นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวในรายการ ราชดำเนินเสวนา"วิกฤตประเทศอยู่ที่รัฐธรรมนูญจริงหรือ? " ซึ่งจัดโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อวานนี้ (15มิ.ย.) ว่า หากรัฐบาลยังดึงดันแก้รัฐธรรมนูญ เชื่อว่า จะทำให้เกิดวิกฤตที่รุนแรง เพราะมีความขัดแย้งของคนสองฝ่าย เพราะหากแก้ไขโดยกลุ่มที่สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อีกกลุ่มหนึ่งก็จะขอให้แก้ไขใหม่ และคัดค้านไม่จบสิ้น ฉะนั้นตรงนี้จึงขาดความชอบธรรมแต่แรก จุดหลักต้องดูว่า ควรจะแก้ไขโดยใคร ถึงจะได้รับความไว้วางใจ และไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นสิ่งที่ทำได้
"คนไทยให้ความสำคัญเรื่องที่มามาก ทางที่ดีควรทำให้คนทุกฝ่ายยอมรับในจุดนี้ ถ้าพยายามแก้ต่อไป ก็จะมีปัญหามาก เช่น หากคนร่างเกี่ยวข้อง คนร่างก็จะเอาประโยชน์ตัวเองใส่เข้าไปในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์ อย่างที่บอกกันว่า"ชนชั้นใดบัญญัติกฎหมาย ก็เพื่อประโยชน์ของคนกลุ่มนั้น" ดังนั้น ถ้าจะแก้ไข ทำได้ แต่ต้องทำให้องค์กรที่ร่างรัฐธรรมนูญเป็นที่ยอมรับ ไม่มีข้อครหาว่า คนที่จะร่าง เป็นคนของใคร ซึ่งรูปแบบ ส.ส.ร. ปี 2540 เป็นรูปแบบที่ดี เพราะให้ประชาชนเลือกตัวแทนจังหวัดเข้าไป ยังมีตัวแทนจากฝ่ายนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ทำหน้าที่ยกร่าง จึงยอมรับในเรื่องที่มา เมื่อทำเสร็จแล้ว ส่งไปให้ทำประชาชนทำประชามติ ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องทำกระบวนการให้ทุกฝ่ายยอมรับได้"
นายสมบัติ กล่าวด้วยว่า นิด้าโพล ซึ่งจะเผยผลสำรวจในวันจันทร์ที่ 16 มิ.ย.นี้ ระบุว่า ประชาชน 66% ไม่เห็นด้วยกับการใช้งบประมาณ 2 พันล้านบาท เพื่อทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญในทันทีทันใด มีเพียง 20 % ที่เห็นด้วย และแม้รัฐบาลจะบอกว่า ได้หาเสียงจะแก้รัฐธรรมนูญแล้ว แต่รัฐบาลไม่ได้นำเรื่องนี้ในนโยบายเร่งด่วนของตนเอง และถ้ารัฐบาลอ้างว่า มาจากการเลือกตั้ง และฟังประชาชน จึงต้องแก้รัฐธรรมนูญ ตรงกันข้ามเรื่องที่เป็นประโยชน์ ดูเหมือนรัฐบาลกลับไม่ฟัง
ดังนั้น รัฐบาลต้องปรับท่าที หากยังยืนยันจะแก้รัฐธรรมนูญต่อไป ก็จะเกิดการเผชิญหน้า และเป็นเหตุให้รัฐบาลจะไม่ได้อยู่บริหารประเทศ สิ่งนี้คือ ความเสี่ยง นักการเมืองจึงต้องระวัง หากบริหารประเทศแล้วมีสถานการณ์ไม่สงบเกิดขึ้น ก็จะกลายเป็นเหยื่อ ตกหลุมแล้วจะมีคนอ้าง เข้ามาทำให้ประชาธิปไตยหยุดเดิน สุดท้ายนักการเมืองจะถูกตำหนิว่า เป็นคนสร้างเงื่อนไขให้ประชาธิปไตยหยุดลง
ทั้งนี้ หากจะรักษาประชาธิปไตย ผู้บริหารต้องมีความเชื่อถือ และสร้างศรัทธากับประชาชน คนฉลาดพูดได้ แต่คนจะฟัง หรือไม่เป็นอีกเรื่อง แต่ถ้าคนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ก็จะเกิดปัญหาในการบริหารงานทันที
