ศูนย์ข่าวภูมิภาค - ผู้ประกอบการภาคขนส่งต่างจังหวัดกระอัก น้ำมันพุ่งลิตรละเกือบ 40 บาท ที่เชียงใหม่คนขับรถสี่ล้อแดงจี้ คกก.ควบคุมการขนส่งทางบกฯเร่งอนุมัติปรับขึ้นค่าโดยสารเพื่อความอยู่รอด ด้านรถโดยสารข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาวที่หนองคาย ทนแบกรับภาระน้ำมันแพงไม่ไหวต้องการเปลี่ยนจากใช้น้ำมันเป็นพลังงานทดแทน ติดตั้งแก๊ส NGV แทน แต่เกิดปัญหาไม่มีปั๊มในพื้นที่ ด้านตะวันออกป่วนเรือประมงนับร้อยต้องจอดนิ่ง ขณะที่รถทัวร์โดยสารเตรียมปรับราคาเช่นกัน “เครือข่ายแรงงานฯ”ออกแถลงการณ์จี้รัฐบาล “หมัก” เร่งแก้วิกฤตการณ์ข้าวยากหมากแพง นัดรวมพลังกดดัน 20 พ.ค.นี้
หลังจากน้ำมันมีการปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนทุกอาชีพสาขาและผู้ประกอบการด้านต่างๆ ต่างได้รับความเดือดร้อนกันเป็นระบบลูกโซ่ โดยเฉพาะผู้ประกอบการด้านการขนส่งมวลชนทั่วประเทศและผู้ใช้บริการรถโดยสาร
จากการสำรวจและสอบถามบรรดาคนขับรถสี่ล้อแดงใน จ.เชียงใหม่ ได้รับการเปิดเผยว่า แม้ขณะนี้จะมีการเสนอขอขึ้นราคาค่าโดยสารจาก 15 บาทเป็น 20 บาทไปแล้วแต่ก็ยังไม่ได้รับอนุมัติอย่างเป็นทางการ แต่อย่างไรก็ตาม ในสภาพความเป็นจริงแล้วจะไม่มีรถโดยสารคันใดที่จะมารอคำสั่งอนุมัติดังกล่าว เนื่องจากราคาน้ำมันนั้นมีการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้น รถรับจ้างแต่ละคันจึงใช้วิธีเรียกราคาค่าโดยสารกันเองแล้วแต่ผู้โดยสารจะให้ส่งเส้นทางไหน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเสนอราคาต่ำสุดที่ 20 บาทอยู่แล้วถ้าคนนั่งน้อยก็จะเรียกกันที่ 30-40 บาท แต่ถ้ามีคนนั่งอยู่แล้วประมาณ 4-5 คนขึ้นไปก็จะเรียกราคาจากคนที่เพิ่มทีหลังเป็น 20 บาท
นอกจากนี้ จะมีการจอดรถไว้ตามจุดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตามใต้ต้นไม้หรือไม่ก็ตามจุดชุมนุมชนต่างๆ ที่สามารถจอดรถได้เพื่อประหยัดน้ำมัน โดยจะออกวิ่งก็ต่อเมื่ออยู่ในช่วงเวลาคนเข้างานหรือไม่ก็เลิกงานเป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มผู้ขับรถสี่ล้อแดงหลายรายได้มีการพูดคุยและปรึกษากันว่า หากราคาน้ำมันเป็นอย่างนี้ก็จะขายรถหรือไม่ก็หยุดขับหันไปประกอบอาชีพอื่นอย่างเช่นหันไปปลูกข้าวแทน
***ปธ.รถสี่ล้อแดงจี้ขึ้นค่าโดยสาร
นายต่อน วงศ์แก้ว ประธานสหกรณ์นครลานนาเดินรถ จำกัด ซึ่งมีสมาชิกเป็นรถสี่ล้อแดงรับจ้างที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารในตัวเมืองเชียงใหม่กว่า 2,000 คัน เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอให้พิจารณาอนุมัติให้รถสี่ล้อแดงรับจ้างปรับขึ้นราคาค่าโดยสารจากเดิมคนละ 15 บาท ตลอดเส้นทาง เป็นคนละ 20 บาท เนื่องจากแบกรับภาระต้นทุนน้ำมันดีเซลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่ไหว
"ตอนนี้น้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักของรถสี่ล้อแดงรับจ้าง มันแพงขึ้นจนเวลานี้มีราคาลิตรละเกือบ 37 บาทแล้ว ทำให้สมาชิกไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นได้ เพราะจากเดิมที่เคยมีต้นทุนเป็นค่าน้ำมันวันละประมาณ 200 บาท แต่ปัจจุบันต้นทุนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นวันละประมาณ 500 บาทแล้ว ในขณะที่รายได้ยังคงเท่าเดิมเฉลี่ยวันละประมาณ 700 บาท ทำให้ในแต่ละวันมีรายได้เหลือไม่เพียงพอเลี้ยงดูครอบครัว ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่พิจารณาอนุมัติให้มีการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารเป็นคนละ 20 บาท ตลอดเส้นทาง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของรถสี่ล้อแดงรับจ้าง" ประธานสหกรณ์นครลานนาเดินรถ จำกัด กล่าว
นายชาญชัย กีฬาแปง ขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงการขอขึ้นราคาค่าโดยสารของรถสี่ล้อแดงรับจ้างว่า เข้าใจและเห็นใจในความเดือดร้อนของรถสี่ล้อแดงรับจ้าง โดยในเบื้องต้นได้รับข้อเรียกร้องของทางสหกรณ์นครลานนาเดินรถ จำกัด ที่ต้องการขอปรับขึ้นราคาค่าโดยสารไว้ก่อน แต่ยังไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ เนื่องจากขณะนี้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่ ชุดเดิมได้หมดวาระลงไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 11 ก.พ.51 ที่ผ่านมา และเวลานี้กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการแต่งตั้งขึ้นใหม่โดยกระทรวงคมนาคม คาดว่าจะแต่งตั้งได้แล้วเสร็จภายในเดือนนี้ ซึ่งหลังจากนั้นจึงจะสามารถทำการพิจารณาในเรื่องนี้ได้
