ราคาน้ำมันดิบพุ่งทะยานลิ่วบ้าเลือดหลุดโลกโดยไต่ขึ้นมากกว่า 6 ดอลลาร์ไปยืนที่ระดับ 134 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อคืนวานนี้ (6) หลังจากที่ขยับขึ้น 5.49 ดอลลาร์แล้วในวันพฤหัสบดี (5) จึงเท่ากับชั่วเวลาไม่ถึง 2 วันเต็ม เพิ่มสูงขึ้นไปกว่า 12 ดอลลาร์ โดยเทรดเดอร์อ้างเหตุผลเรื่องค่าเงินดอลลาร์ที่กลับอ่อนตัวลงมา ตลอดจนเรื่องที่รัฐมนตรีคนสำคัญของอิสราเอลประกาศว่า การโจมตีสถานที่ตั้งทางนิวเคลียร์ของอิหร่าน กำลังเป็นสิ่งที่ "หลีกเลี่ยงไม่ได้"
นอกจากนั้น การที่ มอร์แกนสแตนลีย์ วาณิชธนกิจใหญ่วอลล์สตรีทรายหนึ่ง ออกรายงานล่าสุดทำนายว่า ราคาน้ำมันอาจจะกระโจนขึ้นทำสถิติสูงสุด ณ ระดับ 150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลภายในช่วงวันชาติอเมริกัน 4 กรกฎาคมปีนี้ ก็มีส่วนทำให้ราคาน้ำมันดิบทะยานแรงดุเดือดเช่นกัน
"เรากำลังจะได้เห็นการพุ่งทะยานขึ้นแรงและลงมาแรงในระยะสั้นของราคาน้ำมัน" รายงานของมอร์แกนสแตนลีย์บอก
สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูด ของตลาดไนเม็กซ์แห่งนิวยอร์ก เพื่อการส่งมอบเดือนกรกฎาคม ไต่ขึ้นไป 6.66 ดอลลาร์ อยู่ที่ 134.45 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อเวลา 13.25 น.วานนี้ ตามเวลามาตรฐานกรีนิช (เวลาจีเอ็มที ซึ่งตรงกับ 20.25 น.ของเมืองไทย) ซึ่งไม่ห่างจากสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ณ 135.09 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลที่ทำกันไว้ในวันที่ 22 เดือนที่แล้ว
ส่วนสัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดเบรนต์ ของลอนดอน ในช่วงเดียวกัน ก็เพิ่มขึ้นไป 4.59 ดอลลาร์ ยืนอยู่ที่ 132.13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ลดฮวบฮาบลงมา 2 วัน ได้กลับทะยานโด่งขึ้นไปใหม่ตั้งแต่วันพฤหัสบดี โดยตอนปิดตลาดวันนั้นที่นิวยอร์ก สัญญาล่วงหน้าไลต์สวีตครูดเพิ่มสูงขึ้น 5.49 ดอลลาร์ อยู่ที่ 127.79 ดอลลาร์ ส่วนเบรนต์ก็ขึ้นไป 5.44 ดอลลาร์ ยืนที่ 127.54 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
พวกเทรดเดอร์และนักวิเคราะห์บอกว่า แนวโน้มที่อ่อนตัวลงของค่าเงินดอลลาร์ คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำมันกลับขึ้นสูง เนื่องจากพวกกองทุนต่างๆ ใช้น้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ เป็นเครื่องประกันความเสี่ยงต่อภาวะเงินเฟ้อและค่าเงินดอลลาร์ที่ต่ำลง ดังนั้น เมื่อสกุลเงินตราของสหรัฐฯอ่อนตัว น้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นก็ต้องมีราคาขยับขึ้น
เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงในวันพฤหัสบดี ภายหลังจาก ฌอง-โคลด ตริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) แถลงว่ามีผู้วางนโยบายของอีซีบีจำนวนหนึ่ง ต้องการขยับดอกเบี้ยให้สูงขึ้น และการเพิ่มขึ้นนี้เป็นไปได้ที่อาจจะทำกันตั้งแต่เดือนหน้า ทั้งนี้ การขึ้นดอกเบี้ยของอีซีบี ย่อมทำให้ค่าเงินยูโรยิ่งแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ โดยตั้งแต่การแถลงของตริเชต์จนถึงช่วงบ่ายของลอนดอนวานนี้ ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงมามากกว่า 1% แล้ว
