เอเอฟพี - ที่ประชุมสุดยอดอาหารโลกประกาศแถลงการณ์ร่วม จะลดความหิวโหยในโลกลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2015 รวมทั้งดำเนินการอย่างเร่งด่วนต่อวิกฤตอาหารโลกที่กำลังดำเนินไปในขณะนี้
แต่กว่าที่ประชุมจะสามารถออกแถลงการณ์ร่วมกันได้ก็ต้องผ่านการโต้แย้งกันอย่างยาวนานถึง 11 ชั่วโมงในประเด็นต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อเพลิงชีวภาพที่ก่อให้เกิดความไม่พอใจและแบ่งขั้วกันขึ้น
ในแถลงการณ์ร่วม บรรดาผู้นำโลกเห็นพ้องต้องกันว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตอาหารในประเทศยากจน และมีองค์กรระหว่างประเทศและประเทศต่าง ๆให้คำมั่นว่าจะบริจาคเงินช่วยเหลือราว 6,500 ล้านดอลลาร์
"เราเชื่อว่าประชาคมระหว่างประเทศจำเป็นต้องใช้ปฏิบัติการอันเร่งด่วนและร่วมมือกัน เพื่อต่อสู้กับผลในทางลบของราคาที่เพิ่มขึ้น ซึ่งกระทบต่อประเทศและประชากรกลุ่มที่มีสุ่มเสี่ยงมากที่สุด" แถลงการณ์ร่วมกล่าวในอีกตอนหนึ่ง
หลังจากมีแถลงการณ์ร่วมเสียงวิจารณ์ก็ตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากออกซแฟม องค์การการกุศลของอังกฤษที่บอกว่าการประชุมสุดยอดครั้งนี้เป็น "ก้าวแรกที่สำคัญ" แต่ยังไม่เพียงพอในการจัดการกับวิกฤตอาหารโลก
ผู้บริหารสูงสุดของออกซแฟม บาร์บารา สต๊อกกิ้ง กล่าวในคำแถลงว่าในขณะที่ผู้นำของประเทศร่ำรวย "ได้แสดงการรับรู้ถึงความสำคัญของความช่วยเหลือด้านการเกษตร" แต่วิกฤตอาหารโลกนั้นต้องการ "การวางแผนในหลายด้านเพื่อแก้ไขมัน"
"ในฐานะที่เป็นประเทศที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก พวกเขาจะต้องบริจาคเงินมากกว่านี้เพื่อให้สามารถรับมือกับผลกระทบเฉพาะหน้าของวิกฤตในขณะนี้ รวมทั้งลดปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาโดยตั้งเป้าลดการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพร่วมกัน และให้ความช่วยเหลือระยะยาวแก่ภาคการเกษตร" เธอกล่าว และเพิ่มเติมว่า"วิกฤตในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เราต้องการ ไม่ใช่การดำเนินงานตามปกติ แต่เป็นการปฏิรูปในเชิงลึกในระบบการค้าระหว่างประเทศ"
ก่อนหน้าที่จะมีการลงนามกัน ก็มีผู้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์แถลงการณ์ร่วมนี้อย่างรุนแรง เช่น รัฐมนตรีคลังของอิตาลี ฟรังโก แฟรททินี่เ รียกว่าเป็นคำประกาศที่น่าผิดหวัง เพราะว่าสาระได้ถูกแก้ไขให้อ่อนลงเมื่อเทียบกับความหวังในตอนเริ่มประชุมครั้งแรก
สำหรับสาระสำคัญของเนื้อหาแถลงการณ์ร่วม ก็คือ จะเดินหน้าลด “จำนวนประชากรที่มีอาหารกินไม่พอเพียงลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2015” แม้ว่าจะราคาสินค้าที่พุ่งขึ้นจะทำให้ประชากรโลกเผชิญหน้ากับทุพพิกขภัยและการจลาจลจากการขาดแคลนอาหารเพิ่มขึ้นหลายเท่าก็ตาม
“มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องให้ความช่วยเหลือกับประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่กำลังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านระบบสังคมและเศรษฐกิจให้ขายการผลิตการเกษตรและอาหาร รวมทั้งเพิ่มการลงทุนทั้งจากภาคเอกชนและรัฐด้วย” แถลงการณ์ร่วมกล่าวไว้