ทั้งนี้ ในช่วงที่ยังไม่มีการอนุมัติให้ขึ้นราคาค่าโดยสารได้นั้น ได้ขอความร่วมมือจากรถสี่ล้อแดงรับจ้างให้คงราคาค่าโดยสารไว้เท่าเดิมก่อน จนกว่าจะได้รับการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกให้ขึ้นราคาได้ โดยในช่วงนี้หากพบว่ามีการร้องเรียนจากผู้โดยสารว่ารถสี่ล้อแดงรับจ้างมีการปรับขึ้นราคาไปก่อนโดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตก็จะมีความผิดและต้องถูกดำเนินการลงโทษ
สำหรับการขอขึ้นราคาค่าโดยสารของรถสี่ล้อแดงรับจ้างในครั้งนี้นั้น ขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า สามารถทำได้เพราะเป็นไปตามมติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่ ที่เคยมีมติเมื่อปี 2548 ซึ่งกำหนดราคาค่าโดยสารของรถสี่ล้อแดงรับจ้างไว้ที่คนละ 15 บาท ตลอดเส้นทาง พร้อมมีเงื่อนไขว่าสามารถขอปรับขึ้นราคาได้อีกหากราคาน้ำมันดีเซลมีการปรับราคาสูงขึ้นถึงลิตรละ 35 บาท
***รถเชียงรายจ่อขึ้นค่าโดยสารอีก
ด้าน จ.เชียงราย จากการสอบถามบรรดาผู้ขับรถรับจ้างต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ระหว่างรอการปรับราคาตามที่สหกรณ์เดินรถเชียงรายได้ทำหนังสือไปแล้วนั้นแม้จะยังไม่ได้รับคำตอบก็มีการปรับราคากันไปแล้วโดยเป็นการตดลงราคากันเองระหว่างผู้โดยสารกับคนขับรถ ส่วนที่ต้องประหยัดและลดต้นทุนกันเองนั้นบางรายก็หยุดวิ่งจะวิ่งเฉพาะช่วงเร่งด่วน แต่ที่ประหยัดเหมือนกันก็คือ การเปลี่ยนยางที่จะต้องยืดระยะเวลาเปลี่ยนออกไปอีกแต่ก็ดูแลอย่างดี หรือการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องต่าง ๆ ก็จะยืดระยะเวลาออกจะเปลี่ยนก็ต่อเมื่อมันหมดจริง ๆ หรือไม่สามารถใช้ได้แล้วเป็นต้น
นายถาวร เหรียญตระกูลชัย ขนส่งจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ขณะนี้รถโดยสารร่วมที่แล่นระหว่างตัวอำเภอใน จ.เชียงราย เริ่มมาขอขึ้นค่าบริการราว ก.ม.ละ 33 สตางค์ ซึ่งยังต้องรอคำสั่งจากกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงคมนาคม ที่จะสั่งผ่านคณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ให้ขึ้นราคาได้ ซึ่งคาดว่าจะทราบผลให้ขึ้นราคาได้ราววันศุกร์ที่ 23 พ.ค.นี้ และน่าจะปรับราคาขึ้นได้ เพราะราคาของรถร่วมที่ใช้อยู่คือราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 29 บาท
"แต่ขณะนี้น้ำมันดีเซลแตะระดับเกือบ 40 บาท ทำให้ผู้ประกอบการรถอยู่ไม่ได้ ส่วนรถทัวร์ที่แล่นระหว่างจังหวัดจะมีการปรับขึ้นตามมติที่ประชุม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงคมนาคม เช่นกันและน่าจะปรับขึ้นในเร็วๆ นี้ ส่วนปั๊มแก๊ส NGV ยังไม่มีเปิดบริการ จึงเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่มีรถขนาดใหญ่ที่ต้องการติดแก๊สเอ็นจีวี ตามแนวนโยบายของรัฐบาล จะมีก็แต่รถยนต์ขนาดเล็กที่หันมาติดตั้งแก๊สแอลพีจีมากกว่าเพราะอย่างน้อยก็มีปั๊มรองรับ
***โดยสารไทย-ลาวจี้ขยาย NGV
ทางด้านนายยิ้ม กุศล ผู้จัดการรถโดยสารข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว จ.หนองคาย เผยว่า ภาวะน้ำมันแพงในปัจจุบันนี้ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้ให้บริการรถโดยสาร ซึ่งจะต้องเติมน้ำมันเพื่อให้บริการประชาชนทุกวัน โดยมีรถบัสโดยสารข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 6 คัน ก่อนหน้านี้เติมน้ำมันวันละ 5,000 บาท แต่ขณะนี้ยอดการเติมน้ำมันเพิ่มขึ้นเท่าตัว รถ 6 คันต้องเติมน้ำมันถึง 10,000 บาท/วัน ส่วนราคาค่าโดยสารยังคงเดิมอยู่ที่คนละ 15 บาท บวกค่าล่วงเวลาอีก 5 บาท รวมเป็นค่าโดยสารคนละ 20 บาท ไม่สามารถปรับราคาขึ้นได้เนื่องจากเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว
ก่อนหน้านี้ตั้งแต่ครั้งเปิดใช้สะพานมิตรภาพฯใหม่ ๆ ในแต่ละวันจะมีประชาชนใช้บริการข้ามไปมาวันละ 300-400 คน ซึ่งขณะนั้นน้ำมันยังมีราคาถูก แม้คนใช้บริการจะไม่มากแต่ต้นทุนก็ไม่สูง ทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้ดี แต่ขณะนี้คนใช้บริการแม้จะเพิ่มขึ้นจากเดิมบ้างประมาณร้อยละ 10 หรือวันละประมาณ 500-600 คน แต่ขณะเดียวกันน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนหลักก็เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผลตอบแทนหรือรายได้ที่ผู้ประกอบการได้รับไม่ได้ต่างจากเดิม และอาจจะน้อยลงกว่าเดิมด้วยซ้ำ
อีกทั้งขณะนี้พบว่ามีผู้ประกอบการรถตู้ ซึ่งนำรถไปติดตั้งแก๊ส NGV แล้วมาให้บริการด้วยการคิดค่าบริการเหมาจากชาวลาวหรือนักท่องเที่ยวถูกกว่า รถตู้ที่เติมน้ำมันแบบเดิม เช่น ผู้โดยสารเหมาจากหนองคาย ไปยังสนามบินอุดรธานี เดิมรถตู้เติมน้ำมันธรรมดา คิดอัตราเหมาคันละ 1,500 บาท แต่รถตู้ติดแก๊ส NGV มาตัดราคา คิดอัตราเหมาคันละ 1,000 บาท ทำให้ลูกค้าหันไปใช้บริการรถตู้ติดแก๊ส NGV กันมากขึ้น
โดยความแตกต่างตรงจุดนี้เป็นสิ่งที่ต้องมีการปรับให้เหมาะสม ผู้ประกอบการรถบัสโดยสาร หรือรถตู้เองก็มีความต้องการหันมาใช้พลังงานทดแทน ประเภทแก๊ส NGV แทนเติมน้ำมันเช่นเดิม แต่ปรากฏว่าราคาเครื่องยนต์สำหรับรถบรรทุก รถขนส่งสินค้า และรถโดยสารขนาดใหญ่ ที่จะต้องซื้อติดตั้งใหม่ในระบบแก๊ส NGC มีราคาแพงมากถึงเครื่องละ 1 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมค่าอุปกรณ์ติดตั้ง ค่าแรงช่างติดตั้งอีก เฉลี่ยแล้วหากเปลี่ยนจากเครื่องยนต์แบบเดิมมาเป็นเครื่องยนต์ NGV เจ้าของรถต้องลงทุนช่วงติดตั้งครั้งแรกไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านบาท ส่วนรถยนต์ขนาดเล็กราคาก็จะถูกลงมาอีกขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องยนต์
***โวยหนองคายไม่มีปั้มแก๊ส NGV
นายยิ้ม กล่าวอีกว่า แม้ว่าผู้ประกอบการจะเปลี่ยนมาใช้แก๊ส NGV กันมากขึ้นแต่ก็ประสบปัญหาว่าในพื้นที่ จ.หนองคาย ไม่มีปั๊มน้ำมันที่ให้บริการเติมแก๊ส NGV ได้เลยแม้แต่รายเดียว ขณะเดียวกันการที่รัฐบาลส่งเสริมให้ใช้พลังงานทดแทน ให้คนหันมาใช้แก๊ส NGV กันมากขึ้น แต่กลับไม่มีสถานีบริการแก๊สที่เพียงพอ ชาวหนองคายจะต้องขับรถไปเติมแก๊ส NGV ที่ จ.อุดรธานี หรือจังหวัดอื่น ๆ ที่มีปั๊มบริการ จึงเป็นปัญหาที่ไม่สอดคล้องกัน อยากให้รัฐบาลพิจารณาเพิ่มสถานีบริการแก๊ส NGV ให้ครอบคลุมทุกจังหวัด และต้องการให้รัฐบาลพิจารณาว่าเพราะเหตุใดเครื่องยนต์ติดตั้งแก๊ส NGV จึงมีราคาแพงขนาดนั้น
"หากสามารถปรับลดราคาลงได้จะเป็นประโยชน์ต่อการขนส่งมวลชน เพราะผู้ประกอบการเดินรถหลายแห่งต้องการติดตั้งแก๊ส NGV เพราะทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 3 เท่า และเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว แต่ต้องเป็นผู้ประกอบการที่มีเงินทุนหมุนเวียนจำนวนมากถึงจะสามารถลงทุนเปลี่ยนเครื่องยนต์ที่มีราคาแพงเช่นนั้นได้ จึงอยากจะให้รัฐบาลหันมาช่วยเหลือและสนับสนุนในทางที่จะช่วยได้ เพราะนับวันราคาน้ำมันมีแต่จะพุ่งสูงขึ้น หากประชาชนมีความต้องการใช้พลังงานทดแทนตามที่รัฐเสนอ แต่รัฐกลับไม่สนองความต้องการของประชาชนให้เพียงพอก็ไม่ทำให้เกิดประโยชน์เท่าใดนัก" นายยิ้ม กล่าว
***รถทัวร์ ตอ.เตรียมขึ้นอีก1บาท
นายสุวัฒน์ พั่วคูขาม หัวหน้าเดินรถบริษัทเชิดชัยทัวร์ สาขาแกลง จำกัด กล่าวว่า บริษัทของตนจะเดินรถในเส้นทางสามย่าน จันทบุรี ตราด กรุงเทพฯ ขณะนี้ยังใช้ราคาค่าโดยสารเดิมที่ปรับขึ้นมาตั้งแต่เมื่อ 8 เดือนที่แล้ว ซึ่งไม่คุ้มกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อเนื่อง หากทางกรมการขนส่งทางบกอนุมัติให้ปรับให้ขึ้นราคาค่าโดยสารเพิ่มอีก 1 บาทก็จะสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการได้บ้าง ซึ่งขณะนี้ทราบว่าทาง ขสมก.จะมีการปรับราคากันอีก ซึ่งจริงแล้วควรที่จะมีการปรับกันทั้งประเทศ เพราะราคาน้ำมันขึ้นเหมือนทุกทีเดือนร้อน
ด้านนายสมควร นาหงส์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีราชา ทัวร์ เผยว่า ทางบริษัทของตนขณะนี้ยังไม่ได้ปรับราคาค่าโดยสาร แม้ว่าทางกรมการขนส่งจะมีมติ ครม.ที่เตรียมจะปรับขึ้นค่าโดยสารอีก 1 บาท เพราะทางศรีราชาทัวร์ได้ติดตั้งถังก๊าซ NGV ให้กับรถโดยสารในบริษัทไปแล้ว 30 คัน หรือกว่า 80%
