ผู้จัดการรายวัน – ผู้ประกอบการไทย ยืนยันเข้าลงทุนในเวียดนามตามแผนเดิม แม้ค่าเงินด่องอ่อนตัว มั่นใจไม่กระทบกับภาพรวมการดำเนินงานธุรกิจ ส่วนโบรกเกอร์เชื่อลูกค้าเข้าใจภาวะการลงทุน ชี้นักลงทุนระยะยาวไม่มีปัญหา แต่หากดัชนีหุ้นญวนถอยไปถึง 100 จุด ก็น่าเข้าไปช้อนเก็บ
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) (ASP) กล่าวถึงสภาพวะเศรษฐกิจของเวียดนาม ภายหลังจากที่ธนาคารกลางเวียดนามจะประกาศลดค่าเงินด่องลงเกือบ 2% และขึ้นดอกเบี้ยระดับ 12% เพื่อสกัดอัตราเงินเฟ้อไม่ให้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นว่า หากตลาดหุ้นเวียดนามปรับตัวลดลงกลับไปที่ 100-200 จุด จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 300 กว่าจุดแล้วจะมีความเป็นไปได้ที่จะเข้าไปเก็บหุ้นที่มีโอกาสในการเติบโต แต่จากการหารือผู้บริหารกองทุนในเวียดนาม 2-3 แห่ง มีความเห็นตรงกันว่าในขณะนี้สถานการณ์ยังไม่ดี ทางบริษัทจึงชะลอการลงทุนในเวียดนามไปก่อน
"การเข้าไปลงทุนในเวียดนามของเราจะเป็นไปในลักษณะให้กองทุนเป็นผู้ดูแล โดยจะไม่เลือกหุ้นเอง เพราะต้องยอมรับว่า ในแต่ละประเทศผู้ที่ประกอบการในที่นั้นย่อมมีความสามารถและรู้จักธุรกิจได้ดีกว่า"
ปัจจุบันการลงทุนของบริษัทกระจายตลาดทั้งตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก ยุโรป เพื่อกระจายความเสี่ยง ส่วนตลาดหุ้นไทยนั้นมองว่ายังน่าลงทุน เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่ดี
นายภูษิต แก้วมงคลศรี กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บล. กิมเอ็ง (ประเทศไทย) หรือ KEST กล่าวว่า บริษัทยังเดินหน้าแผนการเข้าไปทำธุรกิจหลักทรัพย์ในประเทศเวียดนามต่อไป แม้ค่าเงินด่องจะอ่อนตัวลง และตลาดหุ้นเวียดนามที่ปรับตัวลงหนัก แต่นักลงทุนของบริษัทที่ชักชวนเข้าไปลงทุนนั้น เป็นนักลงทุนประเภทลงทุนระยะยาวโดยมีระยะเวลาการลงทุนประมาณ 3-4 ปี ซึ่งตอนนี้บริษัทฯมีลูกค้ากว่า 10 รายได้ที่เป็นรายใหญ่ ๆ และเข้าใจการลงทุนเป็นอย่างดี
"ตลาดหุ้นเวียดนามตอนนี้ปรับตัวลงหนักมาเหลือ 300 จุด และมองว่าอาจจะลงไปถึงระดับ 100 จุด จากอ่อนค่าลงของเงินด่อง ดังนั้นหากเข้าไปลงทุนตอนนี้นักลงทุนอาจจะต้องยอมรับผลขาดทุนตามภาวะตลาดหุ้นที่ปรับตัวลงเรื่อย ๆ"
นางสุนันทา เตียสุวรรณ์ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกดั (มหาชน) (PRANDA)กล่าวว่า ภาวะค่าเงินด่องของเวียดนามขณะนี้ ไม่ได้กระทบกับบริษัทแต่อย่างใด แม้จะมีฐานการผลิตในเวียดนาม เพราะส่วนใหญ่กว่า 95% จะส่งออกมายังไทย และบางส่วนไปสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยเหลือสัดส่วนการขายในตลาดเวียดนามเพียง 5% ขณะเดียวกันบริษัทจะชะลอแผนการเพิ่มตลาดในเวียดนามออกไป เพื่อรอดูสถานการณ์ก่อน
"ปีนี้บริษัทยังคงเป้าหมายยอดขายไว้ที่ 4.5 พันล้านบาท หรือเติบโต 8% แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจโลกจะชะลดตัว แต่เชื่อว่ายอดขายบริษัทจะไม่กระทบ เนื่องจากสินค้าที่จำหน่ายเป็นสินค้าเครื่องประดับที่มีราคาไม่สูงมากนัก อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงแผนการขยายตลาดในจีนและอินเดียที่ยังมีศักยภาพเติบโตต่อไป โดยการขยายร้าน ขยายเฟรนไชส์ ตามเมืองใหญ่ต่างๆ"นางสุนันทา กล่าว