นายสมบัติ กล่าวว่า หากรัฐบาลดึงดันจะแก้ จะเกิดวิกฤตแน่ และเสี่ยงต่อการไร้เสถียรภาพทางการเมืองมาก สุดท้ายรัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบ เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นได้ รัฐบาลต้องบริหารประเทศด้วยความระมัดระวัง ต้องดูว่า เรื่องไหนเร่งด่วน หรือควรทุ่มเทสรรพกำลังทั้งหมด วันนี้เรื่องการเมืองสำคัญที่สุด ถ้าการเมืองไม่มีเสถียรภาพ ปัญหาอื่นก็ไม่มีเสถียรภาพ ตามมา นิด้าโพลยังระบุว่า ประชาชนต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหาปากท้องก่อนกว่า 70% ขณะที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องเร่งด่วนเพียง 5%
"สิ่งที่น่ากลัววันนี้ คือ ปัญหาราคาน้ำมัน ถามว่ารัฐบาลได้ทุ่มสรรพกำลังเรื่องการประหยัดพลังงาน การเตรียมพลังงานทดแทน การสร้างระบบต่างๆให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือไม่ จนถึงวันนี้ เรายังไม่เห็นรัฐบาลทุ่มเทแก้ปัญหาจริงจัง หากปัญหาปากท้องประชาชนรุนแรงมากขึ้นกระทบกับชนชั้นสูง ผู้ประกอบธุรกิจ เกษตรกร ผู้หาเช้ากินค่ำ แล้วรัฐบาลยังมุ่งจะมาเล่นเกมการเมือง สุดท้ายประชาชนทุกหย่อมหญ้าจะออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาประชาชน เหมือนในฝรั่งเศส อังกฤษ สมาคมรถบรรทุก ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาล ดูแลปัญหาน้ำมัน นับอะไร ประเทศไทย ถ้ารัฐบาลยังนิ่งเฉยปัญหาปากท้องต่อไป น่าวิตกว่า จะเกิดเหตุไม่ปกติในประเทศขึ้น ถ้าประชาชนทนไม่ไหวแล้วออกมารวมตัวกัน ประชาชนก็จะออกมาขับไล่รัฐบาล เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นทุกประเทศ" นายสมบัติ กล่าว
"คนไทยให้ความสำคัญเรื่องที่มามาก ทางที่ดีควรทำให้คนทุกฝ่ายยอมรับในจุดนี้ ถ้าพยายามแก้ต่อไป ก็จะมีปัญหามาก เช่น หากคนร่างเกี่ยวข้อง คนร่างก็จะเอาประโยชน์ตัวเองใส่เข้าไปในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์ อย่างที่บอกกันว่า"ชนชั้นใดบัญญัติกฎหมาย ก็เพื่อประโยชน์ของคนกลุ่มนั้น" ดังนั้น ถ้าจะแก้ไข ทำได้ แต่ต้องทำให้องค์กรที่ร่างรัฐธรรมนูญเป็นที่ยอมรับ ไม่มีข้อครหาว่า คนที่จะร่าง เป็นคนของใคร ซึ่งรูปแบบ ส.ส.ร. ปี 2540 เป็นรูปแบบที่ดี เพราะให้ประชาชนเลือกตัวแทนจังหวัดเข้าไป ยังมีตัวแทนจากฝ่ายนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ทำหน้าที่ยกร่าง จึงยอมรับในเรื่องที่มา เมื่อทำเสร็จแล้ว ส่งไปให้ทำประชาชนทำประชามติ ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องทำกระบวนการให้ทุกฝ่ายยอมรับได้"
