ผู้จัดการรายวัน - สศค.ฟุ้งภาวะเศรษฐกิจเดือนเมษายนยังขยายตัวได้ดี แต่ยอมรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเริ่มปรับลดลง ห่วง 3 ปัจจัยหลัก น้ำมัน เงินเฟ้อและการเมืองจะเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจ คาดเดือนหน้าหลังสรุปทิศทางราคาน้ำมันโลกเสร็จจะปรับเป้าจีดีพีใหม่อีกครั้ง หวั่นหากราคาไม่นิ่งอาจดันเงินเฟ้อไตรมาสสองทะลุหลัก 10% ได้ ขณะที่หมอเลี้ยบยังหวังเศรษฐกิจโตกว่าเงินเฟ้อ
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนเมษายน 2551 ยังคงขยายตัวได้ดีโดยมีปัจจัยมาจากแรงขับเคลื่อนสำคัญจากอุปสงค์ภายในประเทศผ่านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ฟื้นตัวขึ้นมาก ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนส่วนหนึ่งจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งเมื่อพิจารณาจากการบริโภคภาคเอกชนที่ ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยเครื่องชี้การบริโภคจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ขยายตัว 12.2%
โดยสาเหตุหลักมาจากรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่ปลายปี 2550 ส่งผลให้ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่สามที่ 7.6% นอกจากนั้นปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนเมษายนขยายตัวในระดับสูงที่ 34.0% สอดคล้องกับเครื่องชี้การบริโภคด้านสินค้าคงทนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวที่ 13.7% ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคมีสัญญาณปรับลดลงในเดือนเมษายน ตามปัจจัยเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นและความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมือง
“ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนเมษายนลดลงมาอยู่ที่ 73.0 จากเดือนที่แล้วที่อยู่ในระดับ 73.8 นั้นปัจจัยหลักเรามองว่ามาจากการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อและปัญหาทางการเมืองเป็นหลัง ซึ่งการที่ความเชื่อมั่นลงลงดังกล่าวนั้นไม่ได้บ่งชี้ว่าจะมีผลกระทบในระยะสั้น 1-2 เดือนแต่อย่างใด แต่ต้องติดตามในระยะยาวว่าการลดลงของความเชื่อมั่นจะมีความต่อเนื่องแต่ไหนเมื่อนั้นจึงจะเริ่มส่งผลกระทบ” นางพรรณีกล่าว
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่สศค.มีความวิตกกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจหลักๆ มีอยู่ 3 ประการคือ ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังไม่ทราบว่าจะหยุดลงที่จุดใด สองคือเรื่องของเงินเฟ้อที่ได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและราคาสินค้าโดยเฉพาะสินค้าเกษตรและโภคภัณฑ์ที่มีราคาสูงในช่วงที่ผ่านมาถือเป็นปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นถึง 6.2% นั้นเป็นแนวโน้มของการปรับขึ้นตามทิศทางของภูมิภาคและของโลกเนื่องจากต้นทุนทางพลังงานสูงขึ้น ซึ่งยอมรับว่าหากสถานการณ์ราคาน้ำมันยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปในระยะสั้นอาจส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อพุ่งไปถึงเลข 2 หลักหรือเกิน 10% ขึ้นไปได้ แต่ในระดับนโยบายรัฐบาลก็ไม่ได้นิ่งนอนใจพยายามผลักดันให้ใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นในระยะยาวเพื่อลดปัญหานี้
“การนำเข้าน้ำมันในเดือนเมษายนเมื่อพิจารณาจากสัดส่วนการนำเข้าเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้วจะเห็นว่ามูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นสูงถึง 88.1% แต่เมื่อดูจากปริมาณการนำเข้าที่แล้วจะพบว่าเพิ่มขึ้นเพียง 26.4% ซึ่งเป็นผลมาจากราคาในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น แต่การนำเข้าทั้งหมดนั้นก็มีการส่งออกถึง 30% ไม่ใช่เป็นการบริโภคภายในประเทศเพียงอย่างเดียวเท่านั้น” นางพรรณีกล่าว
ปัจจัยเสี่ยงสุดท้ายที่ต้องเฝ้าจับตาคือปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาชุมนุมคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 นั้น ในขณะนี้มองว่าเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่มีการชุมนุมและกำลังขยายตัวไปยังจุดต่างๆ ซึ่งหากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองนี้สามารถจบลงได้ในระยะเวลาอันสั้นก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก แต่หากการชุมนุมยืดเยื้อเป็นปีเหมือนในปี 2549 เชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นอย่างแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ชุมนุมจะคิดได้แค่ไหน