ดังนั้น การปรับหรือไม่ปรับราคาค่าโดยสารจึงไม่ส่งผลกระทบกับบริษัทของตน ทั้งนี้ เพราะศรีราชา ทัวร์ ได้เตรียมการรับมือกับราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นจาก 22 บาทจนถึงราคาปัจจุบัน โดยการลงทุนกว่าหลายล้านบาทเพื่อยกเครื่องใหม่ให้กับรถโดยสารในบริษัทสำหรับรองรับการเติมก๊าซ NGV โดยตรง และเปิดอู่ที่มีใบอนุญาตได้มาตรฐานในการติดตั้งก๊าซให้กับรถขนาดใหญ่ รวมถึงในอนาคตทางบริษัทยังมีโครงการเปิดจุดจำหน่ายก๊าซ NGV 16 หัวจ่าย เพื่อให้บริการแก่รถที่ติดตั้งก๊าซ NGV ด้วย
นายมานิตย์ บุบฝาชาติ ประธานชมรมเรือประมงจังหวัดชลบุรีเผยว่า ขณะนี้บรรดาเจ้าของเรือประมงขนาดกลางและเล็กในชมรมฯประมาณ 180 ลำ จอดนิ่งที่บริเวณสะพานปลาต่างๆ ในเขต จ.ชลบุรี เพราะต้องประสบกับภาวะน้ำมันแพงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน ขณะที่อาหารทะเลประเภทกุ้ง หอย ปู ปลา ที่หามาได้ราคากลับคงที่ ทำให้เกิดภาวะขาดทุนต่อเนื่อง บรรดาเจ้าของเรือประมงเกือบทุกรายจึงหยุดออกเรือหาปลา
นายฐิติกร โลหะคุปต์ นายกสมาคมประมงจังหวัดตราด และเลขาธิการสมาคมประมงแห่งประเทศไทย เผยว่า ขณะนี้ราคาน้ำมันดีเซลสูงมากและน้ำมันดีเซลเป็นน้ำมันที่ชาวประมงใช้ในการประกอบอาชีพ ทำให้ต้นทุนในการประกอบอาชีพมีสูงขึ้น จนขณะนี้เรือประมงเริ่มจอดไม่ออกหาปลากันบ้างแล้ว เพราะนอกจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้นแล้วจำนวนปลาในท้องทะเลตราดก็เริ่มลดน้อยลงไปด้วย ทำให้การประกอบอาชีพไม่คุ้มกับต้นทุนที่สูง ผู้ประกอบการประมงหลายรายถึงกับขายเรือเพื่อเปลี่ยนอาชีพ และมีจำนวนไม่น้อยที่ต้องหันไปจับปลาในทะเลที่ภาคใต้แทน
"ในกลุ่มเรือประมงจึงอยากให้ภาครัฐช่วยหาทางแก้ไขและควบคุมราคาน้ำมัน พร้อมกับขอให้ช่วยเหลือในเรื่องของการนำน้ำมันเขียวมาขายซึ่งจะมีราคาถูกกว่าปกติลิตรละ 2-3 บาทด้วย" นายฐิติกร กล่าว
***เครือข่ายแรงงานนัดม็อบบีบ”หมัก”
วานนี้ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสมพันธ์ เครือข่ายคนไร้บ้าน เครือข่ายสลัม 4 ภาคและกลุ่มสมัชชาคนจน ร่วมออกแถลงการณ์เครือข่ายประชาชนฉบับที่ 1 “หยุดสินค้าราคาแพง ประกันราคาผลผลิตที่เป็นธรรม ค่าจ้างแรงงานต้องสมดุลกับค่าครองชีพ”
นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรส.) กล่าวว่า ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ค่าแรงขั้นต่ำขึ้นเพียง 2-11 บาท แต่ราคาอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร ข้าวแกง ไข่ น้ำมันพืช น้ำตาล ก๊าซหุงต้ม ราคาสูงขึ้นร้อยละ 70-120 ค่าเดินทางขนส่งมวลชนทุกชนิดเพิ่มสูงขึ้น
ขณะเดียวกัน ราคาสินค้าผลผลิตทางการเกษตร มีราคาผันผวน เกษตรกรต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นเกือบเท่าตัว สะท้อนให้เห็นถึงปรากฏการณ์ข้าวยากหมากแพง ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยกลไกตลาดเสรี จึงเรียกร้องให้รัฐบาล เข้ามาแก้ไขวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ด้วยการกำหนดมาตรการแทรกแซงราคา ทั้งในส่วนของผู้ผลิต และผู้บริโภคอย่างเป็นธรรม รวมทั้งค่าจ้างต้องสมดุลกับค่าครองชีพ
สำหรับแถลงการณ์ดังกล่าวมีข้อเรียกร้องรัฐบาล ดังนี้ หมวดสินค้าอุปโภค บริโภค ขอให้แทรกแซงและควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็น เช่น ข้าวสาร ไข่ไก่ น้ำมันพืช น้ำตาล ก๊าซหุงต้มและอื่นๆ ให้กำหนดราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เป็นธรรม และกระจายสินค้าให้เข้าถึงคนจนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน ผ่านกลไกองค์การประชาชน เช่น สหกรณ์ สหภาพแรงงาน ส่วนหมวดสินค้าผลผลิตเกษตร ให้ควบคุมราคาปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย สารเคมีการเกษตร ประกันราคารับซื้อข้าวเปลือกและผลผลิตการเกษตร ขณะที่หมวดค่าจ้างแรงงานจะต้องปรับค่าแรงงานขั้นต่ำให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ โดยค่าแรงงานขั้นต่ำจะต้องเท่ากันทั่วประเทศ ต้องดูแลแรงงานนอกระบบให้ได้รับความเป็นธรรม
