นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง และการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ 2550 ว่า คณะกรรมการฝ่ายกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติซึ่งมีนายบุญทัน ดอกไธสง เป็นประธาน ได้พิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งจะนำเข้าสู่ที่ประชุม กกต.ในวันนี้ (29 พ.ค.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ จากนั้นจะส่งให้สภาฯ พิจารณาภายในวันศุกร์ที่ 30 พ.ค.นี้ "ที่จริงเราร่างเสร็จมานานแล้ว เพียงแต่ไม่ได้นัดหมายให้คณะกรรมการฝ่ายกิจการพรรคการเมืองไปพิจารณาเท่านั้น โดยจะให้คณะกรรมการฯ ดูทั้งข้อกฎหมาย และวิธีปฏิบัติ ทั้งนี้ ส่วนรายละเอียดของ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะไม่แตกต่างจาก พ.ร.บ. ออกเสียงประชามติ ฉบับ พ.ศ. 2541 มากนัก แต่ในส่วนของวิธีปฏิบัติอาจแตกต่างไปจากเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน" นางสดศรี กล่าว
นางสดศรี กล่าว เมื่อส่งให้ฝ่ายรัฐสภาฯ แล้วเรื่องทุกอย่างขึ้นอยู่กับสภาฯ ว่าจะพิจารณาได้รวดเร็วหรือไม่ เพราะกรอบการพิจารณาของสภาฯ ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จะต้องใช้เวลาพิจารณาในส่วนของ ส.ส. 120 วัน ในส่วนของ วุฒิสภาอีก 90 วัน จึงอาจต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน
ดังนั้น หากมีการประชุมร่วมกัน แล้วแปรญัตติ 3 วาระรวด ก็จะทำให้การพิจารณาเร็วขึ้น แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับประธานสภาฯ ว่าจะพิจารณาอย่างไร และเมื่อร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ผ่านสภาฯ และมีผลบังคับใช้แล้ว กกต.ก็มีหน้าที่ต่อไปคือ ต้องทำประชามติให้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการด้านกิจการพรรคการเมืองของ กกต.ที่มีนายบุญทัน ดอกไธสง เป็นประธาน ได้มีการประชุมพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.... โดยเห็นชอบเนื้อหาสาระที่คณะกรรมการยกร่างเสนอมา และจะมีการนำเข้าสู่ที่ประชุมกกต.ในวันนี้ ( 29 พ.ค.) ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวมีทั้งสิ้น 42 มาตรา เนื้อหาสาระเป็นการผสมผสานระหว่าง พ.ร.บ.ว่า ด้วยการออกเสียงประชามติ ปี 2541 ประกาศสภาร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2550 และพ.ร.บ.ว่าด้วยความเรียบร้อย ในการออกเสียงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 รวมทั้งมีการนำบางมาตรา ในกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.-ส.ว. มาใส่ไว้ด้วย
ทั้งนี้ เนื้อหาสาระสำคัญในการออกเสียงประชามติ พ.ศ....ประกอบไปด้วยมาตรา 5 ในกรณีที่จะมีการดำเนินการจัดทำประชามติ ตามมาตรา 165 ( 1) ของรัฐธรรมนูญ ให้มีการออกประกาศของนายกรัฐมนตรี เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยจะต้องมีรายละเอียด
1 . กำหนดเรื่องในการจัดทำประชามติ ซึ่งจะต้องมีข้อความที่ชัดเจนเพียงพอ ที่จะขอคำปรึกษาจากผู้มีสิทธิอกเสียงว่า จะลงคะแนนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ในเรื่องที่จะจัดทำประชามติ
2. กำหนดว่าการจัดให้มีการออกเสียง ดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้มีข้อยุติ โดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงหรือ เป็นไปเพื่อให้คำปรึกษาแก่ ครม. มาตรา 6 เมื่อมีประกาศของนายกรัฐมนตรีให้มีการออกเสียงประชามติแล้วภายใน 7 วัน ให้ กกต.ประกาศกำหนดวันออกเสียงประชามติในราชกิจจานุเบกษา โดยวันออกเสียง ต้องไม่ก่อน 45 วัน แต่ไม่ช้ากว่า 90 วัน นับแต่วันประกาศกำหนดวันออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา และ การออกเสียงประชามติต้องกระทำภายในวันเดียวกันทั่วราชอานาจักร หรือวันเดียวกันทั้งเขต ออกเสียง แล้วแต่กรณี
มาตรา 7 การออกเสียงให้ใช้วิธีการการออกเสียงลงคะแนนโดยตรง และลับ มาตรา 8 ผลการออกเสียงกรณีที่เป็นการออกเสียง เพื่อให้มีข้อยุติโดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียง หากปรากฏว่า ผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเป็นจำนวนไม่เกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียง ให้ถือว่าประชาชนโดยเสียงข้างมาก ไม่เห็นชอบด้วยกับเรื่องที่จัดทำประชามติ แต่ถ้ามีผู้มาใช้สิทธิเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียง และปรากฏว่าผู้ออกเสียงโดยเสียงข้างมากให้ความเห็นชอบ ให้ถือว่าประชาชนโดยเสียงข้างมากเห็นชอบด้วยกับเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น
