ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน
สิ่งซึ่งมนุษยชาติต้องเผชิญตั้งแต่ดึกดำบรรพ์คือการขาดแคลนอาหาร โรคภัยไข้เจ็บ ภัยจากธรรมชาติ ภัยจากสัตว์ร้าย และภัยจากมนุษย์ด้วยกันเอง เพื่อการอยู่รอดมนุษย์ก็สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ลุล่วงไปได้ในระดับหนึ่ง เป็นต้นว่า ในเรื่องอาหารนั้นจากการพัฒนาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้ประชากรโลกซึ่งมีมากกว่า 6 พันล้านคนนั้นมีอาหารพอเพียงต่อการบริโภคเพื่อการอยู่รอด ภัยจากธรรมชาติซึ่งได้แก่ ความหนาวเย็นของอากาศ อุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ฯลฯ ก็สามารถจะแก้ไขได้แม้ไม่ทั้งหมดเพราะบางอย่างไม่สามารถป้องกันได้เช่นแผ่นดินไหว เป็นต้น
ภัยจากโรคภัยไข้เจ็บนั้นหลังจากมีการค้นพบยาปฏิชีวนะเพนนิซิลิน ก็สามารถแก้โรคติดเชื้อได้ในระดับที่น่าพอใจ แต่ยังมีอยู่ 2 โรคที่ไม่สามารถจะเอาชนะได้ในปัจจุบันคือโรคมะเร็งและโรคเอดส์ ในส่วนของสัตว์ร้ายนั้น นอกเหนือจากไวรัสและแบคทีเรียสัตว์ขนาดใหญ่ซึ่งเป็นสัตว์ป่าดุร้ายกลายเป็นเหยื่อของมนุษย์ที่กำลังจะทำให้สัตว์เหล่านี้สูญพันธุ์ ภัยระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ก็ยังเกิดสงครามอยู่แม้หลังสงครามโลกผ่านมาแล้วสองครั้ง แต่ก็ยังพยายามที่จะจำกัดไม่ให้ลุกลามต่อไปซึ่งเป็นที่มาของสหประชาชาติ
แต่ในเรื่องของอาหารการกินนั้นมีทีท่าว่าจะกลายเป็นวิกฤตอีกครั้งหนึ่ง ปัญหาเรื่องการขาดแคลนอาหารเป็นปัญหาที่มีตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ตามที่กล่าวมาแล้ว จนมนุษย์พยายามหาทางแก้ไขคือการสร้างประเพณีและการปฏิบัติที่ไม่คำนึงถึงหลักจริยธรรมและศีลธรรม เบื้องต้นได้แก่การฆ่าทารกแรกเกิด (infanticide) ซึ่งมีการปฏิบัติในจีนและอินเดีย รวมทั้งในญี่ปุ่นโบราณ ส่วนใหญ่ฆ่าเด็กที่เป็นเพศหญิง นอกจากนั้นยังมีการกำจัดคนชรา (senilicide) เช่น ชาวอินเดียนแดงจะนำคนชราภาพไปนั่งคอยความตายในถ้ำ โดยคนชราภาพนั้นในทางจิตวิทยาจะยอมรับสภาพของตนจนไม่มีกำลังใจจะดำรงชีวิตต่อ ไม่กินอาหาร ไม่ดื่มน้ำ จนเสียชีวิตในที่สุด
และถ้ามีคนพยายามกลับไปช่วยเหลือโดยนำกลับไปชุมชนในเผ่าก็จะถูกขับไล่เพราะถือว่านำความโชคร้ายมาให้กับเผ่า ส่วนชาวเอสกิโมนั้นเมื่อฟันฟางหักหมดแล้วก็จะไปนั่งในหิมะเพื่อคอยให้หมีมากิน หมีจะได้อ้วนเพื่อเป็นอาหารของลูกหลานต่อไป นอกจากนั้นยังมีพิธีกรรมของเผ่าอื่นๆ เมื่อพ่อแม่แก่ก็จะให้ปีนขึ้นต้นไม้ ลูกซึ่งอยู่ข้างล่างก็จะเขย่าต้นไม้ เมื่อไม่สามารถเกาะอยู่ก็จะหล่นลงมาและจะถูกลูกสังหารด้วยการใช้ท่อนไม้ทุบ
ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้คือปัญหาภาระเรื่องการเลี้ยงดู ในสังคมจีนโบราณจึงมีการพูดถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการี ต้องเลี้ยงดูบิดามารดาอันมีลูกชายสืบสกุลเพื่อการดังกล่าวด้วย คนไทยก็เช่นเดียวกับสังคมจีนมุ่งเน้นการกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา แต่ถ้าปัจเจกบุคคลไม่สามารถเลี้ยงดูบิดามารดาก็ต้องเป็นภาระขององค์กรเอกชน เช่น วัด หรือหน่วยงานของรัฐ เพื่อเลี้ยงดูไม่ให้ถูกทอดทิ้งหรืออดอยาก
ในส่วนของประเด็นเรื่องอาหารนั้น โธมัส มัลธัส (Thomas Malthus) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษที่ได้กล่าวถึงเรื่องอาหารและการเพิ่มประชากร โธมัสจบการศึกษาใน ค.ศ.1795 ได้เริ่มประกอบวิชาชีพหลายอย่างแต่สิ่งที่ทำให้มีชื่อเสียงก็คือ ทฤษฎีประชากร เขาได้กล่าวว่าการเพิ่มประชากรเป็นการเพิ่มในอัตราเรขาคณิต (Geometric Progression) คือ จาก 1 เป็น 2, 4, 8, 16, 32..... แต่อาหารจะเพิ่มในอัตราเลขคณิต (Arithmetic Progression) คือ 1, 2, 3, 4, 5, 6….. เพราะฉะนั้นถ้าไม่ระมัดระวังอาหารจะไม่พอกับการเพิ่มของจำนวนประชากร
ค.ศ.1798 โธมัสได้กล่าวถึงขั้นตอน 8 ขั้นในทฤษฎีของตนว่า
1. ธุรกิจแบบยังชีพ คือหาไปกินวันๆ หนึ่งจนไม่เหลือ จะจำกัดการเพิ่มของประชากร
2. เมื่อเศรษฐกิจยังชีพผันแปรไปเป็นเศรษฐกิจที่มีส่วนเหลือ ประชากรจะเพิ่มขึ้น
3. การเพิ่มของประชากรจะกระตุ้นให้เกิดการผลิตที่มากขึ้น
4. การผลิตที่มากขึ้นจะกระตุ้นการเพิ่มของประชากรมากขึ้น
5. เนื่องจากการเพิ่มการผลิตตามไม่ทันกับการเพิ่มของประชากร จึงจำเป็นต้องมีการสกัดไม่ให้การเพิ่มนั้นส่งผลในทางลบ
6. การคำนึงถึงผลดีผลเสียของปัจเจกบุคคลเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ การทำงาน และจำนวนบุตร จะเป็นตัวกำหนดการเพิ่มหรือการลดประชากรและผลผลิต
7. การตรวจสอบไม่ให้ประชากรเพิ่มนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มจนไม่สามารถมีอาหารพอเพียงกับการยังชีพ
8. การตรวจสอบดังกล่าวนี้จะส่งผลต่อโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมทั้งมวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งความทุกข์ยาก ปัญหาสังคม และความยากจน
กล่าวอีกนัยหนึ่ง ถ้าระบบการตรวจสอบไม่ดีปล่อยให้ประชากรเพิ่มขึ้นเกินจำนวน ปัญหาในทางลบต่างๆ ที่กล่าวมาก็จะปรากฏขึ้น
ทฤษฎีของโธมัสในเรื่องอาหารและจำนวนประชากรนี้จะส่งผลโดยตรงต่อทางชีววิทยาและสังคมศาสตร์ ในทางชีววิทยานั้นมีอิทธิพลต่อ Charles Darwin และ Alfred Russel Wallace ส่วนในทางสังคมศาสตร์นั้นมีผลต่อ Herbert Spencer นอกจากนั้นยังส่งผลต่อทฤษฎีเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและวิวัฒนาการ คือ Gerhard Lenski และ Marvin Harris