ไม่เพียงคำพูดของประธานอีซีบี ค่าเงินดอลลาร์ยังถูกตีกระหน่ำจากรายงานตัวเลขการว่างงานในสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมาวานนี้ ซึ่งปรากฏว่าในเดือนที่แล้ว อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นมาเป็น 5.5% ซึ่งสูงกว่าที่พวกนักวิเคราะห์คาดการณ์กันไว้ และสะท้อนถึงความย่ำแย่ของเศรษฐกิจอเมริกัน
แต่นอกจากเรื่องสกุลเงินตราสหรัฐฯ ตลาดน้ำมันยังผวากับรายงานข่าวที่ว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีคมนาคม ชาอุล โมฟาซ ของอิสราเอล ประกาศว่าการเข้าโจมตีสถานที่ตั้งทางนิวเคลียร์ของอิหร่าน ดูจะเป็นสิ่งที่ "หลีกเลี่ยงไม่ได้" แล้ว ในเมื่อการใช้มาตรการคว่ำบาตรของสหประชาชาติ เพื่อสกัดไม่ให้อิหร่านได้เทคโนโลยีที่สามารถทำอาวุธนิวเคลียร์ ล้วนแล้วแต่ไร้ผล
คำพูดของโมฟาซ คือการออกมาข่มขู่อิหร่านอย่างเปิดเผยที่สุดจากคณะรัฐบาลนายกรัฐมนตรีเอฮุด โอเมิร์ตแห่งอิสราเอง และ โอลิเวียร์ จาค็อบ นักวิเคราะห์แห่งบริษัท เปโตรแมทริกซ์ บอกว่า ยิ่งเพิ่มแรงขับดันให้แก่การทะยานขึ้นของราคาน้ำมัน
"เม็ดเงินจากตลาดการเงินกำลังไหลทะลักลับคืนสู่ตลาดน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์" จาค็อบบอก "เมื่อตลาดอยู่ในอาการพุ่งลิ่วแข็งแกร่งขนาดนี้ มันก็มีความโน้มเอียงที่จะสนใจแก่ข่าวพาดหัวที่ทำให้ราคาทะยาน มากกว่าข่าวที่ทำให้ราคาซึมเซา"
ปิยสวัสดิ์แนะเก็บค่าผ่านทางกทม.
ด้านนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะที่ปรึกษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย อดีตรมว.พลังงาน กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการลดราคาน้ำมัน หรือการอุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจี ไม่ให้เป็นไปตามกลไกของตลาด เพราะไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาที่ถูกจุด การดำเนินการดังกล่าว เป็นการช่วยเหลือแค่เฉพาะกลุ่มบางพวกในระยะสั้นเท่านั้น ไม่ใช่เป็นทางรอดของประเทศไทย
"ทางออก คือการออกมาตรการการลดพลังงาน หรือการเก็บค่าผ่านทางรถยนต์ส่วนบุคคลเข้าในพื้นที่ กทม.ชั้นใน การนำกฎหมายการควบคุมอาคารใหม่มาบังคับใช้ ซึ่งจะสามารถช่วยลดพลังงานได้ถึง 20-30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนนโยบาย อี 85 อี 10 เป็นเรื่องดีที่ดำเนินการ แต่ในเรื่องของความพร้อมคงต้องใช้ระยะเวลา"
นายปิยสวัสดิ์ เปิดเผยในงานสัมมนา "ชีวิตคนไทยในอนาคตจากมุมมองวงการพลังงาน" ว่า ราคาน้ำมันที่แพงอยู่ในขณะนี้อย่าคาดหวังว่าราคาน้ำมันจะลดลงได้ในเร็วๆ นี้ ซึ่งราคาจะยังคงอยู่ในระดับนี้อีกนาน อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่จะต้องให้ความสำคัญขณะนี้คือปัญหาภาวะโลกร้อน ซึ่งต้องเร่งแก้ปัญหา เพราะเป็นเรื่องที่กระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ ซึ่งจะเห็นผลได้ในระยะอันใกล้นี้