ในส่วนของการปรับประมาณการเศรษฐกิจของทั้งปี 2551 นั้น สศค.จะสรุปทิศทางของราคาน้ำมันว่าจุดสิ้นสุดจะอยู่ที่ระดับใด ซึ่งเดิมสศค.เคยกำหนดไว้ที่ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ตอนนี้ยังตอบไม่ได้ว่าจะไปถึงเท่าไร โดยในเดือนหน้าหลังจากคาดการณ์ตัวเลขทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้วจะประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่มีการปรับปัจจัยต่างๆ ออกมาอีกครั้ง
“เมื่อดูตัวเลขของเดือนเมษายนก็พบว่าหลายๆ ปัจจัยก็ยังดีอยู่เศรษฐกิจก็ยังพอไปได้ยังไม่มีตัวเลขใดที่จะบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง แต่ยังห่วงอยู่หนึ่งเรื่องคือความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงนี้ ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ความเชื่อมั่นและภาวะเศรษฐกิจที่อาจจะชะลอตัวลงในระยะยาวได้” นางพรรณีกล่าว
เลี้ยบคาด ศก.ไตรมาส 2 โต 6%
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในไตรมาส 2 ปีนี้จะอยู่ที่ 6% ได้ แต่ยอมรับว่าในช่วงที่ผ่านมากปัญหาราคาน้ำมันยังส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ไม่เต็มที่นัก อย่างไรก็ตามหลังจากนี้รัฐบาลจะเร่งให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างเต็มที่ตั้งแต่ช่วงกลางปีนี้ โดยคาดว่าในไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 หากระดับราคาน้ำมันไม่พุ่งสูงถึง 200 เหรียญ/บาร์เรล ก็ยังเชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจทั้งปีเติบโตได้เต็มที่ โดยภาครัฐคาดหวังจะผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตในอัตราที่สูงกว่าเงินเฟ้อ จากปัจจุบันที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับ 5%
"มีโอกาสชี้แจงกับทูตนานาประเทศให้เข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งทูตต่างประเทศให้ความสนใจการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ โดยรัฐบาลยืนยันว่าจะผลักดันให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ ซึ่งนักลงทุนต่างประเทศหรือผู้รับเหมาสามารถขอข้อมูล เพื่อเตรียมเข้ามาประกวดราคาได้" รมว.คลังกล่าวและว่า สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ รัฐบาลได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมมีผลให้เกิดการชะงักงันของการลงทุนเกิดขึ้นแล้ว.
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนเมษายน 2551 ยังคงขยายตัวได้ดีโดยมีปัจจัยมาจากแรงขับเคลื่อนสำคัญจากอุปสงค์ภายในประเทศผ่านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ฟื้นตัวขึ้นมาก ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนส่วนหนึ่งจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งเมื่อพิจารณาจากการบริโภคภาคเอกชนที่ ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยเครื่องชี้การบริโภคจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ขยายตัว 12.2%
โดยสาเหตุหลักมาจากรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่ปลายปี 2550 ส่งผลให้ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่สามที่ 7.6% นอกจากนั้นปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนเมษายนขยายตัวในระดับสูงที่ 34.0% สอดคล้องกับเครื่องชี้การบริโภคด้านสินค้าคงทนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวที่ 13.7% ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคมีสัญญาณปรับลดลงในเดือนเมษายน ตามปัจจัยเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นและความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมือง
“ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนเมษายนลดลงมาอยู่ที่ 73.0 จากเดือนที่แล้วที่อยู่ในระดับ 73.8 นั้นปัจจัยหลักเรามองว่ามาจากการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อและปัญหาทางการเมืองเป็นหลัง ซึ่งการที่ความเชื่อมั่นลงลงดังกล่าวนั้นไม่ได้บ่งชี้ว่าจะมีผลกระทบในระยะสั้น 1-2 เดือนแต่อย่างใด แต่ต้องติดตามในระยะยาวว่าการลดลงของความเชื่อมั่นจะมีความต่อเนื่องแต่ไหนเมื่อนั้นจึงจะเริ่มส่งผลกระทบ” นางพรรณีกล่าว
