นับเป็นเวลา 1 ปี พอดี หลังจากที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2550 มีคำสั่งให้ยุบพรรคไทยรักไทย โดยชี้ชัดว่า
“...มิได้มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่มุ่งพัฒนาประเทศชาติเพื่อให้คนในชาติมีความสุขทั่วหน้าดังที่ได้รณรงค์หาเสียงไว้ต่อประชาชนอย่างแท้จริง หากแต่มุ่งประสงค์เพียงดำเนินการในทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ นอกเหนือไปจากครรลองที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศตลอดจนบทกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง จนยากที่หาอุดมการณ์อันแท้จริงของพรรคให้เกิดความมั่นใจแก่ประชาชนโดยรวมว่า เมื่อเป็นรัฐบาลมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินแล้ว จะดำเนินการปกครองโดยสุจริต ไม่ประพฤติมิชอบหรือบริหารราชการแผ่นดินโดยแอบแฝงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง...”
และมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรค จำนวน 111 คน เป็นเวลา 5 ปี “..เพื่อมิให้กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีโอกาสที่จะกระทำการอันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายซ้ำอีกในช่วงระยะเวลาหนึ่ง...”
คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญถือเป็นที่สุด และมีผลผูกพันทุกองค์กรทุกหน่วยงานที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่น่าแปลกใจ จนถึงบัดนี้ พรรคไทยรักไทยก็ยังมิได้ถูกยุบไปจริงๆ และกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยก็ยังคงมีอำนาจและบทบาทในทางการเมือง กระทั่ง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซ้ำอีก ในช่วงระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี
1. พรรคไทยรักไทยแค่เปลี่ยนร่าง (หรือแค่ทำศัลยกรรมใบหน้า) เปลี่ยนเพียงชื่อ จาก “ไทยรักไทย” มาเป็น “พลังประชาชน” พิจารณาจาก
(1) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ยังได้แสดงออกประหนึ่งเป็นผู้นำที่แท้จริงของพรรคพลังประชาชน และพรรคพลังประชาชนนั้น แท้ที่จริงก็คือการรวมตัวของ ส.ส.พรรคไทยรักไทยเดิม ถึงขนาดได้บันทึกวีดีโอภาพของตนเอง ชี้แจง ชักจูง โน้มน้าว เพื่อสนับสนุนพรรคพลังประชาชน โดยกล่าวว่า “..ผมก็เลยบอกกับ ส.ส.พรรคไทยรักไทยทั้งหลายที่ พรรคถูกยุบก็บอกว่า ถ้าเรารักประชาชน เราห่วงประเทศชาติ เรามารวมตัวกันเถอะ เพราะประชาชนเข้าใจเรา และรู้ดีว่า เราถูกกระทำ เขาก็เรียกมารวมตัวกันและมารวมตัวกันตั้งพรรคใหม่ ชื่อพรรคพลังประชาชน ชื่อดีครับ เพราะเราจะต้องขอพลังจากพี่น้องประชาชน เพื่อจะเอาความมั่งคั่งของประเทศกลับคืนมา เอาความผาสุขของประชาชนกลับคืนมา..”
(2) พรรคพลังประชาชนได้นำรูปภาพ พ.ต.ท.ทักษิณ รวมถึงวีซีดีภาพและคำปราศรัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ หัวหน้าพรรคไทยรักไทย นำไปแจกจ่ายเพื่อหาเสียงกับประชาชน โดยมีเจตนาให้ประชาชนเข้าใจว่า พ.ต.ท.ทักษิณและพรรคไทยรักไทย ยังคงมีความเกี่ยวโยง สนับสนุน หรือแม้กระทั่งเป้นอันหนึ่งเฃอันเดียวกับพรรคพลังประชาชนนั่นเอง
(3) ผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคพลังประชาชน เป็นอดีต ส.ส.ของพรรคไทยรักไทยนั่นเอง หรือไม่ ก็เป็นผู้ใกล้ชิด เครือญาติ ลูกเมีย หรือลูกน้อง ของอดีต ส.ส.และกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ซึ่งล้วนแต่มีแนวคิดทางการเมืองและจุดยืนของผลประโยชน์ เป็นอันเดิม อันเดียว กับพรรคไทยรักไทย
(4) กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ถูกคณะตุลาการรัฐธรรมนูญสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ห้ามทำงานการเมือง 5 ปี กลับยังทำงานการเมืองผ่านทางตัวแทนเชิด (นอมินี-Nominee) หรือคนใกล้ชิด ลูกเมีย ญาติมิตร ที่ตนเองสามารถครอบงำ สั่งการ หรือใช้งานร่วมงานได้ อาทิ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ก็ได้มีนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ดังที่นายสมัครประกาศชัดเจน ณ โรงแรมเซ็นทรัลแกรนด์ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ว่า “... เมื่อผมถูกออกปากจากนายกฯ ทักษิณ ผมบอกเอาเลย ผมจะเป็นนอมินีให้นายกฯ ทักษิณ...”
