นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าว วานนี้ (20 พ.ค.) ว่า พรรคฝ่ายค้านเตรียมยื่นคำร้องถอดถอน นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อประธานวุฒิสภา ในวันนี้ (21 พ.ค.) เวลา 09.30 น.
นายสาทิตย์ กล่าวว่า ในหนังสือคำร้องดังกล่าวมีกว่า 10 หน้ากระดาษ พร้อมเอกสารประกอบอีกกว่า 100 หน้า รวมทั้งวีซีดี ดีวีดี และพยานบุคคล ซึ่งขณะนี้ยังไม่ขอเปิดเผยรายชื่อเพราะเกรงจะส่งผลกระทบต่อพยาน อย่างไรก็ตาม ในหนังสือคำร้องได้มีการระบุถึงพฤติกรรมของรัฐมนตรีที่เข้าข่ายการใช้อำนาจหน้าที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ และการใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อกฎหมาย ส่อว่ากระทำผิดต่อราชการ โดยข้อกล่าวหาแรกเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 46 เรื่องการแทรกแซงสื่อ เช่น กรณีการยึดคลื่นสถานีวิทยุบางแห่ง ซึ่งมีหลักฐานชัดเจนว่ารัฐมนตรีมีพฤติกรรม เข้าไปเกี่ยวข้องกับกรณีนี้ด้วยตัวเอง
ส่วนการใช้อำนาจขัดต่อกฎหมาย คือ กรณีการเข้าไปบริหารจัดการสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ที่รัฐมนตรีเข้าไปเป็นธุระจัดหาบริษัทร่วมผลิต ซึ่งเข้าข่ายการฮั้วประมูล หรือการเข้าไปจัดการวิทยุชุมชนทั้งๆ ที่ไม่มีอำนาจ ทั้งนี้พรรคได้เตรียมบัญชีรายชื่อพยานทั้งหมด เพื่อยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่จะพิจารณาเรื่องนี้หลังจากยื่นให้กับประธานวุฒิสภาและได้เตรียมคณะทีมงานที่จะเข้าชี้แจงไว้แล้ว เบื้องต้นมี 3 คนคือ นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.สัดส่วน นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ ส.ส.นครศรีธรร ราช แบะนายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ อย่างไรก็ตามตนมั่นใจในเอกสาร และพยานต่างๆ ที่พรรครวบรวมไว้ว่าจะสามารถเอาผิดได้
ส่วนความคืบหน้าการยื่นถอดถอนนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม นายสาทิตย์กล่าวว่า ขณะนี้ยังต้องรอดูคณะกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบประวัติและความประพฤติของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ภาครัฐ (ปปท.) ของวุฒิสภาก่อน เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณายื่นถอดถอน ส่วนกรณีนายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม. พรรคพลังประชาชนนั้น ตอนนี้กำลังรอผลสรุปการสอบสวนอย่างเป็นทางการจากพ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ส่งมาให้ที่พรรคก่อน จึงจะดำเนินการได้
นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวถึงกรณีที่มีการ ตรวจพบความไม่ชอบมาพากลกรณีกรมประชาสัมพันธ์ ว่าจ้างให้ บริษัท ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง จำกัด ร่วมผลิตรายการข่าวให้กับสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง11 )เอ็นบีทีว่า สตง. อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น โดยข้อมูลที่อยู่ระหว่างการรวบรวม ในขณะนี้ก็ใกล้เคียงกับข้อมูลที่ปรากฏในสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการ ดำเนินการที่มีลักษณะรวบรัดจนเกินไป รวมถึงความสัมพันธ์ของ นิติบุคคลที่เข้ามารับว่าจ้างงาน ซึ่งถูกระบุว่ามีสถานที่ตั้งที่เดียวกัน ซึ่งก็อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล เชิงลึกว่ามีรายละเอียดเป็นอย่างไรและเข้าข่ายการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว หรือไม่
