สงครามทวิภพ
แต่งตำรารัฐศาสตร์ใหม่ (4)
มีนักศึกษาคนหนึ่งถามขึ้นอีกว่า
“อาจารย์บอกว่า ถ้าใครมีอดีตชาติเคยเป็นใหญ่เป็นโต ชาตินี้ต้องรับกรรมหนักทั้งนั้น ก็น่าจะจริงครับ น่าสงสารคุณทักษิณนะครับ...ดูสิ คุณทักษิณทุกข์ แค่ไหน”
ผมกล่าวว่า
“ถ้าเราไม่ติดยึดในอดีตชาติ ไม่แบกเรื่องราวในอดีตชาติไว้ให้หนักหัว ทุกข์ที่ดำรงอยู่ก็จะเบาบางลงไม่ต้องไปทำบุญสะเดาะเคราะห์เพราะยิ่งสะเดาะ ทุกข์จะเพิ่มขึ้นอีก เพราะการทำบุญสะเดาะเคราะห์ตัวเรา หรือความเป็นเรา เท่ากับไปตอกย้ำความเชื่อเดิมว่า เราคือใคร”
นักศึกษาอีกคนหนึ่ง ตั้งประเด็นถกใหม่ว่า
“ศาสนาพุทธก็สอนเรื่องการกลับชาติมาเกิดว่า มีจริง ไม่ใช่หรือครับ อย่างเช่นองค์ดาไลลามะของทิเบต ก็มีเรื่องเล่าว่าท่านกลับชาติมาเกิด แสดงว่าเรื่องการกลับชาติมาเกิดเป็นเรื่องจริง”
ผมกล่าวตอบไปว่า
“ถ้าเราศึกษาพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าก่อนจะตรัสรู้ ท่านก็ระลึกชาติได้ว่าท่านมีอดีตชาติเช่นไรก่อนที่จะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าในชาตินี้ จนกลายเป็นเรื่องราวที่เขียนขึ้นในเชิงนิยาย เช่น เรื่องพระเจ้า สิบชาติ ตั้งแต่เรื่องของเตมีใบ้ เรื่อยมาจนถึงเรื่องพระเวชสันดรชาดก ดังนั้น หลักพุทธทั่วไปก็เชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิดไม่มากก็น้อย”
นักศึกษาท่านนี้ได้ตั้งประเด็นแย้งว่า
“ผมคิดว่า เรื่องวิญญาณและการกลับชาติ ต้องจริงแท้แน่นอน จะกล่าวแบบอาจารย์ว่า จริง และ ไม่จริง ก็ได้ ไม่น่าจะถูก”
ผมตอบว่า
“ดูซิ เราเริ่มจากรัฐศาสตร์ พอสอนไปสอนมา วิชานี้กลายเป็นเรื่องปรัชญาและความเชื่อทางศาสนาไปแล้ว”
ผมขยายความต่อว่า
“อย่าลืมนะ ในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าท่านระลึกชาติได้ก่อนที่ท่านจะตรัสรู้ผมเองคิดว่า การตรัสรู้นี่เองทำให้ท่านสามารถก้าวผ่านการหลงติดในภพและในชาติได้แต่ก่อนจะคุยเรื่องนี้ ลองมาเข้าใจเรื่องวิญญาณ และเรื่องการกลับชาติมาเกิดแบบไม่ติดยึดก่อนความจริงแล้ว คำว่า ‘วิญญาณ’ หรือ ‘ตัวกูของกู’ ไม่ใช่สิ่งที่ยั่งยืนคงทนเสมอไปต้องเข้าใจว่า เราเปลี่ยนแปลงวิญญาณของเราได้เราเคยเป็นใคร เราอาจจะเปลี่ยนไปอย่างตรงกันข้ามได้ตัวอย่างเช่น คนที่เคยทำบาปมามาก พอคิดถึงเรื่องเวรกรรมของตนที่ทำมา ก็ตัดสินใจออกบวช ตั้งใจปฏิบัติธรรม ถึงที่สุด ท่านก็เปลี่ยนแปลงความเป็นตัวตนของท่านได้วิญญาณจึงไม่ใช่เรื่องที่แข็งตัว หรือเปลี่ยนไปไม่ได้”