ด้าน นายชนะชัย ลีนะบรรจง ประธานกรรมการและ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน) (EMC) กล่าวว่า บริษัทยังอยู่ระหว่างเจรจาเพื่อเข้ารับงานใหม่ในเวียดนาม โดยเป็นงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ระยะเวลา 1 ปีครึ่ง คาดว่าจะสรุปได้ภายในไตรมาส 2/51 แต่การรับงานในครั้งนี้เชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินด่องอ่อนค่าลงวแต่อย่าใด เพราะค่าจ้างที่รับเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ มูลค่ากว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1 พันล้านบาท
ทั้งนี้ EMC เชื่อว่าปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับเวียดนามในขณะนี้ จะไม่กระทบกับภาพรวมการขยายธุรกิจเข้าไปรับงานในเวียดนาม เพราะเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติจะไม่ถอนการลงทุนไปจากเวียดนาม โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่เข้าไปลงทุนเป็นจำนวนมาก
นางจินตณา กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการ บมจ. สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ กล่าวว่า บริษัทมีแผนที่จะเข้าไปทำธุรกิจแก๊สในเวียดนามต่อไป และคาดว่าจะทำธุรกิจแก๊สในเวียดนามได้เต็มตัวในช่วงปลายปีนี้ เพราะขณะนี้ บริษัทได้เดินหน้าแผนงานดังกล่าวไปมากแล้ว ซึ่งจะใช้งบลงทุนในช่วงแรกประมาณ 50-100 ล้านบาทเศษ
สำหรับ บริษัทสยามแก๊ส มีโครงการก่อสร้างคลังเก็บก๊าซ LPG และโรงบรรจุก๊าซ LPG ในประเทศเวียดนามซึ่งในเบื้องต้นบริษัทจะจัดหาที่ดินเพื่อดำเนินการก่อสร้างคลังเก็บก๊าซและ โรงบรรจุก๊าซพร้อมสำนักงานในพื้นที่เดียวกัน จำนวน 1 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ 400 ล้านบาท
นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. สามารถคอร์ปอเรชั่น กล่าวถึงการดำเนินงานของ บริษัท วันทูวัน เวียดนาม จำกัด ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดหาสำนักงานในเวียดนาม และจะเปิดดำเนินการเร็วๆนี้ และเชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในเวียดนาม เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีลูกค้ารอใช้บริการอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม นายวิศิษฎ์ อัครวิเนค กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ผลิตไฟฟ้า (EGCO) ให้ความเห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่เวียดนามอาจจะเลื่อนการเปิดซองประมูลโรงไฟฟ้าออกไป หลังจากเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนักถึงขั้นต้องลดค่าเงินและขึ้นดอกเบี้ย ทั้งนี้ บริษัทผลิตไฟฟ้าได้เข้ายื่นซองประมูลโรงไฟฟ้าถ่านหิน IPP ในเวียดนาม โครงการ NGHI SON ขนาด 1.6 พันเมกะวัตต์ แบ่งเป็น 2 โรงๆละ 800 เมกะวัตต์ มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 2 พันเหรียญสหรัฐ มีกำหนดเปิดซองประมูลในเดือนกันยายนนี้ โดยตามกำหนดการปลายปีนี้จะทราบผลการประกวดราคาในโครงการดังกล่าว
