วิปรัฐบาล-ฝ่ายค้านมีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ชาติไทยเสนอวางกรอบเวลา 60 วันหรืออย่างมาก 120 วัน ขณะที่ พปช.ยังยึกยักไม่รับปากหยุดยื่นญัตติแก้ไข รธน.รอบ 2 หรือไม่อ้างเป็นเอกสิทธิ ส.ส. ด้าน”กลุ่มเนวิน” ขอฟังบทสรุปจาก 12 คณะที่พปช.ตั้งขึ้นก่อน โวมี ส.ส.โทรฯขอร่วมลงชื่อญัตติแก้ รธน.รอบ 2 อื้อ “เด็กบรรหาร”สวนกลับ พปช.ลั่นไม่เคยให้เกียรติพรรคร่วม เย้ยพรรคเดียวเป็นรัฐบาลไม่ได้ ส่วนกลุ่มอีสานพัฒนา ปัดเป็นงูเห่า 2 หันชู “อภิสิทธิ์”นั่งนายกฯ
ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ (2 มิ.ย.) นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้เชิญตัวแทนคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) โดยมีนายวิทยา บูรณะศิริ รองประธานวิปรัฐบาล และนายสามารถ แก้วมีชัย เลขานุการวิปรัฐบาล และคณะกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) โดยมีนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานวิปฝ่ายค้าน นายวิยา แก้วภารดรัย นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการเปิดสมัยประชุมวิสามัญที่จะเปิดในวันที่ 9 มิ.ย.
**วิปรัฐ-ฝ่ายค้านชูตั้งกมธ.ศึกษารธน.
จากนั้นเวลา 11.00 น. นายสมศักดิ์ เกียรติ์สุรนนท์ รองประธานสภาฯ คนที่ 1 พร้อมด้วยตัวแทนผู้ร่วมประชุมแถลงว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่าให้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ข้อยุติ 100 % แต่ถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดี นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้เห็นตรงกัน โดยนายชัยก็เห็นชอบด้วยในหลักการที่จะให้มีการเสนอญัตติเพื่อตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาร่วมกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นนิมิตรหมายที่ดี
ด้านนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในช่วงเปิดสมัยประชุมวิสามัญนั้น สิ่งที่เราต้องการคือ สภาต้องใช้วิธีฝ่ายนิติบัญญัติทำหน้าที่ให้ได้เต็มที่มากกว่าเดิม จึงได้มีการพูดคุยกันในการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาฯ ให้ได้ และขณะเดียวกันกฎหมาย ที่ต้องตราขึ้นตามรัฐธรรมนูญ ประมาณ 10 ฉบับต้องผลักดันให้เสร็จ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย เห็นตรงกันว่าจะต้องเร่งรัดให้มีการพิจารณาในการประชุมสภาสมัยวิสามัญให้เสร็จสิ้น
ทั้งนี้ตนได้นำเสนอด้วยว่า เมื่อเราอยากเห็นฝ่ายสภาได้มีบทบาทในการช่วย คลี่คลายปัญหาต่างๆ ของบ้านเมืองจึงได้ปรึกษาประธานสภาฯว่า หากเรื่องของรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นปมของความขัดแย้งในปัจจุบัน สภาควรมีบทบาทที่ชัดเจน โดยการมีคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาศึกษาเรื่องนี้ โดยประกอบไปด้วยผู้แทนจาก ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และบุคคลภายนอกเพื่อเข้ามาใช้เวทีนี้ให้เป็นประโยชน์ในการ คลี่คลายข้อขัดแย้ง ซึ่งได้รับการตอบรับจากทุกฝ่ายในที่ประชุม จึงคิดว่าจุดนี้น่าจะเป็นจุดหนึ่งที่ถือว่าพวกเราที่อยู่ในสภาพยายามทำหน้าที่ที่แก้ไขและคลี่คลายปัญหาของบ้านเมือง
ส่วนการตั้งคณะกรรมาธิการฯชุดดังกล่าวจะมีการพิจารณาเกี่ยวกับการทำประชามติด้วยหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การทำประชามติจะต้องมีการตรากฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการจัดทำประชามติซึ่งเป็นหน้าที่ของ กกต. และรัฐบาลที่จะต้องเสนอมายังสภาเพื่อพิจารณาผ่านเป็นกฎหมาย ซึ่งไม่น่ามีปัญหาอะไรเพราะมีกรอบเวลาอยู่แล้ว ส่วนที่จะมีการจัดทำประชามติตามกฎหมาย ซึ่งปมความขัดแย้ง เรื่องรัฐธรรมนูญควรที่จะเริ่มตรงนี้คือ การมีคณะกรรมาธิการฯของสภา ซึ่งที่ประชุมไม่ได้มีการพูดถึงการทำประชามติเพราะไม่เกี่ยวข้องกัน
**พปช.อ้างเอกสิทธิส.ส.ยื่นแก้รธน.ได้
ส่วนนายวิทยา บูรณะศิริ รองประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ทางวิปรัฐบาลเห็นด้วยที่สภาจะทำหน้าที่แก้ไขปัญหาโดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเปิดให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการหรือผู้ที่มีความเห็นขัดแย้งเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ทั้งนี้ ข้อเสนอการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษารัฐธรรมนูญขึ้นมานั้น ในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลจะนำไปหารือกันในพรรคก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่าเมื่อสภามีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาศึกษารัฐธรรมนูญ แล้ว ทางพรรคพลังประชาชนควรยุติการล่ารายชื่อเพื่อยื่นแก้ไขรัฐธรมนูญ รอบ 2 หรือไม่ นายวิทยากล่าวว่า ส่วนนี้ถือเป็นการแสดงสิทธิเสรีภาพของสมาชิก ในเมื่อกรอบของกฎหมายกำหนดให้เขาทำได้ เขาก็มีสิทธิที่จะทำ แต่คงต้องนำสิ่ง ที่คุยในวันนี้ไปหารือกับสมาชิกก่อน