ทั้งนี้ การแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนยังไม่เดินหน้า เพราะสหรัฐอเมริกาไม่ยอมเข้าพิธีสารเกียวโต ในการจำกัดปริมาณภาวะโลกร้อน ซึ่งคงมีมาตรการออกมาอย่างเข้มข้น หลังจากที่สหรัฐอเมริกาได้ประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งจะทำให้ทั้งโลกมีแรงกดดัน และเกิดแรงกระตุ้นในการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน
นอกจากนั้น การที่ มอร์แกนสแตนลีย์ วาณิชธนกิจใหญ่วอลล์สตรีทรายหนึ่ง ออกรายงานล่าสุดทำนายว่า ราคาน้ำมันอาจจะกระโจนขึ้นทำสถิติสูงสุด ณ ระดับ 150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลภายในช่วงวันชาติอเมริกัน 4 กรกฎาคมปีนี้ ก็มีส่วนทำให้ราคาน้ำมันดิบทะยานแรงดุเดือดเช่นกัน
"เรากำลังจะได้เห็นการพุ่งทะยานขึ้นแรงและลงมาแรงในระยะสั้นของราคาน้ำมัน" รายงานของมอร์แกนสแตนลีย์บอก
สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูด ของตลาดไนเม็กซ์แห่งนิวยอร์ก เพื่อการส่งมอบเดือนกรกฎาคม ไต่ขึ้นไป 6.66 ดอลลาร์ อยู่ที่ 134.45 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อเวลา 13.25 น.วานนี้ ตามเวลามาตรฐานกรีนิช (เวลาจีเอ็มที ซึ่งตรงกับ 20.25 น.ของเมืองไทย) ซึ่งไม่ห่างจากสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ณ 135.09 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลที่ทำกันไว้ในวันที่ 22 เดือนที่แล้ว
ส่วนสัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดเบรนต์ ของลอนดอน ในช่วงเดียวกัน ก็เพิ่มขึ้นไป 4.59 ดอลลาร์ ยืนอยู่ที่ 132.13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ลดฮวบฮาบลงมา 2 วัน ได้กลับทะยานโด่งขึ้นไปใหม่ตั้งแต่วันพฤหัสบดี โดยตอนปิดตลาดวันนั้นที่นิวยอร์ก สัญญาล่วงหน้าไลต์สวีตครูดเพิ่มสูงขึ้น 5.49 ดอลลาร์ อยู่ที่ 127.79 ดอลลาร์ ส่วนเบรนต์ก็ขึ้นไป 5.44 ดอลลาร์ ยืนที่ 127.54 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
พวกเทรดเดอร์และนักวิเคราะห์บอกว่า แนวโน้มที่อ่อนตัวลงของค่าเงินดอลลาร์ คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำมันกลับขึ้นสูง เนื่องจากพวกกองทุนต่างๆ ใช้น้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ เป็นเครื่องประกันความเสี่ยงต่อภาวะเงินเฟ้อและค่าเงินดอลลาร์ที่ต่ำลง ดังนั้น เมื่อสกุลเงินตราของสหรัฐฯอ่อนตัว น้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นก็ต้องมีราคาขยับขึ้น
เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงในวันพฤหัสบดี ภายหลังจาก ฌอง-โคลด ตริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) แถลงว่ามีผู้วางนโยบายของอีซีบีจำนวนหนึ่ง ต้องการขยับดอกเบี้ยให้สูงขึ้น และการเพิ่มขึ้นนี้เป็นไปได้ที่อาจจะทำกันตั้งแต่เดือนหน้า ทั้งนี้ การขึ้นดอกเบี้ยของอีซีบี ย่อมทำให้ค่าเงินยูโรยิ่งแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ โดยตั้งแต่การแถลงของตริเชต์จนถึงช่วงบ่ายของลอนดอนวานนี้ ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงมามากกว่า 1% แล้ว