ทั้งนี้นอกจากตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพยานหลักฐาน เอกสารต่างๆ แล้ว ในเร็วๆ นี้ สตง. อาจจะต้องเชิญผู้เกี่ยวข้องโดยตรง อาทิ รักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เข้ามาให้ข้อมูลข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร และในการสืบสวนหากพบว่า มีความจำเป็นที่จะต้องเชิญผู้เกี่ยวข้องในระดับนโยบาย ได้แก่ นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เข้ามาให้ข้อมูลด้วยก็คงจำเป็นต้องขอความอนุเคราะห์กับบุคคลเหล่านี้ให้เข้ามาชี้แจงด้วย
“ข้อมูลที่สื่อมวลชนระบุว่ามีการตรวจพบ บริษัทเอกชนที่เข้ามารับงานกับ สถานีโทรทัศน์ เอ็นบีทีนั้นอาจมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบริษัทเอกชนอีก 3 แห่ง ทั้งในส่วนของบริษัทที่เข้ามาร่วมประมูลด้วย ซึ่งในข้อเท็จจริงดังกล่าวก็พอรับฟังได้ว่าจะมีพฤติการณ์ที่ส่อว่าจะมีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นเนื่องจากในส่วนของบริษัท ที่เข้ามาแข่งขันกัน แต่ในข้อเท็จจริงจะอ้างว่าไปเช่าตึกเดียวกันทำสำนักงานอยู่ แต่มันก็เป็นเรื่องความบังเอิญเกินไป รวมถึงการปรากฎข้อมูลว่ามีบริษัทบางแห่งใช้ หมายเลขโทรสารเดียวกันด้วย ซึ่งในการตรวจสอบข้อมูลทาง สตง.อาจจะต้องมีการ ประสานไปยัง บริษัท ทีโอที จำกีด (มหาชน) เพื่อให้ยืนยันข้อมูลอย่างเป็นทางการอีกครั้งด้วย”
นางอรอนงค์ มณีกาญจน์ ที่ปรึกษาพัฒนาระบบการเงินการคลัง กรมบัญชีกลาง กล่าวว่า การที่กรมประชาสัมพันธ์ ไม่นำเงิน 45 ล้านบาทที่ได้จาก บริษัท ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง จำกัด ในการร่วมผลิตรายการทางสถานีโทรทัศน์ เอ็นบีที ส่งเข้าคลังเป็นรายได้แผ่นดิน สามารถทำได้ตามขั้นตอนทางกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นการดำเนินงานตามปกติที่ส่วนราชการต่างๆ สามารถ ดำเนินการได้ ตามมาตรา 24 วรรคห้า พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502
อย่างไรก็ตามตามระเบียบของกรมบัญชีกลางเมื่อมีการอนุมัติให้นำเงินที่ได้รับไปใช้ ก็จะต้องมีการวางระเบียบร่วมกันระหว่างกรมบัญชีกลาง และสำนักงบประมาณ เพื่อเป็นกรอบในการนำเงินไปใช้ว่าสามารถนำเงินไปทำอะไรได้บ้าง ไม่ใช่ว่าเป็นการปล่อยให้นำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ แต่การนำเงินดังกล่าว ไปใช้ในการผลิตรายการแล้วเป็นรายการที่ดีหรือไม่นั้นก็เป็นเรื่องของกรมประชาฯ
“หากกรมประชาฯ จะนำเงินไปใช้ต้องมีการออกระเบียบว่าด้วยการใช้เงินร่วมกับกรมบัญชีกลางและสำนักงบประมาณก่อน ซึ่งปัจจุบันกรมประชาฯ ยังไม่ได้ส่งร่างระเบียบดังกล่าวมาให้กรมแต่อย่างใด”
ทั้งนี้ กรมประชาสัมพันธ์ได้ทำหนังสือลงวันที่ 24 เมษายน 2551 ถึงกรมบัญชีกลางขออนุมัติไม่นำเงินจำนวนดังกล่าวส่งเข้าคลังเป็นรายได้แผ่นดิน แต่ขอเก็บ ไว้ใช้จ่ายในการดำเนินการผลิตรายการและข่าวของ สทท.11 ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่เป็นเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งนางอรอนงค์ทำหนังสือลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 แจ้งว่า รมว.คลังอนุญาตให้กรมประชาสัมพันธ์นำเงินดังกล่าวไปใช้จ่ายได้โดยให้กรมประชาสัมพันธ์ออกระเบียบกำหนดเกี่ยวกับการใช้เงินดังกล่าว เพื่อขออนุมัติ รมว.คลัง
