ผู้จัดการรายวัน- กรมธุรกิจพลังงานเผยยอดขายเบนซิน 95 ลดวูบขณะที่อี 20 มาแรง คาดค่ายน้ำมันต่างชาติที่ยังขายเบนซิน 95 อยู่มีแนวโน้มอาจเลิกจำหน่ายภายในก.ค.แล้วหันขายอี 20 แทน ขณะที่น้ำมันแพงเริ่มกระทบเอสเอ็มอีแนะรายใหญ่อย่ากดราคาสินค้ารายเล็กเพื่อความอยู่รอดร่วมกัน ด้านสมาคมผู้ผลิตเอทานอลไทยเรียกร้องรัฐขอเพิ่มราคากลางจาก 17.54 บาท/ลิตรเป็น 20 บาท/ลิตร อ้างต้นทุนวัตถุดิบพุ่ง
นายเมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ปตท.และบางจากได้มีการยกเลิกจำหน่ายเบนซิน 95 ไปแล้วและหันมาจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ และอี 20 แทน ส่งผลให้การจำหน่ายเบนซิน 95 เหลือเพียง 8 แสนลิตรต่อวันในเดือนพ.ค.หรือลดลงถึง 70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่จำหน่ายถึงวันละ 3 ล้านลิตร ขณะที่อี 20 มีอัตราเติบโตอย่างมากโดยล่าสุดมียอดขายถึงวันละ 6.3 หมื่นลิตรดังนั้นมีแนวโน้มว่าค่ายต่างชาติจะมีการยกเลิกขายเบนซิน 95 ในก.ค.นี้แล้วหันมาขายแก๊สโซฮอล์ 91 และอี 20 แทนมากขึ้น
“ ธุรกิจค้าปลีกของไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงที่จะต้องเลือกขายน้ำมันว่าจะเป็นชนิดใดเพื่อให้ตรงกับความต้องการผู้บริโภค ซึ่งพ.ค. พบว่า น้ำมันในกลุ่มแก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซล (บี5) มีอัตราการขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้มีความเป็นไปได้ที่จะมีการยกเลิกการจำหน่ายเบนซิน 95 ในเดือนก.ค.นี้”นายเมตตากล่าว
อย่างไรก็ตามส่วนของอี 85 ที่รัฐกำลังส่งเสริมฯแต่ในหลักการแล้ว จะต้องมีรถยนต์ที่ใช้อี85ได้ก่อน หลังจากนั้นจึงจะมีการผลิตอี85 ออกมาขาย โดยทุกอย่างต่อดำเนินไปตามขั้นตอน ขณะนี้ประชาชนหันมาเลือกเติมพลังงานทดแทนมากขึ้น เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งในกลุ่มของเบนซิน จะเห็นได้ว่ามียอดจำหน่ายลดลง ทั้งเบนซิน95และ 91 ในขณะที่แก๊สโซฮอล์มียอดการขายเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะแก๊สโซฮอล์91 มีอัตราการจำหน่ายเพิ่มขึ้นถึง 315 %
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น พบว่าผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม(SMEs) กำลังได้รับผลกระทบหนักเนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีเงินทุนสำรองน้อยกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ จึงจำเป็นต้องเร่งปรับตัวอย่างมากซึ่งจะเห็นว่าช่วง 4-5 เดือน มีการทยอยปิดกิจการบ้างแล้วและพบว่าผู้ประกอบการรายใหญ่มีการต่อรองในการลดราคาสินค้าในการเป็นวัตถุดิบซึ่งเห็นว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ต้องเข้าใจ SMEs ให้มากเพราะหากอยู่ไม่ได้ก็จะกระทบเป็นลูกโซ่ในที่สุด
นายสิริวุทธ์ เสียมภักดี นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย และคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาล กล่าวว่า ทางสมาคมผู้ผลิตเอทานอลไทยเห็นด้วยกับแนวคิดการผลักดันแก๊สโซฮอล์อี 85 มาใช้เป็นน้ำมันหลักแก้ปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นในขณะนี้ โดยภาครัฐควรเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการโรงงานเอทานอลโดยปรับเพดานราคาเอทานอลจากเดิมที่กำหนดราคาซื้อขายเอทานอลไวย้ที่ 17.54 บาท/ลิตร แต่ราคาซื้อขายในตลาดจริงอยูที่ 16 บาท/ลิตร ทำให้ไม่คุ้มค่าการลงทุนเนื่องจากวัตถุดิบในการผลิตสูงขึ้น ซึ่งสมาคมฯเห็นว่าราคากลางเอทานอลควรอยู่ที่ 20บาท/ลิตร จึงจะเอื้อให้มีการตั้งโรงงานเอทานอลแห่งใหม่เพื่อผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้น