ส่วนคนอื่นๆ เช่น นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ก็ได้มีพลโทหญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ (ภรรยา), นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ก็ได้มีนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน (ภรรยา), นายไพโรจน์ สุวรรณฉวี ก็ได้มีร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี (ภรรยา), นางสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ก็ได้มีนายสมพล เกยุราพันธุ์ (บิดา-ซึ่งอายุก็มากแล้ว และสุขภาพก็ไม่ค่อยดี ถึงขนาดต้องนั่งรถเข็น), นายเนวิน ชิดชอบ ก็ได้มีนายชัย ชิดชอบ (บิดา-ได้เป็นถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร), นายอนุทิน ชาญวีรกูล ก็ได้มีนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล (บิดา-ซึ่งอายุก็มากแล้ว), นายจาตุรนต์ ฉายแสง ก็ได้มีนายวุฒิพงษ์ ฉายแสง (น้องชาย-ได้เป็นถึงรัฐมนตรี) เป็นต้น
(5) โลโก้พรรคพลังประชาชนก็ตั้งใจออกแบบให้คล้ายของเดิม โดยดัดแปลงมาจากโลโก้ของพรรคไทยรักไทย เพื่อยืนยันตัวตนเดิม จงใจให้ประชาชนนึกถึงพรรคไทยรักไทย
(6) บรรดาแกนนำ นปก. และแกนนำของพรรคไทยรักไทย ก็ได้มาเป็นแกนนำของพรรคพลังประชาชน และได้มีตำแหน่งสำคัญ สืบทอดและสืบสานงานการเมืองอย่างเป็นขบวนการเดียวกัน อาทิ นายจักรภพ เพ็ญแข พันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย เป็นต้น
ประการสำคัญที่สุด คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้วินิจฉัยคำร้องกรณีพรรคพลังประชาชนเป็นนอมินีของพรรคไทยรักไทยไปแล้ว โดยเสียงข้างมากของ กกต. มีมติว่า พรรคพลังประชาชนมีการกระทำเข้าข่ายเป็นตัวแทนเชิด(nominee)ของพรรคไทยรักไทย เพียงแต่ไปอ้างว่า ไม่มีกฎหมายเอาผิดได้!