นายสาทิตย์ กล่าวว่า ในหนังสือคำร้องดังกล่าวมีกว่า 10 หน้ากระดาษ พร้อมเอกสารประกอบอีกกว่า 100 หน้า รวมทั้งวีซีดี ดีวีดี และพยานบุคคล ซึ่งขณะนี้ยังไม่ขอเปิดเผยรายชื่อเพราะเกรงจะส่งผลกระทบต่อพยาน อย่างไรก็ตาม ในหนังสือคำร้องได้มีการระบุถึงพฤติกรรมของรัฐมนตรีที่เข้าข่ายการใช้อำนาจหน้าที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ และการใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อกฎหมาย ส่อว่ากระทำผิดต่อราชการ โดยข้อกล่าวหาแรกเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 46 เรื่องการแทรกแซงสื่อ เช่น กรณีการยึดคลื่นสถานีวิทยุบางแห่ง ซึ่งมีหลักฐานชัดเจนว่ารัฐมนตรีมีพฤติกรรม เข้าไปเกี่ยวข้องกับกรณีนี้ด้วยตัวเอง
ส่วนการใช้อำนาจขัดต่อกฎหมาย คือ กรณีการเข้าไปบริหารจัดการสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ที่รัฐมนตรีเข้าไปเป็นธุระจัดหาบริษัทร่วมผลิต ซึ่งเข้าข่ายการฮั้วประมูล หรือการเข้าไปจัดการวิทยุชุมชนทั้งๆ ที่ไม่มีอำนาจ ทั้งนี้พรรคได้เตรียมบัญชีรายชื่อพยานทั้งหมด เพื่อยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่จะพิจารณาเรื่องนี้หลังจากยื่นให้กับประธานวุฒิสภาและได้เตรียมคณะทีมงานที่จะเข้าชี้แจงไว้แล้ว เบื้องต้นมี 3 คนคือ นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.สัดส่วน นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ ส.ส.นครศรีธรร ราช แบะนายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ อย่างไรก็ตามตนมั่นใจในเอกสาร และพยานต่างๆ ที่พรรครวบรวมไว้ว่าจะสามารถเอาผิดได้
ส่วนความคืบหน้าการยื่นถอดถอนนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม นายสาทิตย์กล่าวว่า ขณะนี้ยังต้องรอดูคณะกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบประวัติและความประพฤติของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ภาครัฐ (ปปท.) ของวุฒิสภาก่อน เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณายื่นถอดถอน ส่วนกรณีนายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม. พรรคพลังประชาชนนั้น ตอนนี้กำลังรอผลสรุปการสอบสวนอย่างเป็นทางการจากพ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ส่งมาให้ที่พรรคก่อน จึงจะดำเนินการได้
นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวถึงกรณีที่มีการ ตรวจพบความไม่ชอบมาพากลกรณีกรมประชาสัมพันธ์ ว่าจ้างให้ บริษัท ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง จำกัด ร่วมผลิตรายการข่าวให้กับสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง11 )เอ็นบีทีว่า สตง. อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น โดยข้อมูลที่อยู่ระหว่างการรวบรวม ในขณะนี้ก็ใกล้เคียงกับข้อมูลที่ปรากฏในสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการ ดำเนินการที่มีลักษณะรวบรัดจนเกินไป รวมถึงความสัมพันธ์ของ นิติบุคคลที่เข้ามารับว่าจ้างงาน ซึ่งถูกระบุว่ามีสถานที่ตั้งที่เดียวกัน ซึ่งก็อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล เชิงลึกว่ามีรายละเอียดเป็นอย่างไรและเข้าข่ายการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว หรือไม่
