ศูนย์ข่าวภาคใต้ - ตังเกภาคใต้ 1,000 ลำเรือเดือดปิดอ่าวประท้วงรัฐเมินช่วยเหลือหลังน้ำมันแพงหนักขึ้น แถมยังเจอดาวไถแรงงานต่างด้าวอีกหากไม่ได้ "ส่วย" จับแหลก โจรสลัดอาละวาดซ้ำ เตรียมยกเรือขึ้นบกปิดถนน-เผาประท้วงวันนี้ ขณะที่กลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งภาคใต้เรียกร้องของพบ "รมว.พาณิชย์" เจรจาหาทางออกแก้ไขปัญหากุ้งหากไม่ได้รับการแก้ไขเตรียมใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดปิด "สะพานติณสูลานนท์" เช่นกัน
เมื่อเวลา 10.00 น.วานนี้ (19 พ.ค.) ที่สมาคมชาวประมงอำเภอสิชล จ.นครศรีธรรมราช มีกลุ่มชาวประมงจาก อ.สิชล และใกล้เคียงเข้าร่วมประชุมหารือกับนายสุธรรม วิชชุไตรภพ นายกสมาคมประมงสิชล นายอำพล เจนเศรษฐวัช นายกสมาคมสิชลอำเภอขนอม นายอนันต์ ชูศักดิ์ นายกสมาคมชาวประมงสุราษฎร์ธานี และแกนนำตัวแทนชาวประมงจากจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช กว่า 200 คนได้ร่วมหารือกำหนดมาตรการในการกดดันภาครัฐให้หันมาช่วยเหลือชาวประมง หลังจากก่อนหน้านี้นายสุธรรม วิชชุไตรภพ ในฐานะตัวแทน ได้เข้ายื่นหนังสือขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลรวม 6 ประเด็นทั้งในเรื่องของราคาน้ำมัน แรงงาน และราคาสัตว์น้ำที่ไม่ได้ปรับมาแล้วเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน
โดยในการประชุมนั้นมี พ.ต.อ.อรรถพล เปล่งวิทยา รอง ผบก.ภ.นครศรีธรรมราช นายอิศรา ทองธวัช นายอำเภอสิชล เจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครองจำนวนมากคอยติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มชาวประมงตลอดเวลา และในการประชุมนั้นทั้ง พ.ต.อ.อรรถพล เปล่งวิทยา รอง ผบก.และนายอิสรา ทองธวัช พยายามเจรจากับกลุ่มชาวประมงให้ยุติการปิดอ่าวประท้วง ตลอดเวลา
นายอำพล เจนเศรษฐวัช นายกสมาคมชาวประมงอำเภอขนอม เปิดเผยว่า ในปัญหาของชาวประมงไม่เคยที่รัฐบาลจะหันมาดูแล ถ้าเปรียบกับสินค้าเกษตรอื่นๆ เช่น อ้อย รัฐบาลตั้งราคาช่วยเหลือขึ้นราคาให้เสร็จสรรพ ตอนนี้ชาวประมงอยู่ไม่ได้แล้วต้องดิ้นรนเฮือกสุดท้าย หากไม่มีการดูแลอีกชาวประมงทั้งประเทศถึงขั้นล้มละลายตายหมดอย่างแน่นอน
ขณะที่นายอนันต์ ชูศักดิ์ นายกสมาคมชาวประมงสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ขณะนี้ความร่วมมือของกลุ่มชาวประมงทั้ง จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ได้มีความร่วมมือกันหลังจากทราบข่าวถึงความเคลื่อนไหวแสดงความเดือดร้อนของชาวประมง ซึ่งต้องรวมตัวกันกอบกู้สถานะของชาวประมงรัฐบาลชุดนี้หรือชุดที่แล้วก็เหมือนกัน คือ ไม่ได้สนใจ จะไปหวังสมาคมชาวประมงแห่งประเทศไทยก็ลำบาก เพราะเขาทำประมงนอกน่านน้ำ สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ คือ ความเดอดร้อนของชาวประมงในท้องถิ่นและเรากำลังจะรวมตัวกันเป็นสมาพันธ์ชาวประมงภาคใต้ ซึ่งจะประสานกันทั้งภาคใต้ต่อไป
