ผู้จัดการรายวัน - นักลงทุนกังวลปัญหาเงินเฟ้อบานปลาย กดดันดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก ขณะที่ตลาดหุ้นไทย ยังได้รับปัจจัยลบจากมาตรการลดค่าการกลั่น-การเมือง ฉุดดัชนีตลาดหุ้นร่วงกว่า 18 จุด นำโดยหุ้นกลุ่มปตท.ลดลงกันถ้วนหน้า ด้านเอ็มดีตลาดหลักทรัพย์ฯ ออกโรงเตือนอย่าตื่นขายหุ้น ต้องรอดูความชัดเจน ส่วนโบรกเกอร์ แนะเลือกหุ้นลงทุนระยะยาวเกิน 6 เดือน ด้านหุ้น "พรีเมียร์ฯ" เทรดวันแรก อาจได้รับผลกระทบราคาหุ้นเหนือจองไม่มากนัก
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (26 พ.ค.) ปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้นภูมิภาคที่เกิดจากความกังวลเรื่องของอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น มาตรการของกระทรวงพลังงานที่ขอความร่วมมือลดค่าการกลั่นน้ำมันดีเชล 1 บาท ซึ่งได้ส่งผลลบต่อหุ้นกลุ่มธุรกิจโรงกลั่น รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความขัดแย้งกันชัดเจนมากยิ่งขึ้น
จากประเด็นต่างๆ ได้กดดันให้ตลาดหุ้นไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง แตะระดับต่ำสุดที่ 851.65 จุด สูงสุดที่ 867.36 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 856.80 จุด ลดลง 18.79 จุด หรือ 2.15 % มูลค่าการซื้อขาย 24,846.68 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 789.76 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 1,925.37 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,715.13 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างเทขายหุ้นกลุ่มพลังงานที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากมาตรการลดค่าการกลั่นของรัฐบาล ทำให้หุ้นกลุ่มบมจ.ปตท. ลดลงทั้งกลุ่ม นำโดย PTT ปิดที่ 360 บาท ลดลง 12 บาท หรือ 3.23% มูลค่าซื้อขายรวม 3,225.68 ล้านบาท PTTEP ปิด 194 บาท ลดลง 6.00 บาท หรือ 3.00% มูลค่า 2,862.57 ล้านบาท และ TOP ปิด 62.50 บาท ลดลง 5.00 บาท หรือ 7.41% มูลค่า 2,115.24 ล้านบาท
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบจากหลายๆ ปัจจัย อาทิ ดัชนีดาวน์โจนส์ที่ปรับตัวลดลงทำให้ตลาดหุ้นต่างประเทศปรับตัวลดลง 2-3% และมาตรการขอลดค่าการกลั่นของทางการที่ทำให้หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลดลงถึง 3%
ขณะเดียวกันการชุมนุมคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยังกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทย แต่หากไม่เกิดความรุนแรงก็คงจะไม่มีผลกระทบมากนัก
"นักลงทุนต้องรอดูความชัดเจนในแต่ละเรื่อง อย่าเทขายหุ้นออกมาเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย โดยนักลงทุนจะต้องติดตาม 2 เรื่องคือ การเมืองและการพิจารณาของกระทรวงพลังงานกับกลุ่มโรงกลั่นซึ่งคาดใช้เวลา 1สัปดาห์"
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทิสโก้ จำกัด กล่าวว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกต่างปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะสหรัฐฯ เท่านั้น ดังนั้นต้องขึ้นอยู่กับศักยภาพการบริหารจัดการเรื่องราคาน้ำมันของแต่ละประเทศ
ขณะที่การปรับขึ้นของราคาสินค้าเกษตรและอาหารส่งผลให้แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยภาวะความกังวลจะหมดไปก็ต่อเมื่อราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าจะเป็นช่วงใด ซึ่งจะต้องติดตามดูสถานการณ์ตลาดโภคภัณฑ์ และน้ำมัน หรือกลุ่มโอเปกจะมีการเพิ่มกำลังการผลิตหรือไม่
นอกจากนี้ ปัจจัยการเมืองภายในประเทศที่มีการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญทำให้เกิดความไม่แน่นอนทางการเมือง แต่ต้องรอดูว่าจะยืดเยื้อหรือไม่ ซึ่งทำให้นักลงทุนต่างชาติอาจชะลอการลงทุนและรอดดูสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