ปัจจุบันไทยมีโรงงานเอทานอลอยู่ 42แห่ง กำลังการผลิตรวม 13 ล้านลิตร/วัน หากโครงการอี 85 ได้รับการต้อนรับเชื่อว่าความต้องการใช้เอทานอลจะเพิ่มขึ้นเป็น 17 ล้านลิตร/วัน
นายเมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ปตท.และบางจากได้มีการยกเลิกจำหน่ายเบนซิน 95 ไปแล้วและหันมาจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ และอี 20 แทน ส่งผลให้การจำหน่ายเบนซิน 95 เหลือเพียง 8 แสนลิตรต่อวันในเดือนพ.ค.หรือลดลงถึง 70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่จำหน่ายถึงวันละ 3 ล้านลิตร ขณะที่อี 20 มีอัตราเติบโตอย่างมากโดยล่าสุดมียอดขายถึงวันละ 6.3 หมื่นลิตรดังนั้นมีแนวโน้มว่าค่ายต่างชาติจะมีการยกเลิกขายเบนซิน 95 ในก.ค.นี้แล้วหันมาขายแก๊สโซฮอล์ 91 และอี 20 แทนมากขึ้น
“ ธุรกิจค้าปลีกของไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงที่จะต้องเลือกขายน้ำมันว่าจะเป็นชนิดใดเพื่อให้ตรงกับความต้องการผู้บริโภค ซึ่งพ.ค. พบว่า น้ำมันในกลุ่มแก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซล (บี5) มีอัตราการขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้มีความเป็นไปได้ที่จะมีการยกเลิกการจำหน่ายเบนซิน 95 ในเดือนก.ค.นี้”นายเมตตากล่าว
อย่างไรก็ตามส่วนของอี 85 ที่รัฐกำลังส่งเสริมฯแต่ในหลักการแล้ว จะต้องมีรถยนต์ที่ใช้อี85ได้ก่อน หลังจากนั้นจึงจะมีการผลิตอี85 ออกมาขาย โดยทุกอย่างต่อดำเนินไปตามขั้นตอน ขณะนี้ประชาชนหันมาเลือกเติมพลังงานทดแทนมากขึ้น เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งในกลุ่มของเบนซิน จะเห็นได้ว่ามียอดจำหน่ายลดลง ทั้งเบนซิน95และ 91 ในขณะที่แก๊สโซฮอล์มียอดการขายเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะแก๊สโซฮอล์91 มีอัตราการจำหน่ายเพิ่มขึ้นถึง 315 %
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น พบว่าผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม(SMEs) กำลังได้รับผลกระทบหนักเนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีเงินทุนสำรองน้อยกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ จึงจำเป็นต้องเร่งปรับตัวอย่างมากซึ่งจะเห็นว่าช่วง 4-5 เดือน มีการทยอยปิดกิจการบ้างแล้วและพบว่าผู้ประกอบการรายใหญ่มีการต่อรองในการลดราคาสินค้าในการเป็นวัตถุดิบซึ่งเห็นว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ต้องเข้าใจ SMEs ให้มากเพราะหากอยู่ไม่ได้ก็จะกระทบเป็นลูกโซ่ในที่สุด
นายสิริวุทธ์ เสียมภักดี นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย และคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาล กล่าวว่า ทางสมาคมผู้ผลิตเอทานอลไทยเห็นด้วยกับแนวคิดการผลักดันแก๊สโซฮอล์อี 85 มาใช้เป็นน้ำมันหลักแก้ปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นในขณะนี้ โดยภาครัฐควรเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการโรงงานเอทานอลโดยปรับเพดานราคาเอทานอลจากเดิมที่กำหนดราคาซื้อขายเอทานอลไวย้ที่ 17.54 บาท/ลิตร แต่ราคาซื้อขายในตลาดจริงอยูที่ 16 บาท/ลิตร ทำให้ไม่คุ้มค่าการลงทุนเนื่องจากวัตถุดิบในการผลิตสูงขึ้น ซึ่งสมาคมฯเห็นว่าราคากลางเอทานอลควรอยู่ที่ 20บาท/ลิตร จึงจะเอื้อให้มีการตั้งโรงงานเอทานอลแห่งใหม่เพื่อผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้น
ปัจจุบันไทยมีโรงงานเอทานอลอยู่ 42แห่ง กำลังการผลิตรวม 13 ล้านลิตร/วัน หากโครงการอี 85 ได้รับการต้อนรับเชื่อว่าความต้องการใช้เอทานอลจะเพิ่มขึ้นเป็น 17 ล้านลิตร/วัน