ผู้จัดการรายวัน - เลี๊ยบชง ครม.อนุมัติ ธ.ก.ส.ปล่อยกู้กองทุนอ้อยฯ เพิ่มอีก 5.27 พันล้าน ใช้หนี้ราคาน้ำตาล อ้างไม่เกี่ยวกับการปรับราคาน้ำตาล กก.ละ 5 บาท เผยเมื่อวันที่ 15 ส.ค.กองทุนอ้อยฯ ใช้หนี้ ธ.ก.ส.งวดแรกแล้ว 3.2 พันล้าน
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ในวันที่ 19 ส.ค.นี้ นพ.สุรพงษ์ สืบวงษ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดสรรเงินกู้ให้กับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) จำนวน 5,277 ล้านบาท เพื่อนำมาชดเชยค่าอ้อยขั้นสุดท้ายประจำปีการผลิต 49/50 ให้กับระบบแบ่งปันผลประโยชน์ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้ตั้งงบประมาณเพื่อนำมาชำระหนี้เงินต้นคืนให้กับ ธ.ก.ส.ปีละ 450 ล้านบาท เป็นเวลา 12 ปี ส่วนกองทุนอ้อยฯ ต้องรับภาระอัตราดอกเบี้ย 5%
การที่กองทุนอ้อยฯ ต้องจ่ายเงินชดเชยค่าอ้อยคืนให้กับระบบฯ เนื่องจากราคาอ้อยขั้นสุดท้ายประจำปีการผลิต 49/50 นั้นไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์โดยอยู่ที่ระดับตันละ 700 บาทเศษ ขณะที่ได้กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นไว้ที่ 800 บาท ต่อตัน เพราะราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกตกต่ำและค่าเงินบาทแข็งค่ามาก ซึ่งตามกฎหมายอ้อยและน้ำตาลทรายได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าหากราคาอ้อยขั้นสุดท้ายไม่เป็นไปตามราคาอ้อยขั้นต้นในปีการผลิตนั้นๆ กองทุนอ้อยฯต้องแบกรับภาระโดยชดเชยเงินส่วนต่างคืนให้กับระบบแทนชาวไร่อ้อย
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ในการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอ ครม.ชุดที่ 2 ที่มี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯ และรมว.คลัง เป็นประธาน เมื่อวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้ให้ความเห็นชอบในเรื่องนี้แล้ว โดยมีข้อสังเกตจากหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะจากกระทรวงการคลังที่ให้กระทรวงอุตสาหกรรมกำกับดูแลให้กองทุนอ้อยฯ ปฏิบัติตามระเบียบเพื่อเรียกเก็บเงินค่ารักษาเสถียรภาพของระบบแบ่งปันฯ อย่างเข้มงวดเพื่อนำมาชำระค่าดอกเบี้ยให้กับ ธ.ก.ส.ด้วย
"การขอกู้เงินดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับกรณีที่ได้มีการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายอีก ก.ก.ละ 5 บาท แต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องของหนี้ก้อนเดิม ซึ่งในเบื้องต้น ธ.ก.ส.ไม่ขัดข้องแต่อย่างใด แต่จำเป็นต้องให้กองทุนฯ แสดงรายการและแหล่งที่มาของการใช้หนี้ให้ชัดเจน"
รายงานข่าวแจ้งเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันกองทุนอ้อย มีหนี้รวม 24,625 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ฤดูผลิตปี 2550/2551 จำนวน 12,370 ล้านบาท และหนี้เก่าที่ปรับโครงสร้างแล้ว 12,255 ล้านบาท ซึ่งสัญญาเงินกู้ปี 2550/2551 คิดอัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ ลบ 0.5% ปัจจุบันอยู่ที่ 5.5% ทำให้กองทุนมีภาระดอกเบี้ยปีละ 5% แบ่งชำระหนี้ภายใน 4 ปี โดยปีแรก ชำระ 4,400 ล้านบาท ปีที่ 2 ชำระ 7,800 ล้านบาท ปีที่ 3 ชำระ 8,200 ล้านบาท และปีที่ 4 ชำระที่เหลือทั้งหมด