จะเห็นได้ว่าปัญหาเรื่องอาหารและประชากรเป็นเรื่องที่พูดมาสองร้อยกว่าปีแล้ว แต่เนื่องจากความเจริญทางวิทยาศาสตร์ทำให้คนลืมเรื่องดังกล่าวไปชั่วคราว แม้จะมีความอดอยากอยู่บ้างเนื่องจากภัยสงครามแต่โดยทั่วไปการผลิตอาหารมีเหลือกิน จนถึงกับมีความพยายามที่จะพยุงราคาด้วยการนำข้าวสาลีไปทิ้งทะเล ด้วยการลดพื้นที่ในการเพาะปลูกโดยรัฐจ่ายค่าชดเชยในสหรัฐอเมริกาและในญี่ปุ่น
ประเด็นเรื่องอาหารอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นประวัติศาสตร์ด่างพร้อยของประเทศอังกฤษ นั่นคือ Potato Famine หรือทุพภิกขภัยมันฝรั่ง ซึ่งเกิดขึ้นที่ไอร์แลนด์อันเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ โดยทุพภิกขภัยนั้นเกิดขึ้นในต้นศตวรรษที่ 19 แต่ที่สำคัญคือ ค.ศ.1845 มันฝรั่งซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวไอริชเริ่มมีใบสีดำและม้วนเข้า จากนั้นหัวมันฝรั่งก็เน่าส่งกลิ่นเหม็นโดยขยายอย่างรวดเร็วจนเกิดความเสียหายอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีการวิเคราะห์ว่าเป็นเชื้อราประเภทหนึ่ง ทางการอังกฤษพยายามที่จะส่งอาหารไปช่วยโดยส่งข้าวโพดอินเดีย (Indian Corn) ก็ไม่สามารถทดแทนได้อย่างเต็มที่
นอกจากนั้น จากการที่อังกฤษถือว่าชาวไอริชเป็นชนชั้นล่าง ทำการปกครองโดยบังคับให้เลิกนับถือศาสนาคริสเตียนนิกายคาทอลิก มีมาตรการกดขี่ประชาชนอย่างรุนแรง จึงมีนโยบายที่ล่าช้าไม่กระตือรือร้น ขณะเดียวกัน มาตรการบางอย่างก็ขัดกับผลประโยชน์ของนายทุนที่มีการหาประโยชน์จากการขายสินค้าให้กับชาวไอริช ทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารที่น่าสะพรึงกลัว มีการบันทึกว่า พ่อแม่ต้องปล่อยให้ลูกน้อยร้องไห้ด้วยความหิวโดยทำอะไรไม่ได้เพราะตัวเองก็ขาดอาหารมาหลายวัน บางคนทำงานอยู่ก็ล้มตายอยู่กับที่ เด็กๆ ผอมจนเหลือแต่กระดูก ตาโบ๋ เหมือนโครงกระดูกเดินได้ จากทุพภิกขภัยดังกล่าวนั้นทำให้เกิดการย้ายถิ่นอย่างมหาศาลไปสู่สหรัฐฯ ซึ่งที่นี้รวมถึงบรรพบุรุษของตระกูลเคเนดี้อยู่ด้วยซึ่งต่อมาก็กลายเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐฯ
มีการคาดคะเนกันว่า จากทุพภิกขภัยครั้งนั้นมีคนเสียชีวิตทั้งสิ้นประมาณ 1 ล้าน 5 แสนคน ซึ่งส่งผลอย่างยิ่งต่อไอร์แลนด์และทิ้งบาดแผลอันฉกรรจ์เอาไว้ จึงไม่แปลกที่กระบวนการต่อสู้อิสรภาพของไอร์แลนด์ซึ่งเพิ่งจะบรรเทาลงเมื่อไม่นานนี้มีความรุนแรงอย่างยิ่งอันเกิดจากความเจ็บช้ำน้ำใจที่มีต่อรัฐบาลอังกฤษและคนอังกฤษในอดีต แต่ผลทางจิตวิทยาเป็นผลที่น่าสะพรึงกลัวเช่นเดียวกัน ผู้เขียนเคยพบกับสตรีชาวไอริชที่โรดไอร์แลนด์ซึ่งอพยพมาเมื่อตอนเด็ก สตรีผู้นี้ไม่ยอมแต่งงานเพราะกลัวว่าตนจะขาดอาหาร เธอกล่าวว่าเธอเห็นพ่อแม่ล้มตายต่อหน้าต่อตาเพราะขาดอาหาร โชคดีที่มีญาติพาเธอลงเรือมาอยู่ที่สหรัฐฯ ความกลัวดังกล่าวฝังลึกอยู่ในจิตใต้สำนึกจนไม่คิดจะมีครอบครัวอีกต่อไป
การขาดแคลนอาหารอาจจะเกิดโดยความเป็นจริง หรือเกิดจากความผิดพลาดของการจัดการ หรือเกิดจากความเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศต่างๆ หรือแม้กระทั่งกระบวนการทางการเมืองโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายต่อประชาชน กรณีทุพภิกขภัยมันฝรั่งนั้นรัฐบาลอังกฤษสมัยนั้นมีส่วนอย่างมากในการนำไปสู่การสูญเสียชีวิตอย่างมหาศาลของชาวไอริช
พูดถึงเรื่องอาหารที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเทศไทย มีอยู่หลายประเด็นที่น่าคำนึงถึง
ประเด็นแรก ในสนธิสัญญาเซอร์จอห์นบาวริ่ง ใน ค.ศ.1855 (พ.ศ.2398) ซึ่งกระทำกับอังกฤษนั้น รัฐบาลสยามสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ขายข้าวถ้าข้าวขาดแคลน ซึ่งหมายความว่า มีการคำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน อันนี้เป็นเพราะวิสัยทัศน์อันยาวไกลของผู้ปกครองสมัยนั้น
ประเด็นที่สอง ราคาข้าวที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันและในอนาคตควรจะส่งผลดีต่อเกษตรกร พร้อมๆ กับการได้รับประโยชน์ของพ่อค้าผู้ส่งออก หรือพ่อค้าคนกลาง การจัดการโดยรัฐเพื่อมิให้มีการเอาเปรียบเกษตรกรเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง
ประเด็นที่สาม การใช้เนื้อที่ในการปลูกเพื่อผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและพลังงานจะต้องมีนโยบายที่ชัดแจ้งและแบ่งสัดส่วนให้เหมาะสม มิฉะนั้นอาจนำไปสู่ปัญหาการขาดแคลนข้าวได้
ประเด็นที่สี่ ในขณะที่ประเทศผลิตน้ำมันผูกขาดในการกำหนดราคาน้ำมัน ประเทศผู้ผลิตข้าวน่าจะประชุมเพื่อหาทางตกลงเรื่องการกำหนดราคาเช่นเดียวกับข้อตกลงเรื่องยางพารา แต่ขณะเดียวกันในฐานะที่เป็นประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ จะต้องคำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชนผู้ขาดอาหารที่สั่งข้าวจากประเทศที่ส่งข้าวด้วย เพื่อไม่ให้เป็นตราบาปเหมือนกับหลายประเทศที่ทำการขึ้นราคาน้ำมัน ขายอาวุธ โจมตีเงินตราต่างประเทศ จนเกิดความผันผวนไปทั่วนำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเมืองจนเกิดสงคราม กำไรที่ได้จากชีวิตและเลือดเนื้อของมนุษย์เป็นสิ่งที่สวรรค์สาป
