เงินรายได้จากการขึ้นน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 5 บาท ต่อ กก.ล็อตแรก 3,251 ล้านบาท ถูกส่งใช้หนี้คืน ธ.ก.ส.แล้วตั้งแต่ 15 ส.ค.เตรียมรีดอีก 700-800 ล้านบาท เพื่อทยอยคืนหนี้ ธ.ก.ส.ทุกเดือน เผยตามแผนจะชำระครบภายใน 4 ปีวงเงิน 2.46 หมื่นล้านบาท
นายวีรศักดิ์ ขวัญเมือง ผู้อำนวยการกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 ส.ค.กองทุนฯได้นำเงินจากกรณีการเรียกเก็บรายได้ในการปรับขึ้นราคาน้ำตายทรายขายปลีกหน้าโรงงาน 5 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) งวดแรกจากปริมาณการขายน้ำตาลทรายตั้งแต่ 30 เม.ย.- 29 ก.ค.รวมวงเงิน 3,251 ล้านบาท ชำระหนี้คืนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) เรียบร้อยแล้ว และจะทยอยจ่ายคืนหนี้ทุกเดือนในวันที่ 15 ของเดือนต่อไปจนครบการชำระหนี้ทั้งหมด 2.46 หมื่นล้านบาท ภายในไม่เกิน 4 ปี
“เป็นไปตามระเบียบของการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 5 บาท ต่อ กก.ที่จะนำรายได้ส่วนหนี้มาชำระหนี้คืน ธ.ก.ส.ซึ่งหลังจากนี้ จะจ่ายทุกเดือน จากการประเมินยอดขายน้ำตาลในแต่ละเดือน คาดว่า จะมีเงินรายรับเพื่อนำไปใช้หนี้ ธ.ก.ส.ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 700-800 ล้านบาท ซึ่งตามแผนปลายปีนี้ตั้งเป้าใช้หนี้ไม่ต่ำกว่า 4,400 ล้านบาท คาดเกินเป้าหมายที่วางไว้ หากไม่มีข้อผิดพลาดแผนชำระหนี้อาจหมดก่อน4 ปีที่กำหนด” นายวีรศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้ จากการพิจารณาทิศทางราคาน้ำตาลตลาดโลกในปี 2552 คาดว่า ราคาจะยังคงทรงตัวระดับสูงในปัจจุบัน 14-15 เซนต์ต่อปอนด์ เนื่องจากการผลิตของโลกใกล้เคียงกับการบริโภค โดยผลผลิตที่เคยเกินความต้องการลดลงไป ผลจากการผลิตของอินเดียที่ลดพื้นที่ปลูกอ้อยเพราะหันไปปลูกข้าวสาลี ซึ่งมีราคาแพงกว่าแทน ขณะเดียวกัน จีนเกิดประสบภัยน้ำท่วมทำให้ผลผลิตลดต่ำลงเช่นกัน ดังนั้น ทิศทางราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปีนี้ถึงปี 2552 จะยังดีต่อเนื่อง และจากการทำราคาขายน้ำตาลทรายล่วงหน้าของบริษัทอ้อยและน้ำตาลทราย (อนท.)ไปแล้ว 45% ในราคาเฉลี่ย 17.26 เซนต่อปอนด์ หากคำนวณราคาอ้อยขั้นต้นคงจะอยู่ประมาณ 900 บาทต่อตัน ทั้งนี้ต้องพิจารณาปริมาณน้ำตาลส่วนที่เหลือว่าจะทำราคาได้ดีอีกหรือไม่
“ถ้าดูลักษณะนี้แล้วเราก็คงค่อนข้างมั่นใจว่าการกู้เงินเร็วๆ นี้ เพื่อนำมาเพิ่มราคาอ้อยเช่นที่ทำในอดีตที่ผ่านมาไม่น่าจะเกิดขึ้นแต่ปีถัดไปจะเกิดหรือไม่คงตอบไม่ได้เช่นกันแต่ก็หวังว่าจะไม่เกิด” นายวีรศักดิ์ กล่าว
นายวีรศักดิ์ ขวัญเมือง ผู้อำนวยการกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 ส.ค.กองทุนฯได้นำเงินจากกรณีการเรียกเก็บรายได้ในการปรับขึ้นราคาน้ำตายทรายขายปลีกหน้าโรงงาน 5 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) งวดแรกจากปริมาณการขายน้ำตาลทรายตั้งแต่ 30 เม.ย.- 29 ก.ค.รวมวงเงิน 3,251 ล้านบาท ชำระหนี้คืนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) เรียบร้อยแล้ว และจะทยอยจ่ายคืนหนี้ทุกเดือนในวันที่ 15 ของเดือนต่อไปจนครบการชำระหนี้ทั้งหมด 2.46 หมื่นล้านบาท ภายในไม่เกิน 4 ปี
“เป็นไปตามระเบียบของการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 5 บาท ต่อ กก.ที่จะนำรายได้ส่วนหนี้มาชำระหนี้คืน ธ.ก.ส.ซึ่งหลังจากนี้ จะจ่ายทุกเดือน จากการประเมินยอดขายน้ำตาลในแต่ละเดือน คาดว่า จะมีเงินรายรับเพื่อนำไปใช้หนี้ ธ.ก.ส.ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 700-800 ล้านบาท ซึ่งตามแผนปลายปีนี้ตั้งเป้าใช้หนี้ไม่ต่ำกว่า 4,400 ล้านบาท คาดเกินเป้าหมายที่วางไว้ หากไม่มีข้อผิดพลาดแผนชำระหนี้อาจหมดก่อน4 ปีที่กำหนด” นายวีรศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้ จากการพิจารณาทิศทางราคาน้ำตาลตลาดโลกในปี 2552 คาดว่า ราคาจะยังคงทรงตัวระดับสูงในปัจจุบัน 14-15 เซนต์ต่อปอนด์ เนื่องจากการผลิตของโลกใกล้เคียงกับการบริโภค โดยผลผลิตที่เคยเกินความต้องการลดลงไป ผลจากการผลิตของอินเดียที่ลดพื้นที่ปลูกอ้อยเพราะหันไปปลูกข้าวสาลี ซึ่งมีราคาแพงกว่าแทน ขณะเดียวกัน จีนเกิดประสบภัยน้ำท่วมทำให้ผลผลิตลดต่ำลงเช่นกัน ดังนั้น ทิศทางราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปีนี้ถึงปี 2552 จะยังดีต่อเนื่อง และจากการทำราคาขายน้ำตาลทรายล่วงหน้าของบริษัทอ้อยและน้ำตาลทราย (อนท.)ไปแล้ว 45% ในราคาเฉลี่ย 17.26 เซนต่อปอนด์ หากคำนวณราคาอ้อยขั้นต้นคงจะอยู่ประมาณ 900 บาทต่อตัน ทั้งนี้ต้องพิจารณาปริมาณน้ำตาลส่วนที่เหลือว่าจะทำราคาได้ดีอีกหรือไม่
“ถ้าดูลักษณะนี้แล้วเราก็คงค่อนข้างมั่นใจว่าการกู้เงินเร็วๆ นี้ เพื่อนำมาเพิ่มราคาอ้อยเช่นที่ทำในอดีตที่ผ่านมาไม่น่าจะเกิดขึ้นแต่ปีถัดไปจะเกิดหรือไม่คงตอบไม่ได้เช่นกันแต่ก็หวังว่าจะไม่เกิด” นายวีรศักดิ์ กล่าว