ท่านที่สนใจการเมือง และคอยติดตามข่าวสารบ้านเมืองตลอดเวลาในระยะนี้ คงจะรู้สึกอึดอัดใจกับท่าทีที่ไม่ชัดเจน และเด็ดขาดของผู้นำรัฐบาล ทั้งจะเบื่อหน่ายกับพฤติกรรมเดิมๆ ของนักการเมืองเก่าๆ ทั้งในฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ
เริ่มต้นด้วยฝ่ายบริหารหรือฝ่ายรัฐบาลที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ และมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่กำลังพบปัญหาวิกฤตศรัทธาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้จะเห็นได้จากกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ในการประชุม ก.ต.ช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง ผบ.ตร. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะประธาน ก.ต.ช. ได้เสนอชื่อ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ ให้ที่ประชุม ก.ต.ช. ให้ความเห็นชอบตามนัยแห่งกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ และผลปรากฏว่า ก.ต.ช. ไม่เห็นด้วย 5 คน และเห็นด้วย 4 คน จึงทำให้ข้อเสนอของนายกฯ มีอันต้องตกไป และเป็นเหตุให้ต้องเลื่อนการประชุมออกไป
เหตุการณ์ในครั้งนี้ เห็นได้ชัดเจนว่า ก.ต.ช. ส่วนหนึ่งและเป็นส่วนใหญ่ของผู้ที่ออกเสียงได้ลงคะแนนสวนทางกับความเห็นของนายกฯ อันทำให้มองได้ว่านายกฯ กำลังถูกท้าทายอำนาจทั้งๆ ที่ ก.ต.ช. ส่วนหนึ่งยังรับราชการอยู่ซึ่งเท่ากับว่าลูกน้องท้าทายเจ้านายโดยตรงของพวกเขา โดยไม่เกรงใจในความเป็นคนดีของนายกฯ และไม่กลัวในอำนาจตามกฎหมายที่มีอยู่ในฐานะเจ้านายกับลูกน้อง
2. ในการสอบสวนคดีลอบยิง นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายกฯ ได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ เป็นผู้รับผิดชอบและให้รายงานโดยตรงต่อนายกฯ
ต่อมา พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ ได้รายงานว่าการสอบสวนคดีนี้ไม่คืบหน้าเท่าที่ควร จะเป็น เพราะไม่ได้รับความร่วมมือและถูกขัดขวางจากบุคคลบางคนในวงการเดียวกัน หรือรู้กันจากข่าวว่าเจอตอ
เมื่อนายกฯ ได้พยายามแก้ปัญหานี้ด้วยการโยกย้ายเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ตอที่ว่าพ้นทางของการสอบสวน
แต่ปรากฏว่ายิ่งแก้ยิ่งยุ่ง นอกจากตอที่ว่านี้ไม่พ้นทางแล้ว ยังปรากฏว่ามีแนวร่วมของตอได้ออกมาพูดในทำนองสวนทางกับวิธีการแก้ปัญหาของนายกฯ ด้วย และแนวร่วมที่ว่านี้ก็มิได้อยู่ไกลตัวนายกฯ ตรงกันข้ามกลายเป็นคนที่อยู่ใกล้นายกฯ มากกว่าตอต้นเดิมเสียอีก จึงทำให้ทุกอย่างที่ควรจะจบลงโดยง่าย กลับมีความยุ่งยากและซับซ้อนยิ่งขึ้น
จากเหตุการณ์ทั้งสองเหตุการณ์ที่ว่า เป็นบทพิสูจน์ภาวะผู้นำฝ่ายบริหารได้เป็นอย่างดีว่า ขาดความกล้าหาญที่จะเผชิญหน้ากับบุคคล และกลุ่มบุคคลที่ถือแต้มต่อทางการเมืองเหนือนายกรัฐมนตรีที่มีทุนทางสังคมสูง เนื่องจากเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต
แต่ความซื่อสัตย์สุจริตเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะพยุงตัวเองไว้ให้อยู่ในตำแหน่งผู้นำรัฐบาลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลผสมที่คนทำงานแบบมีเลศนัยแอบแฝง และใช้ความซื่อสัตย์ของผู้นำทำมาหากินในทำนองคนชั่วอาศัยคนดีอยู่ให้รอดพ้นจากการขับไล่ของผู้คนในสังคมได้
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้นำรัฐบาลยังไม่แก้ไขภาพลักษณ์ของตนเองจากคนไม่กล้าตัดสินใจ และปล่อยให้กาลเวลาแก้ปัญหาเหมือนที่เป็นมาแล้ว และกำลังเป็นอยู่ในขณะนี้ ก็ยากที่จะอยู่ในตำแหน่งนี้ได้ครบเทอม
อะไรทำให้เชื่อได้ว่า ผู้นำรัฐบาลนี้อยู่ไม่ครบเทอม?
เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มองเห็นประเด็นแห่งปัญหาในส่วนที่เป็นเหตุให้อยู่ไม่ครบเทอม ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปถึงความเป็นมาเพื่อจะได้คาดการณ์ความเป็นไปของรัฐบาลชุดนี้ได้อย่างถูกต้อง ดังต่อไปนี้
1. รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นรัฐบาลที่เกิดจากการเปลี่ยนขั้วโดยมีกลุ่มอำนาจเก่าภายใต้ชื่อกลุ่มเพื่อนเนวิน หรือพรรคภูมิใจไทย ในเวลาต่อมาได้แยกตัวเองออกจากพรรคพลังประชาชนมาร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ และมีพรรคเล็กๆ อีก 2 พรรคร่วมด้วย
รัฐบาลเปลี่ยนขั้วในครั้งนี้เกิดขึ้นได้ก็ด้วยการวิ่งเต้นประสานงานของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับนายเนวิน ชิดชอบ ผู้อยู่เบื้องหลังพรรคภูมิใจไทย กับนายทหารใหญ่กลุ่มหนึ่ง และยกตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ด้วยเหตุที่มาของรัฐบาลเกิดจากการเปลี่ยนขั้ว และการวิ่งเต้นของคนบางคนนี้เอง จึงทำให้บทบาทของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะผู้นำรัฐบาลมีอำนาจต่อรองกับพรรคร่วมรัฐบาล หรือแม้กระทั่งคนบางคนในพรรคของตัวเองได้ไม่มาก และนี่คือเหตุหนึ่งที่ทำให้การแต่งตั้ง ผบ.ตร. ล้มเหลว ด้วยเหตุเพียงคน 2 คนในพรรคประชาธิปัตย์ไปให้ข้อมูลที่สวนทางกับหัวหน้าพรรค และล็อบบี้ให้ ก.ต.ช. ส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับคนที่นายกฯ เสนอ แต่มีเลศนัยให้เลือกอีกคนที่นายกฯ ไม่เสนอ
2. ในการเสนอโครงการรถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันที่พรรคภูมิใจไทยเป็นเจ้าของโครงการ และปรากฏว่านายกฯ ไม่เห็นด้วยส่งกลับไปให้ทบทวนใหม่
แต่จนป่านนี้ทางเจ้าของโครงการก็ยังจะยึดถือเงื่อนไขเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเท่ากับว่าภาวะผู้นำของนายกฯ ถูกท้าทาย และกลายเป็นอุปสรรคในการทำงานร่วมอีกประการหนึ่ง
นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายๆ เหตุการณ์ที่บ่งบอกถึงความขัดแย้งระหว่างนายกฯ กับพรรคร่วมรัฐบาล เช่น โครงการรับจำนำข้าว เป็นต้น
จากความขัดแย้งและการท้าทายอำนาจของผู้นำรัฐบาลจากพรรคร่วมรัฐบาล และคนบางคนในพรรคประชาธิปัตย์เอง จึงเปิดช่องให้ศัตรูตรงกันข้ามรัฐบาลทั้งพรรคเพื่อไทย และกลุ่มเสื้อแดงอันเป็นแนวร่วมของพรรคเพื่อไทยภายใต้นายทุนคนเดียวกัน ออกมาต่อต้านท้าทายภาวะผู้นำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ด้วยเหตุนี้ ทางเดียวที่ผู้นำรัฐบาลเหลืออยู่ในการแก้ไขให้ภาวะผู้นำคืนก็คือ เร่งโยกย้ายข้าราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนราชการที่มีส่วนในการดูแลการเลือกตั้ง เช่น กรมการปกครอง และตำรวจ ให้ได้คนดี มีความสามารถ และเป็นกลางเข้ามาทำงาน แล้วปรับ ครม.เอาคนที่เห็นว่ามีพฤติกรรมสวนทางนายกฯ และเป็นปัญหาต่อความมั่นคงของรัฐบาลออกไปแล้วยุบสภาเลือกตั้งกันใหม่ ส่วนว่าจะปรับใครออก และจะตั้งใครแทน เชื่อว่านายกฯ คิดได้เองไม่ต้องมีใครมาช่วยคิดให้