ผมอธิบายต่อว่า
ขอย้อนไปเรื่องการระลึกชาติของพระพุทธเจ้าสักหน่อย คำว่า‘ชาติ’ นี้ไม่จำเป็นต้องหมายถึงชาติที่แล้วเสมอไป แต่น่าจะหมายถึงชาติในช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ก็ได้
ผมเองขอตีความเรื่องการระลึกชาติของพระพุทธเจ้าเป็น 2 แนว
แนวแรก หมายความว่า พระพุทธองค์ได้นั่งสมาธิ และวิเคราะห์สภาวะจิตใจหรือวิญญาณของท่านเอง คล้ายกับถามตัวเองว่า ที่ผ่านมาท่านมีความเชื่ออะไรที่ฝังอยู่ในจิตใจของท่าน จนทำให้ตัวท่านเป็นเช่นนี้ หรือกระทำการเช่นนี้ในปัจจุบันได้อย่างไร
พระองค์จึงได้ระลึกถึงเรื่องราวท่านในอดีตตั้งแต่ยังเป็นเด็กท่านพบว่า ในวัยเด็ก เนื่องจากท่านเกิดในวรรณะกษัตริย์ จึงมีโอกาสเหนือคนทั่วไป ได้รับการสั่งสอนจากบรรดาอาจารย์ที่มีความสามารถหลายท่าน
ในสมัยโบราณนั้น อาจารย์จะสอนเด็กๆ ในวรรณะกษัตริย์ด้วยการเล่าเรื่องนิทานเรื่องราวพระเจ้าสิบชาติ จึงเป็นเรื่องราวที่อาจารย์เล่าให้ท่านฟังตั้งแต่ท่านเป็นเด็กเรื่องส่วนใหญ่เป็นเรื่องของกษัตริย์ที่ทรงทศพิธราชธรรมและเสียสละประโยชน์ส่วนตัว ถือได้ว่าเป็นแบบอย่างของกษัตริย์ที่เป็นพระโพธิสัตว์ (อุทิศตัวเองเพื่อคนอื่นๆ)
บรรดาเรื่องเล่าเหล่านี้ได้ฝังใจพระองค์ท่านมาก ท่านจึงตั้งมั่นว่า ถ้าจะเป็นกษัตริย์ ก็ต้องเป็นกษัตริย์ที่ดำรงและสืบทอดโพธิธรรม เช่นกัน
จิตวิญญาณแห่งโพธินี้เอง คือ พลังที่อยู่เบื้องหลัง ที่ทำให้พระองค์หนีออกจากวัง และออกบวช เพราะพระองค์พบว่าผู้คนทั่วไปล้วนแต่ตกอยู่ในความทุกข์ พระองค์จึงอุทิศชีวิตทั้งชีวิต ทิ้งทั้งครอบครัว และความสุขออกมาแสวงหาธรรม
นี่คือ ชาติที่แล้ว (ชาติในสมัยเด็กๆ) ที่พระองค์ค้นพบในจิตวิญญาณของตนเอง ในมิติแบบที่ไม่ข้ามภพข้ามชาติ
แต่ถึงอย่างไร คำว่า ‘ชาติ’ และ ‘วิญญาณ’ ก็สามารถเข้าใจแบบข้ามภพและข้ามชาติในเวลาเดียวกันได้เช่นกัน
โดยการตีความว่า มนุษย์เรามีวิญญาณ (จิตใหญ่) ที่สามารถสืบทอดกันได้จากคนรุ่นหนึ่งมาสู่ คนอีกรุ่นหนึ่ง
นี่หมายความว่า ความเป็นกษัตริย์แบบโพธิ หรือเรื่องพระเจ้าสิบชาติ อาจจะไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องนิทานที่เล่าสืบทอดกันมาเท่านั้น แต่อาจจะเป็นเรื่องที่มีตัวตนแห่งบุคคลจริงๆ อยู่บ้าง และต่อมาผู้คนได้เล่าลือถึงความดีงามของคนเหล่านี้ จึงเล่าเรื่องหรือแต่งเรื่องพระเจ้าสิบชาติขึ้น