ด้านนายสุธรรม วิชชุไตรภพ นายกสมาคมชาวประมงอำเภอสิชล เปิดเผยว่า ความเดือดร้อนของชาวประมงขณะนี้ต้องจอดเรือจำนวนมากแล้วกว่า 90% เรือลำละ 1 ล้านบาท มาขายแค่ลำละ 1 แสนก็ไม่มีใครซื้อ ทั้งมีปัญหาเรื่องของโจรสลัดอาละวาดปล้นเรือเอาอุปกรณ์ในเรือ ขึ้นมาบนฝั่งยังถูกจับไม่เว้น
"3-4 ทุ่มยังมีคนอยากกินเหล้ามาเคาะประตูขอจับแรงงานต่างด้าว โดนไปหลายราย 5 หมื่นบ้าง 3 พัน 8 พันมีทั้งนั้นที่ต้องจ่าย พวกเรารู้ว่าแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายแต่เรือกำลังจะตายผู้ประกอบคนไทยกำลังจะตายมันไม่มีจิตสำนึกบ้างหรือ ออกทะเลถูกปล้นขึ้นฝั่งยังถูกปล้นอีก ข้อสรุปที่เราจะดำเนินการคือเริ่มปิดอ่าวปากน้ำสิชล ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปและในวันพรุ่งนี้ (20) จะมีการเผาเรือประท้วงกลางร่องน้ำสิชล เพื่อประจานรัฐบาล หลังจากนั้นในเวลา 10.00 น.ของวันพรุ่งนี้ (20) ยังไม่มีความสนใจใดๆจากภาครัฐ เรือประมงจะขึ้นบกเอาเรือไปตั้งปิดถนนทางขึ้นล่องนครศรีธรรมราช-กทม. ทันที และทราบว่าการปิดถนนจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับพี่น้องชาวประมงในภาคใต้ตอนล่าง" นายสุธรรม กล่าว
นายสุธรรม ยังกล่าวอีกว่า มีความพยายามที่จะให้เราล้มเลิกมาตรการในการกดดันรัฐบาล จากอำเภอและทางตำรวจและรับปากทั้งหมดบอกว่าปัญหาโจรสลัดก็สั่งเจ้าหน้าที่แล้ว เรื่องแรงงานต่างด้าวก็แจ้งเจ้าหน้าที่แล้ว บอกตรงๆ ว่าเราไม่เชื่อแค่ลมปาก เสร็จจากการปิดถนนหากไม่เห็นผลใดๆเราจะไปปิดศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราชต่อไป ตรงนี้เมื่อประมงตายก็อย่าให้ตายเปล่าให้ประชาชนผู้บริโภคสัตว์ทะเลรู้ด้วยว่าเรากำลังจะตายแล้ว
ผู้เลี้ยงกุ้งภาคใต้ขอพบ "มิ่งขวัญ"
ด้าน ความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งในภาคใต้ ซึ่งเตรียมใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด โดยการปิด "สะพานติณสูลานนท์" หากปัญหากุ้งไม่ได้รับการแก้ไข ล่าสุดนายกาจบัณฑิต รามมาก แกนนำเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้ง จ.สงขลา เปิดเผยว่า ทางแกนนำผู้เลี้ยงกุ้งในภาคใต้ต้องการเข้าพบกับนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยตรง เพื่อเปิดโต๊ะเจรจาหาทางออกในการแก้ปัญหากุ้งร่วมกัน ตามข้อเสนอทั้ง 3 ข้อที่ได้เรียกร้องไป คือ มาตรการการประกันราคาลดราคาอาหารกุ้งอย่างน้อย 5% และการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ โครงการพักชำระหนี้เกษตรกร ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 31 พ.ค.นี้ออกไปอีก เพื่อที่ทั้งสองฝ่ายสามารถหาข้อยุติร่วมกัน เรื่องใดที่ทำได้หรือเรื่องใดที่ต้องใช้เวลาหรือมีอุปสรรคอะไร ซึ่งทางกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งพร้อมที่จะรับฟังและให้โอกาส หากภาครัฐรับที่จะดำเนินการอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ เพราะเมื่อปี 50 ที่ผ่านมาซึ่งเกิดวิกฤตปัญหากุ้งมาครั้งหนึ่งแล้วสุดท้ายเมื่อมีการเจรจากับ รมว.พาณิชย์โดยตรง ปัญหาทุกอย่างจึงจบลงด้วยดี ซึ่งกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งเชื่อว่าทุกฝ่ายน่าจะเปิดโต๊ะเจรจาอย่างตรงไปตรงมา เพื่อยุติปัญหาไม่ให้บานปลายจนนำไปสู่การปิดถนนประท้วง
อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นจะรอเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาก่อนเพื่อร่วมประชุมกันในระดับคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตร (คชก.) ระดับจังหวัด ซึ่งในวันนี้ (20 พ.ค.) น่าจะทราบผลว่าจะนัดประชุมกันในวันใด ก่อนที่จะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ส่งเรื่องไปยังกระทรวงพาณิชย์เพื่อให้แกนนำผู้เลี้ยงกุ้งในภาคใต้เข้าพบต่อไป
ประมงพื้นบ้านหยุดหาปลากว่าพันลำ
ด้าน นายศิลา วันดี ประธานชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า จากสถานการณ์น้ำมันดีเซลที่ปรับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบให้ชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ ต้องประสบปัญหาต้นทุนสูงในการออกไปจับสัตว์น้ำกลางทะเลประกอบกับราคาสัตว์น้ำตกต่ำ จึงทำให้ชาวประมงพื้นบ้านขาดทุน
ขณะนี้กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านที่มีอยู่ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจำนวนกว่า 1,500 ลำ ต้องหยุดการออกเรือไปจับสัตว์น้ำกลางทะเลไปแล้วกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 1,000 ลำเศษ ทำให้บรรยากาศการจำหน่ายสัตว์น้ำตามจุดต่าง ๆ เงียบเหงาไป
ส่วนบรรยากาศในคลองท่าทองใหม่ อ.กาญจนดิษฐ์ บรรดากลุ่มเรือประมงขนาดเล็กได้นำสมาชิกในครอบครัวที่อายุไม่กี่ขวบกลับจากทะเล เพื่อเข้าเทียบฝั่งทำการปลดปลาออกจากอวน บางรายได้ปลามาไม่กี่กิโลกรัม ซึ่งไม่คุ้มกับค่าน้ำมันที่ออกทะเล
นายวินัย หล่ำโต๊ะและ อายุ 41 ปี อยู่บ้านบ้านเลขที่ 121/7 ม.4 ต.บางกุ้ง อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ทุกวันนี้ต้องปรับตัวเองจากเคยมีลูกน้อง ต้องนำเมียและลูกออกทะเล มานั่งขายปลาเอง พอที่จะหักค่ายใช้จ่ายแล้วยังพอมีรายได้วันละประมาณ 300 บาท หากขายส่งพ่อค้าคนกลางเหมือนอดีตก็ต้องหยุดหาปลา
รถร่วมเชียงรายขอขึ้นค่าโดยสารอีก
ส่วนที่ จ.เชียงรายผู้สื่อข่าวรายงานถึงราคาน้ำมันที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่องว่า จากการสำรวจพบว่าที่ปั๊ม ปตท.ห้าแยกพ่อขุนเม็งรายมหาราช เขตเทศบาลนครเชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย น้ำมันดีเซล ราคาจำหน่าย ลิตรละ 35.79 บาท, น้ำมันเบนซิน 91 ลิตรละ 34.64 บาท, ราคาน้ำมันเบนซิน 95 ลิตรละ 38.34 บาท ส่วนราคาแก๊ซโซฮอล์ 95 ลิตรละ 35.44 บาท และแนวโน้มยังพุ่งไม่หยุด
สำหรับประชาชนจำนวนหนึ่งเริ่มหาทางออกด้วยการนำรถยนต์เครื่องเบนซินไปติดตั้งแก๊สแอลพีจี (LPG) ซึ่งใน อ.เมือง จ.เชียงราย เริ่มมีอู่รถที่รับติดตั้งแก๊สรถยนต์ผุดขึ้นมามากมายนับสิบแห่ง และลูกค้ามาติดตั้งแก๊สจนต้องรอคิว เนื่องจากทนพิษราคาน้ำมันแพงไม่ไหว