2. การที่ “ไทยรักไทย” กระทำการจัดตั้งรัฐบาลในนามพรรคพลังประชาชน หรือแม้แต่การส่งผู้สมัคร ส.ส.ในนามพรรคพลังประชาชน จึงไม่น่าจะมีความชอบธรรม และต้องสงสัยว่ากระทำอย่างถูกต้องตามกฎหมายเพียงใด ขัดต่อคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญหรือไม่
ที่ผ่านมา พรรคไทยรักไทยเคยกระทำการผูกขาดอำนาจรัฐ โดยยึดครองสภาผู้แทนราษฎรผ่านการใช้อำนาจทุนและอำนาจรัฐบีบให้มีการยุบรวมพรรคการเมืองเล็กพรรคการเมืองน้อยภายหลังการเลือกตั้ง ครอบงำวุฒิสภา ตลอดจนแทรกแซงกระบวนการสรรหาองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ทำให้ระบบตรวจสอบขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 2540 ถูกบิดเบือนทำลาย เปิดทางให้มีการทุจริตเชิงนโยบาย ออกกฏหมาย มาตรการ และการใช้อำนาจเอื้อผลประโยชน์แก่ธุรกิจส่วนตัวหลากหลายรูปแบบ อาทิ แก้กฎหมายโทรคมนาคมเพื่อให้ตนขายหุ้นต่างชาติ ได้มูลค่า 73,300 ล้านบาท และยังหลบเลี่ยงภาษี อีกจำนวนมหาศาล เป็นต้น
พรรคไทยรักไทยได้ถูกคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรค ผ่านมาไม่ถึง 1 ปี “ไทยรักไทย” ในร่าง “พลังประชาชน” กลับได้เข้ามามีอำนาจรัฐ และกระทำการต่อบ้านเมืองซ้ำ... “อีกครั้งหนึ่ง”
3. การที่ “ไทยรักไทย” พยายามจะใช้อำนาจของสภาผู้แทนราษฎรผ่านทาง ส.ส.ในนามพรรคพลังประชาชน เพื่อล้มล้างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (กล่าวให้ตรงกว่า คือ ฉีกรัฐธรรมนูญ 2550) โดยอ้างว่าจะกลับไปใช้รัฐธรรมนูญ 2540 นั้น เมื่อมองจาก “กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา” จะเห็นว่า
(1) ล้มล้างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ตนและพรรคการเมืองของตน ไม่ต้องถูกลงโทษในคดีทุจริตการเลือกตั้ง กระทำการเพื่อให้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยมุ่งตัดตอนคดีไม่ให้พรรคการเมืองของตนและกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนรับโทษ
(2) ถอยหลังระบบการเมืองไทย ในรูปแบบอย่างที่ “ไทยรักไทย” เคยกระทำการผูกขาดอำนาจรัฐสำเร็จมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น การยึดอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา การแทรกแซงครอบงำองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 2540 การกดดัน ข่มขู่ แทรกแซง และยึดครองสื่อสารมวลชน ตลอดจนการบั่นเซาะ สร้างเงื่อนไข อุปสรรค บั่นทอนทำลายอำนาจที่แท้จริงของประชาชนและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ตลอดจนตัดทอนสิทธิและผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ 2550 ทิ้งไป
(3) ล้มคดีการทุจริตประพฤติมิชอบ และบรรดาคดีที่ระบอบทักษิณได้กระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ เพื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพวก ไม่ต้องถูกพิพากษาตัดสินในพฤติกรรมการกระทำความผิด แต่เปิดช่องโหว่ให้สามารถล้มคดีโดยการล้มล้างอำนาจของ คตส. และบรรดาองค์กรตรวจสอบต่างๆ ที่ได้ทำหน้าที่ไต่สวนพิจารณาคดีเหล่านี้มาอย่างต่อเนื่อง อันเป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม และตัดตอนอำนาจของศาลยุติธรรมอย่างเลวร้ายที่สุด
น่าสลดใจ... ในขณะที่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศกำลังตกในภาวะปัญหารุ้มเร้าชีวิตความเป็นอยู่ ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ข้าวยากหมากแพง น้ำมันแพง ปัญหาความมั่นคงในสามจังหวัดภาคใต้ ฯลฯ แต่ผู้กุมอำนาจรัฐกลับเอาเป็นเอาตายอยุ่กับการมุ่งจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อตนเองและพรรคพวก
ทั้งหมดนี้ ทำให้เห็นว่า “ระบอบทักษิณ” ยังไม่ตาย และกำลังพยายามจะฟื้นคืนชีพ โดยกลับเข้ายึดครองประเทศ ผ่านพิธีกรรมการเลือกตั้ง ซึ่งอาศัยฐานอำนาจ เครือข่ายอิทธิพล และอำนาจทุนในการซื้อเสียงทุจริตเลือกตั้งโดยไม่ยำเกรงกฎหมายที่กำหนดโทษไว้ถึงขั้นยุบพรรค มุ่งผูกขาดอำนาจรัฐ มุ่งฟอกความผิดของตน แทรกแซงตัดตอนกระบวนการยุติธรรมและการใช้อำนาจตุลาการของศาล เพื่อให้พรรคตนไม่ถูกยุบและให้พวกตนรอดพ้นความผิดนานาประการ
สะท้อนใจว่า “ไทยรักไทย (TRT) Never Die” จริงๆ หรือ ?