สิ่งซึ่งมนุษยชาติต้องเผชิญตั้งแต่ดึกดำบรรพ์คือการขาดแคลนอาหาร โรคภัยไข้เจ็บ ภัยจากธรรมชาติ ภัยจากสัตว์ร้าย และภัยจากมนุษย์ด้วยกันเอง เพื่อการอยู่รอดมนุษย์ก็สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ลุล่วงไปได้ในระดับหนึ่ง เป็นต้นว่า ในเรื่องอาหารนั้นจากการพัฒนาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้ประชากรโลกซึ่งมีมากกว่า 6 พันล้านคนนั้นมีอาหารพอเพียงต่อการบริโภคเพื่อการอยู่รอด ภัยจากธรรมชาติซึ่งได้แก่ ความหนาวเย็นของอากาศ อุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ฯลฯ ก็สามารถจะแก้ไขได้แม้ไม่ทั้งหมดเพราะบางอย่างไม่สามารถป้องกันได้เช่นแผ่นดินไหว เป็นต้น
ภัยจากโรคภัยไข้เจ็บนั้นหลังจากมีการค้นพบยาปฏิชีวนะเพนนิซิลิน ก็สามารถแก้โรคติดเชื้อได้ในระดับที่น่าพอใจ แต่ยังมีอยู่ 2 โรคที่ไม่สามารถจะเอาชนะได้ในปัจจุบันคือโรคมะเร็งและโรคเอดส์ ในส่วนของสัตว์ร้ายนั้น นอกเหนือจากไวรัสและแบคทีเรียสัตว์ขนาดใหญ่ซึ่งเป็นสัตว์ป่าดุร้ายกลายเป็นเหยื่อของมนุษย์ที่กำลังจะทำให้สัตว์เหล่านี้สูญพันธุ์ ภัยระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ก็ยังเกิดสงครามอยู่แม้หลังสงครามโลกผ่านมาแล้วสองครั้ง แต่ก็ยังพยายามที่จะจำกัดไม่ให้ลุกลามต่อไปซึ่งเป็นที่มาของสหประชาชาติ
แต่ในเรื่องของอาหารการกินนั้นมีทีท่าว่าจะกลายเป็นวิกฤตอีกครั้งหนึ่ง ปัญหาเรื่องการขาดแคลนอาหารเป็นปัญหาที่มีตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ตามที่กล่าวมาแล้ว จนมนุษย์พยายามหาทางแก้ไขคือการสร้างประเพณีและการปฏิบัติที่ไม่คำนึงถึงหลักจริยธรรมและศีลธรรม เบื้องต้นได้แก่การฆ่าทารกแรกเกิด (infanticide) ซึ่งมีการปฏิบัติในจีนและอินเดีย รวมทั้งในญี่ปุ่นโบราณ ส่วนใหญ่ฆ่าเด็กที่เป็นเพศหญิง นอกจากนั้นยังมีการกำจัดคนชรา (senilicide) เช่น ชาวอินเดียนแดงจะนำคนชราภาพไปนั่งคอยความตายในถ้ำ โดยคนชราภาพนั้นในทางจิตวิทยาจะยอมรับสภาพของตนจนไม่มีกำลังใจจะดำรงชีวิตต่อ ไม่กินอาหาร ไม่ดื่มน้ำ จนเสียชีวิตในที่สุด
และถ้ามีคนพยายามกลับไปช่วยเหลือโดยนำกลับไปชุมชนในเผ่าก็จะถูกขับไล่เพราะถือว่านำความโชคร้ายมาให้กับเผ่า ส่วนชาวเอสกิโมนั้นเมื่อฟันฟางหักหมดแล้วก็จะไปนั่งในหิมะเพื่อคอยให้หมีมากิน หมีจะได้อ้วนเพื่อเป็นอาหารของลูกหลานต่อไป นอกจากนั้นยังมีพิธีกรรมของเผ่าอื่นๆ เมื่อพ่อแม่แก่ก็จะให้ปีนขึ้นต้นไม้ ลูกซึ่งอยู่ข้างล่างก็จะเขย่าต้นไม้ เมื่อไม่สามารถเกาะอยู่ก็จะหล่นลงมาและจะถูกลูกสังหารด้วยการใช้ท่อนไม้ทุบ
ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้คือปัญหาภาระเรื่องการเลี้ยงดู ในสังคมจีนโบราณจึงมีการพูดถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการี ต้องเลี้ยงดูบิดามารดาอันมีลูกชายสืบสกุลเพื่อการดังกล่าวด้วย คนไทยก็เช่นเดียวกับสังคมจีนมุ่งเน้นการกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา แต่ถ้าปัจเจกบุคคลไม่สามารถเลี้ยงดูบิดามารดาก็ต้องเป็นภาระขององค์กรเอกชน เช่น วัด หรือหน่วยงานของรัฐ เพื่อเลี้ยงดูไม่ให้ถูกทอดทิ้งหรืออดอยาก
ในส่วนของประเด็นเรื่องอาหารนั้น โธมัส มัลธัส (Thomas Malthus) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษที่ได้กล่าวถึงเรื่องอาหารและการเพิ่มประชากร โธมัสจบการศึกษาใน ค.ศ.1795 ได้เริ่มประกอบวิชาชีพหลายอย่างแต่สิ่งที่ทำให้มีชื่อเสียงก็คือ ทฤษฎีประชากร เขาได้กล่าวว่าการเพิ่มประชากรเป็นการเพิ่มในอัตราเรขาคณิต (Geometric Progression) คือ จาก 1 เป็น 2, 4, 8, 16, 32..... แต่อาหารจะเพิ่มในอัตราเลขคณิต (Arithmetic Progression) คือ 1, 2, 3, 4, 5, 6….. เพราะฉะนั้นถ้าไม่ระมัดระวังอาหารจะไม่พอกับการเพิ่มของจำนวนประชากร
ค.ศ.1798 โธมัสได้กล่าวถึงขั้นตอน 8 ขั้นในทฤษฎีของตนว่า
1. ธุรกิจแบบยังชีพ คือหาไปกินวันๆ หนึ่งจนไม่เหลือ จะจำกัดการเพิ่มของประชากร
2. เมื่อเศรษฐกิจยังชีพผันแปรไปเป็นเศรษฐกิจที่มีส่วนเหลือ ประชากรจะเพิ่มขึ้น
3. การเพิ่มของประชากรจะกระตุ้นให้เกิดการผลิตที่มากขึ้น
4. การผลิตที่มากขึ้นจะกระตุ้นการเพิ่มของประชากรมากขึ้น
5. เนื่องจากการเพิ่มการผลิตตามไม่ทันกับการเพิ่มของประชากร จึงจำเป็นต้องมีการสกัดไม่ให้การเพิ่มนั้นส่งผลในทางลบ
6. การคำนึงถึงผลดีผลเสียของปัจเจกบุคคลเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ การทำงาน และจำนวนบุตร จะเป็นตัวกำหนดการเพิ่มหรือการลดประชากรและผลผลิต
7. การตรวจสอบไม่ให้ประชากรเพิ่มนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มจนไม่สามารถมีอาหารพอเพียงกับการยังชีพ
8. การตรวจสอบดังกล่าวนี้จะส่งผลต่อโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมทั้งมวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งความทุกข์ยาก ปัญหาสังคม และความยากจน
กล่าวอีกนัยหนึ่ง ถ้าระบบการตรวจสอบไม่ดีปล่อยให้ประชากรเพิ่มขึ้นเกินจำนวน ปัญหาในทางลบต่างๆ ที่กล่าวมาก็จะปรากฏขึ้น
ทฤษฎีของโธมัสในเรื่องอาหารและจำนวนประชากรนี้จะส่งผลโดยตรงต่อทางชีววิทยาและสังคมศาสตร์ ในทางชีววิทยานั้นมีอิทธิพลต่อ Charles Darwin และ Alfred Russel Wallace ส่วนในทางสังคมศาสตร์นั้นมีผลต่อ Herbert Spencer นอกจากนั้นยังส่งผลต่อทฤษฎีเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและวิวัฒนาการ คือ Gerhard Lenski และ Marvin Harris
