รอยเตอร์ - ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯลงมาเล็กน้อยเพียง 0.25% เมื่อวันพุธ(30)ตามที่คาดหมายกันทั่วไป พร้อมกันนั้นก็แสดงท่าทีอันตีความได้ว่า ความเคลื่อนไหวคราวนี้อาจจะเป็นครั้งสุดท้ายแล้วในระลอกนี้ ที่มีการหั่นดอกเบี้ยลงอย่างต่อเนื่องร่วม 8 เดือน ด้วยความมุ่งหมายที่จะปกป้องเศรษฐกิจอเมริกัน จากผลกระทบของภาวะสินเชื่อตึงตัวและวิกฤตภาคที่อยู่อาศัย
อย่างไรก็ตาม เฟดก็ยังคงเปิดช่องให้ตัวเองมีทางเลือกหลายๆ ทางเลือก และยอมรับว่าภาวะความเครียดในตลาดการเงิน, สินเชื่อตึงตัว, และการหดตัวอย่างแรงของภาคที่อยู่อาศัย ยังจะดำเนินต่อไป ความเห็นลักษณะนี้ก็ทำให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนคาดเดาว่า อาจจะยังมีการลดดอกเบี้ยต่อไปอีก
ปฏิบัติการของเฟดคราวนี้ ซึ่งอยู่ในรูปมติของการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ได้ตัดลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เฟดฟันด์เรต ซึ่งเป็นเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยที่เฟดต้องการให้พวกแบงก์พาณิชย์คิดในการให้กู้ระหว่างกันชั่วข้ามคืน ลงมาเหลือแค่ 2.0% อันเป็นระดับต่ำที่สุดนับแต่เดือนธันวาคม 2004 ทั้งนี้เป็นการลดเฟดฟันด์เรตครั้งที่ 7 ในระลอกนี้ ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายตัวนี้ถอยลงมารวมแล้ว 3.25% นับตั้งแต่กลางเดือนกันยายนปีที่แล้ว
นอกจากนั้น เอฟโอเอ็มซียังมีมติในคราวนี้ ลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ดิสเคาน์เรต ที่เป็นดอกเบี้ยซึ่งเฟดคิดในเวลาที่แบงก์พาณิชย์มากู้เงินจากเฟดในชั่วระยะข้ามคืน ลงมา 0.25% เช่นกัน และอยู่ที่ 2.25%
การลงมติของเอฟโอเอ็มซีคราวนี้ไม่ได้เป็นไปอย่างเอกฉันท์ แต่คะแนนออกมาที่ 8 ต่อ 2 โดยกรรมการผู้มีสิทธิออกเสียง 2 คนที่คัดค้าน ด้วยความต้องการให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม ได้แก่ ริชาร์ด ฟิชเชอร์ ประธานเฟดสาขาดัลลัส และ ชาร์ลส์ พลอสเซอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย
"การผ่อนคลายนโยบายการเงินลงมาอย่างสำคัญจวบจนถึงเวลานี้ เมื่อประสานกับมาตรการที่กำลังดำเนินอย่างต่อเนื่องในเรื่องการดูแลสภาพคล่องในตลาด ก็ควรที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดอัตราเติบโตระดับพอประมาณในช่วงต่อไป อีกทั้งลดทอนความเสี่ยงที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ" คำแถลงของเอฟโอเอ็มซีที่ออกมาอธิบายมติของตนระบุไว้เช่นนี้
นอกจาก มาตรการของเฟดเองที่ได้ลดดอกเบี้ยลงมา "อย่างสำคัญ" แล้ว คำแถลงของเอฟโอเอ็มซียังชี้ด้วยว่า ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ กำลังพุ่งสูง พร้อมกันนั้นเมื่อเทียบกับคำแถลงในการลดดอกเบี้ยคราวก่อนหน้านี้ ก็จะเห็นได้ว่าคำแถลงฉบับล่าสุดนี้ ยังได้ตัดวลีที่กล่าวว่า "ความเสี่ยงขาลงที่มีต่อการเติบโต ยังคงดำรงอยู่" ทิ้งไป
มิหนำซ้ำ ถ้อยคำในคำแถลงยังเปลี่ยนจากที่เคยสัญญาที่จะ "ปฏิบัติการในลักษณะที่ทันกาล" มาใช้ข้อความที่อ่อนลงด้วยการบอกว่า จะ "ปฏิบัติการเมื่อมีความจำเป็น"