มาตรา 10 เมื่อมีประกาศกำหนดการออกเสียงแล้ว ให้กกต.หรือผู้ซึ่งกกต.มอบหมายดำเนินการให้ข้อมูลและจัดให้มีกาเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับเรื่องที่จัดทำประชามติ เพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงทราบ รวมทั้งจัดให้มีการแสดงความคิดเห็นโดยอิสระ และเท่าเทียวกันทั้งผู้ที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบในเรื่องที่จัดทำประชามติ มาตรา 20 การลงคะแนนในบัตรออกเสียงประชามติ ให้ผู้ออกเสียงทำเครื่องหมายกากบาท ในช่องทำเครื่องหมายใต้ข้อความแสดงความคิดเห็นที่ผู้ออกเสียงเลือก มาตรา 21 ในวันออกเสียงประชามติ ให้เปิดการลงคะแนนออกเสียงตั้งแต่เวลา 08.00 น.ถึง 15.00 น.
มาตรา 24 กรณีที่การออกเสียงประชามติ กระทำทั่วราชอาณาจักรผู้มีสิทธิออกเสียงผู้ใดอยู่ในจังหวัดอื่น นอกจังหวัดที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านติดต่อกันเป็นเวลาน้อยกว่า 90 วัน หากประสงค์จะใช้สิทธิออกเสียงในจังหวัดที่ตนเองอยู่ต้องมาลงทะเบียนขอใช้สิทธิอกเสียงนอกเขตจังหวัดก่อนวันออกเสียงไม่น้อยกว่า 30 วัน มาตรา 33 เมื่อได้ผลการออกเสียงประชามติจากที่ออกเสียงทุกแห่งแล้วให้กกต.ประกาศผลการออกเสียงและจำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงและหากเป็นการใช้สิทธิออกเสียงประชามติตามมาตรา 165 ( 1 ) ของรัฐธรรมนูญ ให้ประกาศในราชกิจานุเบกษาโดยเร็วและแจ้งผลไปยังนายกรัฐมนตรีหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องทราบ
มาตรา 34 เมื่อสิ้นสุดการลงคะแนนออกเสียง หากผู้มาใช้สิทธิจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของผู้มาใช้สิทธิในหน่วยออกเสียงใดเห็นว่า การออกเสียงในหน่วยนั้นไม่สุจริตเที่ยงธรรม ให้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านพร้อมแสดงหลักฐานว่า การออกเสียงนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อกกต.ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่การลงคะแนนออกเสียงสิ้นสุดลง
มาตรา 35 เมื่อกกต.ได้รับคำร้องคัดค้านแล้วก็ให้ดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงโดยพลัน ถ้าเห็นว่าการลงคะแนนออกเสียงในหน่วยออกเสียงนั้นไม่สุจริตเที่ยงธรรมให้มีคำสั่งให้ดำเนินการออกเสียงใหม่ในหน่วยออกเสียงนั้น เว้นแต่จะไม่ทำให้ผลการออกเสียงเปลี่ยนแปลงไปให้กกต.มีคำสั่งยกคำร้องคัดค้าน
ส่วนในเรื่องของบทลงโทษที่เริ่มจาก มาตรา 36-42 นั้น เป็นการนำบทโทษที่เคยกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาใส่ไว้ทั้งหมด อาทิ
ผู้ใดกระทำการในระหว่างการลงคะแนนออกเสียง เช่น ใช้บัตรอื่นที่ไม่ใช่บัตรออกเสียงมาลงคะแนนออกเสียง ก่อความวุ่นวายขึ้นในที่ออกเสียงอันเป็นการรบกวนหรือเป็นอุปสรรต่อการออกเสียง หรือเล่นการพนันขันต่อ อันมีผลจูงใจให้ผู้มีสิทธิอกเสียงไปใช้สิทธิออกเสียงอย่างใดอย่าง เรียกรับทรัพย์สินประโยชน์ ก็มีโทษทั้งจำทั้งปรับ เริ่มตั้งแต่ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2 หมื่นถึง 2 แสนบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ และอาจถูกศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดไม่เกิน 5 ปีด้วย
แต่ได้มีการเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้ที่ได้รับทรัพย์ หรือประโยชน์ เพื่อให้ไปใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ไปออกเสียง ถ้าได้มีการแจ้งถึงการกระทำดังกล่าวต่อ กกต.หรือผู้ที่ กกต.มอบหมายก่อนหรือ ในวันออกเสียงผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ พร้อมกับขยายเวลาห้ามเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการออกเสียงเป็นช่วง 7 วัน ก่อนวันออกเสียงจนถึงเวลาสิ้นสุดวันออกเสียง จากเดิมที่กำหนดไว้เพียง 3 วัน ก่อนวันออกเสียงจนถึงเวลาสิ้นสุดการอกเสียง