จะเห็นได้ว่าปัญหาเรื่องอาหารและประชากรเป็นเรื่องที่พูดมาสองร้อยกว่าปีแล้ว แต่เนื่องจากความเจริญทางวิทยาศาสตร์ทำให้คนลืมเรื่องดังกล่าวไปชั่วคราว แม้จะมีความอดอยากอยู่บ้างเนื่องจากภัยสงครามแต่โดยทั่วไปการผลิตอาหารมีเหลือกิน จนถึงกับมีความพยายามที่จะพยุงราคาด้วยการนำข้าวสาลีไปทิ้งทะเล ด้วยการลดพื้นที่ในการเพาะปลูกโดยรัฐจ่ายค่าชดเชยในสหรัฐอเมริกาและในญี่ปุ่น
ประเด็นเรื่องอาหารอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นประวัติศาสตร์ด่างพร้อยของประเทศอังกฤษ นั่นคือ Potato Famine หรือทุพภิกขภัยมันฝรั่ง ซึ่งเกิดขึ้นที่ไอร์แลนด์อันเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ โดยทุพภิกขภัยนั้นเกิดขึ้นในต้นศตวรรษที่ 19 แต่ที่สำคัญคือ ค.ศ.1845 มันฝรั่งซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวไอริชเริ่มมีใบสีดำและม้วนเข้า จากนั้นหัวมันฝรั่งก็เน่าส่งกลิ่นเหม็นโดยขยายอย่างรวดเร็วจนเกิดความเสียหายอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีการวิเคราะห์ว่าเป็นเชื้อราประเภทหนึ่ง ทางการอังกฤษพยายามที่จะส่งอาหารไปช่วยโดยส่งข้าวโพดอินเดีย (Indian Corn) ก็ไม่สามารถทดแทนได้อย่างเต็มที่
นอกจากนั้น จากการที่อังกฤษถือว่าชาวไอริชเป็นชนชั้นล่าง ทำการปกครองโดยบังคับให้เลิกนับถือศาสนาคริสเตียนนิกายคาทอลิก มีมาตรการกดขี่ประชาชนอย่างรุนแรง จึงมีนโยบายที่ล่าช้าไม่กระตือรือร้น ขณะเดียวกัน มาตรการบางอย่างก็ขัดกับผลประโยชน์ของนายทุนที่มีการหาประโยชน์จากการขายสินค้าให้กับชาวไอริช ทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารที่น่าสะพรึงกลัว มีการบันทึกว่า พ่อแม่ต้องปล่อยให้ลูกน้อยร้องไห้ด้วยความหิวโดยทำอะไรไม่ได้เพราะตัวเองก็ขาดอาหารมาหลายวัน บางคนทำงานอยู่ก็ล้มตายอยู่กับที่ เด็กๆ ผอมจนเหลือแต่กระดูก ตาโบ๋ เหมือนโครงกระดูกเดินได้ จากทุพภิกขภัยดังกล่าวนั้นทำให้เกิดการย้ายถิ่นอย่างมหาศาลไปสู่สหรัฐฯ ซึ่งที่นี้รวมถึงบรรพบุรุษของตระกูลเคเนดี้อยู่ด้วยซึ่งต่อมาก็กลายเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐฯ
มีการคาดคะเนกันว่า จากทุพภิกขภัยครั้งนั้นมีคนเสียชีวิตทั้งสิ้นประมาณ 1 ล้าน 5 แสนคน ซึ่งส่งผลอย่างยิ่งต่อไอร์แลนด์และทิ้งบาดแผลอันฉกรรจ์เอาไว้ จึงไม่แปลกที่กระบวนการต่อสู้อิสรภาพของไอร์แลนด์ซึ่งเพิ่งจะบรรเทาลงเมื่อไม่นานนี้มีความรุนแรงอย่างยิ่งอันเกิดจากความเจ็บช้ำน้ำใจที่มีต่อรัฐบาลอังกฤษและคนอังกฤษในอดีต แต่ผลทางจิตวิทยาเป็นผลที่น่าสะพรึงกลัวเช่นเดียวกัน ผู้เขียนเคยพบกับสตรีชาวไอริชที่โรดไอร์แลนด์ซึ่งอพยพมาเมื่อตอนเด็ก สตรีผู้นี้ไม่ยอมแต่งงานเพราะกลัวว่าตนจะขาดอาหาร เธอกล่าวว่าเธอเห็นพ่อแม่ล้มตายต่อหน้าต่อตาเพราะขาดอาหาร โชคดีที่มีญาติพาเธอลงเรือมาอยู่ที่สหรัฐฯ ความกลัวดังกล่าวฝังลึกอยู่ในจิตใต้สำนึกจนไม่คิดจะมีครอบครัวอีกต่อไป
การขาดแคลนอาหารอาจจะเกิดโดยความเป็นจริง หรือเกิดจากความผิดพลาดของการจัดการ หรือเกิดจากความเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศต่างๆ หรือแม้กระทั่งกระบวนการทางการเมืองโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายต่อประชาชน กรณีทุพภิกขภัยมันฝรั่งนั้นรัฐบาลอังกฤษสมัยนั้นมีส่วนอย่างมากในการนำไปสู่การสูญเสียชีวิตอย่างมหาศาลของชาวไอริช
พูดถึงเรื่องอาหารที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเทศไทย มีอยู่หลายประเด็นที่น่าคำนึงถึง
ประเด็นแรก ในสนธิสัญญาเซอร์จอห์นบาวริ่ง ใน ค.ศ.1855 (พ.ศ.2398) ซึ่งกระทำกับอังกฤษนั้น รัฐบาลสยามสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ขายข้าวถ้าข้าวขาดแคลน ซึ่งหมายความว่า มีการคำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน อันนี้เป็นเพราะวิสัยทัศน์อันยาวไกลของผู้ปกครองสมัยนั้น
ประเด็นที่สอง ราคาข้าวที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันและในอนาคตควรจะส่งผลดีต่อเกษตรกร พร้อมๆ กับการได้รับประโยชน์ของพ่อค้าผู้ส่งออก หรือพ่อค้าคนกลาง การจัดการโดยรัฐเพื่อมิให้มีการเอาเปรียบเกษตรกรเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง
ประเด็นที่สาม การใช้เนื้อที่ในการปลูกเพื่อผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและพลังงานจะต้องมีนโยบายที่ชัดแจ้งและแบ่งสัดส่วนให้เหมาะสม มิฉะนั้นอาจนำไปสู่ปัญหาการขาดแคลนข้าวได้
ประเด็นที่สี่ ในขณะที่ประเทศผลิตน้ำมันผูกขาดในการกำหนดราคาน้ำมัน ประเทศผู้ผลิตข้าวน่าจะประชุมเพื่อหาทางตกลงเรื่องการกำหนดราคาเช่นเดียวกับข้อตกลงเรื่องยางพารา แต่ขณะเดียวกันในฐานะที่เป็นประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ จะต้องคำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชนผู้ขาดอาหารที่สั่งข้าวจากประเทศที่ส่งข้าวด้วย เพื่อไม่ให้เป็นตราบาปเหมือนกับหลายประเทศที่ทำการขึ้นราคาน้ำมัน ขายอาวุธ โจมตีเงินตราต่างประเทศ จนเกิดความผันผวนไปทั่วนำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเมืองจนเกิดสงคราม กำไรที่ได้จากชีวิตและเลือดเนื้อของมนุษย์เป็นสิ่งที่สวรรค์สาป