เมื่อถามว่าทางออกที่ให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าจะคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้น ได้มากน้อยแค่ไหน นายวิทยา กล่าวว่า ไม่ใช่ประเด็นว่าคลี่คลายได้หรือไม่ แต่เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สภาแห่งนี้จะช่วยให้บรรยากาศที่ตรึงเครียดอยู่ได้มีโอกาสเปิดให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
**ยันชะลอการแก้ไขรธน.ไปก่อน
ด้านนายสามารถ แก้วมีชัย เลขานุการวิปรัฐบาล กล่าวว่า ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านหารือกันเพื่อหาทางออกแก้ไขสถานการณ์บ้านเมือง ซึ่งเราทุกคนตระหนักกันดีในประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญ ที่เป็นประเด็นหลักของปัญหาและมีความไม่เข้าใจกันอยู่ ทั้งนี้ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลเห็นชอบร่วมกันว่า เราน่าจะชะลอการแก้รัฐธรรมนูญ ไปก่อน ซึ่งจริงๆ ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นว่า รัฐธรรมนูญแก้ได้ แต่หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ควรจะต้องชะลอก่อน และอยากให้ช่วงเวลาที่ชะลอจะได้ระดมความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนโดยผ่านคณะกรรมาธิการวิสามัญที่กำลังจะตั้งขึ้นโดยมีจำนวน 60 คน ที่มาจากฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน รวมทั้งเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้ามาร่วมกันในการแสดงความคิดเห็น เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้คณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ยังสามารถไปตั้งอนุอนุกรรมาธิการฯ ได้อีกหลายชุดเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่ง ที่สภาสามารถเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการดูว่า รัฐธรรมนูญมีประเด็นใดบ้างที่ต้องแก้ไข ขณะเดียวกันสามารถที่จะชะลอปัญหาที่ทุกคนเป็นห่วงอยู่ออกไปก่อน
นายสามารถ กล่าวว่า ขณะเดียวกันจะไปโยงถึงเรื่องประชามติซึ่งจะทำได้หรือไม่ ได้นั้น ต้องมีกฎหมายการจัดทำประชามติ ซึ่งทางรัฐบาลได้ให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ไปดูว่ากฎหมายเดิมใช้ได้หรือไม่ โดยทางคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แจ้งว่า ไม่สามารถ ใช้ได้ เพราะตกไปแล้วตามรัฐรรมนูญ ปี 2540 ดังนั้นจึงต้องมีการตรากฎหมาย ขึ้นมาใหม่ โดยทาง กกต.เป็นผู้เสนอกฎหมายเข้ามา ซึ่งสภาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่บังคับใช้รัฐธรรมนูญ ดังนั้นในวันที่ 23 ส.ค.นี้ ต้องเสร็จให้ทันกำหนดเวลา เราต้องดำเนินการเรื่องนี้ไปตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ จึงคิดว่า ในช่วงนี้ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะผ่อนคลายความขัดแย้งลงไปได้บ้าง
นายสามารถ กล่าวว่า จากข้อหารือในที่ประชุม ทางตนจะนำไปหารือในที่ประชุมพรรคพลังประชาชน โดยจะมีการพูดคุยกับกลุ่มต่างๆ ในพรรคก่อนที่จะเข้าที่ประชุมใหญ่ ส่วนผู้ที่เข้าชื่อกันเพื่อเตรียมยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญรอบ 2 นั้น เชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะประธานสภาฯ ได้เห็นชอบแล้ว
**ทวงพันธสัญญาจากพรรคร่วมรัฐบาล
ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงกรณีที่ นายภิรมย์ พลวิเศษ ส.ส.นครราชสีมา พรรคพลังประชาชน เรียกร้องให้พรรคร่วมรัฐบาลถอนตัว เพราะไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลจะใช้วิธีการ รุนแรงกับกลุ่มผู้ชุมนุมว่า เป็นความเห็นของส.ส. แต่เมื่อพรรคร่วมรัฐบาลตกลงเป็นพันธสัญญาร่วมกันว่าจะมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาของประชาชน อีกทั้งนายกรัฐมนตรีก็พอใจการทำงานของรัฐมนตรีที่มาจาก พรรคร่วมรัฐบาล จึงไม่เห็นด้วยที่จะขับไล่ไสส่งกันออกไป เพราะความอยู่รอดของรัฐบาลต้องจับมือและร่วมกันทำงานถึงจะสามารถแก้ปัญหาได้
ส่วนกรณีที่หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลนัดรับประทานอาหารร่วมกัน แสดงถึง ความไม่พอใจในการทำงานของรัฐบาลใช่หรือไม่นั้น ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า คงไม่ใช่ เป็นเพียงการหารือเพื่อหาทางออกร่วมกันมากกว่า เพราะวิธีการเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯ นั้นอาจจะส่งผลกระทบจึงควรที่จะหารือกัน โจทย์ใหญ่ไม่ใช่เรื่องระหว่าง พรรคร่วมรัฐบาลแต่ไปอยู่ที่กลุ่มพันธมิตรฯที่เปลี่ยนจุดยืนไปมา โดยยกประเด็นการขับไล่รัฐบาล ใช้กำลังของมวลชนที่มีอยู่ในมือมาเป็นเครื่องต่อรองกับรัฐบาล เช่น พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นต้น
ดังนั้นพรรคร่วมรัฐบาลจะต้องรักษาเสถียรภาพของรัฐบาล เพราะอาจทำให้กระทบต่อการทำงานได้