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) (ASP) กล่าวถึงสภาพวะเศรษฐกิจของเวียดนาม ภายหลังจากที่ธนาคารกลางเวียดนามจะประกาศลดค่าเงินด่องลงเกือบ 2% และขึ้นดอกเบี้ยระดับ 12% เพื่อสกัดอัตราเงินเฟ้อไม่ให้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นว่า หากตลาดหุ้นเวียดนามปรับตัวลดลงกลับไปที่ 100-200 จุด จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 300 กว่าจุดแล้วจะมีความเป็นไปได้ที่จะเข้าไปเก็บหุ้นที่มีโอกาสในการเติบโต แต่จากการหารือผู้บริหารกองทุนในเวียดนาม 2-3 แห่ง มีความเห็นตรงกันว่าในขณะนี้สถานการณ์ยังไม่ดี ทางบริษัทจึงชะลอการลงทุนในเวียดนามไปก่อน
"การเข้าไปลงทุนในเวียดนามของเราจะเป็นไปในลักษณะให้กองทุนเป็นผู้ดูแล โดยจะไม่เลือกหุ้นเอง เพราะต้องยอมรับว่า ในแต่ละประเทศผู้ที่ประกอบการในที่นั้นย่อมมีความสามารถและรู้จักธุรกิจได้ดีกว่า"
ปัจจุบันการลงทุนของบริษัทกระจายตลาดทั้งตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก ยุโรป เพื่อกระจายความเสี่ยง ส่วนตลาดหุ้นไทยนั้นมองว่ายังน่าลงทุน เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่ดี
นายภูษิต แก้วมงคลศรี กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บล. กิมเอ็ง (ประเทศไทย) หรือ KEST กล่าวว่า บริษัทยังเดินหน้าแผนการเข้าไปทำธุรกิจหลักทรัพย์ในประเทศเวียดนามต่อไป แม้ค่าเงินด่องจะอ่อนตัวลง และตลาดหุ้นเวียดนามที่ปรับตัวลงหนัก แต่นักลงทุนของบริษัทที่ชักชวนเข้าไปลงทุนนั้น เป็นนักลงทุนประเภทลงทุนระยะยาวโดยมีระยะเวลาการลงทุนประมาณ 3-4 ปี ซึ่งตอนนี้บริษัทฯมีลูกค้ากว่า 10 รายได้ที่เป็นรายใหญ่ ๆ และเข้าใจการลงทุนเป็นอย่างดี
"ตลาดหุ้นเวียดนามตอนนี้ปรับตัวลงหนักมาเหลือ 300 จุด และมองว่าอาจจะลงไปถึงระดับ 100 จุด จากอ่อนค่าลงของเงินด่อง ดังนั้นหากเข้าไปลงทุนตอนนี้นักลงทุนอาจจะต้องยอมรับผลขาดทุนตามภาวะตลาดหุ้นที่ปรับตัวลงเรื่อย ๆ"
นางสุนันทา เตียสุวรรณ์ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกดั (มหาชน) (PRANDA)กล่าวว่า ภาวะค่าเงินด่องของเวียดนามขณะนี้ ไม่ได้กระทบกับบริษัทแต่อย่างใด แม้จะมีฐานการผลิตในเวียดนาม เพราะส่วนใหญ่กว่า 95% จะส่งออกมายังไทย และบางส่วนไปสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยเหลือสัดส่วนการขายในตลาดเวียดนามเพียง 5% ขณะเดียวกันบริษัทจะชะลอแผนการเพิ่มตลาดในเวียดนามออกไป เพื่อรอดูสถานการณ์ก่อน
"ปีนี้บริษัทยังคงเป้าหมายยอดขายไว้ที่ 4.5 พันล้านบาท หรือเติบโต 8% แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจโลกจะชะลดตัว แต่เชื่อว่ายอดขายบริษัทจะไม่กระทบ เนื่องจากสินค้าที่จำหน่ายเป็นสินค้าเครื่องประดับที่มีราคาไม่สูงมากนัก อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงแผนการขยายตลาดในจีนและอินเดียที่ยังมีศักยภาพเติบโตต่อไป โดยการขยายร้าน ขยายเฟรนไชส์ ตามเมืองใหญ่ต่างๆ"นางสุนันทา กล่าว