มองในแง่นี้ วิญญาณแห่งความเป็นโพธิ สามารถสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งในยุคหนึ่ง ไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งในอีกยุคหรือสมัยหนึ่งได้ สืบทอด พัฒนา และเปลี่ยนแปลงไปได้ด้วย
นี่คือ การเข้าใจจิตวิญญาณในมิติที่กว้างและไร้พรมแดน
จนกล่าวได้ว่า
เราทุกคนที่เป็นชาวพุทธ เราได้ช่วยกันสืบทอด ‘วิญญาณแห่งความเป็นโพธิ’ และ ‘ความเป็นพุทธะ’ มาได้จนถึงปัจจุบัน
คนที่เป็นโพธิ คือ คนที่มุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะทำแต่ความดี และช่วยเหลือผู้อื่นพระพุทธเจ้าเมื่อระลึกชาติได้ ท่านไม่เพียงแต่พบจิตวิญญาณแห่งโพธิกลางใจของท่านเท่านั้น แต่ในทางกลับกัน ท่านพบว่า เจตจำนงที่มุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะทำความดีเพื่อคนอื่นๆ อาจจะทำให้ท่านหลงทางได้
ท่านจึงได้บทสรุปใหม่ว่า มรรควิธีมีความสำคัญมากก่อนอื่น ต้องพบมรรควิธี หรือเส้นทางที่ถูกต้องก่อนท่านจึงย้อนคิดไปถึงเรื่องราวคืนก่อนที่ท่านจะระลึกชาติได้หลังจากท่านหันมาบริโภคอาหารตามปรกติ ในช่วงกลางคืน ขณะที่ท่านนั่งสมาธิ บรรดากิเลส ได้เข้ารุมเร้า เล่นงาน
ท่านคิดจะสู้รบทำสงครามกับกิเลส แต่บรรดามารและกิเลสกลับยิ่งขยายตัว ราวกับว่าพญามารยกทัพใหญ่มาโอบล้อมท่าน ท่านพยายามต่อสู้ทำสงครามกับกิเลสทั้งคืน ไม่ว่าจะสู้เท่าไร ก็ไม่อาจจะเอาชนะมารได้จนพระแม่ธรณีมาช่วย เอาความเย็น หรือน้ำ มาช่วยขับไล่กิเลส
นักศึกษาคนหนึ่ง คงฟังแล้วงงๆ เลยถามขึ้นว่า
“อาจารย์กำลังบอกว่า มีพระแม่ธรณีจริงอีก ซิ”
ผมหัวเราะและตอบว่า
“เปล่าหรอก...นี่คือ การอธิบายเรื่องการตรัสรู้ตามพระไตรปิฎกเท่านั้น ถ้าอธิบายแบบง่ายๆ เราก็จะพบเส้นทางที่พระพุทธเจ้าค้นพบในการเอาชนะมาร”
อย่าลืมว่าเวลาที่มารหรือกิเลสคุกคามพระองค์นั้น ท่านนั่งสมาธิอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่และใกล้น้ำคืนนั้นเป็นคืนที่สงบเย็นด้วยท่านจึงทำสมาธิ ดึงความสงบเย็นจากธรรมชาติ จากน้ำ จากลม จากต้นโพธิ์เข้าสู่ตัวเองท่านผูกจิตไว้กับธรรมชาติที่สงบเย็น เลิกคิดเปิดสงครามกับกิเลสจิตที่เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติที่สงบเย็น ช่วยให้พระองค์ชนะมารร้ายได้
ผมย้ำว่าทั้งหมดที่กล่าว คือ การตีความของผมนะ
ท่านได้บทสรุปในคืนนั้นว่า
จะค้นพบ ‘เส้นทาง’ หรือ ‘มรรควิธี’ ที่ถูกมีความสำคัญอย่างยิ่งเริ่มจากจิตที่สงบเย็น และเป็นหนึ่งเดียวกับธรรม (ชาติ) ที่สงบเย็น ไม่ต้องไปหลงทรมานร่างกาย ก็สามารถเอาชนะกิเลสร้ายได้ (ยังมีต่อ)