**หนุนตั้งกมธ.ศึกษาแก้รธน.
ส่วนกรณีที่ฝ่ายค้านมีการหารือกับประธานรัฐสภาเพื่อขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ร.ท.กุเทพ กล่าว่าเมื่อรัฐสภา และฝ่ายค้านคุยกันก็ย่อมจะมีทางออก และคิดว่าพรรคคงจะสนับสนุนข้อเสนอต่างๆ ที่จะให้การบริหารงานสำเร็จไปได้
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า มีการพูดคุยกันหรือไม่ว่าส.ส.จะลงชื่อในญัตติแก้ไขเพิ่ม เติมรัฐธรรมนูญเพื่อยื่นต่อสภาอีกครั้งเมื่อใด ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า ส.ส.มีสิทธิ์ที่จะทำได้ หากพรรคไปจำกัดก็จะเป็นการข่มขู่ซึ่งอาจผิดต่อรัฐธรรมนูญ ดังนั้นหากส.ส.จะดำเนินการก็ย่อมสามารถที่จะทำได้ และเมื่อไปถึงขั้นตอนของสภา หากได้เสียงไม่ครบ ก็ไม่สามารถที่จะทำได้อยู่แล้ว ยืนยันว่าส.ส.ในพรรคไม่มีปัญหากันเองแน่นอน ส่วนที่มีรายชื่อ 103 ส.ส.ที่จะเสนอญัตติใหม่นั้น ขณะนี้ยังไม่มีการหารือกัน
**เด็กเนวินยึกยักอ้างรอถกญัตติแก้รธน.
ด้าน นายนิสิต สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด กรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน กลุ่มนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญกล่าวว่า เป็นสิ่งที่ดี ที่ฝ่ายค้านหันกลับมาสู่ระบอบประชาธิปไตยในการร่วมกันตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อใช้ระบบรัฐสภาแก้ปัญหา ไม่ใช่ไปแก้ปัญหาข้างถนน แต่ตนเห็นว่าแนวคิดการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ต้องมีกรอบระยะเวลาชัดเจนว่าจะเสร็จเมื่อไหร่กี่วัน 60 วัน ไม่ใช่ 2 ปีเพราะเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญปี 2540 กับ ปี 2550 นั้นมีผลการศึกษาชัดเจนอยู่แล้วสามารถหยิบยก นำมาประกอบการพิจารณาด้วย
“ขั้นตอนจากนี้ไป เมื่อวิปทั้งสองฝ่ายไปหารือได้ข้อสรุปจะต้องนำไปชี้แจง อธิบาย ต่อที่ประชุมพรรคของแต่ละพรรคการเมือง มีความเห็นอย่างไรเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ในทิศทางตรงกัน โดยเฉพาะกรอบเวลาในการศึกษาต้องชัดเจน เพราะถ้าไม่ชัดเจน คงไม่ได้”
ผู้สื่อข่าวถามว่าหลังมีแนวคิดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญไปศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว ในส่วน ส.ส.พรรคพลังประชาชนจะชะลอการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือไม่นายนิสิตกล่าวว่า คงจะต้องไปหารือกับ 12 คณะกรรมการที่พรรคตั้งขึ้น ว่า ผลสรุปวิปรัฐบาลในการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญไปศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีเหตุผลอย่างไร อย่างไรก็ตามได้มี ส.ส.โทรศัพท์แสดงความจำนงขอร่วมลงชื่อ เสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่าคิดว่าแนวคิดดังกล่าวจะทำให้สถานการณ์การชุมนุม ลดความร้อนแรงลงไปหรือไม่ นายนิสิตกล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์การชุมนุมของพันธมิตรฯเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าเงื่อนไขไม่ใช่การต่อต้านรัฐธรรมนูญ แต่มุ่งประเด็นล้มรัฐบาล และกดดันขับไล่นายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง
“ความจริงสถานการณ์เบาลง ทุกอย่างเริ่มคลี่คลายแล้ว ดังนั้น พันธมิตรฯ จึงไม่มีความชอบธรรมและไม่มีเหตุผลที่จะปักหลักชุมนุมขับไล่รัฐบาลอีกต่อไป เพราะสังคมทั่วไปก็ไม่ยอมรับเนื่องจากรัฐบาลอยู่บริหารมาได้เพียง 3 เดือน ทุกอย่างกำลังมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น และเชื่อว่าประชาชนจะเข้าใจในรัฐบาลชุดนี้”
**ชท.หนุนตั้งกมธ.แต่ต้องกำหนดเวลา
นายเอกพจน์ ปานแย้ม ส.ส.ปทุมธานี พรรคชาติไทย วิปรัฐบาล กล่าวว่าพรรคขาติไทยเห็นด้วยในการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าจะยืดอารมย์การปะทะความขัดแย้งได้ ทั้งนี้ตนคิดว่า เวลาในการพิจารณาควรอยู่ที่ 60-120 วัน สำหรับตัวบุคคลที่พรรคชาติไทยจะเสนอมี 3 คนคือ ตน นายเกษม สรศักดิ์เกษม ที่ปรึกษากฎหมายพรรคและนายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรค อย่างไรก็ตาม พรรคชาติไทยไม่เห็นด้วยที่จะให้ ส.ว.เข้ามาอยู่ในคณะกรรมาธิการฯชุดนี้ โดยเห็นว่า ส.ว.ควรจะแยกไปตั้งคณะกรรมาธิการฯชุดใหม่ ในส่วนของวุฒิสภา ไม่ควรมาเกี่ยวข้องกับการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญของ ส.ส.