จากปัจจัยต่างๆ บริษัทแนะนำให้นักลงทุนเลือกลงทุนในระยะยาว หากเป็นนักลงทุนระยะสั้นเพียงสัปดาห์เดียวหรือเดือนเดียวอาจจะลำบาก เพราะมีความผันผวน จึงควรจะปรับพอร์ตเป็นการลงทุนระยะยาวเกิน 6 เดือน หรือ 1 ปี โดยเลือกลงทุนในหุ้นที่มีความมั่นคงในระยะยาว ซึ่งมองว่าภาวะการซื้อขายจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติเมื่อแรงเทขายของนักลงทุนชะลอหรือหมดไป
นางวิริยา ลาภพรหมรัตน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์ บล.เกียรตินาคิน กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวลดลงจาก 3 ปัจจัย โดยปัจจัยหลักจะเป็นเรื่องการที่กระทรวงการขอความร่วมมือกับทางผู้ประกอบการกลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน ให้มีการลดค่าการกลั่นน้ำมันดีเซลลดลง 1 บาทต่อลิตร ส่งผลให้กลุ่มน้ำมันปรับตัวลดลง โดยมีผลกระทบต่อหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)หรือ PTT ปรับตัวลดลง ซึ่งหุ้นกลุ่มปตท.ดังกล่าวมีน้ำหนักต่อดัชนีตลาดหุ้นไทยถึง 30% จึงทำให้ตลาดหุ้นไทยลดลงมาก
ทั้งนี้ ปัจจัยรองมาเป็นการลดลงตามตลาดหุ้นภูมิภาคที่ลดลงจากความกังวลในเรื่องความกังวลในเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่จะปรับตัวสูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูง ซึ่งจะมีผลต่อเศรษฐกิจให้มีการชะลอตัวและปัจจัยทางการเมืองจากการชุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนธิปไตย ซึ่งจากปัจจัยภายในประเทศ เรื่องกระทรวงพลังงานขอความร่วมมือฯ และการชุมนุมทำให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมากกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาค
นายโกสินทร์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการอาวุโส บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้นภูมิภาค จากกังวลปัญหาการชะลอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นในไตรมาส 2/51 และจากการที่กระทรวงการพลังงานที่ต้องการให้กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นมีการลดค่าการกลั่น ส่งผลให้หุ้นกลุ่มพลังงานมีการปรับตัวลดลง และจากปัจจัยการเมืองในประเทศการชุมนุมคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากการที่เรามีปัจจัยทางเมืองนั้นส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยคงปรับตัวลดลงไม่เยอะ โดยจากปัจจัยดังกล่าวนั้นส่งผลให้นักลงทุนต่างประเทศมีการชะการลงทุน รอดูความชัดเจนทางการเมือง
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ดัชนีจะมีความผันผวนแกว่งตัวในกรอบแคบๆในระหว่างวันอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ แต่ในช่วงปิดตลาดอาจปรับตัวลดลง ซึ่งปกติแล้วการชุมนุมจะคึกคักในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ทำให้ระหว่างสัปดาห์นั้นอาจมีแรงซื้อเข้ามาบ้าง โดยมองแนวรับที่ระดับ 849-851 จุด แนวต้านที่ระดับ 863-865 จุด
**การเมืองกดดันพรีเมียร์เทรดวันแรก
นายโกสินทร์ กล่าวว่า บริษัท พรีเมียร์ มาร์เกตติ้ง จำกัด (มหาชน)หรือ PM เข้าซื้อขายหุ้นวันแรกในตลาดหลักทรัพย์วันนี้ คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยการเมืองทำให้นักลงทุนมีการขายทำกำไรออกมา แต่จากการที่หุ้นดังกล่าวเป็นหุ้นใหม่ นั้นก็จะมีแรงดึงดูดให้นักลงทุนระยะสั้นเข้ามาเก็งกำไร ทำให้ราคาหุ้นจะสูงกว่าราคาไอพีโอไม่มากนัก
***หุ้นเอเชียกอดคอกันร่วงถ้วนหน้า
ด้านดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง วานนี้ (26 พ.ค.) ปรับตัวลดลงอย่างหนักและต่อเนื่อง จากความกังวลของนักลงทุนในปัญหาเรื่องราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นอาจกดันให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว และบริษัทมีผลการดำเนินงานลดลง บวกกับการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของฮ่องกง ที่อาจส่งผลกระทบต่อหุ้นของไชน่า โมบาย จึงมีแรงเทขายหุ้นดังกล่าวออกมา