เมื่อรวมข้อสังเกตต่างๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน นักวิเคราะห์จำนวนมากจึงบอกว่า เฟดกำลังแสดงท่าทีว่าปรารถนาที่จะถอยกลับไปรอดูว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯซึ่งบางคนเห็นว่ากำลังถลำจมลงสู่ภาวะถดถอยแล้วนั้น มีการเร่งตัวเองให้เติบโตเพิ่มขึ้นได้หรือไม่
เฟด "โดยพื้นฐานแล้วกำลังบอกคุณว่า ถ้าหากพวกเขาไม่เห็นว่าทิศทางแนวโน้มของเศรษฐกิจภาคแท้จริงไม่ได้เลวร้ายลงต่อไปอีกแล้ว พวกเขาก็จะอยู่ที่ 2% นี่แหละ" เป็นความเห็นของ โมฮาเหม็ด เอลเอเรียน ซีอีโอร่วมแห่งบริษัทแปซิฟิก อินเวสต์เมนต์ แมนเนจเมนต์ คอมปานี (พิมโค)
ในตลาดวอลล์สตรีท ดัชนีหุ้นของสหรัฐฯแสดงปฏิกิริยาต่อความเคลื่อนไหวของเฟดคราวนี้ ในลักษณะยังไม่แน่ใจทิศทาง โดยดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดต่ำลงมานิดเดียว 0.09% ส่วนเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโร และอยู่ระดับเสมอตัวเมื่อเทียบกับเงินเยน
รอยเตอร์ได้สำรวจความคิดเห็นของบริษัทที่มีการติดต่อซื้อขายพันธบัตรโดยตรงกับเฟดจำนวน 19 แห่ง ปรากฏว่าพวกเขามีความเห็นแตกกันเป็นสองทาง ในคำถามที่ว่าเวลานี้เฟดได้ทำสิ่งต่างๆ เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจไปมากเพียงพอแล้วหรือยัง
โดยบริษัทที่เรียกกันว่า "ไพรมารี ดีลเลอร์" เหล่านี้ 10 แห่งตอบว่า เฟดยังทำไม่เพียงพอ ขณะที่อีก 8 แห่งบอกว่าเพียงพอแล้ว และ 1 แห่งไม่ให้ความเห็นเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อนำคำตอบของบริษัทเหล่านี้มาคำนวณเป็นค่ามัธยฐานของการทำนาย ก็ได้คำตอบชี้ไปในทิศทางว่า น่าจะมีการลดดอกเบี้ยเฟดฟันด์เรตอีก 0.25% ภายในสิ้นปีนี้
อย่างไรก็ตาม เฟดก็ยังคงเปิดช่องให้ตัวเองมีทางเลือกหลายๆ ทางเลือก และยอมรับว่าภาวะความเครียดในตลาดการเงิน, สินเชื่อตึงตัว, และการหดตัวอย่างแรงของภาคที่อยู่อาศัย ยังจะดำเนินต่อไป ความเห็นลักษณะนี้ก็ทำให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนคาดเดาว่า อาจจะยังมีการลดดอกเบี้ยต่อไปอีก
ปฏิบัติการของเฟดคราวนี้ ซึ่งอยู่ในรูปมติของการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ได้ตัดลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เฟดฟันด์เรต ซึ่งเป็นเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยที่เฟดต้องการให้พวกแบงก์พาณิชย์คิดในการให้กู้ระหว่างกันชั่วข้ามคืน ลงมาเหลือแค่ 2.0% อันเป็นระดับต่ำที่สุดนับแต่เดือนธันวาคม 2004 ทั้งนี้เป็นการลดเฟดฟันด์เรตครั้งที่ 7 ในระลอกนี้ ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายตัวนี้ถอยลงมารวมแล้ว 3.25% นับตั้งแต่กลางเดือนกันยายนปีที่แล้ว
นอกจากนั้น เอฟโอเอ็มซียังมีมติในคราวนี้ ลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ดิสเคาน์เรต ที่เป็นดอกเบี้ยซึ่งเฟดคิดในเวลาที่แบงก์พาณิชย์มากู้เงินจากเฟดในชั่วระยะข้ามคืน ลงมา 0.25% เช่นกัน และอยู่ที่ 2.25%