“ในวันที่ 20 พ.ค.นี้เวลา 09.00 น.เครือข่ายแรงงานและเครือข่ายภาคประชาชน นัดชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อแสดงพลังและเดินทางไปยื่นหนังสือเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล คาดว่าจะมีผู้ร่วมชุมนุมประมาณ 2,000 คน” นายสาวิทย์ กล่าว
หลังจากน้ำมันมีการปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนทุกอาชีพสาขาและผู้ประกอบการด้านต่างๆ ต่างได้รับความเดือดร้อนกันเป็นระบบลูกโซ่ โดยเฉพาะผู้ประกอบการด้านการขนส่งมวลชนทั่วประเทศและผู้ใช้บริการรถโดยสาร
จากการสำรวจและสอบถามบรรดาคนขับรถสี่ล้อแดงใน จ.เชียงใหม่ ได้รับการเปิดเผยว่า แม้ขณะนี้จะมีการเสนอขอขึ้นราคาค่าโดยสารจาก 15 บาทเป็น 20 บาทไปแล้วแต่ก็ยังไม่ได้รับอนุมัติอย่างเป็นทางการ แต่อย่างไรก็ตาม ในสภาพความเป็นจริงแล้วจะไม่มีรถโดยสารคันใดที่จะมารอคำสั่งอนุมัติดังกล่าว เนื่องจากราคาน้ำมันนั้นมีการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้น รถรับจ้างแต่ละคันจึงใช้วิธีเรียกราคาค่าโดยสารกันเองแล้วแต่ผู้โดยสารจะให้ส่งเส้นทางไหน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเสนอราคาต่ำสุดที่ 20 บาทอยู่แล้วถ้าคนนั่งน้อยก็จะเรียกกันที่ 30-40 บาท แต่ถ้ามีคนนั่งอยู่แล้วประมาณ 4-5 คนขึ้นไปก็จะเรียกราคาจากคนที่เพิ่มทีหลังเป็น 20 บาท
นอกจากนี้ จะมีการจอดรถไว้ตามจุดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตามใต้ต้นไม้หรือไม่ก็ตามจุดชุมนุมชนต่างๆ ที่สามารถจอดรถได้เพื่อประหยัดน้ำมัน โดยจะออกวิ่งก็ต่อเมื่ออยู่ในช่วงเวลาคนเข้างานหรือไม่ก็เลิกงานเป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มผู้ขับรถสี่ล้อแดงหลายรายได้มีการพูดคุยและปรึกษากันว่า หากราคาน้ำมันเป็นอย่างนี้ก็จะขายรถหรือไม่ก็หยุดขับหันไปประกอบอาชีพอื่นอย่างเช่นหันไปปลูกข้าวแทน
***ปธ.รถสี่ล้อแดงจี้ขึ้นค่าโดยสาร
นายต่อน วงศ์แก้ว ประธานสหกรณ์นครลานนาเดินรถ จำกัด ซึ่งมีสมาชิกเป็นรถสี่ล้อแดงรับจ้างที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารในตัวเมืองเชียงใหม่กว่า 2,000 คัน เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอให้พิจารณาอนุมัติให้รถสี่ล้อแดงรับจ้างปรับขึ้นราคาค่าโดยสารจากเดิมคนละ 15 บาท ตลอดเส้นทาง เป็นคนละ 20 บาท เนื่องจากแบกรับภาระต้นทุนน้ำมันดีเซลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่ไหว
"ตอนนี้น้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักของรถสี่ล้อแดงรับจ้าง มันแพงขึ้นจนเวลานี้มีราคาลิตรละเกือบ 37 บาทแล้ว ทำให้สมาชิกไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นได้ เพราะจากเดิมที่เคยมีต้นทุนเป็นค่าน้ำมันวันละประมาณ 200 บาท แต่ปัจจุบันต้นทุนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นวันละประมาณ 500 บาทแล้ว ในขณะที่รายได้ยังคงเท่าเดิมเฉลี่ยวันละประมาณ 700 บาท ทำให้ในแต่ละวันมีรายได้เหลือไม่เพียงพอเลี้ยงดูครอบครัว ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่พิจารณาอนุมัติให้มีการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารเป็นคนละ 20 บาท ตลอดเส้นทาง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของรถสี่ล้อแดงรับจ้าง" ประธานสหกรณ์นครลานนาเดินรถ จำกัด กล่าว
นายชาญชัย กีฬาแปง ขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงการขอขึ้นราคาค่าโดยสารของรถสี่ล้อแดงรับจ้างว่า เข้าใจและเห็นใจในความเดือดร้อนของรถสี่ล้อแดงรับจ้าง โดยในเบื้องต้นได้รับข้อเรียกร้องของทางสหกรณ์นครลานนาเดินรถ จำกัด ที่ต้องการขอปรับขึ้นราคาค่าโดยสารไว้ก่อน แต่ยังไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ เนื่องจากขณะนี้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่ ชุดเดิมได้หมดวาระลงไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 11 ก.พ.51 ที่ผ่านมา และเวลานี้กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการแต่งตั้งขึ้นใหม่โดยกระทรวงคมนาคม คาดว่าจะแต่งตั้งได้แล้วเสร็จภายในเดือนนี้ ซึ่งหลังจากนั้นจึงจะสามารถทำการพิจารณาในเรื่องนี้ได้