จากประเด็นดังกล่าวเป็นแรกกดดันที่สำคัญให้ดัชนีฮั่งเส็งร่วงลงอย่างรุนแรก ก่อนจะปิดที่ 24,127.31 จุด ลดลงจากวันก่อน 586.76 จุด หรือคิดเป็นอัตราส่วน 2.37%
ขณะที่ดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นโตเกียวของญี่ปุ่น ลดลงแตะระดับต่ำสุดที่ 13,670.92 จุด ก่อนจะปิดที่ 13,690.19 จุด ลดลงจากวันก่อนหน้า 322.01 จุด หรือคิดเป็น 2.3% มูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสิ้น 1.82 พันล้านหุ้น โดยมีปัจจัยหลักจากแรงเทขายทำกำไร หลังดัชนีดาวน์โจนส์ร่วงลงอย่างหนักเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา จากความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อ และเงินเยนที่แข็งแกร่งขึ้นส่งผลให้เกิดแรงขายในกลุ่มส่งออก
ส่วนดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ ปิดทรุดตัวลง 3.13% แตะระดับปิดต่ำสุดในรอบ 1 เดือน ที่ 3,364.544 จุด โดยอยู่เหนือจุดต่ำสุดระหว่างวันที่ 3,361.985 จุดเพียงเล็กน้อย โดยหุ้นบลูชิพได้รับแรงกดดันทั่วกระดาน ยกเว้นสำหรับกลุ่มเทเลคอมที่ได้แรงหนุนจากแผนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของรัฐบาล
ดัชนีสเตรทส์ไทม์ ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ปิดปรับตัวลดลงติดต่อกัน 5 วันทำการ หลังผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ร่วงลงเกินคาดในเดือนที่แล้ว ส่งผลให้เป็นปัจจัยที่กดดันแนวโน้มเศรษฐกิจและปัญหาเงินเฟ้อที่มีอยู่ในปัจจัย ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นปิดที่ 3,103.30 จุด ลดลง 18.85 จุด หรือคิดเป็น 0.6% ปริมาณการซื้อขาย 1.20 พันล้านหุ้น มูลค่า 1.50 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
ขณะที่ ตลาดหุ้นโซล ดัชนีคอมโพสิต (KOSPI) เกาหลีใต้ ปิดที่ระดับ 1,800.58 จุด ปรับตัวลดลง 27.36 จุด เปลี่ยนแปลง 1.50% และตลาดหุ้นมาเลเซีย ดัชนีคอมโพสิต ปิดที่ระดับ 1,273.37 จุด ปรับลดลง 1.41 จุด เปลี่ยนแปลง 0.10%
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (26 พ.ค.) ปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้นภูมิภาคที่เกิดจากความกังวลเรื่องของอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น มาตรการของกระทรวงพลังงานที่ขอความร่วมมือลดค่าการกลั่นน้ำมันดีเชล 1 บาท ซึ่งได้ส่งผลลบต่อหุ้นกลุ่มธุรกิจโรงกลั่น รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความขัดแย้งกันชัดเจนมากยิ่งขึ้น
จากประเด็นต่างๆ ได้กดดันให้ตลาดหุ้นไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง แตะระดับต่ำสุดที่ 851.65 จุด สูงสุดที่ 867.36 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 856.80 จุด ลดลง 18.79 จุด หรือ 2.15 % มูลค่าการซื้อขาย 24,846.68 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 789.76 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 1,925.37 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,715.13 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างเทขายหุ้นกลุ่มพลังงานที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากมาตรการลดค่าการกลั่นของรัฐบาล ทำให้หุ้นกลุ่มบมจ.ปตท. ลดลงทั้งกลุ่ม นำโดย PTT ปิดที่ 360 บาท ลดลง 12 บาท หรือ 3.23% มูลค่าซื้อขายรวม 3,225.68 ล้านบาท PTTEP ปิด 194 บาท ลดลง 6.00 บาท หรือ 3.00% มูลค่า 2,862.57 ล้านบาท และ TOP ปิด 62.50 บาท ลดลง 5.00 บาท หรือ 7.41% มูลค่า 2,115.24 ล้านบาท