เริ่มต้นด้วยฝ่ายบริหารหรือฝ่ายรัฐบาลที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ และมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่กำลังพบปัญหาวิกฤตศรัทธาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้จะเห็นได้จากกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ในการประชุม ก.ต.ช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง ผบ.ตร. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะประธาน ก.ต.ช. ได้เสนอชื่อ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ ให้ที่ประชุม ก.ต.ช. ให้ความเห็นชอบตามนัยแห่งกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ และผลปรากฏว่า ก.ต.ช. ไม่เห็นด้วย 5 คน และเห็นด้วย 4 คน จึงทำให้ข้อเสนอของนายกฯ มีอันต้องตกไป และเป็นเหตุให้ต้องเลื่อนการประชุมออกไป
เหตุการณ์ในครั้งนี้ เห็นได้ชัดเจนว่า ก.ต.ช. ส่วนหนึ่งและเป็นส่วนใหญ่ของผู้ที่ออกเสียงได้ลงคะแนนสวนทางกับความเห็นของนายกฯ อันทำให้มองได้ว่านายกฯ กำลังถูกท้าทายอำนาจทั้งๆ ที่ ก.ต.ช. ส่วนหนึ่งยังรับราชการอยู่ซึ่งเท่ากับว่าลูกน้องท้าทายเจ้านายโดยตรงของพวกเขา โดยไม่เกรงใจในความเป็นคนดีของนายกฯ และไม่กลัวในอำนาจตามกฎหมายที่มีอยู่ในฐานะเจ้านายกับลูกน้อง
2. ในการสอบสวนคดีลอบยิง นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายกฯ ได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ เป็นผู้รับผิดชอบและให้รายงานโดยตรงต่อนายกฯ
ต่อมา พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ ได้รายงานว่าการสอบสวนคดีนี้ไม่คืบหน้าเท่าที่ควร จะเป็น เพราะไม่ได้รับความร่วมมือและถูกขัดขวางจากบุคคลบางคนในวงการเดียวกัน หรือรู้กันจากข่าวว่าเจอตอ
เมื่อนายกฯ ได้พยายามแก้ปัญหานี้ด้วยการโยกย้ายเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ตอที่ว่าพ้นทางของการสอบสวน
แต่ปรากฏว่ายิ่งแก้ยิ่งยุ่ง นอกจากตอที่ว่านี้ไม่พ้นทางแล้ว ยังปรากฏว่ามีแนวร่วมของตอได้ออกมาพูดในทำนองสวนทางกับวิธีการแก้ปัญหาของนายกฯ ด้วย และแนวร่วมที่ว่านี้ก็มิได้อยู่ไกลตัวนายกฯ ตรงกันข้ามกลายเป็นคนที่อยู่ใกล้นายกฯ มากกว่าตอต้นเดิมเสียอีก จึงทำให้ทุกอย่างที่ควรจะจบลงโดยง่าย กลับมีความยุ่งยากและซับซ้อนยิ่งขึ้น
จากเหตุการณ์ทั้งสองเหตุการณ์ที่ว่า เป็นบทพิสูจน์ภาวะผู้นำฝ่ายบริหารได้เป็นอย่างดีว่า ขาดความกล้าหาญที่จะเผชิญหน้ากับบุคคล และกลุ่มบุคคลที่ถือแต้มต่อทางการเมืองเหนือนายกรัฐมนตรีที่มีทุนทางสังคมสูง เนื่องจากเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต
แต่ความซื่อสัตย์สุจริตเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะพยุงตัวเองไว้ให้อยู่ในตำแหน่งผู้นำรัฐบาลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลผสมที่คนทำงานแบบมีเลศนัยแอบแฝง และใช้ความซื่อสัตย์ของผู้นำทำมาหากินในทำนองคนชั่วอาศัยคนดีอยู่ให้รอดพ้นจากการขับไล่ของผู้คนในสังคมได้
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้นำรัฐบาลยังไม่แก้ไขภาพลักษณ์ของตนเองจากคนไม่กล้าตัดสินใจ และปล่อยให้กาลเวลาแก้ปัญหาเหมือนที่เป็นมาแล้ว และกำลังเป็นอยู่ในขณะนี้ ก็ยากที่จะอยู่ในตำแหน่งนี้ได้ครบเทอม
อะไรทำให้เชื่อได้ว่า ผู้นำรัฐบาลนี้อยู่ไม่ครบเทอม?
เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มองเห็นประเด็นแห่งปัญหาในส่วนที่เป็นเหตุให้อยู่ไม่ครบเทอม ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปถึงความเป็นมาเพื่อจะได้คาดการณ์ความเป็นไปของรัฐบาลชุดนี้ได้อย่างถูกต้อง ดังต่อไปนี้
1. รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นรัฐบาลที่เกิดจากการเปลี่ยนขั้วโดยมีกลุ่มอำนาจเก่าภายใต้ชื่อกลุ่มเพื่อนเนวิน หรือพรรคภูมิใจไทย ในเวลาต่อมาได้แยกตัวเองออกจากพรรคพลังประชาชนมาร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ และมีพรรคเล็กๆ อีก 2 พรรคร่วมด้วย
รัฐบาลเปลี่ยนขั้วในครั้งนี้เกิดขึ้นได้ก็ด้วยการวิ่งเต้นประสานงานของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับนายเนวิน ชิดชอบ ผู้อยู่เบื้องหลังพรรคภูมิใจไทย กับนายทหารใหญ่กลุ่มหนึ่ง และยกตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ด้วยเหตุที่มาของรัฐบาลเกิดจากการเปลี่ยนขั้ว และการวิ่งเต้นของคนบางคนนี้เอง จึงทำให้บทบาทของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะผู้นำรัฐบาลมีอำนาจต่อรองกับพรรคร่วมรัฐบาล หรือแม้กระทั่งคนบางคนในพรรคของตัวเองได้ไม่มาก และนี่คือเหตุหนึ่งที่ทำให้การแต่งตั้ง ผบ.ตร. ล้มเหลว ด้วยเหตุเพียงคน 2 คนในพรรคประชาธิปัตย์ไปให้ข้อมูลที่สวนทางกับหัวหน้าพรรค และล็อบบี้ให้ ก.ต.ช. ส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับคนที่นายกฯ เสนอ แต่มีเลศนัยให้เลือกอีกคนที่นายกฯ ไม่เสนอ
2. ในการเสนอโครงการรถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันที่พรรคภูมิใจไทยเป็นเจ้าของโครงการ และปรากฏว่านายกฯ ไม่เห็นด้วยส่งกลับไปให้ทบทวนใหม่
แต่จนป่านนี้ทางเจ้าของโครงการก็ยังจะยึดถือเงื่อนไขเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเท่ากับว่าภาวะผู้นำของนายกฯ ถูกท้าทาย และกลายเป็นอุปสรรคในการทำงานร่วมอีกประการหนึ่ง
นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายๆ เหตุการณ์ที่บ่งบอกถึงความขัดแย้งระหว่างนายกฯ กับพรรคร่วมรัฐบาล เช่น โครงการรับจำนำข้าว เป็นต้น
จากความขัดแย้งและการท้าทายอำนาจของผู้นำรัฐบาลจากพรรคร่วมรัฐบาล และคนบางคนในพรรคประชาธิปัตย์เอง จึงเปิดช่องให้ศัตรูตรงกันข้ามรัฐบาลทั้งพรรคเพื่อไทย และกลุ่มเสื้อแดงอันเป็นแนวร่วมของพรรคเพื่อไทยภายใต้นายทุนคนเดียวกัน ออกมาต่อต้านท้าทายภาวะผู้นำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ด้วยเหตุนี้ ทางเดียวที่ผู้นำรัฐบาลเหลืออยู่ในการแก้ไขให้ภาวะผู้นำคืนก็คือ เร่งโยกย้ายข้าราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนราชการที่มีส่วนในการดูแลการเลือกตั้ง เช่น กรมการปกครอง และตำรวจ ให้ได้คนดี มีความสามารถ และเป็นกลางเข้ามาทำงาน แล้วปรับ ครม.เอาคนที่เห็นว่ามีพฤติกรรมสวนทางนายกฯ และเป็นปัญหาต่อความมั่นคงของรัฐบาลออกไปแล้วยุบสภาเลือกตั้งกันใหม่ ส่วนว่าจะปรับใครออก และจะตั้งใครแทน เชื่อว่านายกฯ คิดได้เองไม่ต้องมีใครมาช่วยคิดให้