แต่กว่าที่จะออกคำประกาศอย่างเป็นทางการได้ ก็ต้องผ่านการโต้แย้งและถกเถียงกันอย่างดุเดือดหลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อเพลิงชีวภาพและกำแพงการค้า ประเทศที่ส่งเสริมการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างขนานใหญ่ก็คือบราซิลและสหรัฐฯ ได้ปกป้องแนวทางของตนเอง ในขณะที่ประเทศอื่น ๆเห็นว่าเชื้อเพลิงชีวภาพจะเป็นการลดที่ดินที่สามารถนำมาเพาะปลูกเพื่อผลิตอาหาร
ผลที่สุด แถลงการณ์ร่วมก็กล่าวถึงเชื้อเพลิงชีวภาพแบบประนีประนอมว่า “เป็นทั้งปัญหาและโอกาส” และเรียกร้องให้มีการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งหลายฝ่ายเห็นว่าเป็นการเลี่ยงความขัดแย้งมากเกินไป จนทำให้เนื้อหาของแถลงการณ์ร่วมอ่อนลงมา
ความขัดแย้งยิ่งปรากฏเปิดเผยในช่วงสุดท้ายของการประชุม จนทำให้การเจรจาต้องยืดเยื้อเลยกำหนดการออกไป โดยที่ประเทศละตินอเมริกาสามแห่งคือ อาร์เจนตินา เวเนซุเอลา และคิวบา ได้แสดงความไม่พอใจออกมาหลายครั้ง โดยเฉพาะผู้แทนของคิวบาโจมตีสหรัฐฯว่ามี “นโยบายเชื้อเพลิงชีวภาพที่เลวร้าย” รวมทั้งเป็น “ผู้นำในด้านการบริโภค” ซึ่งคิวบาเห็นว่าสหรัฐฯเป็นตัวปัญหาในการตกลงร่วมกันครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีสิ่งที่ดีเกิดขึ้นในการประชุมก็คือมีการประกาศบริจาคเงิน 5,600 ล้านดอลลาร์ในที่ประชุม โดยมีผู้บริจาครายสำคัญ มีอาทิ ธนาคารเพื่อการพัฒนาอิสลาม และรัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งบริจาครายละ 1,500 ล้านดอลลาร์ ธนาคารโลก 1,200 ล้านดอลลาร์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งแอฟริกา 1,000 ล้านดอลลาร์
ฌาคส์ ดิยุฟ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคราวนี้กล่าวว่า “การประชุมครั้งนี้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายในการระดมทุน แต่เราพอใจที่มีผู้บริจาคเงินมากเช่นนี้”
แต่กว่าที่ประชุมจะสามารถออกแถลงการณ์ร่วมกันได้ก็ต้องผ่านการโต้แย้งกันอย่างยาวนานถึง 11 ชั่วโมงในประเด็นต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อเพลิงชีวภาพที่ก่อให้เกิดความไม่พอใจและแบ่งขั้วกันขึ้น
ในแถลงการณ์ร่วม บรรดาผู้นำโลกเห็นพ้องต้องกันว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตอาหารในประเทศยากจน และมีองค์กรระหว่างประเทศและประเทศต่าง ๆให้คำมั่นว่าจะบริจาคเงินช่วยเหลือราว 6,500 ล้านดอลลาร์
"เราเชื่อว่าประชาคมระหว่างประเทศจำเป็นต้องใช้ปฏิบัติการอันเร่งด่วนและร่วมมือกัน เพื่อต่อสู้กับผลในทางลบของราคาที่เพิ่มขึ้น ซึ่งกระทบต่อประเทศและประชากรกลุ่มที่มีสุ่มเสี่ยงมากที่สุด" แถลงการณ์ร่วมกล่าวในอีกตอนหนึ่ง
หลังจากมีแถลงการณ์ร่วมเสียงวิจารณ์ก็ตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากออกซแฟม องค์การการกุศลของอังกฤษที่บอกว่าการประชุมสุดยอดครั้งนี้เป็น "ก้าวแรกที่สำคัญ" แต่ยังไม่เพียงพอในการจัดการกับวิกฤตอาหารโลก
ผู้บริหารสูงสุดของออกซแฟม บาร์บารา สต๊อกกิ้ง กล่าวในคำแถลงว่าในขณะที่ผู้นำของประเทศร่ำรวย "ได้แสดงการรับรู้ถึงความสำคัญของความช่วยเหลือด้านการเกษตร" แต่วิกฤตอาหารโลกนั้นต้องการ "การวางแผนในหลายด้านเพื่อแก้ไขมัน"
