ผู้จัดการรายวัน - จับตา ครม.วันนี้ปูฐานเสียงชาวไร่อ้อยล่วงหน้า เล็งเพิ่มราคาอ้อยเอาใจตามนายกฯ สมัคร 107 บาทต่อตัน โดยต้องกู้อีกกว่า 7 พันล้านบาท กดดันทำแผนเพิ่มรายได้เพื่อการันตีการกู้ ด้วยการขยับขึ้นราคาน้ำตาลทรายขายปลีกอีกกิโลกรัมละ 5 บาท “สุวิทย์”อ้างทำตามมติ กอน.เสนอแผนพัฒนาอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นวาระแห่งชาติ ยอมรับสั่ง 47 โรงงานเช็คสต็อกน้ำตาลเพื่อชะลอการขายจริง แต่ทำเพื่อชาวไร่อ้อย
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (29เม.ย.) กระทรวงอุตสาหกรรมจะเสนอแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายให้เป็นวาระแห่งชาติ รวมไปถึงการจัดหาแหล่งเงินกู้เพื่อเพิ่มค่าอ้อยให้กับชาวไร่อีกประมาณ 107 บาทต่อตัน เพื่อให้คุ้มทุนการผลิตตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีในการช่วยเหลือเกษตรกร
“ที่จะนำเข้าเป็นหลักการก็ต้องดูรายละเอียดอื่นๆ อีก ส่วนแผนการชำระหนี้จะนำรายได้มาจากใดรวมไปถึงการปรับขึ้นน้ำตาลทรายด้วยหรือไม่ทางคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.)ได้พิจารณาแล้วในรายละเอียดก็จะต้องเสนอ ครม.ต่อไป”นายสุวิทย์กล่าว
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวจากโรงงานว่าได้สั่งการให้โรงงานชะลอการขายน้ำตาลเพื่อเช็คสต็อกน้ำตาลทำเพื่อประโยชน์อะไรนั้น นายสุวิทย์กล่าวว่า ทำเพื่อประโยชน์ชาวไร่อ้อยเพื่อที่จะได้ทราบปริมาณน้ำตาลที่แท้จริงเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาช่วยเหลือชาวไร่อ้อยโดยยืนยันว่าไม่ได้สั่งกักตุน ส่วนปัญหาที่โรงงานขอขยายการผลิตเพิ่มขึ้นที่ยื่นมาให้ตนอนุมัตินั้นได้สั่งตีกลับไปเพื่อหาข้อยุติต่อการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมอ้อยทั้งหมดก่อน
นายดำริ สุโขธนัง รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) กล่าวว่า ที่ประชุมกอน.วานนี้ (28เม.ย.) ได้เห็นชอบหลักการเพิ่มค่าอ้อยให้กับชาวไร่ตามนโยบายรัฐบาลเป็น 807 บาทต่อตัน ซึ่งเดิมได้จัดสรรเงินกู้ช่วยเหลือไปแล้ว 62 บาทต่อตัน จึงต้องหาแหล่งเงินกู้ช่วยเหลือเพิ่มอีก 107 บาทต่อตัน วงเงินประมาณ 7,000 กว่าล้านบาท ส่วนแนวทางการหารายได้ให้กับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) เพื่อชำระหนี้นั้นขอให้รอ ครม.วันนี้ (29เม.ย.) เห็นชอบแนวทางก่อน
นอกจากนี้ ก็มีเรื่องของการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยให้มีความต่อเนื่อง เช่นเอทธานอลที่จะไปทำแก๊สโซฮอล์ ซึ่งมีการขออนุญาตเปิดโรงงานไปแล้ว 47 โรงงาน แต่มีการดำเนินการแค่ 10 กว่าโรงงานเท่านั้นเอง รวมทั้งการพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นอี85 ซึ่งจะมีการปรึกษากับผู้ประกอบการรถยนต์อีกครั้งหนึ่ง