แต่งตำรารัฐศาสตร์ใหม่ (4)
มีนักศึกษาคนหนึ่งถามขึ้นอีกว่า
“อาจารย์บอกว่า ถ้าใครมีอดีตชาติเคยเป็นใหญ่เป็นโต ชาตินี้ต้องรับกรรมหนักทั้งนั้น ก็น่าจะจริงครับ น่าสงสารคุณทักษิณนะครับ...ดูสิ คุณทักษิณทุกข์ แค่ไหน”
ผมกล่าวว่า
“ถ้าเราไม่ติดยึดในอดีตชาติ ไม่แบกเรื่องราวในอดีตชาติไว้ให้หนักหัว ทุกข์ที่ดำรงอยู่ก็จะเบาบางลงไม่ต้องไปทำบุญสะเดาะเคราะห์เพราะยิ่งสะเดาะ ทุกข์จะเพิ่มขึ้นอีก เพราะการทำบุญสะเดาะเคราะห์ตัวเรา หรือความเป็นเรา เท่ากับไปตอกย้ำความเชื่อเดิมว่า เราคือใคร”
นักศึกษาอีกคนหนึ่ง ตั้งประเด็นถกใหม่ว่า
“ศาสนาพุทธก็สอนเรื่องการกลับชาติมาเกิดว่า มีจริง ไม่ใช่หรือครับ อย่างเช่นองค์ดาไลลามะของทิเบต ก็มีเรื่องเล่าว่าท่านกลับชาติมาเกิด แสดงว่าเรื่องการกลับชาติมาเกิดเป็นเรื่องจริง”
ผมกล่าวตอบไปว่า
“ถ้าเราศึกษาพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าก่อนจะตรัสรู้ ท่านก็ระลึกชาติได้ว่าท่านมีอดีตชาติเช่นไรก่อนที่จะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าในชาตินี้ จนกลายเป็นเรื่องราวที่เขียนขึ้นในเชิงนิยาย เช่น เรื่องพระเจ้า สิบชาติ ตั้งแต่เรื่องของเตมีใบ้ เรื่อยมาจนถึงเรื่องพระเวชสันดรชาดก ดังนั้น หลักพุทธทั่วไปก็เชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิดไม่มากก็น้อย”
นักศึกษาท่านนี้ได้ตั้งประเด็นแย้งว่า
“ผมคิดว่า เรื่องวิญญาณและการกลับชาติ ต้องจริงแท้แน่นอน จะกล่าวแบบอาจารย์ว่า จริง และ ไม่จริง ก็ได้ ไม่น่าจะถูก”
ผมตอบว่า
“ดูซิ เราเริ่มจากรัฐศาสตร์ พอสอนไปสอนมา วิชานี้กลายเป็นเรื่องปรัชญาและความเชื่อทางศาสนาไปแล้ว”
ผมขยายความต่อว่า
“อย่าลืมนะ ในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าท่านระลึกชาติได้ก่อนที่ท่านจะตรัสรู้ผมเองคิดว่า การตรัสรู้นี่เองทำให้ท่านสามารถก้าวผ่านการหลงติดในภพและในชาติได้แต่ก่อนจะคุยเรื่องนี้ ลองมาเข้าใจเรื่องวิญญาณ และเรื่องการกลับชาติมาเกิดแบบไม่ติดยึดก่อนความจริงแล้ว คำว่า ‘วิญญาณ’ หรือ ‘ตัวกูของกู’ ไม่ใช่สิ่งที่ยั่งยืนคงทนเสมอไปต้องเข้าใจว่า เราเปลี่ยนแปลงวิญญาณของเราได้เราเคยเป็นใคร เราอาจจะเปลี่ยนไปอย่างตรงกันข้ามได้ตัวอย่างเช่น คนที่เคยทำบาปมามาก พอคิดถึงเรื่องเวรกรรมของตนที่ทำมา ก็ตัดสินใจออกบวช ตั้งใจปฏิบัติธรรม ถึงที่สุด ท่านก็เปลี่ยนแปลงความเป็นตัวตนของท่านได้วิญญาณจึงไม่ใช่เรื่องที่แข็งตัว หรือเปลี่ยนไปไม่ได้”