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบจากหลายๆ ปัจจัย อาทิ ดัชนีดาวน์โจนส์ที่ปรับตัวลดลงทำให้ตลาดหุ้นต่างประเทศปรับตัวลดลง 2-3% และมาตรการขอลดค่าการกลั่นของทางการที่ทำให้หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลดลงถึง 3%
ขณะเดียวกันการชุมนุมคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยังกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทย แต่หากไม่เกิดความรุนแรงก็คงจะไม่มีผลกระทบมากนัก
"นักลงทุนต้องรอดูความชัดเจนในแต่ละเรื่อง อย่าเทขายหุ้นออกมาเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย โดยนักลงทุนจะต้องติดตาม 2 เรื่องคือ การเมืองและการพิจารณาของกระทรวงพลังงานกับกลุ่มโรงกลั่นซึ่งคาดใช้เวลา 1สัปดาห์"
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทิสโก้ จำกัด กล่าวว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกต่างปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะสหรัฐฯ เท่านั้น ดังนั้นต้องขึ้นอยู่กับศักยภาพการบริหารจัดการเรื่องราคาน้ำมันของแต่ละประเทศ
ขณะที่การปรับขึ้นของราคาสินค้าเกษตรและอาหารส่งผลให้แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยภาวะความกังวลจะหมดไปก็ต่อเมื่อราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าจะเป็นช่วงใด ซึ่งจะต้องติดตามดูสถานการณ์ตลาดโภคภัณฑ์ และน้ำมัน หรือกลุ่มโอเปกจะมีการเพิ่มกำลังการผลิตหรือไม่
นอกจากนี้ ปัจจัยการเมืองภายในประเทศที่มีการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญทำให้เกิดความไม่แน่นอนทางการเมือง แต่ต้องรอดูว่าจะยืดเยื้อหรือไม่ ซึ่งทำให้นักลงทุนต่างชาติอาจชะลอการลงทุนและรอดดูสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
จากปัจจัยต่างๆ บริษัทแนะนำให้นักลงทุนเลือกลงทุนในระยะยาว หากเป็นนักลงทุนระยะสั้นเพียงสัปดาห์เดียวหรือเดือนเดียวอาจจะลำบาก เพราะมีความผันผวน จึงควรจะปรับพอร์ตเป็นการลงทุนระยะยาวเกิน 6 เดือน หรือ 1 ปี โดยเลือกลงทุนในหุ้นที่มีความมั่นคงในระยะยาว ซึ่งมองว่าภาวะการซื้อขายจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติเมื่อแรงเทขายของนักลงทุนชะลอหรือหมดไป
นางวิริยา ลาภพรหมรัตน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์ บล.เกียรตินาคิน กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวลดลงจาก 3 ปัจจัย โดยปัจจัยหลักจะเป็นเรื่องการที่กระทรวงการขอความร่วมมือกับทางผู้ประกอบการกลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน ให้มีการลดค่าการกลั่นน้ำมันดีเซลลดลง 1 บาทต่อลิตร ส่งผลให้กลุ่มน้ำมันปรับตัวลดลง โดยมีผลกระทบต่อหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)หรือ PTT ปรับตัวลดลง ซึ่งหุ้นกลุ่มปตท.ดังกล่าวมีน้ำหนักต่อดัชนีตลาดหุ้นไทยถึง 30% จึงทำให้ตลาดหุ้นไทยลดลงมาก
ทั้งนี้ ปัจจัยรองมาเป็นการลดลงตามตลาดหุ้นภูมิภาคที่ลดลงจากความกังวลในเรื่องความกังวลในเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่จะปรับตัวสูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูง ซึ่งจะมีผลต่อเศรษฐกิจให้มีการชะลอตัวและปัจจัยทางการเมืองจากการชุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนธิปไตย ซึ่งจากปัจจัยภายในประเทศ เรื่องกระทรวงพลังงานขอความร่วมมือฯ และการชุมนุมทำให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมากกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาค
นายโกสินทร์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการอาวุโส บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้นภูมิภาค จากกังวลปัญหาการชะลอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นในไตรมาส 2/51 และจากการที่กระทรวงการพลังงานที่ต้องการให้กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นมีการลดค่าการกลั่น ส่งผลให้หุ้นกลุ่มพลังงานมีการปรับตัวลดลง และจากปัจจัยการเมืองในประเทศการชุมนุมคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากการที่เรามีปัจจัยทางเมืองนั้นส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยคงปรับตัวลดลงไม่เยอะ โดยจากปัจจัยดังกล่าวนั้นส่งผลให้นักลงทุนต่างประเทศมีการชะการลงทุน รอดูความชัดเจนทางการเมือง