ทำตามนโยบาย "นายกฯ สมัคร"
แหล่งข่าวจาก กอน.กล่าวว่า กอน.ได้สรุปแนวทางการเสนอครม.ในการเพิ่มค่าอ้อยตามนโยบายนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี 100 บาทต่อตันแต่ได้คำนวณให้ตามที่ชาวไร่ร้องขอให้คุ้มต้นทุน 807 บาทต่อตัน จึงเพิ่มเป็น 107 บาทต่อตัน โดยส่วนนี้เป็นการเพิ่มค่าอ้อยให้จากเดิมที่ค่าอ้อยขั้นต้น 2550/51 ได้ 600 บาทต่อตัน แต่ครม.ช่วยเพิ่มค่าอ้อยเป็น 700 บาทต่อตัน โดย 38 บาทให้โรงงานจ่ายและกู้ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) 62 บาทต่อตันวงเงิน 4,200 ล้านบาทเมื่อเพิ่มค่าอ้อยอีก 107 บาทต่อตันก็จะทำให้ต้องกู้เพิ่มอีก 7,000 กว่าล้านบาท ดังนั้นเมื่อรวมกับเงินกู้เดิม 1.2 หมื่นล้านบาทที่มีก็จะทำให้หนี้กองทุนอ้อยฯ เพิ่มสูงถึง 2.4-2.5 หมื่นล้านบาท
ดังนั้น หากพิจารณารายได้หลักมีเพียงการแยกภาษีมูลค่าจากน้ำตาลทรายที่จะได้ปีละเพียง 1,300 ล้านบาท จึงเป็นไปได้ยากที่ธ.ก.ส.จะให้กู้จึงจำเป็นต้องจัดทำแผนรายได้ให้สอดคล้องกับหนี้ซึ่งท้ายสุดมีเพียงทางเดียวคือการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานอีก 5 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) จากน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิจาก 15 บาทต่อ กก.เป็น 20 บาทต่อ กก. น้ำตาลทรายขาวธรรมดา 14 บาท/กก.เป็น 19 บาทต่อ กก. ส่งผลให้ราคาขายปลีกต้องขยับตามดังนี้คือ ราคาน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์จะปรับขึ้นจาก 18.25 บาทต่อ กก. เป็น 23.25 บาทต่อ กก. ทรายขาวธรรมดาจะปรับจาก 17.25 บาทต่อ กก.เป็น 22.25 บาทต่อ กก. (กรณีถุง 1 กก.บวกค่าแพคเกจจิ้งอีก 75 สตางค์ต่อ กก.) ซึ่งหากครม.เห็นชอบตามแนวทางดังกล่าวก็จะมีผลทันทีเพื่อป้องกันการกักตุน
อย่างไรก็ตาม ราคาที่จะปรับขึ้นทั้งชาวไร่และโรงงานยังไม่สามารถตกลงกันได้ว่าจะนำไปใช้หนี้ทั้งหมดหรือไม่เพราะโรงงานเห็นว่าควรจะมีส่วนรับรู้ด้วยแต่ชาวไร่ต้องการให้เงินไหลเข้ากองทุนฯเพื่อใช้หนี้ทั้งหมด
สั่ง 47 รง.เบรกขายน้ำตาลรอ ครม.เคาะ
แหล่งข่าวกล่าวว่า นายสุวิทย์ ได้สั่งการให้โรงงานน้ำตาล 47แห่ง ระงับการจำหน่ายน้ำตาล โควตาก. (ขายในประเทศ)โควตาข. (เพื่อส่งออกโดยบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย) และโควตา ค. (ส่งออกโดยโรงงานน้ำตาล)เป็นการชั่วคราว จนกว่าเรื่องการขึ้นราคาน้ำตาลจะได้รับการอนุมัติจาก ครม. ทำให้การขึ้นงวดทุกวันจันทร์ของสัปดาห์สำหรับโควตา ก. เมื่อวันที่ 28 เม.ย.นี้ จำนวน 380,000 กระสอบ จาก 47โรงงาน ถูกระงับไปเพื่อรอการตั้งราคาขายปลีกใหม่ในวันที่ 29 เม.ย.แทน
ชาวไร่หวังรายได้ทั้งหมดใช้หนี้