จะมีบางอย่าง บางพรรค “อยู่เหนือความยุติธรรม” ได้ด้วยหรือ ?
ไม่ว่าบางสิ่งบางอย่างนั้น จะอยู่ภายใต้หน้ากากของ “ไทยรักไทย” – “พลังประชาชน” หรือ “ทักษิณ”-“สมัคร” หรือใครๆ ก็ตาม และแม้ว่า “ระบอบทักษิณ” จะเล่นเกมการเมืองกลบเกลื่อนอย่างไร เช่น “ยอมเสียเบี้ยเพื่อรักษาขุน” (อย่างที่จักรภพพูดถึงการลาออกของตนเอง) หรือ “ถอยเพื่อเดินหน้าอีกครั้ง” (อย่างที่พรรคพลังประชาชนปล่อยให้ญัตติแก้รัฐธรรมนูญตกไป แต่กลับยังรวบรวมชื่อ ส.ส. เพื่อจะเสนอใหม่) เป็นต้น
ณ วันนี้ ประชาชนผู้ “รู้ทัน” จึงเข้าใจและตระหนักดีว่า เจตนารมณ์ที่แท้จริงของการทวงคืนประเทศไทย- ขับไล่ “ระบอบทักษิณ” ซึ่งเดินหน้ามากว่า 3 ปีแล้วนี้ ยังไม่บรรลุผลสำเร็จ และช่วงขณะนี้ คือ ช่วงเวลาที่ประชาชนจำเป็นต้องออกมาชุมนุมร่วมกัน เพื่อ “ขุดรากถอนโคน” ระบอบอันสามานย์ออกไป
ทั้งหมดนี้ คือ เหตุผลและความชอบธรรม อันทำให้ประชาชนผู้มีใจรักความเป็นธรรม ต้องออกมาชุมนุมขับไล่ “ระบอบทักษิณ” ... อีกครั้งหนึ่ง
“...มิได้มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่มุ่งพัฒนาประเทศชาติเพื่อให้คนในชาติมีความสุขทั่วหน้าดังที่ได้รณรงค์หาเสียงไว้ต่อประชาชนอย่างแท้จริง หากแต่มุ่งประสงค์เพียงดำเนินการในทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ นอกเหนือไปจากครรลองที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศตลอดจนบทกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง จนยากที่หาอุดมการณ์อันแท้จริงของพรรคให้เกิดความมั่นใจแก่ประชาชนโดยรวมว่า เมื่อเป็นรัฐบาลมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินแล้ว จะดำเนินการปกครองโดยสุจริต ไม่ประพฤติมิชอบหรือบริหารราชการแผ่นดินโดยแอบแฝงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง...”
และมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรค จำนวน 111 คน เป็นเวลา 5 ปี “..เพื่อมิให้กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีโอกาสที่จะกระทำการอันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายซ้ำอีกในช่วงระยะเวลาหนึ่ง...”
คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญถือเป็นที่สุด และมีผลผูกพันทุกองค์กรทุกหน่วยงานที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่น่าแปลกใจ จนถึงบัดนี้ พรรคไทยรักไทยก็ยังมิได้ถูกยุบไปจริงๆ และกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยก็ยังคงมีอำนาจและบทบาทในทางการเมือง กระทั่ง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซ้ำอีก ในช่วงระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี
1. พรรคไทยรักไทยแค่เปลี่ยนร่าง (หรือแค่ทำศัลยกรรมใบหน้า) เปลี่ยนเพียงชื่อ จาก “ไทยรักไทย” มาเป็น “พลังประชาชน” พิจารณาจาก
(1) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ยังได้แสดงออกประหนึ่งเป็นผู้นำที่แท้จริงของพรรคพลังประชาชน และพรรคพลังประชาชนนั้น แท้ที่จริงก็คือการรวมตัวของ ส.ส.พรรคไทยรักไทยเดิม ถึงขนาดได้บันทึกวีดีโอภาพของตนเอง ชี้แจง ชักจูง โน้มน้าว เพื่อสนับสนุนพรรคพลังประชาชน โดยกล่าวว่า “..ผมก็เลยบอกกับ ส.ส.พรรคไทยรักไทยทั้งหลายที่ พรรคถูกยุบก็บอกว่า ถ้าเรารักประชาชน เราห่วงประเทศชาติ เรามารวมตัวกันเถอะ เพราะประชาชนเข้าใจเรา และรู้ดีว่า เราถูกกระทำ เขาก็เรียกมารวมตัวกันและมารวมตัวกันตั้งพรรคใหม่ ชื่อพรรคพลังประชาชน ชื่อดีครับ เพราะเราจะต้องขอพลังจากพี่น้องประชาชน เพื่อจะเอาความมั่งคั่งของประเทศกลับคืนมา เอาความผาสุขของประชาชนกลับคืนมา..”
(2) พรรคพลังประชาชนได้นำรูปภาพ พ.ต.ท.ทักษิณ รวมถึงวีซีดีภาพและคำปราศรัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ หัวหน้าพรรคไทยรักไทย นำไปแจกจ่ายเพื่อหาเสียงกับประชาชน โดยมีเจตนาให้ประชาชนเข้าใจว่า พ.ต.ท.ทักษิณและพรรคไทยรักไทย ยังคงมีความเกี่ยวโยง สนับสนุน หรือแม้กระทั่งเป้นอันหนึ่งเฃอันเดียวกับพรรคพลังประชาชนนั่นเอง
(3) ผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคพลังประชาชน เป็นอดีต ส.ส.ของพรรคไทยรักไทยนั่นเอง หรือไม่ ก็เป็นผู้ใกล้ชิด เครือญาติ ลูกเมีย หรือลูกน้อง ของอดีต ส.ส.และกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ซึ่งล้วนแต่มีแนวคิดทางการเมืองและจุดยืนของผลประโยชน์ เป็นอันเดิม อันเดียว กับพรรคไทยรักไทย
(4) กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ถูกคณะตุลาการรัฐธรรมนูญสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ห้ามทำงานการเมือง 5 ปี กลับยังทำงานการเมืองผ่านทางตัวแทนเชิด (นอมินี-Nominee) หรือคนใกล้ชิด ลูกเมีย ญาติมิตร ที่ตนเองสามารถครอบงำ สั่งการ หรือใช้งานร่วมงานได้ อาทิ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ก็ได้มีนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ดังที่นายสมัครประกาศชัดเจน ณ โรงแรมเซ็นทรัลแกรนด์ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ว่า “... เมื่อผมถูกออกปากจากนายกฯ ทักษิณ ผมบอกเอาเลย ผมจะเป็นนอมินีให้นายกฯ ทักษิณ...”
ส่วนคนอื่นๆ เช่น นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ก็ได้มีพลโทหญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ (ภรรยา), นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ก็ได้มีนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน (ภรรยา), นายไพโรจน์ สุวรรณฉวี ก็ได้มีร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี (ภรรยา), นางสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ก็ได้มีนายสมพล เกยุราพันธุ์ (บิดา-ซึ่งอายุก็มากแล้ว และสุขภาพก็ไม่ค่อยดี ถึงขนาดต้องนั่งรถเข็น), นายเนวิน ชิดชอบ ก็ได้มีนายชัย ชิดชอบ (บิดา-ได้เป็นถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร), นายอนุทิน ชาญวีรกูล ก็ได้มีนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล (บิดา-ซึ่งอายุก็มากแล้ว), นายจาตุรนต์ ฉายแสง ก็ได้มีนายวุฒิพงษ์ ฉายแสง (น้องชาย-ได้เป็นถึงรัฐมนตรี) เป็นต้น
(5) โลโก้พรรคพลังประชาชนก็ตั้งใจออกแบบให้คล้ายของเดิม โดยดัดแปลงมาจากโลโก้ของพรรคไทยรักไทย เพื่อยืนยันตัวตนเดิม จงใจให้ประชาชนนึกถึงพรรคไทยรักไทย
(6) บรรดาแกนนำ นปก. และแกนนำของพรรคไทยรักไทย ก็ได้มาเป็นแกนนำของพรรคพลังประชาชน และได้มีตำแหน่งสำคัญ สืบทอดและสืบสานงานการเมืองอย่างเป็นขบวนการเดียวกัน อาทิ นายจักรภพ เพ็ญแข พันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย เป็นต้น
ประการสำคัญที่สุด คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้วินิจฉัยคำร้องกรณีพรรคพลังประชาชนเป็นนอมินีของพรรคไทยรักไทยไปแล้ว โดยเสียงข้างมากของ กกต. มีมติว่า พรรคพลังประชาชนมีการกระทำเข้าข่ายเป็นตัวแทนเชิด(nominee)ของพรรคไทยรักไทย เพียงแต่ไปอ้างว่า ไม่มีกฎหมายเอาผิดได้!
2. การที่ “ไทยรักไทย” กระทำการจัดตั้งรัฐบาลในนามพรรคพลังประชาชน หรือแม้แต่การส่งผู้สมัคร ส.ส.ในนามพรรคพลังประชาชน จึงไม่น่าจะมีความชอบธรรม และต้องสงสัยว่ากระทำอย่างถูกต้องตามกฎหมายเพียงใด ขัดต่อคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญหรือไม่
ที่ผ่านมา พรรคไทยรักไทยเคยกระทำการผูกขาดอำนาจรัฐ โดยยึดครองสภาผู้แทนราษฎรผ่านการใช้อำนาจทุนและอำนาจรัฐบีบให้มีการยุบรวมพรรคการเมืองเล็กพรรคการเมืองน้อยภายหลังการเลือกตั้ง ครอบงำวุฒิสภา ตลอดจนแทรกแซงกระบวนการสรรหาองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ทำให้ระบบตรวจสอบขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 2540 ถูกบิดเบือนทำลาย เปิดทางให้มีการทุจริตเชิงนโยบาย ออกกฏหมาย มาตรการ และการใช้อำนาจเอื้อผลประโยชน์แก่ธุรกิจส่วนตัวหลากหลายรูปแบบ อาทิ แก้กฎหมายโทรคมนาคมเพื่อให้ตนขายหุ้นต่างชาติ ได้มูลค่า 73,300 ล้านบาท และยังหลบเลี่ยงภาษี อีกจำนวนมหาศาล เป็นต้น
พรรคไทยรักไทยได้ถูกคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรค ผ่านมาไม่ถึง 1 ปี “ไทยรักไทย” ในร่าง “พลังประชาชน” กลับได้เข้ามามีอำนาจรัฐ และกระทำการต่อบ้านเมืองซ้ำ... “อีกครั้งหนึ่ง”
3. การที่ “ไทยรักไทย” พยายามจะใช้อำนาจของสภาผู้แทนราษฎรผ่านทาง ส.ส.ในนามพรรคพลังประชาชน เพื่อล้มล้างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (กล่าวให้ตรงกว่า คือ ฉีกรัฐธรรมนูญ 2550) โดยอ้างว่าจะกลับไปใช้รัฐธรรมนูญ 2540 นั้น เมื่อมองจาก “กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา” จะเห็นว่า
(1) ล้มล้างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ตนและพรรคการเมืองของตน ไม่ต้องถูกลงโทษในคดีทุจริตการเลือกตั้ง กระทำการเพื่อให้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยมุ่งตัดตอนคดีไม่ให้พรรคการเมืองของตนและกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนรับโทษ
(2) ถอยหลังระบบการเมืองไทย ในรูปแบบอย่างที่ “ไทยรักไทย” เคยกระทำการผูกขาดอำนาจรัฐสำเร็จมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น การยึดอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา การแทรกแซงครอบงำองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 2540 การกดดัน ข่มขู่ แทรกแซง และยึดครองสื่อสารมวลชน ตลอดจนการบั่นเซาะ สร้างเงื่อนไข อุปสรรค บั่นทอนทำลายอำนาจที่แท้จริงของประชาชนและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ตลอดจนตัดทอนสิทธิและผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ 2550 ทิ้งไป