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่สศค.มีความวิตกกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจหลักๆ มีอยู่ 3 ประการคือ ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังไม่ทราบว่าจะหยุดลงที่จุดใด สองคือเรื่องของเงินเฟ้อที่ได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและราคาสินค้าโดยเฉพาะสินค้าเกษตรและโภคภัณฑ์ที่มีราคาสูงในช่วงที่ผ่านมาถือเป็นปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นถึง 6.2% นั้นเป็นแนวโน้มของการปรับขึ้นตามทิศทางของภูมิภาคและของโลกเนื่องจากต้นทุนทางพลังงานสูงขึ้น ซึ่งยอมรับว่าหากสถานการณ์ราคาน้ำมันยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปในระยะสั้นอาจส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อพุ่งไปถึงเลข 2 หลักหรือเกิน 10% ขึ้นไปได้ แต่ในระดับนโยบายรัฐบาลก็ไม่ได้นิ่งนอนใจพยายามผลักดันให้ใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นในระยะยาวเพื่อลดปัญหานี้
“การนำเข้าน้ำมันในเดือนเมษายนเมื่อพิจารณาจากสัดส่วนการนำเข้าเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้วจะเห็นว่ามูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นสูงถึง 88.1% แต่เมื่อดูจากปริมาณการนำเข้าที่แล้วจะพบว่าเพิ่มขึ้นเพียง 26.4% ซึ่งเป็นผลมาจากราคาในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น แต่การนำเข้าทั้งหมดนั้นก็มีการส่งออกถึง 30% ไม่ใช่เป็นการบริโภคภายในประเทศเพียงอย่างเดียวเท่านั้น” นางพรรณีกล่าว
ปัจจัยเสี่ยงสุดท้ายที่ต้องเฝ้าจับตาคือปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาชุมนุมคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 นั้น ในขณะนี้มองว่าเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่มีการชุมนุมและกำลังขยายตัวไปยังจุดต่างๆ ซึ่งหากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองนี้สามารถจบลงได้ในระยะเวลาอันสั้นก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก แต่หากการชุมนุมยืดเยื้อเป็นปีเหมือนในปี 2549 เชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นอย่างแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ชุมนุมจะคิดได้แค่ไหน
ในส่วนของการปรับประมาณการเศรษฐกิจของทั้งปี 2551 นั้น สศค.จะสรุปทิศทางของราคาน้ำมันว่าจุดสิ้นสุดจะอยู่ที่ระดับใด ซึ่งเดิมสศค.เคยกำหนดไว้ที่ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ตอนนี้ยังตอบไม่ได้ว่าจะไปถึงเท่าไร โดยในเดือนหน้าหลังจากคาดการณ์ตัวเลขทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้วจะประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่มีการปรับปัจจัยต่างๆ ออกมาอีกครั้ง
“เมื่อดูตัวเลขของเดือนเมษายนก็พบว่าหลายๆ ปัจจัยก็ยังดีอยู่เศรษฐกิจก็ยังพอไปได้ยังไม่มีตัวเลขใดที่จะบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง แต่ยังห่วงอยู่หนึ่งเรื่องคือความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงนี้ ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ความเชื่อมั่นและภาวะเศรษฐกิจที่อาจจะชะลอตัวลงในระยะยาวได้” นางพรรณีกล่าว
เลี้ยบคาด ศก.ไตรมาส 2 โต 6%
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในไตรมาส 2 ปีนี้จะอยู่ที่ 6% ได้ แต่ยอมรับว่าในช่วงที่ผ่านมากปัญหาราคาน้ำมันยังส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ไม่เต็มที่นัก อย่างไรก็ตามหลังจากนี้รัฐบาลจะเร่งให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างเต็มที่ตั้งแต่ช่วงกลางปีนี้ โดยคาดว่าในไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 หากระดับราคาน้ำมันไม่พุ่งสูงถึง 200 เหรียญ/บาร์เรล ก็ยังเชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจทั้งปีเติบโตได้เต็มที่ โดยภาครัฐคาดหวังจะผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตในอัตราที่สูงกว่าเงินเฟ้อ จากปัจจุบันที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับ 5%
"มีโอกาสชี้แจงกับทูตนานาประเทศให้เข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งทูตต่างประเทศให้ความสนใจการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ โดยรัฐบาลยืนยันว่าจะผลักดันให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ ซึ่งนักลงทุนต่างประเทศหรือผู้รับเหมาสามารถขอข้อมูล เพื่อเตรียมเข้ามาประกวดราคาได้" รมว.คลังกล่าวและว่า สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ รัฐบาลได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมมีผลให้เกิดการชะงักงันของการลงทุนเกิดขึ้นแล้ว.