"ในฐานะที่เป็นประเทศที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก พวกเขาจะต้องบริจาคเงินมากกว่านี้เพื่อให้สามารถรับมือกับผลกระทบเฉพาะหน้าของวิกฤตในขณะนี้ รวมทั้งลดปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาโดยตั้งเป้าลดการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพร่วมกัน และให้ความช่วยเหลือระยะยาวแก่ภาคการเกษตร" เธอกล่าว และเพิ่มเติมว่า"วิกฤตในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เราต้องการ ไม่ใช่การดำเนินงานตามปกติ แต่เป็นการปฏิรูปในเชิงลึกในระบบการค้าระหว่างประเทศ"
ก่อนหน้าที่จะมีการลงนามกัน ก็มีผู้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์แถลงการณ์ร่วมนี้อย่างรุนแรง เช่น รัฐมนตรีคลังของอิตาลี ฟรังโก แฟรททินี่เ รียกว่าเป็นคำประกาศที่น่าผิดหวัง เพราะว่าสาระได้ถูกแก้ไขให้อ่อนลงเมื่อเทียบกับความหวังในตอนเริ่มประชุมครั้งแรก
สำหรับสาระสำคัญของเนื้อหาแถลงการณ์ร่วม ก็คือ จะเดินหน้าลด “จำนวนประชากรที่มีอาหารกินไม่พอเพียงลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2015” แม้ว่าจะราคาสินค้าที่พุ่งขึ้นจะทำให้ประชากรโลกเผชิญหน้ากับทุพพิกขภัยและการจลาจลจากการขาดแคลนอาหารเพิ่มขึ้นหลายเท่าก็ตาม
“มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องให้ความช่วยเหลือกับประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่กำลังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านระบบสังคมและเศรษฐกิจให้ขายการผลิตการเกษตรและอาหาร รวมทั้งเพิ่มการลงทุนทั้งจากภาคเอกชนและรัฐด้วย” แถลงการณ์ร่วมกล่าวไว้
แต่กว่าที่จะออกคำประกาศอย่างเป็นทางการได้ ก็ต้องผ่านการโต้แย้งและถกเถียงกันอย่างดุเดือดหลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อเพลิงชีวภาพและกำแพงการค้า ประเทศที่ส่งเสริมการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างขนานใหญ่ก็คือบราซิลและสหรัฐฯ ได้ปกป้องแนวทางของตนเอง ในขณะที่ประเทศอื่น ๆเห็นว่าเชื้อเพลิงชีวภาพจะเป็นการลดที่ดินที่สามารถนำมาเพาะปลูกเพื่อผลิตอาหาร
ผลที่สุด แถลงการณ์ร่วมก็กล่าวถึงเชื้อเพลิงชีวภาพแบบประนีประนอมว่า “เป็นทั้งปัญหาและโอกาส” และเรียกร้องให้มีการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งหลายฝ่ายเห็นว่าเป็นการเลี่ยงความขัดแย้งมากเกินไป จนทำให้เนื้อหาของแถลงการณ์ร่วมอ่อนลงมา
ความขัดแย้งยิ่งปรากฏเปิดเผยในช่วงสุดท้ายของการประชุม จนทำให้การเจรจาต้องยืดเยื้อเลยกำหนดการออกไป โดยที่ประเทศละตินอเมริกาสามแห่งคือ อาร์เจนตินา เวเนซุเอลา และคิวบา ได้แสดงความไม่พอใจออกมาหลายครั้ง โดยเฉพาะผู้แทนของคิวบาโจมตีสหรัฐฯว่ามี “นโยบายเชื้อเพลิงชีวภาพที่เลวร้าย” รวมทั้งเป็น “ผู้นำในด้านการบริโภค” ซึ่งคิวบาเห็นว่าสหรัฐฯเป็นตัวปัญหาในการตกลงร่วมกันครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีสิ่งที่ดีเกิดขึ้นในการประชุมก็คือมีการประกาศบริจาคเงิน 5,600 ล้านดอลลาร์ในที่ประชุม โดยมีผู้บริจาครายสำคัญ มีอาทิ ธนาคารเพื่อการพัฒนาอิสลาม และรัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งบริจาครายละ 1,500 ล้านดอลลาร์ ธนาคารโลก 1,200 ล้านดอลลาร์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งแอฟริกา 1,000 ล้านดอลลาร์
ฌาคส์ ดิยุฟ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคราวนี้กล่าวว่า “การประชุมครั้งนี้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายในการระดมทุน แต่เราพอใจที่มีผู้บริจาคเงินมากเช่นนี้”