(3) ล้มคดีการทุจริตประพฤติมิชอบ และบรรดาคดีที่ระบอบทักษิณได้กระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ เพื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพวก ไม่ต้องถูกพิพากษาตัดสินในพฤติกรรมการกระทำความผิด แต่เปิดช่องโหว่ให้สามารถล้มคดีโดยการล้มล้างอำนาจของ คตส. และบรรดาองค์กรตรวจสอบต่างๆ ที่ได้ทำหน้าที่ไต่สวนพิจารณาคดีเหล่านี้มาอย่างต่อเนื่อง อันเป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม และตัดตอนอำนาจของศาลยุติธรรมอย่างเลวร้ายที่สุด
น่าสลดใจ... ในขณะที่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศกำลังตกในภาวะปัญหารุ้มเร้าชีวิตความเป็นอยู่ ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ข้าวยากหมากแพง น้ำมันแพง ปัญหาความมั่นคงในสามจังหวัดภาคใต้ ฯลฯ แต่ผู้กุมอำนาจรัฐกลับเอาเป็นเอาตายอยุ่กับการมุ่งจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อตนเองและพรรคพวก
ทั้งหมดนี้ ทำให้เห็นว่า “ระบอบทักษิณ” ยังไม่ตาย และกำลังพยายามจะฟื้นคืนชีพ โดยกลับเข้ายึดครองประเทศ ผ่านพิธีกรรมการเลือกตั้ง ซึ่งอาศัยฐานอำนาจ เครือข่ายอิทธิพล และอำนาจทุนในการซื้อเสียงทุจริตเลือกตั้งโดยไม่ยำเกรงกฎหมายที่กำหนดโทษไว้ถึงขั้นยุบพรรค มุ่งผูกขาดอำนาจรัฐ มุ่งฟอกความผิดของตน แทรกแซงตัดตอนกระบวนการยุติธรรมและการใช้อำนาจตุลาการของศาล เพื่อให้พรรคตนไม่ถูกยุบและให้พวกตนรอดพ้นความผิดนานาประการ
สะท้อนใจว่า “ไทยรักไทย (TRT) Never Die” จริงๆ หรือ ?
จะมีบางอย่าง บางพรรค “อยู่เหนือความยุติธรรม” ได้ด้วยหรือ ?
ไม่ว่าบางสิ่งบางอย่างนั้น จะอยู่ภายใต้หน้ากากของ “ไทยรักไทย” – “พลังประชาชน” หรือ “ทักษิณ”-“สมัคร” หรือใครๆ ก็ตาม และแม้ว่า “ระบอบทักษิณ” จะเล่นเกมการเมืองกลบเกลื่อนอย่างไร เช่น “ยอมเสียเบี้ยเพื่อรักษาขุน” (อย่างที่จักรภพพูดถึงการลาออกของตนเอง) หรือ “ถอยเพื่อเดินหน้าอีกครั้ง” (อย่างที่พรรคพลังประชาชนปล่อยให้ญัตติแก้รัฐธรรมนูญตกไป แต่กลับยังรวบรวมชื่อ ส.ส. เพื่อจะเสนอใหม่) เป็นต้น
ณ วันนี้ ประชาชนผู้ “รู้ทัน” จึงเข้าใจและตระหนักดีว่า เจตนารมณ์ที่แท้จริงของการทวงคืนประเทศไทย- ขับไล่ “ระบอบทักษิณ” ซึ่งเดินหน้ามากว่า 3 ปีแล้วนี้ ยังไม่บรรลุผลสำเร็จ และช่วงขณะนี้ คือ ช่วงเวลาที่ประชาชนจำเป็นต้องออกมาชุมนุมร่วมกัน เพื่อ “ขุดรากถอนโคน” ระบอบอันสามานย์ออกไป
ทั้งหมดนี้ คือ เหตุผลและความชอบธรรม อันทำให้ประชาชนผู้มีใจรักความเป็นธรรม ต้องออกมาชุมนุมขับไล่ “ระบอบทักษิณ” ... อีกครั้งหนึ่ง