** สวนพปช.ก็ไม่เคยให้เกียรติ
นายเอกพจน์ ยังกล่าวถึงการที่นายภิรมย์ พลวิเศษ ส.ส.พรรคพลังประชาชนออกมาไล่พรรคร่วมรัฐบาลที่หารือกันและแสดงความไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงกันกลุ่มพันธมิตรฯให้ออกจากรัฐบาลว่า หลายครั้งที่พรรคพลังประชาชนเองก็ไม่เคยเห็นความสำคัญและให้ความสำคัญของพรรคร่วมรัฐบาล เช่น กรณีการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือคัดเลือกประธานสภาฯ หรือแม้กระทั่งการออกมาแถลงรายการพิเศษของนายกรัฐมนตรีในเช้าวันที่31 พ.ค.ที่ผ่านมา ก็ไม่เคยหารือกับพรรคร่วมรัฐบาล
นายเอกพจน์ กล่าวว่า และการระบุว่าถ้าไม่พอใจก็ให้ออกไปจากการร่วมรัฐบาลนั้น ขอบอกว่าการที่พรรคร่วมรัฐบาลจะอยู่หรือไปนั้น ไม่มีปัญหาอยู่แล้ว แต่ขอเตือนว่า อย่ามองว่าพรรคพลังประชาชนจะมีความสำคัญเพียงแค่พรรคเดียว เพราะหากไม่มี พรรคร่วมรัฐบาลอีก 5 พรรคให้ความสนับสนุนพรรคพลังประชาชนเองก็จัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ ดังนั้นการจะพูดจาอะไรออกมา จึงขอให้ทางแกนนำพรรคพลังประชาชนตักเตือนและควบคุมสมาชิกพรรคของตัวเองให้รักษามารยาททางการเมืองด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้ลิ่วล้อออกมาพูดในลักษณะยั่วยุ ไม่ให้เกียรติสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาล เช่นนี้ ซึ่งนอกจากจะไม่ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลดีแล้ว ยังกระทบต่อความรู้สึก ของสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาลพรรคอื่น และสิ่งที่แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลกระทำลงไปนั้นต่างก็มีเหตุมีผลรองรับ และทุกพรรคมีสิทธิที่จะนัดหารือเพื่อติดตามความเป็นไปของ สถานการณ์บ้านเมืองด้วยความห่วงใย ดังนั้นขอความกรุณาอย่าส่งลิ่วล้อมาพูดในลักษณะเช่นนี้อีก
**กลุ่มอีสานพัฒนาปัดเป็นงูเห่าภาค2
นายนิยม เวชกามา ส.ส.สกลนคร พรรคพลังประชาชน กลุ่มอีสานพัฒนา กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า กลุ่มอีสานพัฒนาภายใต้การนำของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองประธานสภาคนที่ 1 จะเป็นงูเห่าภาค 2 โดยหันไปร่วมมือกับพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อสนับสนุนนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรีว่า ไม่เป็นความจริงและเป็นไปไม่ได้ เพราะพวกตนก็ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของพรรคประชาธิปัตย์ที่ชอบเล่นเกมการเมืองนอกสภา แม้กลุ่มอีสานพัฒนา จะมีความเห็นขัดแย้งกับส.ส.กลุ่มอื่นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ก็ไม่ได้เป็นมูลเหตุ ที่จะทำให้ไปสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ได้
“ข่าวนี้ปล่อยออกมาจากคนที่ไม่หวังดี ต้องการทำลายพรรคพลังประชาชน คนในภาคอีสานเลือก ส.ส.ที่พรรค ไม่ได้เลือกที่ตัวบุคคล ประชาชนเขาชอบนโยบาย ของพรรคพลังประชาชน หากส.ส.ไปอยู่พรรคการเมืองอื่น ไม่มีทางที่จะได้รับเลือกตั้งอย่างแน่นอน”
ด้านนายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคพลังประชาชน กลุ่มอีสานพัฒนา กล่าวว่า เท่าที่ทำงานทางการเมืองมากว่า 20 ปี ข้อกล่าวหานี้เป็นข้อกล่าวหาที่เลวร้าย ที่สุด เรื่องนี้แม้แต่คิดก็ผิดแล้ว ยืนยันว่าพวกตนมีความเข้มข้นในเรื่องวินัย ความกตัญญูรู้คุณพรรค แม้กลุ่มตนจะค้านอะไรบางเรื่องแต่ก็ค้านในระบอบประชาธิปไตย โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก การเป็นงูเห่า ทรยศ ไม่จงรักภักดี ไม่มีแน่ ตนไม่นิยมการย้ายพรรค ข่าวที่ออกมาเป็นข่าวปล่อยที่ต้องการใส่ร้ายพวกตน แต่วันนี้ประชาชนฉลาดพอ รู้ว่าพรรคไหนอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นี้
**กกต.ร่างกม.ประชามติถึงสภา
นายสุเมธ อุปนิสากร กกต.ด้านการมีส่วนร่วม กล่าวว่า คาดว่าจะสามารถส่งร่าง พ.ร.บ.ประชามติให้สภาพิจารณาได้ในวันนี้( 3 มิ.ย.) โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการปรับแก้ตามมติของ กกต. และเมื่อถึงสภาแล้วคาดว่าจะะต้องใช้เวลาในการพิจารณากว่า 1 เดือน และเป็นไปไม่ได้ที่จะพิจารณาให้เสร็จใน 3 วาระรวด เนื่องจากรัฐธรรมนูญ กำหนดให้เว้นช่วงเวลาไว้ระหว่างการพิจารณาในแต่ละวาระ
นายสุเมธ ยังยอมรับว่า เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของสภา อาจต้องถูกปรับแก้ เพราะยังมีบางเรื่องที่ กกต.เองก็ยังมีความเห็นขัดแย้งกันและตั้งข้อสังเกตุไว้ อาทิ การออกเสียงประชามตินอกราชอาณาจักร ที่สิ้นเปลืองงบประมาณ การรณรงค์ร่างประชามติ ที่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐจะสามารถรณรงค์ได้หรือไม่ เพราะตามหลักการเลือกตั้งเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องวางตัวเป็นกลาง รวมทั้งการรณรงค์ของกลุ่มที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนร่างประชามติด้วย
ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ (2 มิ.ย.) นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้เชิญตัวแทนคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) โดยมีนายวิทยา บูรณะศิริ รองประธานวิปรัฐบาล และนายสามารถ แก้วมีชัย เลขานุการวิปรัฐบาล และคณะกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) โดยมีนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานวิปฝ่ายค้าน นายวิยา แก้วภารดรัย นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการเปิดสมัยประชุมวิสามัญที่จะเปิดในวันที่ 9 มิ.ย.
