ญี่ปุ่น เตรียมกดดัน WTO สัปดาห์หน้า กำหนดมาตรการป้องกันการลดส่งออกข้าว หวั่นเผชิญวิกฤตขาดแคลนอาหาร ขณะที่ญี่ปุ่น ยังละเมิดกฎการค้าเสรี โดยจ่ายเงินอุดหนุน และตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าสูงถึง 700%
วันนี้(24 เม.ย.)สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและเป็นผู้นำเข้าอาหารรายใหญ่ที่สุดของโลก เตรียมเรียกร้องให้องค์กรการค้าโลก (WTO) กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้ประเทศต่างๆ จำกัดการส่งออกข้าวสาลี ข้าว และธัญพืชชนิดอื่นๆ โดยเร็วที่สุดภายในสัปดาห์หน้า
ขณะนี้ประเทศไทย เวียดนาม และจีน ได้ควบคุมการส่งออกข้าว เนื่องจากภาวะขาดแคลนข้าวได้ส่งผลให้ราคาพุ่งสูงขึ้นถึงสองเท่าในปีที่ผ่านมา ขณะที่ญี่ปุ่นเผชิญภาวะขาดแคลนผลผลิตทางการเกษตรประเภทอื่นๆ ซึ่งญี่ปุ่นเองต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ ขณะที่วิกฤติขาดแคลนอาหารท่ามกลางภาวะที่ข้าวสาลีมีราคาสูงขึ้นได้ทำให้ราคาขนมปังในเดือน ธ.ค.ทะยานขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี หรือเพิ่มสูงขึ้นถึง 8%
นายฮิโรกิ โคจิมา รองผู้อำนวยการด้านกิจการเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สังกัดกระทรวงเกษตรของญี่ปุ่น กล่าวว่า ญี่ปุ่นต้องการให้ข้อบังคับด้านการนำเข้า-ส่งออกอาหารมีความสมดุล เพราะในยามที่ประเทศผู้ส่งออกอาหารสามารถส่งออกสินค้าได้อย่างเสรีหรือมีข้อจำกัด แต่ผู้นำเข้ากลับได้รับเสียงเรียกร้องให้ยกเลิกข้อจำกัดและปรับลดภาษี
สำนักข่าวบลูมเบิร์ก ดอทคอม รายงานว่า การที่ WTO จะยื่นมือเข้าช่วยเหลือในประเด็นนี้อาจเป็นไปได้ยากสำหรับญี่ปุ่น เนื่องจากมีปัญหาติดขัดภายใต้ข้อบังคับด้านการค้าของ WTO ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่ง ต่างกดดันให้ญี่ปุ่นลดการจ่ายเงินอุดหนุน และลดการจัดเก็บค่าธรรมเนียมนำเข้าสินค้าเกษตรในระดับสูงที่ 700% พร้อมกับเปิดตลาดในประเทศในการเจรจาการค้ารอบโดฮา
ล่าสุด รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศเลื่อนการนำเข้าข้าว โดยอ้างข้อกำหนดของ WTO จนกว่าราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับตัวลง หลังจากที่ราคาทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลญี่ปุ่น กล่าวว่า นอกเหนือจากการรอให้ราคาข้าวในตลาดโลกปรับตัวลงแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นชะลอการนำเข้าข้าว คือ ปริมาณข้าวภายในประเทศยังมีอยู่มากพอ โดยในรอบปีซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นนำเข้าข้าวทั้งสิ้น 630,550 ตัน ตามข้อตกลงของ WTO ที่ต้องการให้ญี่ปุ่นนำเข้าข้าว 770,00 ตัน/ปี
**ผวาเงินเฟ้อพุ่งสูงสุดรอบ 10 ปี
ขณะเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์ ก็คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่นปีนี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี เนื่องจากผู้ประกอบจำเป็นต้องผลักภาระต้นทุนราคาน้ำมัน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์หมวดอาหารไปยังผู้บริโภคเพื่อรักษากำไร
นายยาซูนาริ ยูเอโนะ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์มิซูโฮซิเคียวริตี้ส์ กล่าวว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะต้องติดตามผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกดดันการบริโภคและการลงทุนในประเทศ
ขณะที่ผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์บ่งชี้ว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นในปีงบประมาณ 2008 สิ้นสุดเดือนมีนาคมปีหน้า จะเพิ่มขึ้น 0.7% ขณะที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่ 1.4%
