ผู้จัดการรายวัน - คลังเดินหน้าแผนแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ขีดเส้นตายวางกรอบให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน หวังเพิ่มศักยภาพและความโปร่งใส ด้าน "ภัทรียา" แนะแนวทางระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ลดภาระหนี้ที่มีอยู่สูงถึง 5 ล้านล้านบาท ขณะที่ภาคเอกชน ประสานเสียงสนับสนุน อ้างประโยชน์พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "ทิศทางการพัฒนารัฐวิสาหกิจกับเศรษฐกิจไทย" ว่า รัฐวิสาหกิจมีความสำคัญค่อนข้างมากกับระบบเศรษฐกิจไทยทั้งในแง่ของมูลค่าสินทรัพย์ที่มีอยู่กว่า 6 ล้านล้านบาท รายได้รวม 3 ล้านล้านบาท และกำไรรวม 2 แสนล้านบาท ขณะเดียวกันยังนำส่งรายได้ให้รัฐในปีล่าสุดเท่ากับ 9 หมื่นล้านบาท สูงเป็นอันดับ 3 รองจากกรมสรรพากรและกรมสรรพสามิต
โดยกระทรวงการคลังร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ 9 กระทรวงหลัก เตรียมจัดแผนพัฒนาและกำหนดทิศทางการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้ง 58 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน หรือภายในเดือนมิถุนายนนี้ โดยเบื้องต้นจะแบ่งออกเป็นในเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม โดยเชิงพาณิชย์จะดูในเรื่องของผลประกอบการรายได้ ขณะที่เชิงสังคมจะเน้นไปที่การสร้างประโยชน์ให้กับประชาชน
"ทิศทางการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจต้องมีความชัดเจน โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจเชิงพาณิชย์ต้องเพิ่มศักยภาพการดำเนินการ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการแปรรูปเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงอย่างเดียว แต่อาจนำความคิดเชิงพาณิชย์เข้ามาในองค์กร นำกฎระเบียบการตรวจสอบที่เป็นสากลเข้ามาใช้ในองค์กร หรือทำให้เป็นเอกชนมากขึ้น"
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจและนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะสามารถช่วยลดภาระหนี้สินของรัฐบาลได้ จากปัจจุบันรัฐวิสาหกิจมีหนี้สินรวมกว่า 5 ล้านล้านบาท คิดเป็นอัตราหนี้สินต่อทุน 3.8 เท่า แต่รัฐวิสาหกิจจะต้องมีการเตรียมความพร้อมกับการแข่งขันกับเอกชน รวมทั้งการกระจายหุ้นจะต้องมีความชัดเจนและโปร่งใส
ปัจจุบันมีรัฐวิสาหกิจและบริษัทที่ได้รับสัปทานแปรรูปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 15 แห่ง มีมูลค่าตลาดรวม (มาร์เกตแคป) ประมาณ 40% ของมูลค่าตลาดรวม ขณะที่มูลค่าการระดมทุนช่วงนำเสนอขายหุ้นให้ประชาชนครั้งแรก (ไอพีโอ) อยู่ที่ประมาณ 8 หมื่นล้านบาท
"จากการพูดคุยกับผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปแล้ว พบว่า การจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีข้อดี 3 ประการ คือ 1. การทำ Fund Leasing ทำได้ง่ายขึ้น มีต้นทุนการเงินถูกลง 2. ระบบบริหารจัดการที่ดี เนื่องจากต้องรับผิดชอบกับผู้ถือหุ้นทุกๆ ราย และสามารถตอบคำถามกับผู้ถือหุ้นได้ทุกเรื่อง และประการสุดท้าย สามารถรู้มูลค่าธุรกิจเทียบเคียงกับธุรกิจเดียวกันในตลาด ดังนั้นเมื่อมีการควบรวมทำให้มีตัวเปรียบเทียบให้เห็นมูลค่าที่แท้จริง"
นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ผู้อำนวยการโครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม กล่าวว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจจะทำให้องค์กรเข้าสู่การแข่งขันในระบบตลาด ทำให้เกิดการพัฒนา ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศมากขึ้นด้วย ดังนั้นควรเดินหน้าต่อไป โดยรับฟังความผิดพลาดในอดีตที่ผ่านมา และนำมาปรับปรุงแก้ไข ซึ่งเราต้องไม่
กลัวว่าผลประโยชน์จะตกกับกลุ่มการเมือง ซึ่งเป็นผู้นำนโยบายการแปรรูปมาใช้ แต่ให้ใช้กระบวนการตรวจสอบแทน ซึ่งหากพบว่ากระทำผิดก็สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้ โดยสิ่งที่จำเป็นคือการให้ความรู้กับประชาชนถึงประโยชน์การแปรรูปรัฐวิสาหกิจซึ่งจะช่วยลดการต่อต้านได้
นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจมีประโยชน์ 4 เรื่องหลักคือ 1. ทำให้ผู้บริโภคจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพดี จำนวนเพียงพอ และราคาที่เหมาะสม 2. การจัดสรรทรัพยากรภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้รัฐสามารถถอนทรัพย์สินออกจากกิจการที่เอกชนสามารถดำเนินการเองได้ และนำทรัพย์สินนั้นไปลงทุนในกิจการที่มีความจำเป็น มีประโยชน์กับสังคม และเอกชนไม่ทำ เช่น การศึกษา เป็นต้น 3. การพัฒนาการลงทุน การแปรรูปส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาการลงทุนทั้ง การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) และการลงทุนในตลาดทุน และ 4. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจและส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
"เราควรจะมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แม้ว่าที่ผ่านมาการแปรรูปรัฐวิสาหกิจยังไม่สมบูรณ์ แต่ยังดีกว่าไม่แปรรูปเลย ซึ่งหากรอจนพร้อมคอยทำมีความเสียงที่จะทันประเทศอื่น"
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "ทิศทางการพัฒนารัฐวิสาหกิจกับเศรษฐกิจไทย" ว่า รัฐวิสาหกิจมีความสำคัญค่อนข้างมากกับระบบเศรษฐกิจไทยทั้งในแง่ของมูลค่าสินทรัพย์ที่มีอยู่กว่า 6 ล้านล้านบาท รายได้รวม 3 ล้านล้านบาท และกำไรรวม 2 แสนล้านบาท ขณะเดียวกันยังนำส่งรายได้ให้รัฐในปีล่าสุดเท่ากับ 9 หมื่นล้านบาท สูงเป็นอันดับ 3 รองจากกรมสรรพากรและกรมสรรพสามิต
โดยกระทรวงการคลังร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ 9 กระทรวงหลัก เตรียมจัดแผนพัฒนาและกำหนดทิศทางการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้ง 58 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน หรือภายในเดือนมิถุนายนนี้ โดยเบื้องต้นจะแบ่งออกเป็นในเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม โดยเชิงพาณิชย์จะดูในเรื่องของผลประกอบการรายได้ ขณะที่เชิงสังคมจะเน้นไปที่การสร้างประโยชน์ให้กับประชาชน
"ทิศทางการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจต้องมีความชัดเจน โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจเชิงพาณิชย์ต้องเพิ่มศักยภาพการดำเนินการ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการแปรรูปเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงอย่างเดียว แต่อาจนำความคิดเชิงพาณิชย์เข้ามาในองค์กร นำกฎระเบียบการตรวจสอบที่เป็นสากลเข้ามาใช้ในองค์กร หรือทำให้เป็นเอกชนมากขึ้น"
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจและนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะสามารถช่วยลดภาระหนี้สินของรัฐบาลได้ จากปัจจุบันรัฐวิสาหกิจมีหนี้สินรวมกว่า 5 ล้านล้านบาท คิดเป็นอัตราหนี้สินต่อทุน 3.8 เท่า แต่รัฐวิสาหกิจจะต้องมีการเตรียมความพร้อมกับการแข่งขันกับเอกชน รวมทั้งการกระจายหุ้นจะต้องมีความชัดเจนและโปร่งใส
ปัจจุบันมีรัฐวิสาหกิจและบริษัทที่ได้รับสัปทานแปรรูปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 15 แห่ง มีมูลค่าตลาดรวม (มาร์เกตแคป) ประมาณ 40% ของมูลค่าตลาดรวม ขณะที่มูลค่าการระดมทุนช่วงนำเสนอขายหุ้นให้ประชาชนครั้งแรก (ไอพีโอ) อยู่ที่ประมาณ 8 หมื่นล้านบาท
"จากการพูดคุยกับผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปแล้ว พบว่า การจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีข้อดี 3 ประการ คือ 1. การทำ Fund Leasing ทำได้ง่ายขึ้น มีต้นทุนการเงินถูกลง 2. ระบบบริหารจัดการที่ดี เนื่องจากต้องรับผิดชอบกับผู้ถือหุ้นทุกๆ ราย และสามารถตอบคำถามกับผู้ถือหุ้นได้ทุกเรื่อง และประการสุดท้าย สามารถรู้มูลค่าธุรกิจเทียบเคียงกับธุรกิจเดียวกันในตลาด ดังนั้นเมื่อมีการควบรวมทำให้มีตัวเปรียบเทียบให้เห็นมูลค่าที่แท้จริง"
นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ผู้อำนวยการโครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม กล่าวว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจจะทำให้องค์กรเข้าสู่การแข่งขันในระบบตลาด ทำให้เกิดการพัฒนา ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศมากขึ้นด้วย ดังนั้นควรเดินหน้าต่อไป โดยรับฟังความผิดพลาดในอดีตที่ผ่านมา และนำมาปรับปรุงแก้ไข ซึ่งเราต้องไม่
กลัวว่าผลประโยชน์จะตกกับกลุ่มการเมือง ซึ่งเป็นผู้นำนโยบายการแปรรูปมาใช้ แต่ให้ใช้กระบวนการตรวจสอบแทน ซึ่งหากพบว่ากระทำผิดก็สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้ โดยสิ่งที่จำเป็นคือการให้ความรู้กับประชาชนถึงประโยชน์การแปรรูปรัฐวิสาหกิจซึ่งจะช่วยลดการต่อต้านได้
นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจมีประโยชน์ 4 เรื่องหลักคือ 1. ทำให้ผู้บริโภคจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพดี จำนวนเพียงพอ และราคาที่เหมาะสม 2. การจัดสรรทรัพยากรภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้รัฐสามารถถอนทรัพย์สินออกจากกิจการที่เอกชนสามารถดำเนินการเองได้ และนำทรัพย์สินนั้นไปลงทุนในกิจการที่มีความจำเป็น มีประโยชน์กับสังคม และเอกชนไม่ทำ เช่น การศึกษา เป็นต้น 3. การพัฒนาการลงทุน การแปรรูปส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาการลงทุนทั้ง การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) และการลงทุนในตลาดทุน และ 4. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจและส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
"เราควรจะมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แม้ว่าที่ผ่านมาการแปรรูปรัฐวิสาหกิจยังไม่สมบูรณ์ แต่ยังดีกว่าไม่แปรรูปเลย ซึ่งหากรอจนพร้อมคอยทำมีความเสียงที่จะทันประเทศอื่น"