**วิปรัฐ-ฝ่ายค้านชูตั้งกมธ.ศึกษารธน.
จากนั้นเวลา 11.00 น. นายสมศักดิ์ เกียรติ์สุรนนท์ รองประธานสภาฯ คนที่ 1 พร้อมด้วยตัวแทนผู้ร่วมประชุมแถลงว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่าให้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ข้อยุติ 100 % แต่ถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดี นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้เห็นตรงกัน โดยนายชัยก็เห็นชอบด้วยในหลักการที่จะให้มีการเสนอญัตติเพื่อตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาร่วมกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นนิมิตรหมายที่ดี
ด้านนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในช่วงเปิดสมัยประชุมวิสามัญนั้น สิ่งที่เราต้องการคือ สภาต้องใช้วิธีฝ่ายนิติบัญญัติทำหน้าที่ให้ได้เต็มที่มากกว่าเดิม จึงได้มีการพูดคุยกันในการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาฯ ให้ได้ และขณะเดียวกันกฎหมาย ที่ต้องตราขึ้นตามรัฐธรรมนูญ ประมาณ 10 ฉบับต้องผลักดันให้เสร็จ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย เห็นตรงกันว่าจะต้องเร่งรัดให้มีการพิจารณาในการประชุมสภาสมัยวิสามัญให้เสร็จสิ้น
ทั้งนี้ตนได้นำเสนอด้วยว่า เมื่อเราอยากเห็นฝ่ายสภาได้มีบทบาทในการช่วย คลี่คลายปัญหาต่างๆ ของบ้านเมืองจึงได้ปรึกษาประธานสภาฯว่า หากเรื่องของรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นปมของความขัดแย้งในปัจจุบัน สภาควรมีบทบาทที่ชัดเจน โดยการมีคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาศึกษาเรื่องนี้ โดยประกอบไปด้วยผู้แทนจาก ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และบุคคลภายนอกเพื่อเข้ามาใช้เวทีนี้ให้เป็นประโยชน์ในการ คลี่คลายข้อขัดแย้ง ซึ่งได้รับการตอบรับจากทุกฝ่ายในที่ประชุม จึงคิดว่าจุดนี้น่าจะเป็นจุดหนึ่งที่ถือว่าพวกเราที่อยู่ในสภาพยายามทำหน้าที่ที่แก้ไขและคลี่คลายปัญหาของบ้านเมือง
ส่วนการตั้งคณะกรรมาธิการฯชุดดังกล่าวจะมีการพิจารณาเกี่ยวกับการทำประชามติด้วยหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การทำประชามติจะต้องมีการตรากฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการจัดทำประชามติซึ่งเป็นหน้าที่ของ กกต. และรัฐบาลที่จะต้องเสนอมายังสภาเพื่อพิจารณาผ่านเป็นกฎหมาย ซึ่งไม่น่ามีปัญหาอะไรเพราะมีกรอบเวลาอยู่แล้ว ส่วนที่จะมีการจัดทำประชามติตามกฎหมาย ซึ่งปมความขัดแย้ง เรื่องรัฐธรรมนูญควรที่จะเริ่มตรงนี้คือ การมีคณะกรรมาธิการฯของสภา ซึ่งที่ประชุมไม่ได้มีการพูดถึงการทำประชามติเพราะไม่เกี่ยวข้องกัน
**พปช.อ้างเอกสิทธิส.ส.ยื่นแก้รธน.ได้
ส่วนนายวิทยา บูรณะศิริ รองประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ทางวิปรัฐบาลเห็นด้วยที่สภาจะทำหน้าที่แก้ไขปัญหาโดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเปิดให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการหรือผู้ที่มีความเห็นขัดแย้งเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ทั้งนี้ ข้อเสนอการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษารัฐธรรมนูญขึ้นมานั้น ในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลจะนำไปหารือกันในพรรคก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่าเมื่อสภามีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาศึกษารัฐธรรมนูญ แล้ว ทางพรรคพลังประชาชนควรยุติการล่ารายชื่อเพื่อยื่นแก้ไขรัฐธรมนูญ รอบ 2 หรือไม่ นายวิทยากล่าวว่า ส่วนนี้ถือเป็นการแสดงสิทธิเสรีภาพของสมาชิก ในเมื่อกรอบของกฎหมายกำหนดให้เขาทำได้ เขาก็มีสิทธิที่จะทำ แต่คงต้องนำสิ่ง ที่คุยในวันนี้ไปหารือกับสมาชิกก่อน
เมื่อถามว่าทางออกที่ให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าจะคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้น ได้มากน้อยแค่ไหน นายวิทยา กล่าวว่า ไม่ใช่ประเด็นว่าคลี่คลายได้หรือไม่ แต่เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สภาแห่งนี้จะช่วยให้บรรยากาศที่ตรึงเครียดอยู่ได้มีโอกาสเปิดให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