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ดัชนีจะมีความผันผวนแกว่งตัวในกรอบแคบๆในระหว่างวันอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ แต่ในช่วงปิดตลาดอาจปรับตัวลดลง ซึ่งปกติแล้วการชุมนุมจะคึกคักในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ทำให้ระหว่างสัปดาห์นั้นอาจมีแรงซื้อเข้ามาบ้าง โดยมองแนวรับที่ระดับ 849-851 จุด แนวต้านที่ระดับ 863-865 จุด
**การเมืองกดดันพรีเมียร์เทรดวันแรก
นายโกสินทร์ กล่าวว่า บริษัท พรีเมียร์ มาร์เกตติ้ง จำกัด (มหาชน)หรือ PM เข้าซื้อขายหุ้นวันแรกในตลาดหลักทรัพย์วันนี้ คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยการเมืองทำให้นักลงทุนมีการขายทำกำไรออกมา แต่จากการที่หุ้นดังกล่าวเป็นหุ้นใหม่ นั้นก็จะมีแรงดึงดูดให้นักลงทุนระยะสั้นเข้ามาเก็งกำไร ทำให้ราคาหุ้นจะสูงกว่าราคาไอพีโอไม่มากนัก
***หุ้นเอเชียกอดคอกันร่วงถ้วนหน้า
ด้านดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง วานนี้ (26 พ.ค.) ปรับตัวลดลงอย่างหนักและต่อเนื่อง จากความกังวลของนักลงทุนในปัญหาเรื่องราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นอาจกดันให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว และบริษัทมีผลการดำเนินงานลดลง บวกกับการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของฮ่องกง ที่อาจส่งผลกระทบต่อหุ้นของไชน่า โมบาย จึงมีแรงเทขายหุ้นดังกล่าวออกมา
จากประเด็นดังกล่าวเป็นแรกกดดันที่สำคัญให้ดัชนีฮั่งเส็งร่วงลงอย่างรุนแรก ก่อนจะปิดที่ 24,127.31 จุด ลดลงจากวันก่อน 586.76 จุด หรือคิดเป็นอัตราส่วน 2.37%
ขณะที่ดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นโตเกียวของญี่ปุ่น ลดลงแตะระดับต่ำสุดที่ 13,670.92 จุด ก่อนจะปิดที่ 13,690.19 จุด ลดลงจากวันก่อนหน้า 322.01 จุด หรือคิดเป็น 2.3% มูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสิ้น 1.82 พันล้านหุ้น โดยมีปัจจัยหลักจากแรงเทขายทำกำไร หลังดัชนีดาวน์โจนส์ร่วงลงอย่างหนักเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา จากความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อ และเงินเยนที่แข็งแกร่งขึ้นส่งผลให้เกิดแรงขายในกลุ่มส่งออก
ส่วนดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ ปิดทรุดตัวลง 3.13% แตะระดับปิดต่ำสุดในรอบ 1 เดือน ที่ 3,364.544 จุด โดยอยู่เหนือจุดต่ำสุดระหว่างวันที่ 3,361.985 จุดเพียงเล็กน้อย โดยหุ้นบลูชิพได้รับแรงกดดันทั่วกระดาน ยกเว้นสำหรับกลุ่มเทเลคอมที่ได้แรงหนุนจากแผนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของรัฐบาล
ดัชนีสเตรทส์ไทม์ ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ปิดปรับตัวลดลงติดต่อกัน 5 วันทำการ หลังผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ร่วงลงเกินคาดในเดือนที่แล้ว ส่งผลให้เป็นปัจจัยที่กดดันแนวโน้มเศรษฐกิจและปัญหาเงินเฟ้อที่มีอยู่ในปัจจัย ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นปิดที่ 3,103.30 จุด ลดลง 18.85 จุด หรือคิดเป็น 0.6% ปริมาณการซื้อขาย 1.20 พันล้านหุ้น มูลค่า 1.50 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
ขณะที่ ตลาดหุ้นโซล ดัชนีคอมโพสิต (KOSPI) เกาหลีใต้ ปิดที่ระดับ 1,800.58 จุด ปรับตัวลดลง 27.36 จุด เปลี่ยนแปลง 1.50% และตลาดหุ้นมาเลเซีย ดัชนีคอมโพสิต ปิดที่ระดับ 1,273.37 จุด ปรับลดลง 1.41 จุด เปลี่ยนแปลง 0.10%