การลงมติของเอฟโอเอ็มซีคราวนี้ไม่ได้เป็นไปอย่างเอกฉันท์ แต่คะแนนออกมาที่ 8 ต่อ 2 โดยกรรมการผู้มีสิทธิออกเสียง 2 คนที่คัดค้าน ด้วยความต้องการให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม ได้แก่ ริชาร์ด ฟิชเชอร์ ประธานเฟดสาขาดัลลัส และ ชาร์ลส์ พลอสเซอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย
"การผ่อนคลายนโยบายการเงินลงมาอย่างสำคัญจวบจนถึงเวลานี้ เมื่อประสานกับมาตรการที่กำลังดำเนินอย่างต่อเนื่องในเรื่องการดูแลสภาพคล่องในตลาด ก็ควรที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดอัตราเติบโตระดับพอประมาณในช่วงต่อไป อีกทั้งลดทอนความเสี่ยงที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ" คำแถลงของเอฟโอเอ็มซีที่ออกมาอธิบายมติของตนระบุไว้เช่นนี้
นอกจาก มาตรการของเฟดเองที่ได้ลดดอกเบี้ยลงมา "อย่างสำคัญ" แล้ว คำแถลงของเอฟโอเอ็มซียังชี้ด้วยว่า ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ กำลังพุ่งสูง พร้อมกันนั้นเมื่อเทียบกับคำแถลงในการลดดอกเบี้ยคราวก่อนหน้านี้ ก็จะเห็นได้ว่าคำแถลงฉบับล่าสุดนี้ ยังได้ตัดวลีที่กล่าวว่า "ความเสี่ยงขาลงที่มีต่อการเติบโต ยังคงดำรงอยู่" ทิ้งไป
มิหนำซ้ำ ถ้อยคำในคำแถลงยังเปลี่ยนจากที่เคยสัญญาที่จะ "ปฏิบัติการในลักษณะที่ทันกาล" มาใช้ข้อความที่อ่อนลงด้วยการบอกว่า จะ "ปฏิบัติการเมื่อมีความจำเป็น"
เมื่อรวมข้อสังเกตต่างๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน นักวิเคราะห์จำนวนมากจึงบอกว่า เฟดกำลังแสดงท่าทีว่าปรารถนาที่จะถอยกลับไปรอดูว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯซึ่งบางคนเห็นว่ากำลังถลำจมลงสู่ภาวะถดถอยแล้วนั้น มีการเร่งตัวเองให้เติบโตเพิ่มขึ้นได้หรือไม่
เฟด "โดยพื้นฐานแล้วกำลังบอกคุณว่า ถ้าหากพวกเขาไม่เห็นว่าทิศทางแนวโน้มของเศรษฐกิจภาคแท้จริงไม่ได้เลวร้ายลงต่อไปอีกแล้ว พวกเขาก็จะอยู่ที่ 2% นี่แหละ" เป็นความเห็นของ โมฮาเหม็ด เอลเอเรียน ซีอีโอร่วมแห่งบริษัทแปซิฟิก อินเวสต์เมนต์ แมนเนจเมนต์ คอมปานี (พิมโค)
ในตลาดวอลล์สตรีท ดัชนีหุ้นของสหรัฐฯแสดงปฏิกิริยาต่อความเคลื่อนไหวของเฟดคราวนี้ ในลักษณะยังไม่แน่ใจทิศทาง โดยดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดต่ำลงมานิดเดียว 0.09% ส่วนเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโร และอยู่ระดับเสมอตัวเมื่อเทียบกับเงินเยน
รอยเตอร์ได้สำรวจความคิดเห็นของบริษัทที่มีการติดต่อซื้อขายพันธบัตรโดยตรงกับเฟดจำนวน 19 แห่ง ปรากฏว่าพวกเขามีความเห็นแตกกันเป็นสองทาง ในคำถามที่ว่าเวลานี้เฟดได้ทำสิ่งต่างๆ เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจไปมากเพียงพอแล้วหรือยัง
โดยบริษัทที่เรียกกันว่า "ไพรมารี ดีลเลอร์" เหล่านี้ 10 แห่งตอบว่า เฟดยังทำไม่เพียงพอ ขณะที่อีก 8 แห่งบอกว่าเพียงพอแล้ว และ 1 แห่งไม่ให้ความเห็นเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อนำคำตอบของบริษัทเหล่านี้มาคำนวณเป็นค่ามัธยฐานของการทำนาย ก็ได้คำตอบชี้ไปในทิศทางว่า น่าจะมีการลดดอกเบี้ยเฟดฟันด์เรตอีก 0.25% ภายในสิ้นปีนี้