เมื่อเช้าวันที่ 6 มิ.ย. ผู้เขียนได้ตื่น 04.00 น. ฟังข่าวรายการเช้าวันใหม่ตามปกติที่เคยเป็นมาทุกวัน แต่วันนี้รู้สึกแปลกใจ และประหลาดใจเป็นอันมากเมื่อได้ฟังข่าวที่นายนพดล ปัทมะ วิพากษ์ผลงานของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีว่า ทำงาน 3 เดือนได้แค่กระพี้ และแถมยังได้แนะนำให้นายสมัคร สุนทรเวช ทำงานให้มีสาระมากขึ้น โดยการเรียกประชุมแกนนำของรัฐบาลปรึกษาหารือกันให้มากขึ้น และหาทางทำงานให้มีสาระมากขึ้น
โดยนัยแห่งคำพูดดังกล่าวข้างต้น ถ้าฟังและทำความเข้าใจอย่างตรงไปตรงมา ไม่ต้องลำเอียงเพราะรักคุณสมัคร และไม่ชอบหรือชังคุณนพดลแล้ว ก็จะได้ความอย่างตรงไปตรงมาว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ตำหนิ นายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเจ้านายตัวเองว่า 3 เดือนทำงานได้แค่เรื่องเล็กน้อย ไม่มีสาระสำคัญและยังทำได้แค่กระพี้การเมืองเท่านั้น
แต่ไม่ทราบว่านายสมัคร สุนทรเวช และกลุ่มผู้ใกล้ชิดฟังแล้วจะเห็นด้วยกับนายนพดลหรือไม่ และถ้าไม่เห็นด้วยจะมีปฏิกิริยาเกี่ยวกับวาทะวิพากษ์ในทางลบดังกล่าวนี้อย่างไร จะต้องคอยตามดูกันต่อไป
ไม่ว่านายสมัครได้ฟังแล้วจะมีปฏิกิริยาหรือไม่อย่างไร วาทะวิพากษ์ทำนองนี้คนพวกเช่นผู้เขียนฟังแล้วค่อนข้างเห็นด้วยกับนายนพดลว่าเป็นเรื่องจริง และยังคิดต่อไปว่าถ้านายสมัครมีปฏิกิริยาในเชิงลบต่อคำวิพากษ์นี้ ก็จะก่อให้เกิดความแตกแยกขึ้นในพรรคพลังประชาชน และนำไปสู่การปรับ ครม.ครั้งใหม่แล้วตามมาด้วยการยุบสภาได้
ทำไมเมื่อมีการปรับ ครม.แล้วจึงมีการยุบสภา เกี่ยวกับเรื่องนี้มองเห็นได้ไม่ยาก เพียงแต่ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา และอนุมานด้วยเหตุผลในเชิงตรรกะเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
1. ความเห็นที่ขัดแย้งเกี่ยวกับเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นระหว่างนายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะผู้นำรัฐบาล และหัวหน้าพรรคพลังประชาชน กับนายชัย ชิดชอบ ในฐานะลูกพรรคพลังประชาชน แต่มีฐานะเป็นประธานสภาฯ อันถือได้ว่าเป็นผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งมีสถานะทางกฎหมายเทียบได้กับผู้นำฝ่ายบริหาร โดยที่ฝ่ายแรกเห็นควรจะให้มีการทำประชามติก่อนการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ฝ่ายหลังเห็นว่าไม่จำเป็น สามารถทำได้เลย
แต่อย่างไรก็ตาม สุดท้ายเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ยุติลงด้วยการถอนรายชื่อผู้ยื่นจนเหลือน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ทำให้ญัตติตกลงไป
ส่วนว่าจะยุติถาวรหรือเพียงระยะหนึ่ง เป็นการสร้างเงื่อนไขอันเป็นความชอบธรรมในการสลายการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่คัดค้านเรื่องนี้
ไม่ว่าจะยุติถาวรหรือชะลอชั่วคราว ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างนายสมัคร สุนทรเวช กับนายชัย ชิดชอบ ผู้เป็นหัวหน้าพรรคกับผู้เป็นลูกพรรคคงไม่มีทางที่จะจบลงได้ง่ายๆ แน่นอน
2. จากความขัดแย้งดังกล่าวข้างต้น ก็ตามมาด้วยความขัดแย้งในเรื่องการแก้ไขปัญหาข้าวเปลือกถูกข้าวสารแพง โดยการลดบทบาทของ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รมว.กระทรวงพาณิชย์ และเพิ่มบทบาทให้แก่ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.การคลังดำเนินการแทน อันเป็นการบ่งบอกถึงความขัดแย้งระหว่างนายมิ่งขวัญกับนายสมัครอย่างเป็นรูปธรรม
