เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ (28เม.ย.) มีการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อวางแนวทางในการที่ป.ป.ช. จะรับคดีจากคตส. ไปดำเนินการ หลังคตส.หมดวาระในวันที่ 30 มิ.ย.นี้
ภายหลังการประชุม นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. แถลงว่า ที่ประชุมมีมติตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างป.ป.ช. และคตส. เพื่อพิจารณาส่งมอบงานระหว่างกันว่า คดีใดจะส่งมอบให้หน่วยงานใด โดยคดีที่เกี่ยวกับการทุจริต คอร์รัปชั่น เป็นอำนาจของป.ป.ช.โดยตรงที่จะรับไปดำเนินการทั้งหมด
ส่วนคดีที่เกี่ยวข้องกับภาษี จะส่งให้กรมสรรพากร และคดีที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ก็จะส่งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ.) โดย ป.ป.ช.จะเป็นหน่วยงานหลักในการประสานข้อมูล ติดตามทวงถาม และขอทราบความคืบหน้า นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นด้วยในคดีที่อยู่ระหว่างการไต่สวนของ คตส. แต่ยังไม่สามารถสรุปให้อัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องหรือไม่ โดย ป.ป.ช.จะรับช่วงต่อของคดี จะไม่มีการรื้อสำนวนขึ้นมาสอบใหม่ โดยกรรมการ ป.ป.ช. จะสามารถแต่งตั้งกรรมการ คตส. และอนุกรรมการไต่สวนจาก คตส. เข้าร่วมเป็นคณะทำงานดูแลคดีได้ โดยต้องเป็นมติจากที่ประชุมป.ป.ช. สำหรับคดีที่ส่งให้อัยการสูงสุด แต่มีความเห็นต่างกันจนต้องตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อพิจารณาความไม่สมบูรณ์ของสำนวน ซึ่งหากป.ป.ช.รับคดีในช่วงนี้ ทางป.ป.ช. สามารถตั้งกรรมการคตส. ที่เคยดูแลคดีดังกล่าวเข้ามาเป็นคณะทำงานร่วมกับอัยการสูงสุดได้
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ป.ป.ช.จะพิจารณาสำนวนอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และเลือกบุคคลากรที่มีความรู้เข้าไปดูแล เหมือนกับคดีอื่นที่ป.ป.ช. รับมาจากพนักงานสอบสวนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
นายกล้านรงค์ กล่าวอีกว่า ที่สำคัญที่สุดที่ประชุมทั้งสองฝ่ายเห็นว่าการพิจารณาตรวจสอบและไต่สวนของ คตส. มีข้อมูลข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง จึงเห็นควรให้มีการศึกษาข้อเท็จจริง และทำการวิจสัยเพื่อเผยแพร่กระบวนการทุจริตคอร์รัปชั่น ว่าซับซ้อนเพียงใด เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา และสาธารณชน และเป็นประโยชน์ต่อการบูรณาการในการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นต่อไป
เมื่อถามว่า หากมีการแก้รัฐธรรมนูญ กำหนดอายุ ป.ป.ช.ชุดนี้เหลือ 180 วัน หลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ จะส่งผลต่อคดีหรือไม่ นายกล้านรงค์ กล่าวว่า ป.ป.ช.ได้ตกลงร่วมกันว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญปี 50 กรรมการ ป.ป.ช.พร้อมทำตามอำนาจกฎหมายกำหนด หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีเหตุให้ป.ป.ช.สิ้นสุดลง ป.ป.ช. ทั้ง 9 คน ก็จะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ ไม่ท้อถอยจนวันสุดท้ายตามกฎหมาย
**เผยคตส.ถูกฟ้องแล้ว 19 คดี
ด้านนายสัก กอแสงเรืองโฆษก คตส. กล่าวว่า นอกจาก ป.ป.ช.ต้องรับโอนคดีของคตส.แล้ว ป.ป.ช.ยังต้องรับผิดชอบคดีที่ คตส.ถูกฟ้องทั้งทางแพ่ง และอาญา รวมขณะนี้ 19 คดี ทั้งที่อยู่ในกระบวนการของศาล ทั้งแพ่งและอาญา และอยู่ในชั้นการดำเนินงานของพนักงานสอบสวน โดยจะต้องดูแลในเรื่องของงบประมาณด้วย
ขณะนี้คดีที่คตส.ได้ดำเนินการและอยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาล คือ คดีการจัดซื้อที่ดินย่านรัชดา ซึ่งศาลนัดตรวจเอกสารในวันที่ 29-30 เม.ย.นี้ คดีเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษี ศาลนัดฟังคำพยานจำเลยในวันที่ 2 และ 30 พ.ค.นี้ คดีการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2-3 ตัว ที่ คตส. ตั้งทนายความจากสภาทนายความขึ้นมาฟ้องร้องคดีเอง โดยศาลนัดฟังคำสั่งวันที่ 14 พ.ค.นี้ ขณะที่คดีทุจริตการจัดซื้อพันธุ์กล้ายางพารา คตส. จะประสานขอความร่วมมือจากสภาทนายความในการฟ้องคดีเอง หลังจากที่อัยการสูงสุดเห็นไม่ตรงกับ คตส. นอกจากนี้ในคดีการปล่อยเงินกู้ให้รัฐบาลพม่า ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า หรือเอ็กซิมแบงก์ ที่คตส. ส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณาส่งฟ้องคดีเมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่ผ่านมา ขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบจากอัยการสุงสุด เพราะยังอยู่ในช่วง 30 วันที่อัยการสูงสุดมีอำนาจในการพิจารณา