ผมอธิบายต่อว่า
ขอย้อนไปเรื่องการระลึกชาติของพระพุทธเจ้าสักหน่อย คำว่า‘ชาติ’ นี้ไม่จำเป็นต้องหมายถึงชาติที่แล้วเสมอไป แต่น่าจะหมายถึงชาติในช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ก็ได้
ผมเองขอตีความเรื่องการระลึกชาติของพระพุทธเจ้าเป็น 2 แนว
แนวแรก หมายความว่า พระพุทธองค์ได้นั่งสมาธิ และวิเคราะห์สภาวะจิตใจหรือวิญญาณของท่านเอง คล้ายกับถามตัวเองว่า ที่ผ่านมาท่านมีความเชื่ออะไรที่ฝังอยู่ในจิตใจของท่าน จนทำให้ตัวท่านเป็นเช่นนี้ หรือกระทำการเช่นนี้ในปัจจุบันได้อย่างไร
พระองค์จึงได้ระลึกถึงเรื่องราวท่านในอดีตตั้งแต่ยังเป็นเด็กท่านพบว่า ในวัยเด็ก เนื่องจากท่านเกิดในวรรณะกษัตริย์ จึงมีโอกาสเหนือคนทั่วไป ได้รับการสั่งสอนจากบรรดาอาจารย์ที่มีความสามารถหลายท่าน
ในสมัยโบราณนั้น อาจารย์จะสอนเด็กๆ ในวรรณะกษัตริย์ด้วยการเล่าเรื่องนิทานเรื่องราวพระเจ้าสิบชาติ จึงเป็นเรื่องราวที่อาจารย์เล่าให้ท่านฟังตั้งแต่ท่านเป็นเด็กเรื่องส่วนใหญ่เป็นเรื่องของกษัตริย์ที่ทรงทศพิธราชธรรมและเสียสละประโยชน์ส่วนตัว ถือได้ว่าเป็นแบบอย่างของกษัตริย์ที่เป็นพระโพธิสัตว์ (อุทิศตัวเองเพื่อคนอื่นๆ)
บรรดาเรื่องเล่าเหล่านี้ได้ฝังใจพระองค์ท่านมาก ท่านจึงตั้งมั่นว่า ถ้าจะเป็นกษัตริย์ ก็ต้องเป็นกษัตริย์ที่ดำรงและสืบทอดโพธิธรรม เช่นกัน
จิตวิญญาณแห่งโพธินี้เอง คือ พลังที่อยู่เบื้องหลัง ที่ทำให้พระองค์หนีออกจากวัง และออกบวช เพราะพระองค์พบว่าผู้คนทั่วไปล้วนแต่ตกอยู่ในความทุกข์ พระองค์จึงอุทิศชีวิตทั้งชีวิต ทิ้งทั้งครอบครัว และความสุขออกมาแสวงหาธรรม
นี่คือ ชาติที่แล้ว (ชาติในสมัยเด็กๆ) ที่พระองค์ค้นพบในจิตวิญญาณของตนเอง ในมิติแบบที่ไม่ข้ามภพข้ามชาติ
แต่ถึงอย่างไร คำว่า ‘ชาติ’ และ ‘วิญญาณ’ ก็สามารถเข้าใจแบบข้ามภพและข้ามชาติในเวลาเดียวกันได้เช่นกัน
โดยการตีความว่า มนุษย์เรามีวิญญาณ (จิตใหญ่) ที่สามารถสืบทอดกันได้จากคนรุ่นหนึ่งมาสู่ คนอีกรุ่นหนึ่ง
นี่หมายความว่า ความเป็นกษัตริย์แบบโพธิ หรือเรื่องพระเจ้าสิบชาติ อาจจะไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องนิทานที่เล่าสืบทอดกันมาเท่านั้น แต่อาจจะเป็นเรื่องที่มีตัวตนแห่งบุคคลจริงๆ อยู่บ้าง และต่อมาผู้คนได้เล่าลือถึงความดีงามของคนเหล่านี้ จึงเล่าเรื่องหรือแต่งเรื่องพระเจ้าสิบชาติขึ้น