3. ในท่ามกลางกระแสแห่งความขัดแย้งกับนายชัย ชิดชอบ และนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ นายนพดล ปัทมะ ได้ออกมาวิพากษ์การทำงานของนายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะผู้นำรัฐบาลในเชิงลบดังกล่าวแล้วข้างต้น อันเป็นการตอกย้ำให้เห็นความไม่มีเอกภาพในพรรคพลังประชาชนที่นายสมัคร สุนทรเวช บริหารอยู่ และจากความไม่มีเอกภาพที่ว่านี้เอง จะทำให้มองเห็นความไม่แน่นอนของนายสมัคร สุนทรเวช บนเก้าอี้นายกรัฐมนตรีได้อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
นอกเหนือจากมีความขัดแย้งกับฝ่ายนิติบัญญัติในกรณีของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และความขัดแย้งกับรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลดังที่เกิดขึ้นในกรณีของการแก้ปัญหาข้าวเปลือก และจากกรณีการออกมาวิพากษ์การทำงานของรมว.การต่างประเทศแล้ว นายสมัคร สุนทรเวช ยังมีศึกภายนอกกระหน่ำจากความเชื่อมั่นที่ลดลง และการออกมาคัดค้านของกลุ่มพันธมิตรฯ ในกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และปัญหาการแก้ไขของแพงไม่ได้ผลงานเท่าที่ควรจะเป็น ซึ่งสอดรับกับคำวิพากษ์ของ นายนพดล ปัทมะ พอดี
ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้มองเห็นอนาคตทางการเมืองของนายสมัครว่าจะเกิดอะไรขึ้น และที่ยิ่งกว่านี้ ถึงแม้นายสมัคร สุนทรเวช จะหลุดรอดไปได้ด้วยการต่อสู้ทางการเมืองจนได้รับชัยชนะภายในพรรค โดยการหาเสียงสนับสนุนจากพรรคร่วมรัฐบาลมาถ่วงดุลกับลูกพรรคของตนเอง แต่ก็ยังมีศึกภายนอก คือ การถูกฟ้องร้องในข้อหากระทำผิดในการจัดรายการทางโทรทัศน์ และข้อหาเรื่องจัดซื้อรถดับเพลิง รวมไปถึงผลของการอุทธรณ์คดีที่นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ฟ้องหมิ่นประมาท และแพ้คดีในศาลชั้นต้นไปแล้วด้วย
จากเหตุการณ์นานัปการที่นายสมัคร สุนทรเวช กำลังเผชิญอยู่ ก็ทำให้มองเห็นได้ยากว่าจะดำเนินกิจกรรมทางการเมืองให้ร่มรื่นต่อไปได้อย่างไร
ทั้งหมดที่เขียนมาจะเห็นได้ว่าเส้นทางการเมืองของผู้นำรัฐบาล ผู้มีนามว่า สมัคร สุนทรเวช จะพบกับอุปสรรคมากมายขนาดไหน
แต่ยังไม่หมดแค่นี้ สิ่งที่จะทำให้เส้นทางการเมืองในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของประเทศไทยเกิดหักเห และหักลงอย่างกะทันหันยังมีอยู่อีกอย่างน้อย 2 ประการดังต่อไปนี้
1. ถ้าในวันที่ 8 ก.ค.ที่จะถึงนี้ ปรากฏผลออกมาว่า นายยงยุทธ ติยะไพรัช มีความผิดจริง โอกาสที่พรรคพลังประชาชนจะถูกยุบก็มีความเป็นไปได้สูง และหากพรรคเกิดถูกยุบแน่นอน ในฐานะกรรมการนายสมัคร สุนทรเวช ก็จะถูกให้เว้นวรรคทางการเมืองเหมือนกรณีกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยเคยประสบชะตากรรมมาแล้ว
2. ถ้าปรากฏว่าคดีที่นายสมัคร สุนทรเวช ตกเป็นผู้ต้องหาและอยู่ระหว่างดำเนินการฟ้องร้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีที่อยู่ในชั้นอุทธรณ์ปรากฏผลออกมาว่าแพ้คดี ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็มีอันต้องสิ้นสุดลงเหมือนคดีนายสมหมาย ภาษี เคยประสบมาแล้ว