**ยันชะลอการแก้ไขรธน.ไปก่อน
ด้านนายสามารถ แก้วมีชัย เลขานุการวิปรัฐบาล กล่าวว่า ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านหารือกันเพื่อหาทางออกแก้ไขสถานการณ์บ้านเมือง ซึ่งเราทุกคนตระหนักกันดีในประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญ ที่เป็นประเด็นหลักของปัญหาและมีความไม่เข้าใจกันอยู่ ทั้งนี้ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลเห็นชอบร่วมกันว่า เราน่าจะชะลอการแก้รัฐธรรมนูญ ไปก่อน ซึ่งจริงๆ ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นว่า รัฐธรรมนูญแก้ได้ แต่หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ควรจะต้องชะลอก่อน และอยากให้ช่วงเวลาที่ชะลอจะได้ระดมความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนโดยผ่านคณะกรรมาธิการวิสามัญที่กำลังจะตั้งขึ้นโดยมีจำนวน 60 คน ที่มาจากฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน รวมทั้งเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้ามาร่วมกันในการแสดงความคิดเห็น เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้คณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ยังสามารถไปตั้งอนุอนุกรรมาธิการฯ ได้อีกหลายชุดเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่ง ที่สภาสามารถเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการดูว่า รัฐธรรมนูญมีประเด็นใดบ้างที่ต้องแก้ไข ขณะเดียวกันสามารถที่จะชะลอปัญหาที่ทุกคนเป็นห่วงอยู่ออกไปก่อน
นายสามารถ กล่าวว่า ขณะเดียวกันจะไปโยงถึงเรื่องประชามติซึ่งจะทำได้หรือไม่ ได้นั้น ต้องมีกฎหมายการจัดทำประชามติ ซึ่งทางรัฐบาลได้ให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ไปดูว่ากฎหมายเดิมใช้ได้หรือไม่ โดยทางคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แจ้งว่า ไม่สามารถ ใช้ได้ เพราะตกไปแล้วตามรัฐรรมนูญ ปี 2540 ดังนั้นจึงต้องมีการตรากฎหมาย ขึ้นมาใหม่ โดยทาง กกต.เป็นผู้เสนอกฎหมายเข้ามา ซึ่งสภาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่บังคับใช้รัฐธรรมนูญ ดังนั้นในวันที่ 23 ส.ค.นี้ ต้องเสร็จให้ทันกำหนดเวลา เราต้องดำเนินการเรื่องนี้ไปตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ จึงคิดว่า ในช่วงนี้ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะผ่อนคลายความขัดแย้งลงไปได้บ้าง
นายสามารถ กล่าวว่า จากข้อหารือในที่ประชุม ทางตนจะนำไปหารือในที่ประชุมพรรคพลังประชาชน โดยจะมีการพูดคุยกับกลุ่มต่างๆ ในพรรคก่อนที่จะเข้าที่ประชุมใหญ่ ส่วนผู้ที่เข้าชื่อกันเพื่อเตรียมยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญรอบ 2 นั้น เชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะประธานสภาฯ ได้เห็นชอบแล้ว
**ทวงพันธสัญญาจากพรรคร่วมรัฐบาล
ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงกรณีที่ นายภิรมย์ พลวิเศษ ส.ส.นครราชสีมา พรรคพลังประชาชน เรียกร้องให้พรรคร่วมรัฐบาลถอนตัว เพราะไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลจะใช้วิธีการ รุนแรงกับกลุ่มผู้ชุมนุมว่า เป็นความเห็นของส.ส. แต่เมื่อพรรคร่วมรัฐบาลตกลงเป็นพันธสัญญาร่วมกันว่าจะมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาของประชาชน อีกทั้งนายกรัฐมนตรีก็พอใจการทำงานของรัฐมนตรีที่มาจาก พรรคร่วมรัฐบาล จึงไม่เห็นด้วยที่จะขับไล่ไสส่งกันออกไป เพราะความอยู่รอดของรัฐบาลต้องจับมือและร่วมกันทำงานถึงจะสามารถแก้ปัญหาได้
ส่วนกรณีที่หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลนัดรับประทานอาหารร่วมกัน แสดงถึง ความไม่พอใจในการทำงานของรัฐบาลใช่หรือไม่นั้น ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า คงไม่ใช่ เป็นเพียงการหารือเพื่อหาทางออกร่วมกันมากกว่า เพราะวิธีการเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯ นั้นอาจจะส่งผลกระทบจึงควรที่จะหารือกัน โจทย์ใหญ่ไม่ใช่เรื่องระหว่าง พรรคร่วมรัฐบาลแต่ไปอยู่ที่กลุ่มพันธมิตรฯที่เปลี่ยนจุดยืนไปมา โดยยกประเด็นการขับไล่รัฐบาล ใช้กำลังของมวลชนที่มีอยู่ในมือมาเป็นเครื่องต่อรองกับรัฐบาล เช่น พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นต้น
ดังนั้นพรรคร่วมรัฐบาลจะต้องรักษาเสถียรภาพของรัฐบาล เพราะอาจทำให้กระทบต่อการทำงานได้