นางสดศรี กล่าว เมื่อส่งให้ฝ่ายรัฐสภาฯ แล้วเรื่องทุกอย่างขึ้นอยู่กับสภาฯ ว่าจะพิจารณาได้รวดเร็วหรือไม่ เพราะกรอบการพิจารณาของสภาฯ ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จะต้องใช้เวลาพิจารณาในส่วนของ ส.ส. 120 วัน ในส่วนของ วุฒิสภาอีก 90 วัน จึงอาจต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน
ดังนั้น หากมีการประชุมร่วมกัน แล้วแปรญัตติ 3 วาระรวด ก็จะทำให้การพิจารณาเร็วขึ้น แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับประธานสภาฯ ว่าจะพิจารณาอย่างไร และเมื่อร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ผ่านสภาฯ และมีผลบังคับใช้แล้ว กกต.ก็มีหน้าที่ต่อไปคือ ต้องทำประชามติให้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการด้านกิจการพรรคการเมืองของ กกต.ที่มีนายบุญทัน ดอกไธสง เป็นประธาน ได้มีการประชุมพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.... โดยเห็นชอบเนื้อหาสาระที่คณะกรรมการยกร่างเสนอมา และจะมีการนำเข้าสู่ที่ประชุมกกต.ในวันนี้ ( 29 พ.ค.) ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวมีทั้งสิ้น 42 มาตรา เนื้อหาสาระเป็นการผสมผสานระหว่าง พ.ร.บ.ว่า ด้วยการออกเสียงประชามติ ปี 2541 ประกาศสภาร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2550 และพ.ร.บ.ว่าด้วยความเรียบร้อย ในการออกเสียงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 รวมทั้งมีการนำบางมาตรา ในกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.-ส.ว. มาใส่ไว้ด้วย
ทั้งนี้ เนื้อหาสาระสำคัญในการออกเสียงประชามติ พ.ศ....ประกอบไปด้วยมาตรา 5 ในกรณีที่จะมีการดำเนินการจัดทำประชามติ ตามมาตรา 165 ( 1) ของรัฐธรรมนูญ ให้มีการออกประกาศของนายกรัฐมนตรี เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยจะต้องมีรายละเอียด
1 . กำหนดเรื่องในการจัดทำประชามติ ซึ่งจะต้องมีข้อความที่ชัดเจนเพียงพอ ที่จะขอคำปรึกษาจากผู้มีสิทธิอกเสียงว่า จะลงคะแนนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ในเรื่องที่จะจัดทำประชามติ
2. กำหนดว่าการจัดให้มีการออกเสียง ดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้มีข้อยุติ โดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงหรือ เป็นไปเพื่อให้คำปรึกษาแก่ ครม. มาตรา 6 เมื่อมีประกาศของนายกรัฐมนตรีให้มีการออกเสียงประชามติแล้วภายใน 7 วัน ให้ กกต.ประกาศกำหนดวันออกเสียงประชามติในราชกิจจานุเบกษา โดยวันออกเสียง ต้องไม่ก่อน 45 วัน แต่ไม่ช้ากว่า 90 วัน นับแต่วันประกาศกำหนดวันออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา และ การออกเสียงประชามติต้องกระทำภายในวันเดียวกันทั่วราชอานาจักร หรือวันเดียวกันทั้งเขต ออกเสียง แล้วแต่กรณี
มาตรา 7 การออกเสียงให้ใช้วิธีการการออกเสียงลงคะแนนโดยตรง และลับ มาตรา 8 ผลการออกเสียงกรณีที่เป็นการออกเสียง เพื่อให้มีข้อยุติโดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียง หากปรากฏว่า ผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเป็นจำนวนไม่เกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียง ให้ถือว่าประชาชนโดยเสียงข้างมาก ไม่เห็นชอบด้วยกับเรื่องที่จัดทำประชามติ แต่ถ้ามีผู้มาใช้สิทธิเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียง และปรากฏว่าผู้ออกเสียงโดยเสียงข้างมากให้ความเห็นชอบ ให้ถือว่าประชาชนโดยเสียงข้างมากเห็นชอบด้วยกับเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น
มาตรา 10 เมื่อมีประกาศกำหนดการออกเสียงแล้ว ให้กกต.หรือผู้ซึ่งกกต.มอบหมายดำเนินการให้ข้อมูลและจัดให้มีกาเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับเรื่องที่จัดทำประชามติ เพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงทราบ รวมทั้งจัดให้มีการแสดงความคิดเห็นโดยอิสระ และเท่าเทียวกันทั้งผู้ที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบในเรื่องที่จัดทำประชามติ มาตรา 20 การลงคะแนนในบัตรออกเสียงประชามติ ให้ผู้ออกเสียงทำเครื่องหมายกากบาท ในช่องทำเครื่องหมายใต้ข้อความแสดงความคิดเห็นที่ผู้ออกเสียงเลือก มาตรา 21 ในวันออกเสียงประชามติ ให้เปิดการลงคะแนนออกเสียงตั้งแต่เวลา 08.00 น.ถึง 15.00 น.