ทั้งนี้ ในช่วงที่ยังไม่มีการอนุมัติให้ขึ้นราคาค่าโดยสารได้นั้น ได้ขอความร่วมมือจากรถสี่ล้อแดงรับจ้างให้คงราคาค่าโดยสารไว้เท่าเดิมก่อน จนกว่าจะได้รับการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกให้ขึ้นราคาได้ โดยในช่วงนี้หากพบว่ามีการร้องเรียนจากผู้โดยสารว่ารถสี่ล้อแดงรับจ้างมีการปรับขึ้นราคาไปก่อนโดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตก็จะมีความผิดและต้องถูกดำเนินการลงโทษ
สำหรับการขอขึ้นราคาค่าโดยสารของรถสี่ล้อแดงรับจ้างในครั้งนี้นั้น ขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า สามารถทำได้เพราะเป็นไปตามมติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่ ที่เคยมีมติเมื่อปี 2548 ซึ่งกำหนดราคาค่าโดยสารของรถสี่ล้อแดงรับจ้างไว้ที่คนละ 15 บาท ตลอดเส้นทาง พร้อมมีเงื่อนไขว่าสามารถขอปรับขึ้นราคาได้อีกหากราคาน้ำมันดีเซลมีการปรับราคาสูงขึ้นถึงลิตรละ 35 บาท
***รถเชียงรายจ่อขึ้นค่าโดยสารอีก
ด้าน จ.เชียงราย จากการสอบถามบรรดาผู้ขับรถรับจ้างต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ระหว่างรอการปรับราคาตามที่สหกรณ์เดินรถเชียงรายได้ทำหนังสือไปแล้วนั้นแม้จะยังไม่ได้รับคำตอบก็มีการปรับราคากันไปแล้วโดยเป็นการตดลงราคากันเองระหว่างผู้โดยสารกับคนขับรถ ส่วนที่ต้องประหยัดและลดต้นทุนกันเองนั้นบางรายก็หยุดวิ่งจะวิ่งเฉพาะช่วงเร่งด่วน แต่ที่ประหยัดเหมือนกันก็คือ การเปลี่ยนยางที่จะต้องยืดระยะเวลาเปลี่ยนออกไปอีกแต่ก็ดูแลอย่างดี หรือการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องต่าง ๆ ก็จะยืดระยะเวลาออกจะเปลี่ยนก็ต่อเมื่อมันหมดจริง ๆ หรือไม่สามารถใช้ได้แล้วเป็นต้น
นายถาวร เหรียญตระกูลชัย ขนส่งจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ขณะนี้รถโดยสารร่วมที่แล่นระหว่างตัวอำเภอใน จ.เชียงราย เริ่มมาขอขึ้นค่าบริการราว ก.ม.ละ 33 สตางค์ ซึ่งยังต้องรอคำสั่งจากกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงคมนาคม ที่จะสั่งผ่านคณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ให้ขึ้นราคาได้ ซึ่งคาดว่าจะทราบผลให้ขึ้นราคาได้ราววันศุกร์ที่ 23 พ.ค.นี้ และน่าจะปรับราคาขึ้นได้ เพราะราคาของรถร่วมที่ใช้อยู่คือราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 29 บาท
"แต่ขณะนี้น้ำมันดีเซลแตะระดับเกือบ 40 บาท ทำให้ผู้ประกอบการรถอยู่ไม่ได้ ส่วนรถทัวร์ที่แล่นระหว่างจังหวัดจะมีการปรับขึ้นตามมติที่ประชุม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงคมนาคม เช่นกันและน่าจะปรับขึ้นในเร็วๆ นี้ ส่วนปั๊มแก๊ส NGV ยังไม่มีเปิดบริการ จึงเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่มีรถขนาดใหญ่ที่ต้องการติดแก๊สเอ็นจีวี ตามแนวนโยบายของรัฐบาล จะมีก็แต่รถยนต์ขนาดเล็กที่หันมาติดตั้งแก๊สแอลพีจีมากกว่าเพราะอย่างน้อยก็มีปั๊มรองรับ
***โดยสารไทย-ลาวจี้ขยาย NGV
ทางด้านนายยิ้ม กุศล ผู้จัดการรถโดยสารข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว จ.หนองคาย เผยว่า ภาวะน้ำมันแพงในปัจจุบันนี้ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้ให้บริการรถโดยสาร ซึ่งจะต้องเติมน้ำมันเพื่อให้บริการประชาชนทุกวัน โดยมีรถบัสโดยสารข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 6 คัน ก่อนหน้านี้เติมน้ำมันวันละ 5,000 บาท แต่ขณะนี้ยอดการเติมน้ำมันเพิ่มขึ้นเท่าตัว รถ 6 คันต้องเติมน้ำมันถึง 10,000 บาท/วัน ส่วนราคาค่าโดยสารยังคงเดิมอยู่ที่คนละ 15 บาท บวกค่าล่วงเวลาอีก 5 บาท รวมเป็นค่าโดยสารคนละ 20 บาท ไม่สามารถปรับราคาขึ้นได้เนื่องจากเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว
ก่อนหน้านี้ตั้งแต่ครั้งเปิดใช้สะพานมิตรภาพฯใหม่ ๆ ในแต่ละวันจะมีประชาชนใช้บริการข้ามไปมาวันละ 300-400 คน ซึ่งขณะนั้นน้ำมันยังมีราคาถูก แม้คนใช้บริการจะไม่มากแต่ต้นทุนก็ไม่สูง ทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้ดี แต่ขณะนี้คนใช้บริการแม้จะเพิ่มขึ้นจากเดิมบ้างประมาณร้อยละ 10 หรือวันละประมาณ 500-600 คน แต่ขณะเดียวกันน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนหลักก็เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผลตอบแทนหรือรายได้ที่ผู้ประกอบการได้รับไม่ได้ต่างจากเดิม และอาจจะน้อยลงกว่าเดิมด้วยซ้ำ