มองในแง่นี้ วิญญาณแห่งความเป็นโพธิ สามารถสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งในยุคหนึ่ง ไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งในอีกยุคหรือสมัยหนึ่งได้ สืบทอด พัฒนา และเปลี่ยนแปลงไปได้ด้วย
นี่คือ การเข้าใจจิตวิญญาณในมิติที่กว้างและไร้พรมแดน
จนกล่าวได้ว่า
เราทุกคนที่เป็นชาวพุทธ เราได้ช่วยกันสืบทอด ‘วิญญาณแห่งความเป็นโพธิ’ และ ‘ความเป็นพุทธะ’ มาได้จนถึงปัจจุบัน
คนที่เป็นโพธิ คือ คนที่มุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะทำแต่ความดี และช่วยเหลือผู้อื่นพระพุทธเจ้าเมื่อระลึกชาติได้ ท่านไม่เพียงแต่พบจิตวิญญาณแห่งโพธิกลางใจของท่านเท่านั้น แต่ในทางกลับกัน ท่านพบว่า เจตจำนงที่มุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะทำความดีเพื่อคนอื่นๆ อาจจะทำให้ท่านหลงทางได้
ท่านจึงได้บทสรุปใหม่ว่า มรรควิธีมีความสำคัญมากก่อนอื่น ต้องพบมรรควิธี หรือเส้นทางที่ถูกต้องก่อนท่านจึงย้อนคิดไปถึงเรื่องราวคืนก่อนที่ท่านจะระลึกชาติได้หลังจากท่านหันมาบริโภคอาหารตามปรกติ ในช่วงกลางคืน ขณะที่ท่านนั่งสมาธิ บรรดากิเลส ได้เข้ารุมเร้า เล่นงาน
ท่านคิดจะสู้รบทำสงครามกับกิเลส แต่บรรดามารและกิเลสกลับยิ่งขยายตัว ราวกับว่าพญามารยกทัพใหญ่มาโอบล้อมท่าน ท่านพยายามต่อสู้ทำสงครามกับกิเลสทั้งคืน ไม่ว่าจะสู้เท่าไร ก็ไม่อาจจะเอาชนะมารได้จนพระแม่ธรณีมาช่วย เอาความเย็น หรือน้ำ มาช่วยขับไล่กิเลส
นักศึกษาคนหนึ่ง คงฟังแล้วงงๆ เลยถามขึ้นว่า
“อาจารย์กำลังบอกว่า มีพระแม่ธรณีจริงอีก ซิ”
ผมหัวเราะและตอบว่า
“เปล่าหรอก...นี่คือ การอธิบายเรื่องการตรัสรู้ตามพระไตรปิฎกเท่านั้น ถ้าอธิบายแบบง่ายๆ เราก็จะพบเส้นทางที่พระพุทธเจ้าค้นพบในการเอาชนะมาร”
อย่าลืมว่าเวลาที่มารหรือกิเลสคุกคามพระองค์นั้น ท่านนั่งสมาธิอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่และใกล้น้ำคืนนั้นเป็นคืนที่สงบเย็นด้วยท่านจึงทำสมาธิ ดึงความสงบเย็นจากธรรมชาติ จากน้ำ จากลม จากต้นโพธิ์เข้าสู่ตัวเองท่านผูกจิตไว้กับธรรมชาติที่สงบเย็น เลิกคิดเปิดสงครามกับกิเลสจิตที่เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติที่สงบเย็น ช่วยให้พระองค์ชนะมารร้ายได้
ผมย้ำว่าทั้งหมดที่กล่าว คือ การตีความของผมนะ
ท่านได้บทสรุปในคืนนั้นว่า
จะค้นพบ ‘เส้นทาง’ หรือ ‘มรรควิธี’ ที่ถูกมีความสำคัญอย่างยิ่งเริ่มจากจิตที่สงบเย็น และเป็นหนึ่งเดียวกับธรรม (ชาติ) ที่สงบเย็น ไม่ต้องไปหลงทรมานร่างกาย ก็สามารถเอาชนะกิเลสร้ายได้ (ยังมีต่อ)