นายฌาน สันพะเยา เจ้าของร้านยิ่งเจริญแก๊สรถยนต์ ตั้งอยู่ถนนพหลโยธินสายใน บริเวณชุมชนป่าก่อไทยใหญ่ เขตเทศบาลนครเชียงราย กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนสนใจนำรถยนต์เบนซินมาติดแก๊สแอลพีจี มากขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันแพงมหาโหด โดยราคาค่าติดตั้งแก๊สในรถยนต์มีค่าแรงและอุปกรณ์ถังแก๊สและวาล์วต่างๆ คันละตั้งแต่ 16,500-18,500 บาท ซึ่งปลอดภัย เพราะมีการตรวจเช็กไม่ให้รั่วและมีใบรับรองการติดตั้งให้ โดยประชาชนไม่มีทางเลือกจึงหันมาใช้แก๊สราว กก.ละ 10.50 บาทจะแล่นได้เท่ากับรถยนต์ที่เติมน้ำมัน 1 ลิตรทำให้ประหยัดเงินในกระเป๋าเจ้าของรถไปมาก คาดว่าแนวโน้มจะมีการมาติดตั้งแก๊สรถยนต์ต่อเนื่อง
ส่วนแก๊สเอ็นจีวีที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมในจังหวัด เช่น จ.เชียงราย ยังไม่มีปั๊มแก๊สเอ็นจีวี ทำให้ผู้ใช้แก๊สเอ็นจีวีไม่สะดวก นอกจากนี้มีรายงานว่า รถจักรยานยนต์พ่วงที่ใช้จำหน่ายนมเปรี้ยวก็มีการนำรถจักรยานยนต์ติดแก๊สแอลพีจี เพราะทนแบกรับค้าน้ำมันแพงไม่ไหว
ด้าน นายถาวร เหรียญตระกูลชัย ขนส่งจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ขณะนี้รถโดยสารร่วมที่แล่นระหว่างตัวอำเภอใน จ.เชียงราย เริ่มมาขอขึ้นค่าบริการราว กม.ละ 33 สตางค์ ซึ่งยังต้อรอคำสั่งจาก กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงคมนาคมที่จะสั่งผ่าน คณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ให้ขึ้นราคาได้ ซึ่งคาดว่าจะทราบผลให้ขึ้นราคาได้ราววันศุกร์ที่ 23 พ.ค.นี้ และน่าจะปรับราคาขึ้นได้ เพราะราคาของรถร่วมที่ใช้อยู่คือราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 29 บาท แต่ขณะนี้น้ำมันดีเซลแตะระดับ 35.79 บาท ทำให้ผู้ประกอบการรถอยู่ไม่ได้ ส่วนรถทัวร์ที่แล่นระหว่างจังหวัด จะมีการปรับขึ้นตามมมติที่ประชุม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงคมนาคม เช่นกัน และน่าจะปรับขึ้นในเร็วๆ นี้
เมื่อเวลา 10.00 น.วานนี้ (19 พ.ค.) ที่สมาคมชาวประมงอำเภอสิชล จ.นครศรีธรรมราช มีกลุ่มชาวประมงจาก อ.สิชล และใกล้เคียงเข้าร่วมประชุมหารือกับนายสุธรรม วิชชุไตรภพ นายกสมาคมประมงสิชล นายอำพล เจนเศรษฐวัช นายกสมาคมสิชลอำเภอขนอม นายอนันต์ ชูศักดิ์ นายกสมาคมชาวประมงสุราษฎร์ธานี และแกนนำตัวแทนชาวประมงจากจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช กว่า 200 คนได้ร่วมหารือกำหนดมาตรการในการกดดันภาครัฐให้หันมาช่วยเหลือชาวประมง หลังจากก่อนหน้านี้นายสุธรรม วิชชุไตรภพ ในฐานะตัวแทน ได้เข้ายื่นหนังสือขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลรวม 6 ประเด็นทั้งในเรื่องของราคาน้ำมัน แรงงาน และราคาสัตว์น้ำที่ไม่ได้ปรับมาแล้วเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน
โดยในการประชุมนั้นมี พ.ต.อ.อรรถพล เปล่งวิทยา รอง ผบก.ภ.นครศรีธรรมราช นายอิศรา ทองธวัช นายอำเภอสิชล เจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครองจำนวนมากคอยติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มชาวประมงตลอดเวลา และในการประชุมนั้นทั้ง พ.ต.อ.อรรถพล เปล่งวิทยา รอง ผบก.และนายอิสรา ทองธวัช พยายามเจรจากับกลุ่มชาวประมงให้ยุติการปิดอ่าวประท้วง ตลอดเวลา