**หนุนตั้งกมธ.ศึกษาแก้รธน.
ส่วนกรณีที่ฝ่ายค้านมีการหารือกับประธานรัฐสภาเพื่อขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ร.ท.กุเทพ กล่าว่าเมื่อรัฐสภา และฝ่ายค้านคุยกันก็ย่อมจะมีทางออก และคิดว่าพรรคคงจะสนับสนุนข้อเสนอต่างๆ ที่จะให้การบริหารงานสำเร็จไปได้
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า มีการพูดคุยกันหรือไม่ว่าส.ส.จะลงชื่อในญัตติแก้ไขเพิ่ม เติมรัฐธรรมนูญเพื่อยื่นต่อสภาอีกครั้งเมื่อใด ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า ส.ส.มีสิทธิ์ที่จะทำได้ หากพรรคไปจำกัดก็จะเป็นการข่มขู่ซึ่งอาจผิดต่อรัฐธรรมนูญ ดังนั้นหากส.ส.จะดำเนินการก็ย่อมสามารถที่จะทำได้ และเมื่อไปถึงขั้นตอนของสภา หากได้เสียงไม่ครบ ก็ไม่สามารถที่จะทำได้อยู่แล้ว ยืนยันว่าส.ส.ในพรรคไม่มีปัญหากันเองแน่นอน ส่วนที่มีรายชื่อ 103 ส.ส.ที่จะเสนอญัตติใหม่นั้น ขณะนี้ยังไม่มีการหารือกัน
**เด็กเนวินยึกยักอ้างรอถกญัตติแก้รธน.
ด้าน นายนิสิต สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด กรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน กลุ่มนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญกล่าวว่า เป็นสิ่งที่ดี ที่ฝ่ายค้านหันกลับมาสู่ระบอบประชาธิปไตยในการร่วมกันตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อใช้ระบบรัฐสภาแก้ปัญหา ไม่ใช่ไปแก้ปัญหาข้างถนน แต่ตนเห็นว่าแนวคิดการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ต้องมีกรอบระยะเวลาชัดเจนว่าจะเสร็จเมื่อไหร่กี่วัน 60 วัน ไม่ใช่ 2 ปีเพราะเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญปี 2540 กับ ปี 2550 นั้นมีผลการศึกษาชัดเจนอยู่แล้วสามารถหยิบยก นำมาประกอบการพิจารณาด้วย
“ขั้นตอนจากนี้ไป เมื่อวิปทั้งสองฝ่ายไปหารือได้ข้อสรุปจะต้องนำไปชี้แจง อธิบาย ต่อที่ประชุมพรรคของแต่ละพรรคการเมือง มีความเห็นอย่างไรเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ในทิศทางตรงกัน โดยเฉพาะกรอบเวลาในการศึกษาต้องชัดเจน เพราะถ้าไม่ชัดเจน คงไม่ได้”
ผู้สื่อข่าวถามว่าหลังมีแนวคิดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญไปศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว ในส่วน ส.ส.พรรคพลังประชาชนจะชะลอการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือไม่นายนิสิตกล่าวว่า คงจะต้องไปหารือกับ 12 คณะกรรมการที่พรรคตั้งขึ้น ว่า ผลสรุปวิปรัฐบาลในการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญไปศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีเหตุผลอย่างไร อย่างไรก็ตามได้มี ส.ส.โทรศัพท์แสดงความจำนงขอร่วมลงชื่อ เสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่าคิดว่าแนวคิดดังกล่าวจะทำให้สถานการณ์การชุมนุม ลดความร้อนแรงลงไปหรือไม่ นายนิสิตกล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์การชุมนุมของพันธมิตรฯเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าเงื่อนไขไม่ใช่การต่อต้านรัฐธรรมนูญ แต่มุ่งประเด็นล้มรัฐบาล และกดดันขับไล่นายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง
“ความจริงสถานการณ์เบาลง ทุกอย่างเริ่มคลี่คลายแล้ว ดังนั้น พันธมิตรฯ จึงไม่มีความชอบธรรมและไม่มีเหตุผลที่จะปักหลักชุมนุมขับไล่รัฐบาลอีกต่อไป เพราะสังคมทั่วไปก็ไม่ยอมรับเนื่องจากรัฐบาลอยู่บริหารมาได้เพียง 3 เดือน ทุกอย่างกำลังมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น และเชื่อว่าประชาชนจะเข้าใจในรัฐบาลชุดนี้”
**ชท.หนุนตั้งกมธ.แต่ต้องกำหนดเวลา
นายเอกพจน์ ปานแย้ม ส.ส.ปทุมธานี พรรคชาติไทย วิปรัฐบาล กล่าวว่าพรรคขาติไทยเห็นด้วยในการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าจะยืดอารมย์การปะทะความขัดแย้งได้ ทั้งนี้ตนคิดว่า เวลาในการพิจารณาควรอยู่ที่ 60-120 วัน สำหรับตัวบุคคลที่พรรคชาติไทยจะเสนอมี 3 คนคือ ตน นายเกษม สรศักดิ์เกษม ที่ปรึกษากฎหมายพรรคและนายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรค อย่างไรก็ตาม พรรคชาติไทยไม่เห็นด้วยที่จะให้ ส.ว.เข้ามาอยู่ในคณะกรรมาธิการฯชุดนี้ โดยเห็นว่า ส.ว.ควรจะแยกไปตั้งคณะกรรมาธิการฯชุดใหม่ ในส่วนของวุฒิสภา ไม่ควรมาเกี่ยวข้องกับการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญของ ส.ส.