เมื่อวันที่ 15 ส.ค. ที่ผ่านมา กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายได้นำเงินจากกรณีการเรียกเก็บรายได้ในการปรับขึ้นราคาน้ำตายทรายขายปลีกหน้าโรงงาน 5 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) งวดแรกจากปริมาณการขายน้ำตาลทรายตั้งแต่ 30 เม.ย.- 29 ก.ค.รวมวงเงิน 3,251 ล้านบาท ชำระหนี้คืนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) เรียบร้อยแล้ว และจะทยอยจ่ายคืนหนี้ทุกเดือนในวันที่ 15 ของเดือนต่อไปจนครบการชำระหนี้ทั้งหมด 2.46 หมื่นล้านบาท ภายในไม่เกิน 4 ปี
"เป็นไปตามระเบียบของการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 5 บาท ต่อ กก.ที่จะนำรายได้ส่วนหนี้มาชำระหนี้คืน ธ.ก.ส.ซึ่งหลังจากนี้ จะจ่ายทุกเดือน จากการประเมินยอดขายน้ำตาลในแต่ละเดือน คาดว่า จะมีเงินรายรับเพื่อนำไปใช้หนี้ ธ.ก.ส.ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 700-800 ล้านบาท ซึ่งตามแผนปลายปีนี้ตั้งเป้าใช้หนี้ไม่ต่ำกว่า 4,400 ล้านบาท คาดเกินเป้าหมายที่วางไว้ หากไม่มีข้อผิดพลาดแผนชำระหนี้อาจหมดก่อน4 ปีที่กำหนด"
จากการพิจารณาทิศทางราคาน้ำตาลตลาดโลกในปี 2552 คาดว่า ราคาจะยังคงทรงตัวระดับสูงในปัจจุบัน 14-15 เซนต์ต่อปอนด์ เนื่องจากการผลิตของโลกใกล้เคียงกับการบริโภค โดยผลผลิตที่เคยเกินความต้องการลดลงไป ผลจากการผลิตของอินเดียที่ลดพื้นที่ปลูกอ้อยเพราะหันไปปลูกข้าวสาลี ซึ่งมีราคาแพงกว่าแทน ขณะเดียวกัน จีนเกิดประสบภัยน้ำท่วมทำให้ผลผลิตลดต่ำลงเช่นกัน ดังนั้น ทิศทางราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปีนี้ถึงปี 2552 จะยังดีต่อเนื่อง และจากการทำราคาขายน้ำตาลทรายล่วงหน้าของบริษัทอ้อยและน้ำตาลทราย (อนท.)ไปแล้ว 45% ในราคาเฉลี่ย 17.26 เซนต่อปอนด์ หากคำนวณราคาอ้อยขั้นต้นคงจะอยู่ประมาณ 900 บาทต่อตัน ทั้งนี้ต้องพิจารณาปริมาณน้ำตาลส่วนที่เหลือว่าจะทำราคาได้ดีอีกหรือไม่
"ถ้าดูลักษณะนี้แล้วเราก็คงค่อนข้างมั่นใจว่าการกู้เงินเร็วๆ นี้ เพื่อนำมาเพิ่มราคาอ้อยเช่นที่ทำในอดีตที่ผ่านมาไม่น่าจะเกิดขึ้นแต่ปีถัดไปจะเกิดหรือไม่คงตอบไม่ได้เช่นกันแต่ก็หวังว่าจะไม่เกิด".
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ในวันที่ 19 ส.ค.นี้ นพ.สุรพงษ์ สืบวงษ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดสรรเงินกู้ให้กับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) จำนวน 5,277 ล้านบาท เพื่อนำมาชดเชยค่าอ้อยขั้นสุดท้ายประจำปีการผลิต 49/50 ให้กับระบบแบ่งปันผลประโยชน์ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้ตั้งงบประมาณเพื่อนำมาชำระหนี้เงินต้นคืนให้กับ ธ.ก.ส.ปีละ 450 ล้านบาท เป็นเวลา 12 ปี ส่วนกองทุนอ้อยฯ ต้องรับภาระอัตราดอกเบี้ย 5%
การที่กองทุนอ้อยฯ ต้องจ่ายเงินชดเชยค่าอ้อยคืนให้กับระบบฯ เนื่องจากราคาอ้อยขั้นสุดท้ายประจำปีการผลิต 49/50 นั้นไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์โดยอยู่ที่ระดับตันละ 700 บาทเศษ ขณะที่ได้กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นไว้ที่ 800 บาท ต่อตัน เพราะราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกตกต่ำและค่าเงินบาทแข็งค่ามาก ซึ่งตามกฎหมายอ้อยและน้ำตาลทรายได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าหากราคาอ้อยขั้นสุดท้ายไม่เป็นไปตามราคาอ้อยขั้นต้นในปีการผลิตนั้นๆ กองทุนอ้อยฯต้องแบกรับภาระโดยชดเชยเงินส่วนต่างคืนให้กับระบบแทนชาวไร่อ้อย