ด้าน นายชนะชัย ลีนะบรรจง ประธานกรรมการและ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน) (EMC) กล่าวว่า บริษัทยังอยู่ระหว่างเจรจาเพื่อเข้ารับงานใหม่ในเวียดนาม โดยเป็นงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ระยะเวลา 1 ปีครึ่ง คาดว่าจะสรุปได้ภายในไตรมาส 2/51 แต่การรับงานในครั้งนี้เชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินด่องอ่อนค่าลงวแต่อย่าใด เพราะค่าจ้างที่รับเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ มูลค่ากว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1 พันล้านบาท
ทั้งนี้ EMC เชื่อว่าปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับเวียดนามในขณะนี้ จะไม่กระทบกับภาพรวมการขยายธุรกิจเข้าไปรับงานในเวียดนาม เพราะเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติจะไม่ถอนการลงทุนไปจากเวียดนาม โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่เข้าไปลงทุนเป็นจำนวนมาก
นางจินตณา กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการ บมจ. สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ กล่าวว่า บริษัทมีแผนที่จะเข้าไปทำธุรกิจแก๊สในเวียดนามต่อไป และคาดว่าจะทำธุรกิจแก๊สในเวียดนามได้เต็มตัวในช่วงปลายปีนี้ เพราะขณะนี้ บริษัทได้เดินหน้าแผนงานดังกล่าวไปมากแล้ว ซึ่งจะใช้งบลงทุนในช่วงแรกประมาณ 50-100 ล้านบาทเศษ
สำหรับ บริษัทสยามแก๊ส มีโครงการก่อสร้างคลังเก็บก๊าซ LPG และโรงบรรจุก๊าซ LPG ในประเทศเวียดนามซึ่งในเบื้องต้นบริษัทจะจัดหาที่ดินเพื่อดำเนินการก่อสร้างคลังเก็บก๊าซและ โรงบรรจุก๊าซพร้อมสำนักงานในพื้นที่เดียวกัน จำนวน 1 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ 400 ล้านบาท
นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. สามารถคอร์ปอเรชั่น กล่าวถึงการดำเนินงานของ บริษัท วันทูวัน เวียดนาม จำกัด ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดหาสำนักงานในเวียดนาม และจะเปิดดำเนินการเร็วๆนี้ และเชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในเวียดนาม เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีลูกค้ารอใช้บริการอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม นายวิศิษฎ์ อัครวิเนค กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ผลิตไฟฟ้า (EGCO) ให้ความเห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่เวียดนามอาจจะเลื่อนการเปิดซองประมูลโรงไฟฟ้าออกไป หลังจากเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนักถึงขั้นต้องลดค่าเงินและขึ้นดอกเบี้ย ทั้งนี้ บริษัทผลิตไฟฟ้าได้เข้ายื่นซองประมูลโรงไฟฟ้าถ่านหิน IPP ในเวียดนาม โครงการ NGHI SON ขนาด 1.6 พันเมกะวัตต์ แบ่งเป็น 2 โรงๆละ 800 เมกะวัตต์ มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 2 พันเหรียญสหรัฐ มีกำหนดเปิดซองประมูลในเดือนกันยายนนี้ โดยตามกำหนดการปลายปีนี้จะทราบผลการประกวดราคาในโครงการดังกล่าว