นายสมบัติ กล่าวด้วยว่า นิด้าโพล ซึ่งจะเผยผลสำรวจในวันจันทร์ที่ 16 มิ.ย.นี้ ระบุว่า ประชาชน 66% ไม่เห็นด้วยกับการใช้งบประมาณ 2 พันล้านบาท เพื่อทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญในทันทีทันใด มีเพียง 20 % ที่เห็นด้วย และแม้รัฐบาลจะบอกว่า ได้หาเสียงจะแก้รัฐธรรมนูญแล้ว แต่รัฐบาลไม่ได้นำเรื่องนี้ในนโยบายเร่งด่วนของตนเอง และถ้ารัฐบาลอ้างว่า มาจากการเลือกตั้ง และฟังประชาชน จึงต้องแก้รัฐธรรมนูญ ตรงกันข้ามเรื่องที่เป็นประโยชน์ ดูเหมือนรัฐบาลกลับไม่ฟัง
ดังนั้น รัฐบาลต้องปรับท่าที หากยังยืนยันจะแก้รัฐธรรมนูญต่อไป ก็จะเกิดการเผชิญหน้า และเป็นเหตุให้รัฐบาลจะไม่ได้อยู่บริหารประเทศ สิ่งนี้คือ ความเสี่ยง นักการเมืองจึงต้องระวัง หากบริหารประเทศแล้วมีสถานการณ์ไม่สงบเกิดขึ้น ก็จะกลายเป็นเหยื่อ ตกหลุมแล้วจะมีคนอ้าง เข้ามาทำให้ประชาธิปไตยหยุดเดิน สุดท้ายนักการเมืองจะถูกตำหนิว่า เป็นคนสร้างเงื่อนไขให้ประชาธิปไตยหยุดลง
ทั้งนี้ หากจะรักษาประชาธิปไตย ผู้บริหารต้องมีความเชื่อถือ และสร้างศรัทธากับประชาชน คนฉลาดพูดได้ แต่คนจะฟัง หรือไม่เป็นอีกเรื่อง แต่ถ้าคนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ก็จะเกิดปัญหาในการบริหารงานทันที
นายสมบัติ กล่าวว่า หากรัฐบาลดึงดันจะแก้ จะเกิดวิกฤตแน่ และเสี่ยงต่อการไร้เสถียรภาพทางการเมืองมาก สุดท้ายรัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบ เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นได้ รัฐบาลต้องบริหารประเทศด้วยความระมัดระวัง ต้องดูว่า เรื่องไหนเร่งด่วน หรือควรทุ่มเทสรรพกำลังทั้งหมด วันนี้เรื่องการเมืองสำคัญที่สุด ถ้าการเมืองไม่มีเสถียรภาพ ปัญหาอื่นก็ไม่มีเสถียรภาพ ตามมา นิด้าโพลยังระบุว่า ประชาชนต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหาปากท้องก่อนกว่า 70% ขณะที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องเร่งด่วนเพียง 5%
"สิ่งที่น่ากลัววันนี้ คือ ปัญหาราคาน้ำมัน ถามว่ารัฐบาลได้ทุ่มสรรพกำลังเรื่องการประหยัดพลังงาน การเตรียมพลังงานทดแทน การสร้างระบบต่างๆให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือไม่ จนถึงวันนี้ เรายังไม่เห็นรัฐบาลทุ่มเทแก้ปัญหาจริงจัง หากปัญหาปากท้องประชาชนรุนแรงมากขึ้นกระทบกับชนชั้นสูง ผู้ประกอบธุรกิจ เกษตรกร ผู้หาเช้ากินค่ำ แล้วรัฐบาลยังมุ่งจะมาเล่นเกมการเมือง สุดท้ายประชาชนทุกหย่อมหญ้าจะออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาประชาชน เหมือนในฝรั่งเศส อังกฤษ สมาคมรถบรรทุก ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาล ดูแลปัญหาน้ำมัน นับอะไร ประเทศไทย ถ้ารัฐบาลยังนิ่งเฉยปัญหาปากท้องต่อไป น่าวิตกว่า จะเกิดเหตุไม่ปกติในประเทศขึ้น ถ้าประชาชนทนไม่ไหวแล้วออกมารวมตัวกัน ประชาชนก็จะออกมาขับไล่รัฐบาล เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นทุกประเทศ" นายสมบัติ กล่าว