นายราชัย ชูศิลป์กุล เลขาธิการสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทยและกรรมการ กอน. กล่าวยอมรับว่า การเพิ่มค่าอ้อยเป็น 807 บาทต่อตันด้วยการกู้เพิ่ม 107 บาทต่อตันนั้นเมื่อดูรายได้แล้วยากมากที่จะไม่พ้นการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายโดย กอน.จึงเห็นชอบการปรับราคาน้ำตาลทรายเพิ่มอีก 5 บาทต่อ กก. เพื่อเป็นรายได้นำมาชำระหนี้ ซึ่งปัจจุบันมีน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศ (โควตา ก.) 10 ล้านกระสอบเมื่อขึ้นราคาก็จะได้ประมาณ 5,000 กว่าล้านบาท เท่านั้นในปีนี้
“ชาวไร่อ้อยเองถ้าถามต้องการให้รายได้ที่เข้ามาใช้หนี้ทั้งหมด เพื่อรักษาอุตสาหกรรมนี้ไว้ตอนนี้ เขาหันไปปลูกข้าวกันแล้วเพราะราคาอ้อยได้เพิ่มแต่ก็เป็นการกู้หนี้มากขนาดนี้ ส่วนการขึ้นราคาหากดูเพื่อนบ้านที่บริโภคน้ำตาลทรายนั้นแม้จะขึ้นอีก 5 บาทต่อ กก. ก็ยังต่ำกว่าเพื่อนบ้านที่ราคาสูง 35-36 บาทต่อ กก.”นายราชัย กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การปรับราคาขายปลีกน้ำตาลทราย 3 บาทต่อ กก.เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 มี.ค.49 ซึ่งตรงกับสมัยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็น รมว.อุตสาหกรรม และในการปรับราคาครั้งนั้นมีความผิดพลาดที่เดิมจะนำเงินอย่างน้อย 2 บาทต่อ กก.เข้าเป็นรายได้กองทุนฯ เพื่อใช้หนี้โดยครม.สั่งกลับมาดูส่วนนี้ แต่ปรากฏเมื่อมาปฏิบัติจริงกลับไม่ได้นำเงินดังกล่าวมาชำระหนี้แต่อย่างใด โดยให้เป็นรายได้เข้าระบบแบ่งปันผลประโยชน์แทนจึงทำให้ปัญหาหนี้ไม่ได้ถูกสะสางและได้สะสมมาจนปัจจุบัน
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (29เม.ย.) กระทรวงอุตสาหกรรมจะเสนอแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายให้เป็นวาระแห่งชาติ รวมไปถึงการจัดหาแหล่งเงินกู้เพื่อเพิ่มค่าอ้อยให้กับชาวไร่อีกประมาณ 107 บาทต่อตัน เพื่อให้คุ้มทุนการผลิตตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีในการช่วยเหลือเกษตรกร
“ที่จะนำเข้าเป็นหลักการก็ต้องดูรายละเอียดอื่นๆ อีก ส่วนแผนการชำระหนี้จะนำรายได้มาจากใดรวมไปถึงการปรับขึ้นน้ำตาลทรายด้วยหรือไม่ทางคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.)ได้พิจารณาแล้วในรายละเอียดก็จะต้องเสนอ ครม.ต่อไป”นายสุวิทย์กล่าว
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวจากโรงงานว่าได้สั่งการให้โรงงานชะลอการขายน้ำตาลเพื่อเช็คสต็อกน้ำตาลทำเพื่อประโยชน์อะไรนั้น นายสุวิทย์กล่าวว่า ทำเพื่อประโยชน์ชาวไร่อ้อยเพื่อที่จะได้ทราบปริมาณน้ำตาลที่แท้จริงเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาช่วยเหลือชาวไร่อ้อยโดยยืนยันว่าไม่ได้สั่งกักตุน ส่วนปัญหาที่โรงงานขอขยายการผลิตเพิ่มขึ้นที่ยื่นมาให้ตนอนุมัตินั้นได้สั่งตีกลับไปเพื่อหาข้อยุติต่อการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมอ้อยทั้งหมดก่อน