ทั้งนี้นอกจากตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพยานหลักฐาน เอกสารต่างๆ แล้ว ในเร็วๆ นี้ สตง. อาจจะต้องเชิญผู้เกี่ยวข้องโดยตรง อาทิ รักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เข้ามาให้ข้อมูลข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร และในการสืบสวนหากพบว่า มีความจำเป็นที่จะต้องเชิญผู้เกี่ยวข้องในระดับนโยบาย ได้แก่ นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เข้ามาให้ข้อมูลด้วยก็คงจำเป็นต้องขอความอนุเคราะห์กับบุคคลเหล่านี้ให้เข้ามาชี้แจงด้วย
“ข้อมูลที่สื่อมวลชนระบุว่ามีการตรวจพบ บริษัทเอกชนที่เข้ามารับงานกับ สถานีโทรทัศน์ เอ็นบีทีนั้นอาจมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบริษัทเอกชนอีก 3 แห่ง ทั้งในส่วนของบริษัทที่เข้ามาร่วมประมูลด้วย ซึ่งในข้อเท็จจริงดังกล่าวก็พอรับฟังได้ว่าจะมีพฤติการณ์ที่ส่อว่าจะมีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นเนื่องจากในส่วนของบริษัท ที่เข้ามาแข่งขันกัน แต่ในข้อเท็จจริงจะอ้างว่าไปเช่าตึกเดียวกันทำสำนักงานอยู่ แต่มันก็เป็นเรื่องความบังเอิญเกินไป รวมถึงการปรากฎข้อมูลว่ามีบริษัทบางแห่งใช้ หมายเลขโทรสารเดียวกันด้วย ซึ่งในการตรวจสอบข้อมูลทาง สตง.อาจจะต้องมีการ ประสานไปยัง บริษัท ทีโอที จำกีด (มหาชน) เพื่อให้ยืนยันข้อมูลอย่างเป็นทางการอีกครั้งด้วย”
นางอรอนงค์ มณีกาญจน์ ที่ปรึกษาพัฒนาระบบการเงินการคลัง กรมบัญชีกลาง กล่าวว่า การที่กรมประชาสัมพันธ์ ไม่นำเงิน 45 ล้านบาทที่ได้จาก บริษัท ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง จำกัด ในการร่วมผลิตรายการทางสถานีโทรทัศน์ เอ็นบีที ส่งเข้าคลังเป็นรายได้แผ่นดิน สามารถทำได้ตามขั้นตอนทางกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นการดำเนินงานตามปกติที่ส่วนราชการต่างๆ สามารถ ดำเนินการได้ ตามมาตรา 24 วรรคห้า พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502
อย่างไรก็ตามตามระเบียบของกรมบัญชีกลางเมื่อมีการอนุมัติให้นำเงินที่ได้รับไปใช้ ก็จะต้องมีการวางระเบียบร่วมกันระหว่างกรมบัญชีกลาง และสำนักงบประมาณ เพื่อเป็นกรอบในการนำเงินไปใช้ว่าสามารถนำเงินไปทำอะไรได้บ้าง ไม่ใช่ว่าเป็นการปล่อยให้นำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ แต่การนำเงินดังกล่าว ไปใช้ในการผลิตรายการแล้วเป็นรายการที่ดีหรือไม่นั้นก็เป็นเรื่องของกรมประชาฯ
“หากกรมประชาฯ จะนำเงินไปใช้ต้องมีการออกระเบียบว่าด้วยการใช้เงินร่วมกับกรมบัญชีกลางและสำนักงบประมาณก่อน ซึ่งปัจจุบันกรมประชาฯ ยังไม่ได้ส่งร่างระเบียบดังกล่าวมาให้กรมแต่อย่างใด”
ทั้งนี้ กรมประชาสัมพันธ์ได้ทำหนังสือลงวันที่ 24 เมษายน 2551 ถึงกรมบัญชีกลางขออนุมัติไม่นำเงินจำนวนดังกล่าวส่งเข้าคลังเป็นรายได้แผ่นดิน แต่ขอเก็บ ไว้ใช้จ่ายในการดำเนินการผลิตรายการและข่าวของ สทท.11 ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่เป็นเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งนางอรอนงค์ทำหนังสือลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 แจ้งว่า รมว.คลังอนุญาตให้กรมประชาสัมพันธ์นำเงินดังกล่าวไปใช้จ่ายได้โดยให้กรมประชาสัมพันธ์ออกระเบียบกำหนดเกี่ยวกับการใช้เงินดังกล่าว เพื่อขออนุมัติ รมว.คลัง