เอเอฟพี - ที่ประชุมสุดยอดอาหารโลกประกาศแถลงการณ์ร่วมจะลดความหิวโหยในโลกลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2015 รวมทั้งดำเนินการอย่างเร่งด่วนต่อวิกฤตอาหารโลกที่กำลังดำเนินไปในขณะนี้
แต่กว่าที่ประชุมจะสามารถออกแถลงการณ์ร่วมกันได้ก็ต้องผ่านการโต้แย้งกันอย่างยาวนานถึง 11 ชั่วโมงในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อเพลิงชีวภาพที่ก่อให้เกิดความไม่พอใจและแบ่งขั้วกันขึ้น
ในแถลงการณ์ร่วม บรรดาผู้นำโลกเห็นพ้องต้องกันว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตอาหารในประเทศยากจน และมีองค์กรระหว่างประเทศและประเทศต่างๆ ให้คำมั่นว่าจะบริจาคเงินช่วยเหลือราว 6,500 ล้านดอลลาร์
"เราเชื่อว่าประชาคมระหว่างประเทศจำเป็นต้องใช้ปฏิบัติการอันเร่งด่วนและร่วมมือกัน เพื่อต่อสู้กับผลในทางลบของราคาที่เพิ่มขึ้น ซึ่งกระทบต่อประเทศและประชากรกลุ่มที่มีสุ่มเสี่ยงมากที่สุด" แถลงการณ์ร่วมกล่าวในอีกตอนหนึ่ง
หลังจากมีแถลงการณ์เสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็ตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากออกซ์แฟม องค์การการกุศลของอังกฤษที่บอกว่า การประชุมสุดยอดครั้งนี้เป็น "ก้าวแรกที่สำคัญ" แต่ยังไม่เพียงพอในการจัดการกับวิกฤตอาหารโลก
ผู้บริหารสูงสุดของออกซ์แฟม บาร์บารา สต๊อกกิ้ง กล่าวในคำแถลงว่าในขณะที่ผู้นำของประเทศร่ำรวย "ได้แสดงการรับรู้ถึงความสำคัญของความช่วยเหลือด้านการเกษตร" แต่วิกฤตอาหารโลกนั้นต้องการ "การวางแผนในหลายด้านเพื่อแก้ไขมัน"
"ในฐานะที่เป็นประเทศที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก พวกเขาจะต้องบริจาคเงินมากกว่านี้เพื่อให้สามารถรับมือกับผลกระทบเฉพาะหน้าของวิกฤตในขณะนี้ รวมทั้งลดปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาโดยตั้งเป้าลดการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพร่วมกัน และให้ความช่วยเหลือระยะยาวแก่ภาคการเกษตร" เธอกล่าว และเพิ่มเติมว่า"วิกฤตในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เราต้องการ ไม่ใช่การดำเนินงานตามปกติ แต่เป็นการปฏิรูปในเชิงลึกในระบบการค้าระหว่างประเทศ"
แต่กว่าที่ประชุมจะสามารถออกแถลงการณ์ร่วมกันได้ก็ต้องผ่านการโต้แย้งกันอย่างยาวนานถึง 11 ชั่วโมงในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อเพลิงชีวภาพที่ก่อให้เกิดความไม่พอใจและแบ่งขั้วกันขึ้น
ในแถลงการณ์ร่วม บรรดาผู้นำโลกเห็นพ้องต้องกันว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตอาหารในประเทศยากจน และมีองค์กรระหว่างประเทศและประเทศต่างๆ ให้คำมั่นว่าจะบริจาคเงินช่วยเหลือราว 6,500 ล้านดอลลาร์
"เราเชื่อว่าประชาคมระหว่างประเทศจำเป็นต้องใช้ปฏิบัติการอันเร่งด่วนและร่วมมือกัน เพื่อต่อสู้กับผลในทางลบของราคาที่เพิ่มขึ้น ซึ่งกระทบต่อประเทศและประชากรกลุ่มที่มีสุ่มเสี่ยงมากที่สุด" แถลงการณ์ร่วมกล่าวในอีกตอนหนึ่ง
หลังจากมีแถลงการณ์เสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็ตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากออกซ์แฟม องค์การการกุศลของอังกฤษที่บอกว่า การประชุมสุดยอดครั้งนี้เป็น "ก้าวแรกที่สำคัญ" แต่ยังไม่เพียงพอในการจัดการกับวิกฤตอาหารโลก
ผู้บริหารสูงสุดของออกซ์แฟม บาร์บารา สต๊อกกิ้ง กล่าวในคำแถลงว่าในขณะที่ผู้นำของประเทศร่ำรวย "ได้แสดงการรับรู้ถึงความสำคัญของความช่วยเหลือด้านการเกษตร" แต่วิกฤตอาหารโลกนั้นต้องการ "การวางแผนในหลายด้านเพื่อแก้ไขมัน"
"ในฐานะที่เป็นประเทศที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก พวกเขาจะต้องบริจาคเงินมากกว่านี้เพื่อให้สามารถรับมือกับผลกระทบเฉพาะหน้าของวิกฤตในขณะนี้ รวมทั้งลดปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาโดยตั้งเป้าลดการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพร่วมกัน และให้ความช่วยเหลือระยะยาวแก่ภาคการเกษตร" เธอกล่าว และเพิ่มเติมว่า"วิกฤตในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เราต้องการ ไม่ใช่การดำเนินงานตามปกติ แต่เป็นการปฏิรูปในเชิงลึกในระบบการค้าระหว่างประเทศ"