อีกทั้งขณะนี้พบว่ามีผู้ประกอบการรถตู้ ซึ่งนำรถไปติดตั้งแก๊ส NGV แล้วมาให้บริการด้วยการคิดค่าบริการเหมาจากชาวลาวหรือนักท่องเที่ยวถูกกว่า รถตู้ที่เติมน้ำมันแบบเดิม เช่น ผู้โดยสารเหมาจากหนองคาย ไปยังสนามบินอุดรธานี เดิมรถตู้เติมน้ำมันธรรมดา คิดอัตราเหมาคันละ 1,500 บาท แต่รถตู้ติดแก๊ส NGV มาตัดราคา คิดอัตราเหมาคันละ 1,000 บาท ทำให้ลูกค้าหันไปใช้บริการรถตู้ติดแก๊ส NGV กันมากขึ้น
โดยความแตกต่างตรงจุดนี้เป็นสิ่งที่ต้องมีการปรับให้เหมาะสม ผู้ประกอบการรถบัสโดยสาร หรือรถตู้เองก็มีความต้องการหันมาใช้พลังงานทดแทน ประเภทแก๊ส NGV แทนเติมน้ำมันเช่นเดิม แต่ปรากฏว่าราคาเครื่องยนต์สำหรับรถบรรทุก รถขนส่งสินค้า และรถโดยสารขนาดใหญ่ ที่จะต้องซื้อติดตั้งใหม่ในระบบแก๊ส NGC มีราคาแพงมากถึงเครื่องละ 1 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมค่าอุปกรณ์ติดตั้ง ค่าแรงช่างติดตั้งอีก เฉลี่ยแล้วหากเปลี่ยนจากเครื่องยนต์แบบเดิมมาเป็นเครื่องยนต์ NGV เจ้าของรถต้องลงทุนช่วงติดตั้งครั้งแรกไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านบาท ส่วนรถยนต์ขนาดเล็กราคาก็จะถูกลงมาอีกขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องยนต์
***โวยหนองคายไม่มีปั้มแก๊ส NGV
นายยิ้ม กล่าวอีกว่า แม้ว่าผู้ประกอบการจะเปลี่ยนมาใช้แก๊ส NGV กันมากขึ้นแต่ก็ประสบปัญหาว่าในพื้นที่ จ.หนองคาย ไม่มีปั๊มน้ำมันที่ให้บริการเติมแก๊ส NGV ได้เลยแม้แต่รายเดียว ขณะเดียวกันการที่รัฐบาลส่งเสริมให้ใช้พลังงานทดแทน ให้คนหันมาใช้แก๊ส NGV กันมากขึ้น แต่กลับไม่มีสถานีบริการแก๊สที่เพียงพอ ชาวหนองคายจะต้องขับรถไปเติมแก๊ส NGV ที่ จ.อุดรธานี หรือจังหวัดอื่น ๆ ที่มีปั๊มบริการ จึงเป็นปัญหาที่ไม่สอดคล้องกัน อยากให้รัฐบาลพิจารณาเพิ่มสถานีบริการแก๊ส NGV ให้ครอบคลุมทุกจังหวัด และต้องการให้รัฐบาลพิจารณาว่าเพราะเหตุใดเครื่องยนต์ติดตั้งแก๊ส NGV จึงมีราคาแพงขนาดนั้น
"หากสามารถปรับลดราคาลงได้จะเป็นประโยชน์ต่อการขนส่งมวลชน เพราะผู้ประกอบการเดินรถหลายแห่งต้องการติดตั้งแก๊ส NGV เพราะทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 3 เท่า และเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว แต่ต้องเป็นผู้ประกอบการที่มีเงินทุนหมุนเวียนจำนวนมากถึงจะสามารถลงทุนเปลี่ยนเครื่องยนต์ที่มีราคาแพงเช่นนั้นได้ จึงอยากจะให้รัฐบาลหันมาช่วยเหลือและสนับสนุนในทางที่จะช่วยได้ เพราะนับวันราคาน้ำมันมีแต่จะพุ่งสูงขึ้น หากประชาชนมีความต้องการใช้พลังงานทดแทนตามที่รัฐเสนอ แต่รัฐกลับไม่สนองความต้องการของประชาชนให้เพียงพอก็ไม่ทำให้เกิดประโยชน์เท่าใดนัก" นายยิ้ม กล่าว
***รถทัวร์ ตอ.เตรียมขึ้นอีก1บาท
นายสุวัฒน์ พั่วคูขาม หัวหน้าเดินรถบริษัทเชิดชัยทัวร์ สาขาแกลง จำกัด กล่าวว่า บริษัทของตนจะเดินรถในเส้นทางสามย่าน จันทบุรี ตราด กรุงเทพฯ ขณะนี้ยังใช้ราคาค่าโดยสารเดิมที่ปรับขึ้นมาตั้งแต่เมื่อ 8 เดือนที่แล้ว ซึ่งไม่คุ้มกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อเนื่อง หากทางกรมการขนส่งทางบกอนุมัติให้ปรับให้ขึ้นราคาค่าโดยสารเพิ่มอีก 1 บาทก็จะสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการได้บ้าง ซึ่งขณะนี้ทราบว่าทาง ขสมก.จะมีการปรับราคากันอีก ซึ่งจริงแล้วควรที่จะมีการปรับกันทั้งประเทศ เพราะราคาน้ำมันขึ้นเหมือนทุกทีเดือนร้อน
ด้านนายสมควร นาหงส์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีราชา ทัวร์ เผยว่า ทางบริษัทของตนขณะนี้ยังไม่ได้ปรับราคาค่าโดยสาร แม้ว่าทางกรมการขนส่งจะมีมติ ครม.ที่เตรียมจะปรับขึ้นค่าโดยสารอีก 1 บาท เพราะทางศรีราชาทัวร์ได้ติดตั้งถังก๊าซ NGV ให้กับรถโดยสารในบริษัทไปแล้ว 30 คัน หรือกว่า 80%