นายดำริ สุโขธนัง รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) กล่าวว่า ที่ประชุมกอน.วานนี้ (28เม.ย.) ได้เห็นชอบหลักการเพิ่มค่าอ้อยให้กับชาวไร่ตามนโยบายรัฐบาลเป็น 807 บาทต่อตัน ซึ่งเดิมได้จัดสรรเงินกู้ช่วยเหลือไปแล้ว 62 บาทต่อตัน จึงต้องหาแหล่งเงินกู้ช่วยเหลือเพิ่มอีก 107 บาทต่อตัน วงเงินประมาณ 7,000 กว่าล้านบาท ส่วนแนวทางการหารายได้ให้กับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) เพื่อชำระหนี้นั้นขอให้รอ ครม.วันนี้ (29เม.ย.) เห็นชอบแนวทางก่อน
นอกจากนี้ ก็มีเรื่องของการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยให้มีความต่อเนื่อง เช่นเอทธานอลที่จะไปทำแก๊สโซฮอล์ ซึ่งมีการขออนุญาตเปิดโรงงานไปแล้ว 47 โรงงาน แต่มีการดำเนินการแค่ 10 กว่าโรงงานเท่านั้นเอง รวมทั้งการพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นอี85 ซึ่งจะมีการปรึกษากับผู้ประกอบการรถยนต์อีกครั้งหนึ่ง
ทำตามนโยบาย "นายกฯ สมัคร"
แหล่งข่าวจาก กอน.กล่าวว่า กอน.ได้สรุปแนวทางการเสนอครม.ในการเพิ่มค่าอ้อยตามนโยบายนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี 100 บาทต่อตันแต่ได้คำนวณให้ตามที่ชาวไร่ร้องขอให้คุ้มต้นทุน 807 บาทต่อตัน จึงเพิ่มเป็น 107 บาทต่อตัน โดยส่วนนี้เป็นการเพิ่มค่าอ้อยให้จากเดิมที่ค่าอ้อยขั้นต้น 2550/51 ได้ 600 บาทต่อตัน แต่ครม.ช่วยเพิ่มค่าอ้อยเป็น 700 บาทต่อตัน โดย 38 บาทให้โรงงานจ่ายและกู้ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) 62 บาทต่อตันวงเงิน 4,200 ล้านบาทเมื่อเพิ่มค่าอ้อยอีก 107 บาทต่อตันก็จะทำให้ต้องกู้เพิ่มอีก 7,000 กว่าล้านบาท ดังนั้นเมื่อรวมกับเงินกู้เดิม 1.2 หมื่นล้านบาทที่มีก็จะทำให้หนี้กองทุนอ้อยฯ เพิ่มสูงถึง 2.4-2.5 หมื่นล้านบาท
ดังนั้น หากพิจารณารายได้หลักมีเพียงการแยกภาษีมูลค่าจากน้ำตาลทรายที่จะได้ปีละเพียง 1,300 ล้านบาท จึงเป็นไปได้ยากที่ธ.ก.ส.จะให้กู้จึงจำเป็นต้องจัดทำแผนรายได้ให้สอดคล้องกับหนี้ซึ่งท้ายสุดมีเพียงทางเดียวคือการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานอีก 5 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) จากน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิจาก 15 บาทต่อ กก.เป็น 20 บาทต่อ กก. น้ำตาลทรายขาวธรรมดา 14 บาท/กก.เป็น 19 บาทต่อ กก. ส่งผลให้ราคาขายปลีกต้องขยับตามดังนี้คือ ราคาน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์จะปรับขึ้นจาก 18.25 บาทต่อ กก. เป็น 23.25 บาทต่อ กก. ทรายขาวธรรมดาจะปรับจาก 17.25 บาทต่อ กก.เป็น 22.25 บาทต่อ กก. (กรณีถุง 1 กก.บวกค่าแพคเกจจิ้งอีก 75 สตางค์ต่อ กก.) ซึ่งหากครม.เห็นชอบตามแนวทางดังกล่าวก็จะมีผลทันทีเพื่อป้องกันการกักตุน