ไม่เพียงคำพูดของประธานอีซีบี ค่าเงินดอลลาร์ยังถูกตีกระหน่ำจากรายงานตัวเลขการว่างงานในสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมาวานนี้ ซึ่งปรากฏว่าในเดือนที่แล้ว อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นมาเป็น 5.5% ซึ่งสูงกว่าที่พวกนักวิเคราะห์คาดการณ์กันไว้ และสะท้อนถึงความย่ำแย่ของเศรษฐกิจอเมริกัน
แต่นอกจากเรื่องสกุลเงินตราสหรัฐฯ ตลาดน้ำมันยังผวากับรายงานข่าวที่ว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีคมนาคม ชาอุล โมฟาซ ของอิสราเอล ประกาศว่าการเข้าโจมตีสถานที่ตั้งทางนิวเคลียร์ของอิหร่าน ดูจะเป็นสิ่งที่ "หลีกเลี่ยงไม่ได้" แล้ว ในเมื่อการใช้มาตรการคว่ำบาตรของสหประชาชาติ เพื่อสกัดไม่ให้อิหร่านได้เทคโนโลยีที่สามารถทำอาวุธนิวเคลียร์ ล้วนแล้วแต่ไร้ผล
คำพูดของโมฟาซ คือการออกมาข่มขู่อิหร่านอย่างเปิดเผยที่สุดจากคณะรัฐบาลนายกรัฐมนตรีเอฮุด โอเมิร์ตแห่งอิสราเอง และ โอลิเวียร์ จาค็อบ นักวิเคราะห์แห่งบริษัท เปโตรแมทริกซ์ บอกว่า ยิ่งเพิ่มแรงขับดันให้แก่การทะยานขึ้นของราคาน้ำมัน
"เม็ดเงินจากตลาดการเงินกำลังไหลทะลักลับคืนสู่ตลาดน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์" จาค็อบบอก "เมื่อตลาดอยู่ในอาการพุ่งลิ่วแข็งแกร่งขนาดนี้ มันก็มีความโน้มเอียงที่จะสนใจแก่ข่าวพาดหัวที่ทำให้ราคาทะยาน มากกว่าข่าวที่ทำให้ราคาซึมเซา"
ปิยสวัสดิ์แนะเก็บค่าผ่านทางกทม.
ด้านนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะที่ปรึกษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย อดีตรมว.พลังงาน กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการลดราคาน้ำมัน หรือการอุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจี ไม่ให้เป็นไปตามกลไกของตลาด เพราะไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาที่ถูกจุด การดำเนินการดังกล่าว เป็นการช่วยเหลือแค่เฉพาะกลุ่มบางพวกในระยะสั้นเท่านั้น ไม่ใช่เป็นทางรอดของประเทศไทย
"ทางออก คือการออกมาตรการการลดพลังงาน หรือการเก็บค่าผ่านทางรถยนต์ส่วนบุคคลเข้าในพื้นที่ กทม.ชั้นใน การนำกฎหมายการควบคุมอาคารใหม่มาบังคับใช้ ซึ่งจะสามารถช่วยลดพลังงานได้ถึง 20-30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนนโยบาย อี 85 อี 10 เป็นเรื่องดีที่ดำเนินการ แต่ในเรื่องของความพร้อมคงต้องใช้ระยะเวลา"
นายปิยสวัสดิ์ เปิดเผยในงานสัมมนา "ชีวิตคนไทยในอนาคตจากมุมมองวงการพลังงาน" ว่า ราคาน้ำมันที่แพงอยู่ในขณะนี้อย่าคาดหวังว่าราคาน้ำมันจะลดลงได้ในเร็วๆ นี้ ซึ่งราคาจะยังคงอยู่ในระดับนี้อีกนาน อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่จะต้องให้ความสำคัญขณะนี้คือปัญหาภาวะโลกร้อน ซึ่งต้องเร่งแก้ปัญหา เพราะเป็นเรื่องที่กระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ ซึ่งจะเห็นผลได้ในระยะอันใกล้นี้
ทั้งนี้ การแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนยังไม่เดินหน้า เพราะสหรัฐอเมริกาไม่ยอมเข้าพิธีสารเกียวโต ในการจำกัดปริมาณภาวะโลกร้อน ซึ่งคงมีมาตรการออกมาอย่างเข้มข้น หลังจากที่สหรัฐอเมริกาได้ประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งจะทำให้ทั้งโลกมีแรงกดดัน และเกิดแรงกระตุ้นในการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน