นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า กกต.ได้ยกเลิกประกาศ เรื่อง การห้ามประกาศโฆษณา หรือกระทำด้วยประการใดๆ ให้เป็นที่เข้าใจว่า ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด ได้รับคะแนนเท่าใดในการเลือกตั้ง ส.ส. , ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2546 ฉบับลงวันที่ 19 มิ.ย. 46 ที่ห้ามมิให้กระทำการใดๆ ให้เป็นที่เข้าใจว่าผู้สมัครได้รับคะแนนเท่าใดในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นภายใน 60 วัน ก่อนครบวาระการดำรงตำแหน่ง จนถึงเวลา 15.00 น. ของวันเลือกตั้งและได้ออกประกาศขึ้นมาใหม่ว่าด้วย เรื่องแนะนำวิธีการ และลักษณะต้องห้ามเกี่ยวกับการเปิดเผยหรือเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการลงคะแนนเลือกตั้งในการเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2551 แทน
โดยประกาศดังกล่าว จะระบุว่า ผู้สมัคร หรือผู้ใดที่จะกระทำการเปิดเผยหรือเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการลงคะแนนเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นต้องไม่เป็นการกระทำใดๆ อันเป็นการหลอกลวง หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในเรื่องใดเกี่ยวกับผู้สมัคร เพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ตนเอง หรือผู้สมัครใด หรือให้งดเว้นการลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครใด อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 57 (5) แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545
นอกจากนี้ ผู้สมัครหรือผู้ใดไม่ควรเปิดเผย หรือเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการลงคะแนนเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระหว่างเวลา 7 วัน ก่อนวันเลือกตั้งจนถึงปิดเวลาลงคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดว่าในวันที่ 17 ก.ย.นี้ คงจะมีผลบังคับใช้ได้
"การทำโพล เป็นสิทธิเสรีภาพ และในกฎหมายเลือกตั้งก็ไม่ได้ห้ามในเรื่องนี้ เพราะเห็นว่าเป็นความเห็นทางวิชาการ แม้ในกฎหมายจะไม่ห้าม ก็อาจมีการชี้นำโดยข้อมูลอันเป็นเท็จหรือหลอกลวงได้ โดยเฉพาะการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. อาจมีการเผยแพร่ผลสำรวจเกี่ยวกับคะแนนนิยมของผู้สมัคร จึงบัญญัติให้ 7 วัน ก่อนเลือกตั้งไม่ควรเปิดเผยผลโพล และขอความร่วมมือคณะผู้จัดทำการสำรวจได้ดำเนินตามหลักวิชาการ หากเป็นเช่นนี้ก็คงไม่มีปัญหา แต่หากข้อมูลไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ และเกิดผลกระทบกับใคร ก็ขอให้ระมัดระวัง เพราะอาจเป็นเหตุนำไปสู่การร้องคัดค้านเลือกตั้งได้" นายประพันธ์ กล่าว
**11-12 ต.ค.เลือกตั้งล่วงหน้าเขต2 เพชรบูรณ์
นายประพันธ์ ยังกล่าวถึงการเลือกตั้ง ส.ส.เพชรบูรณ์ เขตเลือกตั้งที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่างลง ในวันอาทิตย์ที่ 19 ต.ค. นั้น กกต.ได้มีมติให้มีการรับสมัครเลือกตั้ง ระหว่างวันที่ 26–30 ก.ย. เวลา 08.30–16.30 น. และได้มีการกำหนดวันเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้งเป็นวันที่ 11-12 ต.ค. เวลา 08.00 -17.00 น. โดยผู้ที่มีกิจธุระไม่สามารถไปใช้สิทธิในวันที่เลือกตั้งได้ สามารถนำหลักฐานไปแสดงเพื่อขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้งตามภูมิลำเนาของตน ที่มีชื่อเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน6 อำเภอประกอบด้วย วังโป่ง , ชนแดน,หนองไผ่,บึงสามพัน,วิเชียรบุรี และศรีเทพ
ส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เคยลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด เมื่อปี 2550 จะต้องกลับไปใช้สิทธิในเขตเลือกตั้งดังกล่าว เพราะจะทำให้เสียสิทธิการเมืองได้ และหากไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ต้องแจ้งเหตุต่อนายทะเบียนอำเภอหรือเทศบาลตั้งแต่ 21–26 ต.ค.นี้
โดยประกาศดังกล่าว จะระบุว่า ผู้สมัคร หรือผู้ใดที่จะกระทำการเปิดเผยหรือเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการลงคะแนนเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นต้องไม่เป็นการกระทำใดๆ อันเป็นการหลอกลวง หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในเรื่องใดเกี่ยวกับผู้สมัคร เพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ตนเอง หรือผู้สมัครใด หรือให้งดเว้นการลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครใด อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 57 (5) แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545
นอกจากนี้ ผู้สมัครหรือผู้ใดไม่ควรเปิดเผย หรือเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการลงคะแนนเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระหว่างเวลา 7 วัน ก่อนวันเลือกตั้งจนถึงปิดเวลาลงคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดว่าในวันที่ 17 ก.ย.นี้ คงจะมีผลบังคับใช้ได้
"การทำโพล เป็นสิทธิเสรีภาพ และในกฎหมายเลือกตั้งก็ไม่ได้ห้ามในเรื่องนี้ เพราะเห็นว่าเป็นความเห็นทางวิชาการ แม้ในกฎหมายจะไม่ห้าม ก็อาจมีการชี้นำโดยข้อมูลอันเป็นเท็จหรือหลอกลวงได้ โดยเฉพาะการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. อาจมีการเผยแพร่ผลสำรวจเกี่ยวกับคะแนนนิยมของผู้สมัคร จึงบัญญัติให้ 7 วัน ก่อนเลือกตั้งไม่ควรเปิดเผยผลโพล และขอความร่วมมือคณะผู้จัดทำการสำรวจได้ดำเนินตามหลักวิชาการ หากเป็นเช่นนี้ก็คงไม่มีปัญหา แต่หากข้อมูลไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ และเกิดผลกระทบกับใคร ก็ขอให้ระมัดระวัง เพราะอาจเป็นเหตุนำไปสู่การร้องคัดค้านเลือกตั้งได้" นายประพันธ์ กล่าว
**11-12 ต.ค.เลือกตั้งล่วงหน้าเขต2 เพชรบูรณ์
นายประพันธ์ ยังกล่าวถึงการเลือกตั้ง ส.ส.เพชรบูรณ์ เขตเลือกตั้งที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่างลง ในวันอาทิตย์ที่ 19 ต.ค. นั้น กกต.ได้มีมติให้มีการรับสมัครเลือกตั้ง ระหว่างวันที่ 26–30 ก.ย. เวลา 08.30–16.30 น. และได้มีการกำหนดวันเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้งเป็นวันที่ 11-12 ต.ค. เวลา 08.00 -17.00 น. โดยผู้ที่มีกิจธุระไม่สามารถไปใช้สิทธิในวันที่เลือกตั้งได้ สามารถนำหลักฐานไปแสดงเพื่อขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้งตามภูมิลำเนาของตน ที่มีชื่อเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน6 อำเภอประกอบด้วย วังโป่ง , ชนแดน,หนองไผ่,บึงสามพัน,วิเชียรบุรี และศรีเทพ
ส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เคยลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด เมื่อปี 2550 จะต้องกลับไปใช้สิทธิในเขตเลือกตั้งดังกล่าว เพราะจะทำให้เสียสิทธิการเมืองได้ และหากไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ต้องแจ้งเหตุต่อนายทะเบียนอำเภอหรือเทศบาลตั้งแต่ 21–26 ต.ค.นี้