อย่างไรก็ตาม ราคาที่จะปรับขึ้นทั้งชาวไร่และโรงงานยังไม่สามารถตกลงกันได้ว่าจะนำไปใช้หนี้ทั้งหมดหรือไม่เพราะโรงงานเห็นว่าควรจะมีส่วนรับรู้ด้วยแต่ชาวไร่ต้องการให้เงินไหลเข้ากองทุนฯเพื่อใช้หนี้ทั้งหมด
สั่ง 47 รง.เบรกขายน้ำตาลรอ ครม.เคาะ
แหล่งข่าวกล่าวว่า นายสุวิทย์ ได้สั่งการให้โรงงานน้ำตาล 47แห่ง ระงับการจำหน่ายน้ำตาล โควตาก. (ขายในประเทศ)โควตาข. (เพื่อส่งออกโดยบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย) และโควตา ค. (ส่งออกโดยโรงงานน้ำตาล)เป็นการชั่วคราว จนกว่าเรื่องการขึ้นราคาน้ำตาลจะได้รับการอนุมัติจาก ครม. ทำให้การขึ้นงวดทุกวันจันทร์ของสัปดาห์สำหรับโควตา ก. เมื่อวันที่ 28 เม.ย.นี้ จำนวน 380,000 กระสอบ จาก 47โรงงาน ถูกระงับไปเพื่อรอการตั้งราคาขายปลีกใหม่ในวันที่ 29 เม.ย.แทน
ชาวไร่หวังรายได้ทั้งหมดใช้หนี้
นายราชัย ชูศิลป์กุล เลขาธิการสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทยและกรรมการ กอน. กล่าวยอมรับว่า การเพิ่มค่าอ้อยเป็น 807 บาทต่อตันด้วยการกู้เพิ่ม 107 บาทต่อตันนั้นเมื่อดูรายได้แล้วยากมากที่จะไม่พ้นการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายโดย กอน.จึงเห็นชอบการปรับราคาน้ำตาลทรายเพิ่มอีก 5 บาทต่อ กก. เพื่อเป็นรายได้นำมาชำระหนี้ ซึ่งปัจจุบันมีน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศ (โควตา ก.) 10 ล้านกระสอบเมื่อขึ้นราคาก็จะได้ประมาณ 5,000 กว่าล้านบาท เท่านั้นในปีนี้
“ชาวไร่อ้อยเองถ้าถามต้องการให้รายได้ที่เข้ามาใช้หนี้ทั้งหมด เพื่อรักษาอุตสาหกรรมนี้ไว้ตอนนี้ เขาหันไปปลูกข้าวกันแล้วเพราะราคาอ้อยได้เพิ่มแต่ก็เป็นการกู้หนี้มากขนาดนี้ ส่วนการขึ้นราคาหากดูเพื่อนบ้านที่บริโภคน้ำตาลทรายนั้นแม้จะขึ้นอีก 5 บาทต่อ กก. ก็ยังต่ำกว่าเพื่อนบ้านที่ราคาสูง 35-36 บาทต่อ กก.”นายราชัย กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การปรับราคาขายปลีกน้ำตาลทราย 3 บาทต่อ กก.เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 มี.ค.49 ซึ่งตรงกับสมัยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็น รมว.อุตสาหกรรม และในการปรับราคาครั้งนั้นมีความผิดพลาดที่เดิมจะนำเงินอย่างน้อย 2 บาทต่อ กก.เข้าเป็นรายได้กองทุนฯ เพื่อใช้หนี้โดยครม.สั่งกลับมาดูส่วนนี้ แต่ปรากฏเมื่อมาปฏิบัติจริงกลับไม่ได้นำเงินดังกล่าวมาชำระหนี้แต่อย่างใด โดยให้เป็นรายได้เข้าระบบแบ่งปันผลประโยชน์แทนจึงทำให้ปัญหาหนี้ไม่ได้ถูกสะสางและได้สะสมมาจนปัจจุบัน