ไม่ว่าเส้นทางการเมืองของนายสมัคร สุนทรเวช จะเดินไปอย่างไรในอนาคต แต่ก่อนถึงวันนั้นผู้เขียนเห็นว่า นายสมัคร สุนทรเวช ควรฟังคำเตือนของนายนพดล ปัทมะ ที่เตือนด้วยความหวังดี และอยากให้ผู้นำพรรคของตัวเองอยู่ในตำแหน่งนานๆ ไม่ควรตีความเป็นอย่างอื่น เป็นต้นว่า ออกมาพูดเป็นการแซะเก้าอี้ตามใบสั่งของใครต่อใครที่อยากเปลี่ยนตัวนายกฯ เพราะการตีความในทำนองนี้เชื่อว่าไม่เป็นผลดีแต่อย่างใด
โดยนัยแห่งคำพูดดังกล่าวข้างต้น ถ้าฟังและทำความเข้าใจอย่างตรงไปตรงมา ไม่ต้องลำเอียงเพราะรักคุณสมัคร และไม่ชอบหรือชังคุณนพดลแล้ว ก็จะได้ความอย่างตรงไปตรงมาว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ตำหนิ นายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเจ้านายตัวเองว่า 3 เดือนทำงานได้แค่เรื่องเล็กน้อย ไม่มีสาระสำคัญและยังทำได้แค่กระพี้การเมืองเท่านั้น
แต่ไม่ทราบว่านายสมัคร สุนทรเวช และกลุ่มผู้ใกล้ชิดฟังแล้วจะเห็นด้วยกับนายนพดลหรือไม่ และถ้าไม่เห็นด้วยจะมีปฏิกิริยาเกี่ยวกับวาทะวิพากษ์ในทางลบดังกล่าวนี้อย่างไร จะต้องคอยตามดูกันต่อไป
ไม่ว่านายสมัครได้ฟังแล้วจะมีปฏิกิริยาหรือไม่อย่างไร วาทะวิพากษ์ทำนองนี้คนพวกเช่นผู้เขียนฟังแล้วค่อนข้างเห็นด้วยกับนายนพดลว่าเป็นเรื่องจริง และยังคิดต่อไปว่าถ้านายสมัครมีปฏิกิริยาในเชิงลบต่อคำวิพากษ์นี้ ก็จะก่อให้เกิดความแตกแยกขึ้นในพรรคพลังประชาชน และนำไปสู่การปรับ ครม.ครั้งใหม่แล้วตามมาด้วยการยุบสภาได้
ทำไมเมื่อมีการปรับ ครม.แล้วจึงมีการยุบสภา เกี่ยวกับเรื่องนี้มองเห็นได้ไม่ยาก เพียงแต่ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา และอนุมานด้วยเหตุผลในเชิงตรรกะเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
1. ความเห็นที่ขัดแย้งเกี่ยวกับเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นระหว่างนายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะผู้นำรัฐบาล และหัวหน้าพรรคพลังประชาชน กับนายชัย ชิดชอบ ในฐานะลูกพรรคพลังประชาชน แต่มีฐานะเป็นประธานสภาฯ อันถือได้ว่าเป็นผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งมีสถานะทางกฎหมายเทียบได้กับผู้นำฝ่ายบริหาร โดยที่ฝ่ายแรกเห็นควรจะให้มีการทำประชามติก่อนการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ฝ่ายหลังเห็นว่าไม่จำเป็น สามารถทำได้เลย
แต่อย่างไรก็ตาม สุดท้ายเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ยุติลงด้วยการถอนรายชื่อผู้ยื่นจนเหลือน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ทำให้ญัตติตกลงไป
ส่วนว่าจะยุติถาวรหรือเพียงระยะหนึ่ง เป็นการสร้างเงื่อนไขอันเป็นความชอบธรรมในการสลายการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่คัดค้านเรื่องนี้
ไม่ว่าจะยุติถาวรหรือชะลอชั่วคราว ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างนายสมัคร สุนทรเวช กับนายชัย ชิดชอบ ผู้เป็นหัวหน้าพรรคกับผู้เป็นลูกพรรคคงไม่มีทางที่จะจบลงได้ง่ายๆ แน่นอน
2. จากความขัดแย้งดังกล่าวข้างต้น ก็ตามมาด้วยความขัดแย้งในเรื่องการแก้ไขปัญหาข้าวเปลือกถูกข้าวสารแพง โดยการลดบทบาทของ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รมว.กระทรวงพาณิชย์ และเพิ่มบทบาทให้แก่ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.การคลังดำเนินการแทน อันเป็นการบ่งบอกถึงความขัดแย้งระหว่างนายมิ่งขวัญกับนายสมัครอย่างเป็นรูปธรรม