นายอำพล เจนเศรษฐวัช นายกสมาคมชาวประมงอำเภอขนอม เปิดเผยว่า ในปัญหาของชาวประมงไม่เคยที่รัฐบาลจะหันมาดูแล ถ้าเปรียบกับสินค้าเกษตรอื่นๆ เช่น อ้อย รัฐบาลตั้งราคาช่วยเหลือขึ้นราคาให้เสร็จสรรพ ตอนนี้ชาวประมงอยู่ไม่ได้แล้วต้องดิ้นรนเฮือกสุดท้าย หากไม่มีการดูแลอีกชาวประมงทั้งประเทศถึงขั้นล้มละลายตายหมดอย่างแน่นอน
ขณะที่นายอนันต์ ชูศักดิ์ นายกสมาคมชาวประมงสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ขณะนี้ความร่วมมือของกลุ่มชาวประมงทั้ง จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ได้มีความร่วมมือกันหลังจากทราบข่าวถึงความเคลื่อนไหวแสดงความเดือดร้อนของชาวประมง ซึ่งต้องรวมตัวกันกอบกู้สถานะของชาวประมงรัฐบาลชุดนี้หรือชุดที่แล้วก็เหมือนกัน คือ ไม่ได้สนใจ จะไปหวังสมาคมชาวประมงแห่งประเทศไทยก็ลำบาก เพราะเขาทำประมงนอกน่านน้ำ สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ คือ ความเดอดร้อนของชาวประมงในท้องถิ่นและเรากำลังจะรวมตัวกันเป็นสมาพันธ์ชาวประมงภาคใต้ ซึ่งจะประสานกันทั้งภาคใต้ต่อไป
ด้านนายสุธรรม วิชชุไตรภพ นายกสมาคมชาวประมงอำเภอสิชล เปิดเผยว่า ความเดือดร้อนของชาวประมงขณะนี้ต้องจอดเรือจำนวนมากแล้วกว่า 90% เรือลำละ 1 ล้านบาท มาขายแค่ลำละ 1 แสนก็ไม่มีใครซื้อ ทั้งมีปัญหาเรื่องของโจรสลัดอาละวาดปล้นเรือเอาอุปกรณ์ในเรือ ขึ้นมาบนฝั่งยังถูกจับไม่เว้น
"3-4 ทุ่มยังมีคนอยากกินเหล้ามาเคาะประตูขอจับแรงงานต่างด้าว โดนไปหลายราย 5 หมื่นบ้าง 3 พัน 8 พันมีทั้งนั้นที่ต้องจ่าย พวกเรารู้ว่าแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายแต่เรือกำลังจะตายผู้ประกอบคนไทยกำลังจะตายมันไม่มีจิตสำนึกบ้างหรือ ออกทะเลถูกปล้นขึ้นฝั่งยังถูกปล้นอีก ข้อสรุปที่เราจะดำเนินการคือเริ่มปิดอ่าวปากน้ำสิชล ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปและในวันพรุ่งนี้ (20) จะมีการเผาเรือประท้วงกลางร่องน้ำสิชล เพื่อประจานรัฐบาล หลังจากนั้นในเวลา 10.00 น.ของวันพรุ่งนี้ (20) ยังไม่มีความสนใจใดๆจากภาครัฐ เรือประมงจะขึ้นบกเอาเรือไปตั้งปิดถนนทางขึ้นล่องนครศรีธรรมราช-กทม. ทันที และทราบว่าการปิดถนนจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับพี่น้องชาวประมงในภาคใต้ตอนล่าง" นายสุธรรม กล่าว
นายสุธรรม ยังกล่าวอีกว่า มีความพยายามที่จะให้เราล้มเลิกมาตรการในการกดดันรัฐบาล จากอำเภอและทางตำรวจและรับปากทั้งหมดบอกว่าปัญหาโจรสลัดก็สั่งเจ้าหน้าที่แล้ว เรื่องแรงงานต่างด้าวก็แจ้งเจ้าหน้าที่แล้ว บอกตรงๆ ว่าเราไม่เชื่อแค่ลมปาก เสร็จจากการปิดถนนหากไม่เห็นผลใดๆเราจะไปปิดศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราชต่อไป ตรงนี้เมื่อประมงตายก็อย่าให้ตายเปล่าให้ประชาชนผู้บริโภคสัตว์ทะเลรู้ด้วยว่าเรากำลังจะตายแล้ว
ผู้เลี้ยงกุ้งภาคใต้ขอพบ "มิ่งขวัญ"
