อย่าง “เกณฑ์มาตรฐาน” หรือ Benchmark ของกองทุนรวมแต่ละประเภท
# เกณฑ์มาตรฐาน (Benchmark) มีความสำคัญอย่างไร จัดทำขึ้นเพื่ออะไร
เกณฑ์มาตรฐานในการวัดผลกองทุนรวม ที่ประกาศโดยสมาคมบริษัทจัดการลงทุน เป็นค่าอ้างอิงที่ริษัทจัดการตกลงร่วมกันว่านี่คือ ค่าอ้างอิงที่สะท้อนถึงผลการดำเนินงานของการลงทุนในตราสารแต่ละประเภทว่าเป็นอย่างไร โดยกองทุนแต่ละประเภทก็จะมีเกณฑ์มาตรฐานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่ากองทุนนั้นๆ มีนโยบายการลงทุนเป็นอย่างไร ซึ่งนักลงทุนพึงจะต้องศึกษาก่อนการลงทุนเพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจในการลงทุนได้อย่างถูกต้อง อาทิเช่น
กองทุนที่ลงในตราสารทุนหรือกองทุนหุ้น ก็จะใช้เกณฑ์มาตรฐานจากตลาดหุ้นเพื่อมาใช้เปรียบเทียบไม่ว่าจะเป็น SET INDEX, SET100 หรือ SET50 ขึ้นอยู่กับนโยบายกองทุนหุ้นกองนั้นๆ ว่ามีกรอบใหญ่ของการลงทุนอย่างไร ถ้าเป็นกองทุนหุ้นทั่วไปก็จะใช้ SET INDEX เป็นเกณฑ์มาตรฐาน หรือถ้าเป็นกองทุนดัชนีที่อ้างอิงกับดัชนี SET50 ก็จะใช้ดัชนี SET50 เป็นเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อนำมาเปรียบเทียบผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ของตลาดได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม ดังตัวอย่าง ผลการดำเนินงานย้อนหลัง ข้อมูล ณ วันที่ xx/mm/yy กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น
ตาราง 1
หมายเหตุ *เกณฑ์มาตรฐานที่นำมาใช้ตามเกณฑ์สมาคม คือ ผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET INDEX)
ดังตัวอย่างแสดงให้เห็นว่า กองทุน AAA เปรียบเทียบผลการดำเนินงานย้อนหลังในช่วงเวลาต่าง ๆ แล้วมีผลการดำเนินงานที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (SET INDEX) ในส่วนของกองทุนBBB มีผลการดำเนินงานที่สามารถเอาชนะเกณฑ์มาตรฐาน (SET INDEX) ของตลาดได้ในทุกช่วงเวลาที่นำมาเปรียบเทียบเพราะฉะนั้นกองทุนBBB ก็เป็นกองทุนที่มีความน่าสนใจในการลงทุนมากกว่า จะเห็นได้ว่า มาตรฐานที่นำมาเปรียบเทียบนั้นต้องเป็นไปตามนโยบายของกองทุนตามไปด้วย
ข้อสำคัญประการหนึ่งที่ ต้องไม่ลืมสำหรับการลงทุนในกองทุนหุ้น นั่นคือ หลักเบื้องต้นของการลงทุนในกองทุนหุ้นที่ควรเป็นการลงทุนระยะยาว ผู้จัดการกองทุนบริหารจัดการโดยมองเป้าหมายของผลตอบแทนในระยะยาวมากกว่าระยะสั้นๆ ในบางจังหวะที่ตลาดหุ้นผันผวน กองทุนที่ดีก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ดัชนีได้ และไม่ได้หมายความว่ากองทุนนั้นๆ ไม่น่าลงทุน ดังนั้นการมองผลตอบแทนของกองทุนหุ้นจึงควรให้ความสำคัญกับผลตอบแทนในระยะยาวนาน 1 ปีขึ้นไปมากกว่า
กองทุนตราสารหนี้ ซึ่งตราสารที่ลงทุนจะได้แก่เงินฝากและตราสารหนี้ต่างๆ มีทั้งที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการหาเกณฑ์มาตรฐานก็จะนำค่าเฉลี่ยระหว่างผลตอบแทนของ ThaiBMA Government Bond Index ที่เป็นผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล ร้อยละ50 มารวมกับอัตราผลตอบแทนดอกเบี้ยประจำ 1 ปี เฉลี่ยของธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์สำหรับบุคคลธรรมดาวงเงิน 1 ล้านบาท ร้อยละ50 มาใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานของกองทุนตราสารหนี้ทั่วไป ซึ่งหากเป็นกองทุนตราสารหนี้ที่มีเงื่อนไขการลงทุนเฉพาะลงไป เช่นกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนที่ระบุอายุการลงทุนชัดเจน ก็จะมีเกณฑ์มาตรฐานที่เฉพาะเจาะจงลงไปเพื่อให้ใช้เป็นตัวชี้วัดเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่ชัดเจนขึ้น
ทั้งนี้การใช้ประโยชน์จากเกณฑ์มาตราฐานกองทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย จะยังไม่มากเท่า SET INDEX ที่เป็นเกณฑ์มาตรฐานของกองทุนหุ้น ทั้งนี้เนื่องจากการลงทุนในตราสารหนี้ของนักลงทุนไทยยังไม่แพร่หลาย ส่วนใหญ่การซื้อขายจะเกิดขึ้นกับนักลงทุนสถาบัน โดยนักลงทุนรายย่อยที่ซื้อกองทุนรวมมักนำไปเทียบเคียงกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำธนาคารพาณิชย์ พันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้เอกชนที่เสนอขายทั่วไปและนักลงทุนสามารถเข้าลงทุนได้จริงมากกว่า
สำหรับกองทุนผสม ที่ลงทุนทั้งตราสารทุนและตราสารหนี้ผสมผสานกัน จึงมีเกณฑ์ที่ใช้ต่างจากกองทุนหุ้น โดยเกณฑ์ที่ใช้สำหรับกองทุนผสมจึงเป็นการผสมโดยถ่วงน้ำหนักระหว่างค่าเฉลี่ยระหว่างผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ร้อยละ 50 ผลตอบแทนของ ThaiBMA Government Bond Index ร้อยละ 25 และอัตราผลตอบแทนของดอกเบี้ยประจำ 1 ปี เฉลี่ยของธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์สำหรับบุคคลธรรมดาวงเงิน 1 ล้านบาท อีกร้อยละ 25
แล้วกองทุนที่ท่านสนใจลงทุน มีผลการดำเนินงานเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานแล้วเป็นอย่างไร??