มาตรา 24 กรณีที่การออกเสียงประชามติ กระทำทั่วราชอาณาจักรผู้มีสิทธิออกเสียงผู้ใดอยู่ในจังหวัดอื่น นอกจังหวัดที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านติดต่อกันเป็นเวลาน้อยกว่า 90 วัน หากประสงค์จะใช้สิทธิออกเสียงในจังหวัดที่ตนเองอยู่ต้องมาลงทะเบียนขอใช้สิทธิอกเสียงนอกเขตจังหวัดก่อนวันออกเสียงไม่น้อยกว่า 30 วัน มาตรา 33 เมื่อได้ผลการออกเสียงประชามติจากที่ออกเสียงทุกแห่งแล้วให้กกต.ประกาศผลการออกเสียงและจำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงและหากเป็นการใช้สิทธิออกเสียงประชามติตามมาตรา 165 ( 1 ) ของรัฐธรรมนูญ ให้ประกาศในราชกิจานุเบกษาโดยเร็วและแจ้งผลไปยังนายกรัฐมนตรีหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องทราบ
มาตรา 34 เมื่อสิ้นสุดการลงคะแนนออกเสียง หากผู้มาใช้สิทธิจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของผู้มาใช้สิทธิในหน่วยออกเสียงใดเห็นว่า การออกเสียงในหน่วยนั้นไม่สุจริตเที่ยงธรรม ให้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านพร้อมแสดงหลักฐานว่า การออกเสียงนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อกกต.ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่การลงคะแนนออกเสียงสิ้นสุดลง
มาตรา 35 เมื่อกกต.ได้รับคำร้องคัดค้านแล้วก็ให้ดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงโดยพลัน ถ้าเห็นว่าการลงคะแนนออกเสียงในหน่วยออกเสียงนั้นไม่สุจริตเที่ยงธรรมให้มีคำสั่งให้ดำเนินการออกเสียงใหม่ในหน่วยออกเสียงนั้น เว้นแต่จะไม่ทำให้ผลการออกเสียงเปลี่ยนแปลงไปให้กกต.มีคำสั่งยกคำร้องคัดค้าน
ส่วนในเรื่องของบทลงโทษที่เริ่มจาก มาตรา 36-42 นั้น เป็นการนำบทโทษที่เคยกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาใส่ไว้ทั้งหมด อาทิ
ผู้ใดกระทำการในระหว่างการลงคะแนนออกเสียง เช่น ใช้บัตรอื่นที่ไม่ใช่บัตรออกเสียงมาลงคะแนนออกเสียง ก่อความวุ่นวายขึ้นในที่ออกเสียงอันเป็นการรบกวนหรือเป็นอุปสรรต่อการออกเสียง หรือเล่นการพนันขันต่อ อันมีผลจูงใจให้ผู้มีสิทธิอกเสียงไปใช้สิทธิออกเสียงอย่างใดอย่าง เรียกรับทรัพย์สินประโยชน์ ก็มีโทษทั้งจำทั้งปรับ เริ่มตั้งแต่ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2 หมื่นถึง 2 แสนบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ และอาจถูกศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดไม่เกิน 5 ปีด้วย
แต่ได้มีการเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้ที่ได้รับทรัพย์ หรือประโยชน์ เพื่อให้ไปใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ไปออกเสียง ถ้าได้มีการแจ้งถึงการกระทำดังกล่าวต่อ กกต.หรือผู้ที่ กกต.มอบหมายก่อนหรือ ในวันออกเสียงผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ พร้อมกับขยายเวลาห้ามเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการออกเสียงเป็นช่วง 7 วัน ก่อนวันออกเสียงจนถึงเวลาสิ้นสุดวันออกเสียง จากเดิมที่กำหนดไว้เพียง 3 วัน ก่อนวันออกเสียงจนถึงเวลาสิ้นสุดการอกเสียง