วันนี้(24 เม.ย.)สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและเป็นผู้นำเข้าอาหารรายใหญ่ที่สุดของโลก เตรียมเรียกร้องให้องค์กรการค้าโลก (WTO) กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้ประเทศต่างๆ จำกัดการส่งออกข้าวสาลี ข้าว และธัญพืชชนิดอื่นๆ โดยเร็วที่สุดภายในสัปดาห์หน้า
ขณะนี้ประเทศไทย เวียดนาม และจีน ได้ควบคุมการส่งออกข้าว เนื่องจากภาวะขาดแคลนข้าวได้ส่งผลให้ราคาพุ่งสูงขึ้นถึงสองเท่าในปีที่ผ่านมา ขณะที่ญี่ปุ่นเผชิญภาวะขาดแคลนผลผลิตทางการเกษตรประเภทอื่นๆ ซึ่งญี่ปุ่นเองต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ ขณะที่วิกฤติขาดแคลนอาหารท่ามกลางภาวะที่ข้าวสาลีมีราคาสูงขึ้นได้ทำให้ราคาขนมปังในเดือน ธ.ค.ทะยานขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี หรือเพิ่มสูงขึ้นถึง 8%
นายฮิโรกิ โคจิมา รองผู้อำนวยการด้านกิจการเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สังกัดกระทรวงเกษตรของญี่ปุ่น กล่าวว่า ญี่ปุ่นต้องการให้ข้อบังคับด้านการนำเข้า-ส่งออกอาหารมีความสมดุล เพราะในยามที่ประเทศผู้ส่งออกอาหารสามารถส่งออกสินค้าได้อย่างเสรีหรือมีข้อจำกัด แต่ผู้นำเข้ากลับได้รับเสียงเรียกร้องให้ยกเลิกข้อจำกัดและปรับลดภาษี
สำนักข่าวบลูมเบิร์ก ดอทคอม รายงานว่า การที่ WTO จะยื่นมือเข้าช่วยเหลือในประเด็นนี้อาจเป็นไปได้ยากสำหรับญี่ปุ่น เนื่องจากมีปัญหาติดขัดภายใต้ข้อบังคับด้านการค้าของ WTO ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่ง ต่างกดดันให้ญี่ปุ่นลดการจ่ายเงินอุดหนุน และลดการจัดเก็บค่าธรรมเนียมนำเข้าสินค้าเกษตรในระดับสูงที่ 700% พร้อมกับเปิดตลาดในประเทศในการเจรจาการค้ารอบโดฮา
ล่าสุด รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศเลื่อนการนำเข้าข้าว โดยอ้างข้อกำหนดของ WTO จนกว่าราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับตัวลง หลังจากที่ราคาทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลญี่ปุ่น กล่าวว่า นอกเหนือจากการรอให้ราคาข้าวในตลาดโลกปรับตัวลงแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นชะลอการนำเข้าข้าว คือ ปริมาณข้าวภายในประเทศยังมีอยู่มากพอ โดยในรอบปีซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นนำเข้าข้าวทั้งสิ้น 630,550 ตัน ตามข้อตกลงของ WTO ที่ต้องการให้ญี่ปุ่นนำเข้าข้าว 770,00 ตัน/ปี
**ผวาเงินเฟ้อพุ่งสูงสุดรอบ 10 ปี
ขณะเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์ ก็คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่นปีนี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี เนื่องจากผู้ประกอบจำเป็นต้องผลักภาระต้นทุนราคาน้ำมัน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์หมวดอาหารไปยังผู้บริโภคเพื่อรักษากำไร
นายยาซูนาริ ยูเอโนะ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์มิซูโฮซิเคียวริตี้ส์ กล่าวว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะต้องติดตามผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกดดันการบริโภคและการลงทุนในประเทศ
ขณะที่ผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์บ่งชี้ว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นในปีงบประมาณ 2008 สิ้นสุดเดือนมีนาคมปีหน้า จะเพิ่มขึ้น 0.7% ขณะที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่ 1.4%