ด้าน ความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งในภาคใต้ ซึ่งเตรียมใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด โดยการปิด "สะพานติณสูลานนท์" หากปัญหากุ้งไม่ได้รับการแก้ไข ล่าสุดนายกาจบัณฑิต รามมาก แกนนำเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้ง จ.สงขลา เปิดเผยว่า ทางแกนนำผู้เลี้ยงกุ้งในภาคใต้ต้องการเข้าพบกับนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยตรง เพื่อเปิดโต๊ะเจรจาหาทางออกในการแก้ปัญหากุ้งร่วมกัน ตามข้อเสนอทั้ง 3 ข้อที่ได้เรียกร้องไป คือ มาตรการการประกันราคาลดราคาอาหารกุ้งอย่างน้อย 5% และการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ โครงการพักชำระหนี้เกษตรกร ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 31 พ.ค.นี้ออกไปอีก เพื่อที่ทั้งสองฝ่ายสามารถหาข้อยุติร่วมกัน เรื่องใดที่ทำได้หรือเรื่องใดที่ต้องใช้เวลาหรือมีอุปสรรคอะไร ซึ่งทางกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งพร้อมที่จะรับฟังและให้โอกาส หากภาครัฐรับที่จะดำเนินการอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ เพราะเมื่อปี 50 ที่ผ่านมาซึ่งเกิดวิกฤตปัญหากุ้งมาครั้งหนึ่งแล้วสุดท้ายเมื่อมีการเจรจากับ รมว.พาณิชย์โดยตรง ปัญหาทุกอย่างจึงจบลงด้วยดี ซึ่งกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งเชื่อว่าทุกฝ่ายน่าจะเปิดโต๊ะเจรจาอย่างตรงไปตรงมา เพื่อยุติปัญหาไม่ให้บานปลายจนนำไปสู่การปิดถนนประท้วง
อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นจะรอเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาก่อนเพื่อร่วมประชุมกันในระดับคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตร (คชก.) ระดับจังหวัด ซึ่งในวันนี้ (20 พ.ค.) น่าจะทราบผลว่าจะนัดประชุมกันในวันใด ก่อนที่จะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ส่งเรื่องไปยังกระทรวงพาณิชย์เพื่อให้แกนนำผู้เลี้ยงกุ้งในภาคใต้เข้าพบต่อไป
ประมงพื้นบ้านหยุดหาปลากว่าพันลำ
ด้าน นายศิลา วันดี ประธานชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า จากสถานการณ์น้ำมันดีเซลที่ปรับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบให้ชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ ต้องประสบปัญหาต้นทุนสูงในการออกไปจับสัตว์น้ำกลางทะเลประกอบกับราคาสัตว์น้ำตกต่ำ จึงทำให้ชาวประมงพื้นบ้านขาดทุน
ขณะนี้กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านที่มีอยู่ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจำนวนกว่า 1,500 ลำ ต้องหยุดการออกเรือไปจับสัตว์น้ำกลางทะเลไปแล้วกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 1,000 ลำเศษ ทำให้บรรยากาศการจำหน่ายสัตว์น้ำตามจุดต่าง ๆ เงียบเหงาไป
ส่วนบรรยากาศในคลองท่าทองใหม่ อ.กาญจนดิษฐ์ บรรดากลุ่มเรือประมงขนาดเล็กได้นำสมาชิกในครอบครัวที่อายุไม่กี่ขวบกลับจากทะเล เพื่อเข้าเทียบฝั่งทำการปลดปลาออกจากอวน บางรายได้ปลามาไม่กี่กิโลกรัม ซึ่งไม่คุ้มกับค่าน้ำมันที่ออกทะเล