ดังนั้น การปรับหรือไม่ปรับราคาค่าโดยสารจึงไม่ส่งผลกระทบกับบริษัทของตน ทั้งนี้ เพราะศรีราชา ทัวร์ ได้เตรียมการรับมือกับราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นจาก 22 บาทจนถึงราคาปัจจุบัน โดยการลงทุนกว่าหลายล้านบาทเพื่อยกเครื่องใหม่ให้กับรถโดยสารในบริษัทสำหรับรองรับการเติมก๊าซ NGV โดยตรง และเปิดอู่ที่มีใบอนุญาตได้มาตรฐานในการติดตั้งก๊าซให้กับรถขนาดใหญ่ รวมถึงในอนาคตทางบริษัทยังมีโครงการเปิดจุดจำหน่ายก๊าซ NGV 16 หัวจ่าย เพื่อให้บริการแก่รถที่ติดตั้งก๊าซ NGV ด้วย
นายมานิตย์ บุบฝาชาติ ประธานชมรมเรือประมงจังหวัดชลบุรีเผยว่า ขณะนี้บรรดาเจ้าของเรือประมงขนาดกลางและเล็กในชมรมฯประมาณ 180 ลำ จอดนิ่งที่บริเวณสะพานปลาต่างๆ ในเขต จ.ชลบุรี เพราะต้องประสบกับภาวะน้ำมันแพงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน ขณะที่อาหารทะเลประเภทกุ้ง หอย ปู ปลา ที่หามาได้ราคากลับคงที่ ทำให้เกิดภาวะขาดทุนต่อเนื่อง บรรดาเจ้าของเรือประมงเกือบทุกรายจึงหยุดออกเรือหาปลา
นายฐิติกร โลหะคุปต์ นายกสมาคมประมงจังหวัดตราด และเลขาธิการสมาคมประมงแห่งประเทศไทย เผยว่า ขณะนี้ราคาน้ำมันดีเซลสูงมากและน้ำมันดีเซลเป็นน้ำมันที่ชาวประมงใช้ในการประกอบอาชีพ ทำให้ต้นทุนในการประกอบอาชีพมีสูงขึ้น จนขณะนี้เรือประมงเริ่มจอดไม่ออกหาปลากันบ้างแล้ว เพราะนอกจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้นแล้วจำนวนปลาในท้องทะเลตราดก็เริ่มลดน้อยลงไปด้วย ทำให้การประกอบอาชีพไม่คุ้มกับต้นทุนที่สูง ผู้ประกอบการประมงหลายรายถึงกับขายเรือเพื่อเปลี่ยนอาชีพ และมีจำนวนไม่น้อยที่ต้องหันไปจับปลาในทะเลที่ภาคใต้แทน
"ในกลุ่มเรือประมงจึงอยากให้ภาครัฐช่วยหาทางแก้ไขและควบคุมราคาน้ำมัน พร้อมกับขอให้ช่วยเหลือในเรื่องของการนำน้ำมันเขียวมาขายซึ่งจะมีราคาถูกกว่าปกติลิตรละ 2-3 บาทด้วย" นายฐิติกร กล่าว
***เครือข่ายแรงงานนัดม็อบบีบ”หมัก”
วานนี้ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสมพันธ์ เครือข่ายคนไร้บ้าน เครือข่ายสลัม 4 ภาคและกลุ่มสมัชชาคนจน ร่วมออกแถลงการณ์เครือข่ายประชาชนฉบับที่ 1 “หยุดสินค้าราคาแพง ประกันราคาผลผลิตที่เป็นธรรม ค่าจ้างแรงงานต้องสมดุลกับค่าครองชีพ”
นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรส.) กล่าวว่า ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ค่าแรงขั้นต่ำขึ้นเพียง 2-11 บาท แต่ราคาอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร ข้าวแกง ไข่ น้ำมันพืช น้ำตาล ก๊าซหุงต้ม ราคาสูงขึ้นร้อยละ 70-120 ค่าเดินทางขนส่งมวลชนทุกชนิดเพิ่มสูงขึ้น
ขณะเดียวกัน ราคาสินค้าผลผลิตทางการเกษตร มีราคาผันผวน เกษตรกรต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นเกือบเท่าตัว สะท้อนให้เห็นถึงปรากฏการณ์ข้าวยากหมากแพง ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยกลไกตลาดเสรี จึงเรียกร้องให้รัฐบาล เข้ามาแก้ไขวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ด้วยการกำหนดมาตรการแทรกแซงราคา ทั้งในส่วนของผู้ผลิต และผู้บริโภคอย่างเป็นธรรม รวมทั้งค่าจ้างต้องสมดุลกับค่าครองชีพ
สำหรับแถลงการณ์ดังกล่าวมีข้อเรียกร้องรัฐบาล ดังนี้ หมวดสินค้าอุปโภค บริโภค ขอให้แทรกแซงและควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็น เช่น ข้าวสาร ไข่ไก่ น้ำมันพืช น้ำตาล ก๊าซหุงต้มและอื่นๆ ให้กำหนดราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เป็นธรรม และกระจายสินค้าให้เข้าถึงคนจนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน ผ่านกลไกองค์การประชาชน เช่น สหกรณ์ สหภาพแรงงาน ส่วนหมวดสินค้าผลผลิตเกษตร ให้ควบคุมราคาปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย สารเคมีการเกษตร ประกันราคารับซื้อข้าวเปลือกและผลผลิตการเกษตร ขณะที่หมวดค่าจ้างแรงงานจะต้องปรับค่าแรงงานขั้นต่ำให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ โดยค่าแรงงานขั้นต่ำจะต้องเท่ากันทั่วประเทศ ต้องดูแลแรงงานนอกระบบให้ได้รับความเป็นธรรม
“ในวันที่ 20 พ.ค.นี้เวลา 09.00 น.เครือข่ายแรงงานและเครือข่ายภาคประชาชน นัดชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อแสดงพลังและเดินทางไปยื่นหนังสือเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล คาดว่าจะมีผู้ร่วมชุมนุมประมาณ 2,000 คน” นายสาวิทย์ กล่าว