3. ในท่ามกลางกระแสแห่งความขัดแย้งกับนายชัย ชิดชอบ และนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ นายนพดล ปัทมะ ได้ออกมาวิพากษ์การทำงานของนายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะผู้นำรัฐบาลในเชิงลบดังกล่าวแล้วข้างต้น อันเป็นการตอกย้ำให้เห็นความไม่มีเอกภาพในพรรคพลังประชาชนที่นายสมัคร สุนทรเวช บริหารอยู่ และจากความไม่มีเอกภาพที่ว่านี้เอง จะทำให้มองเห็นความไม่แน่นอนของนายสมัคร สุนทรเวช บนเก้าอี้นายกรัฐมนตรีได้อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
นอกเหนือจากมีความขัดแย้งกับฝ่ายนิติบัญญัติในกรณีของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และความขัดแย้งกับรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลดังที่เกิดขึ้นในกรณีของการแก้ปัญหาข้าวเปลือก และจากกรณีการออกมาวิพากษ์การทำงานของรมว.การต่างประเทศแล้ว นายสมัคร สุนทรเวช ยังมีศึกภายนอกกระหน่ำจากความเชื่อมั่นที่ลดลง และการออกมาคัดค้านของกลุ่มพันธมิตรฯ ในกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และปัญหาการแก้ไขของแพงไม่ได้ผลงานเท่าที่ควรจะเป็น ซึ่งสอดรับกับคำวิพากษ์ของ นายนพดล ปัทมะ พอดี
ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้มองเห็นอนาคตทางการเมืองของนายสมัครว่าจะเกิดอะไรขึ้น และที่ยิ่งกว่านี้ ถึงแม้นายสมัคร สุนทรเวช จะหลุดรอดไปได้ด้วยการต่อสู้ทางการเมืองจนได้รับชัยชนะภายในพรรค โดยการหาเสียงสนับสนุนจากพรรคร่วมรัฐบาลมาถ่วงดุลกับลูกพรรคของตนเอง แต่ก็ยังมีศึกภายนอก คือ การถูกฟ้องร้องในข้อหากระทำผิดในการจัดรายการทางโทรทัศน์ และข้อหาเรื่องจัดซื้อรถดับเพลิง รวมไปถึงผลของการอุทธรณ์คดีที่นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ฟ้องหมิ่นประมาท และแพ้คดีในศาลชั้นต้นไปแล้วด้วย
จากเหตุการณ์นานัปการที่นายสมัคร สุนทรเวช กำลังเผชิญอยู่ ก็ทำให้มองเห็นได้ยากว่าจะดำเนินกิจกรรมทางการเมืองให้ร่มรื่นต่อไปได้อย่างไร
ทั้งหมดที่เขียนมาจะเห็นได้ว่าเส้นทางการเมืองของผู้นำรัฐบาล ผู้มีนามว่า สมัคร สุนทรเวช จะพบกับอุปสรรคมากมายขนาดไหน
แต่ยังไม่หมดแค่นี้ สิ่งที่จะทำให้เส้นทางการเมืองในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของประเทศไทยเกิดหักเห และหักลงอย่างกะทันหันยังมีอยู่อีกอย่างน้อย 2 ประการดังต่อไปนี้
1. ถ้าในวันที่ 8 ก.ค.ที่จะถึงนี้ ปรากฏผลออกมาว่า นายยงยุทธ ติยะไพรัช มีความผิดจริง โอกาสที่พรรคพลังประชาชนจะถูกยุบก็มีความเป็นไปได้สูง และหากพรรคเกิดถูกยุบแน่นอน ในฐานะกรรมการนายสมัคร สุนทรเวช ก็จะถูกให้เว้นวรรคทางการเมืองเหมือนกรณีกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยเคยประสบชะตากรรมมาแล้ว
2. ถ้าปรากฏว่าคดีที่นายสมัคร สุนทรเวช ตกเป็นผู้ต้องหาและอยู่ระหว่างดำเนินการฟ้องร้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีที่อยู่ในชั้นอุทธรณ์ปรากฏผลออกมาว่าแพ้คดี ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็มีอันต้องสิ้นสุดลงเหมือนคดีนายสมหมาย ภาษี เคยประสบมาแล้ว
ไม่ว่าเส้นทางการเมืองของนายสมัคร สุนทรเวช จะเดินไปอย่างไรในอนาคต แต่ก่อนถึงวันนั้นผู้เขียนเห็นว่า นายสมัคร สุนทรเวช ควรฟังคำเตือนของนายนพดล ปัทมะ ที่เตือนด้วยความหวังดี และอยากให้ผู้นำพรรคของตัวเองอยู่ในตำแหน่งนานๆ ไม่ควรตีความเป็นอย่างอื่น เป็นต้นว่า ออกมาพูดเป็นการแซะเก้าอี้ตามใบสั่งของใครต่อใครที่อยากเปลี่ยนตัวนายกฯ เพราะการตีความในทำนองนี้เชื่อว่าไม่เป็นผลดีแต่อย่างใด