นายวินัย หล่ำโต๊ะและ อายุ 41 ปี อยู่บ้านบ้านเลขที่ 121/7 ม.4 ต.บางกุ้ง อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ทุกวันนี้ต้องปรับตัวเองจากเคยมีลูกน้อง ต้องนำเมียและลูกออกทะเล มานั่งขายปลาเอง พอที่จะหักค่ายใช้จ่ายแล้วยังพอมีรายได้วันละประมาณ 300 บาท หากขายส่งพ่อค้าคนกลางเหมือนอดีตก็ต้องหยุดหาปลา
รถร่วมเชียงรายขอขึ้นค่าโดยสารอีก
ส่วนที่ จ.เชียงรายผู้สื่อข่าวรายงานถึงราคาน้ำมันที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่องว่า จากการสำรวจพบว่าที่ปั๊ม ปตท.ห้าแยกพ่อขุนเม็งรายมหาราช เขตเทศบาลนครเชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย น้ำมันดีเซล ราคาจำหน่าย ลิตรละ 35.79 บาท, น้ำมันเบนซิน 91 ลิตรละ 34.64 บาท, ราคาน้ำมันเบนซิน 95 ลิตรละ 38.34 บาท ส่วนราคาแก๊ซโซฮอล์ 95 ลิตรละ 35.44 บาท และแนวโน้มยังพุ่งไม่หยุด
สำหรับประชาชนจำนวนหนึ่งเริ่มหาทางออกด้วยการนำรถยนต์เครื่องเบนซินไปติดตั้งแก๊สแอลพีจี (LPG) ซึ่งใน อ.เมือง จ.เชียงราย เริ่มมีอู่รถที่รับติดตั้งแก๊สรถยนต์ผุดขึ้นมามากมายนับสิบแห่ง และลูกค้ามาติดตั้งแก๊สจนต้องรอคิว เนื่องจากทนพิษราคาน้ำมันแพงไม่ไหว
นายฌาน สันพะเยา เจ้าของร้านยิ่งเจริญแก๊สรถยนต์ ตั้งอยู่ถนนพหลโยธินสายใน บริเวณชุมชนป่าก่อไทยใหญ่ เขตเทศบาลนครเชียงราย กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนสนใจนำรถยนต์เบนซินมาติดแก๊สแอลพีจี มากขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันแพงมหาโหด โดยราคาค่าติดตั้งแก๊สในรถยนต์มีค่าแรงและอุปกรณ์ถังแก๊สและวาล์วต่างๆ คันละตั้งแต่ 16,500-18,500 บาท ซึ่งปลอดภัย เพราะมีการตรวจเช็กไม่ให้รั่วและมีใบรับรองการติดตั้งให้ โดยประชาชนไม่มีทางเลือกจึงหันมาใช้แก๊สราว กก.ละ 10.50 บาทจะแล่นได้เท่ากับรถยนต์ที่เติมน้ำมัน 1 ลิตรทำให้ประหยัดเงินในกระเป๋าเจ้าของรถไปมาก คาดว่าแนวโน้มจะมีการมาติดตั้งแก๊สรถยนต์ต่อเนื่อง
ส่วนแก๊สเอ็นจีวีที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมในจังหวัด เช่น จ.เชียงราย ยังไม่มีปั๊มแก๊สเอ็นจีวี ทำให้ผู้ใช้แก๊สเอ็นจีวีไม่สะดวก นอกจากนี้มีรายงานว่า รถจักรยานยนต์พ่วงที่ใช้จำหน่ายนมเปรี้ยวก็มีการนำรถจักรยานยนต์ติดแก๊สแอลพีจี เพราะทนแบกรับค้าน้ำมันแพงไม่ไหว
ด้าน นายถาวร เหรียญตระกูลชัย ขนส่งจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ขณะนี้รถโดยสารร่วมที่แล่นระหว่างตัวอำเภอใน จ.เชียงราย เริ่มมาขอขึ้นค่าบริการราว กม.ละ 33 สตางค์ ซึ่งยังต้อรอคำสั่งจาก กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงคมนาคมที่จะสั่งผ่าน คณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ให้ขึ้นราคาได้ ซึ่งคาดว่าจะทราบผลให้ขึ้นราคาได้ราววันศุกร์ที่ 23 พ.ค.นี้ และน่าจะปรับราคาขึ้นได้ เพราะราคาของรถร่วมที่ใช้อยู่คือราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 29 บาท แต่ขณะนี้น้ำมันดีเซลแตะระดับ 35.79 บาท ทำให้ผู้ประกอบการรถอยู่ไม่ได้ ส่วนรถทัวร์ที่แล่นระหว่างจังหวัด จะมีการปรับขึ้นตามมมติที่ประชุม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงคมนาคม เช่นกัน และน่าจะปรับขึ้นในเร็วๆ นี้