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ในการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอ ครม.ชุดที่ 2 ที่มี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯ และรมว.คลัง เป็นประธาน เมื่อวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้ให้ความเห็นชอบในเรื่องนี้แล้ว โดยมีข้อสังเกตจากหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะจากกระทรวงการคลังที่ให้กระทรวงอุตสาหกรรมกำกับดูแลให้กองทุนอ้อยฯ ปฏิบัติตามระเบียบเพื่อเรียกเก็บเงินค่ารักษาเสถียรภาพของระบบแบ่งปันฯ อย่างเข้มงวดเพื่อนำมาชำระค่าดอกเบี้ยให้กับ ธ.ก.ส.ด้วย
"การขอกู้เงินดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับกรณีที่ได้มีการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายอีก ก.ก.ละ 5 บาท แต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องของหนี้ก้อนเดิม ซึ่งในเบื้องต้น ธ.ก.ส.ไม่ขัดข้องแต่อย่างใด แต่จำเป็นต้องให้กองทุนฯ แสดงรายการและแหล่งที่มาของการใช้หนี้ให้ชัดเจน"
รายงานข่าวแจ้งเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันกองทุนอ้อย มีหนี้รวม 24,625 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ฤดูผลิตปี 2550/2551 จำนวน 12,370 ล้านบาท และหนี้เก่าที่ปรับโครงสร้างแล้ว 12,255 ล้านบาท ซึ่งสัญญาเงินกู้ปี 2550/2551 คิดอัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ ลบ 0.5% ปัจจุบันอยู่ที่ 5.5% ทำให้กองทุนมีภาระดอกเบี้ยปีละ 5% แบ่งชำระหนี้ภายใน 4 ปี โดยปีแรก ชำระ 4,400 ล้านบาท ปีที่ 2 ชำระ 7,800 ล้านบาท ปีที่ 3 ชำระ 8,200 ล้านบาท และปีที่ 4 ชำระที่เหลือทั้งหมด
เมื่อวันที่ 15 ส.ค. ที่ผ่านมา กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายได้นำเงินจากกรณีการเรียกเก็บรายได้ในการปรับขึ้นราคาน้ำตายทรายขายปลีกหน้าโรงงาน 5 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) งวดแรกจากปริมาณการขายน้ำตาลทรายตั้งแต่ 30 เม.ย.- 29 ก.ค.รวมวงเงิน 3,251 ล้านบาท ชำระหนี้คืนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) เรียบร้อยแล้ว และจะทยอยจ่ายคืนหนี้ทุกเดือนในวันที่ 15 ของเดือนต่อไปจนครบการชำระหนี้ทั้งหมด 2.46 หมื่นล้านบาท ภายในไม่เกิน 4 ปี
"เป็นไปตามระเบียบของการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 5 บาท ต่อ กก.ที่จะนำรายได้ส่วนหนี้มาชำระหนี้คืน ธ.ก.ส.ซึ่งหลังจากนี้ จะจ่ายทุกเดือน จากการประเมินยอดขายน้ำตาลในแต่ละเดือน คาดว่า จะมีเงินรายรับเพื่อนำไปใช้หนี้ ธ.ก.ส.ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 700-800 ล้านบาท ซึ่งตามแผนปลายปีนี้ตั้งเป้าใช้หนี้ไม่ต่ำกว่า 4,400 ล้านบาท คาดเกินเป้าหมายที่วางไว้ หากไม่มีข้อผิดพลาดแผนชำระหนี้อาจหมดก่อน4 ปีที่กำหนด"
จากการพิจารณาทิศทางราคาน้ำตาลตลาดโลกในปี 2552 คาดว่า ราคาจะยังคงทรงตัวระดับสูงในปัจจุบัน 14-15 เซนต์ต่อปอนด์ เนื่องจากการผลิตของโลกใกล้เคียงกับการบริโภค โดยผลผลิตที่เคยเกินความต้องการลดลงไป ผลจากการผลิตของอินเดียที่ลดพื้นที่ปลูกอ้อยเพราะหันไปปลูกข้าวสาลี ซึ่งมีราคาแพงกว่าแทน ขณะเดียวกัน จีนเกิดประสบภัยน้ำท่วมทำให้ผลผลิตลดต่ำลงเช่นกัน ดังนั้น ทิศทางราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปีนี้ถึงปี 2552 จะยังดีต่อเนื่อง และจากการทำราคาขายน้ำตาลทรายล่วงหน้าของบริษัทอ้อยและน้ำตาลทราย (อนท.)ไปแล้ว 45% ในราคาเฉลี่ย 17.26 เซนต่อปอนด์ หากคำนวณราคาอ้อยขั้นต้นคงจะอยู่ประมาณ 900 บาทต่อตัน ทั้งนี้ต้องพิจารณาปริมาณน้ำตาลส่วนที่เหลือว่าจะทำราคาได้ดีอีกหรือไม่
"ถ้าดูลักษณะนี้แล้วเราก็คงค่อนข้างมั่นใจว่าการกู้เงินเร็วๆ นี้ เพื่อนำมาเพิ่มราคาอ้อยเช่นที่ทำในอดีตที่ผ่านมาไม่น่าจะเกิดขึ้นแต่ปีถัดไปจะเกิดหรือไม่คงตอบไม่ได้เช่นกันแต่ก็หวังว่าจะไม่เกิด".