** สวนพปช.ก็ไม่เคยให้เกียรติ
นายเอกพจน์ ยังกล่าวถึงการที่นายภิรมย์ พลวิเศษ ส.ส.พรรคพลังประชาชนออกมาไล่พรรคร่วมรัฐบาลที่หารือกันและแสดงความไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงกันกลุ่มพันธมิตรฯให้ออกจากรัฐบาลว่า หลายครั้งที่พรรคพลังประชาชนเองก็ไม่เคยเห็นความสำคัญและให้ความสำคัญของพรรคร่วมรัฐบาล เช่น กรณีการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือคัดเลือกประธานสภาฯ หรือแม้กระทั่งการออกมาแถลงรายการพิเศษของนายกรัฐมนตรีในเช้าวันที่31 พ.ค.ที่ผ่านมา ก็ไม่เคยหารือกับพรรคร่วมรัฐบาล
นายเอกพจน์ กล่าวว่า และการระบุว่าถ้าไม่พอใจก็ให้ออกไปจากการร่วมรัฐบาลนั้น ขอบอกว่าการที่พรรคร่วมรัฐบาลจะอยู่หรือไปนั้น ไม่มีปัญหาอยู่แล้ว แต่ขอเตือนว่า อย่ามองว่าพรรคพลังประชาชนจะมีความสำคัญเพียงแค่พรรคเดียว เพราะหากไม่มี พรรคร่วมรัฐบาลอีก 5 พรรคให้ความสนับสนุนพรรคพลังประชาชนเองก็จัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ ดังนั้นการจะพูดจาอะไรออกมา จึงขอให้ทางแกนนำพรรคพลังประชาชนตักเตือนและควบคุมสมาชิกพรรคของตัวเองให้รักษามารยาททางการเมืองด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้ลิ่วล้อออกมาพูดในลักษณะยั่วยุ ไม่ให้เกียรติสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาล เช่นนี้ ซึ่งนอกจากจะไม่ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลดีแล้ว ยังกระทบต่อความรู้สึก ของสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาลพรรคอื่น และสิ่งที่แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลกระทำลงไปนั้นต่างก็มีเหตุมีผลรองรับ และทุกพรรคมีสิทธิที่จะนัดหารือเพื่อติดตามความเป็นไปของ สถานการณ์บ้านเมืองด้วยความห่วงใย ดังนั้นขอความกรุณาอย่าส่งลิ่วล้อมาพูดในลักษณะเช่นนี้อีก
**กลุ่มอีสานพัฒนาปัดเป็นงูเห่าภาค2
นายนิยม เวชกามา ส.ส.สกลนคร พรรคพลังประชาชน กลุ่มอีสานพัฒนา กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า กลุ่มอีสานพัฒนาภายใต้การนำของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองประธานสภาคนที่ 1 จะเป็นงูเห่าภาค 2 โดยหันไปร่วมมือกับพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อสนับสนุนนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรีว่า ไม่เป็นความจริงและเป็นไปไม่ได้ เพราะพวกตนก็ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของพรรคประชาธิปัตย์ที่ชอบเล่นเกมการเมืองนอกสภา แม้กลุ่มอีสานพัฒนา จะมีความเห็นขัดแย้งกับส.ส.กลุ่มอื่นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ก็ไม่ได้เป็นมูลเหตุ ที่จะทำให้ไปสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ได้
“ข่าวนี้ปล่อยออกมาจากคนที่ไม่หวังดี ต้องการทำลายพรรคพลังประชาชน คนในภาคอีสานเลือก ส.ส.ที่พรรค ไม่ได้เลือกที่ตัวบุคคล ประชาชนเขาชอบนโยบาย ของพรรคพลังประชาชน หากส.ส.ไปอยู่พรรคการเมืองอื่น ไม่มีทางที่จะได้รับเลือกตั้งอย่างแน่นอน”
ด้านนายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคพลังประชาชน กลุ่มอีสานพัฒนา กล่าวว่า เท่าที่ทำงานทางการเมืองมากว่า 20 ปี ข้อกล่าวหานี้เป็นข้อกล่าวหาที่เลวร้าย ที่สุด เรื่องนี้แม้แต่คิดก็ผิดแล้ว ยืนยันว่าพวกตนมีความเข้มข้นในเรื่องวินัย ความกตัญญูรู้คุณพรรค แม้กลุ่มตนจะค้านอะไรบางเรื่องแต่ก็ค้านในระบอบประชาธิปไตย โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก การเป็นงูเห่า ทรยศ ไม่จงรักภักดี ไม่มีแน่ ตนไม่นิยมการย้ายพรรค ข่าวที่ออกมาเป็นข่าวปล่อยที่ต้องการใส่ร้ายพวกตน แต่วันนี้ประชาชนฉลาดพอ รู้ว่าพรรคไหนอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นี้
**กกต.ร่างกม.ประชามติถึงสภา
นายสุเมธ อุปนิสากร กกต.ด้านการมีส่วนร่วม กล่าวว่า คาดว่าจะสามารถส่งร่าง พ.ร.บ.ประชามติให้สภาพิจารณาได้ในวันนี้( 3 มิ.ย.) โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการปรับแก้ตามมติของ กกต. และเมื่อถึงสภาแล้วคาดว่าจะะต้องใช้เวลาในการพิจารณากว่า 1 เดือน และเป็นไปไม่ได้ที่จะพิจารณาให้เสร็จใน 3 วาระรวด เนื่องจากรัฐธรรมนูญ กำหนดให้เว้นช่วงเวลาไว้ระหว่างการพิจารณาในแต่ละวาระ
นายสุเมธ ยังยอมรับว่า เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของสภา อาจต้องถูกปรับแก้ เพราะยังมีบางเรื่องที่ กกต.เองก็ยังมีความเห็นขัดแย้งกันและตั้งข้อสังเกตุไว้ อาทิ การออกเสียงประชามตินอกราชอาณาจักร ที่สิ้นเปลืองงบประมาณ การรณรงค์ร่างประชามติ ที่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐจะสามารถรณรงค์ได้หรือไม่ เพราะตามหลักการเลือกตั้งเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องวางตัวเป็นกลาง รวมทั้งการรณรงค์ของกลุ่มที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนร่างประชามติด้วย