สำหรับคดีที่สรุปสำนวนแล้วและกำลังขอมติจากที่ประชุม คตส. เพื่อส่งให้อัยการสูงสุดสั่งฟ้องต่อไปคือ คดีการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000 ในสนามบินสุวรรณภูมิ และคดีที่อยู่ระหว่างการสรุปของคณะอนุกรรมการไต่สวนคือ คดีการติดตั้งท่อร้อยสายไฟฟ้าในสนามบินสุวรรณภูมิ หรือ ท่อร้อยสาย คดีทางเชื่อมรถไฟฟ้าความเร็วสูงไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ หรือ แอร์พอร์ตลิงค์ คดีบ้านเอื้ออาทร คดีการจัดซื้อรถ-เรือดับเพลิงของกทม. คดีการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ของบริษัทห้องปฏิบัติการกลางตรวจสอบผลิตภัณฑ์เกษตร และอาหาร จำกัด หรือเซ็นทรัลแลป คดีการปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทย รวมถึงคดี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เอื้อประโยชน์ ให้กับธุรกิจตัวเองและพวกพ้อง
นอกจากนี้ยังรวมถึงการอายัดทรัพย์ครอบครัวชินวัตร 6.5 หมื่นล้าน ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการพิจารณาคำร้องพิสูจน์ทรัพย์ เพื่อเพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์ กำลังพิจารณาอยู่ ซึ่งคตส.จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลา
เมื่อถามว่า หากไม่เสร็จก่อน คตส.ครบวาระ จะส่งผลให้คำสั่งในการอายัดทรัพย์ไม่มีผลทางกฎหมายหรือไม่ นายกล้านรงค์ ตอบแทนว่า เป็นเรื่องที่คตส.จะพิจารณากัน เพราะในที่ประชุมไม่ได้พูดถึงรายละเอียด แต่เป็นประเด็นที่ คตส.ต้องหยิบมาพิจารณาเพื่อให้ได้ข้อยุติ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในส่วนของคดีภาษี ที่ผ่านมามีปัญหาคณะกรรมการอุทรณ์ภาษี ของนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ เห็นควรไม่ต้องเก็บภาษี ซึ่งไม่ตรงกับ คตส. เมื่อคตส.หมดวาระ จะมีปัญหาหรือไม่ เพราะกรรมการป.ป.ช.ไม่มีอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากร เหมือนกับ คตส. นายสัก กล่าวว่า ป.ป.ช. จะประสานคดีต่อเนื่องได้ แม้ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจในการประเมินภาษี แต่ก็มีช่องทางสามารถติดตามความคืบหน้าของคดีได้ ซี่งที่ผ่านมาคดีใดที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่น คตส. ก็ประสานโดยตรงอยู่แล้ว ขณะที่ นายกล้านรงค์ กล่าวว่า ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ใหอำนาจ คตส.กว้าง เช่น ให้มีอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรด้วย แต่ในคดีภาษีทาง คตส. ก็ต้องส่งให้กรมสรรพากรดูแล ส่วนขั้นตอนการติดตามเมื่อไม่มี คตส.แล้ว การติดตามประสานงานอย่างไรอยู่ที่ กรรมการ ป.ป.ช. จะพิจารณาอีกที เพราะตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คปค.ในการต่ออายุ คตส. มีการกำหนดให้ ป.ป.ช. ต้องเข้ามามีอำนาจรับผิดชอบคดีที่เกี่ยวกับคตส.ทั้งหมด
**"อภิรักษ์"แจงคตส.วันนี้
ด้านนายนาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส. ในฐานะประธานอนุกรรมการไต่สวนคดีการจัดซื้อเรือและรถดับเพลิงของ กทม. กล่าวว่า ในวันเดียวกันนี้ คุณหญิง ณฐนนท ทวีสิน อดีตปลัด กทม. หนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาคดีดังกล่าวได้เดินทางเข้าพบอนุกรรมการ เพื่อยื่นหนังสือขอเอกสาร และรายละเอียดการแจ้งข้อกล่าวเพิ่มเติม กว่า 10 รายการ โดยส่วนใหญ่เป็นสัญญาเกี่ยวกับการซื้อขาย เพื่อประกอบการทำหนังสือชี้แจงข้อกล่าวหา โดยอ้างว่าได้เกษียรอายุราชการไปกว่า 2 ปีแล้ว จึงหาเอกสารประกอบการชี้แจงได้ยาก ซึ่งคณะอนุกรรมการจะพิจารณาอีกครั้งว่าจะอนุมัติตามคำขอหรือไม่ในวันนี้
ทั้งนี้ ในช่วงบ่ายวันนี้ (29 เม.ย.)นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.หนึ่งในผู้ถูกกล่าวหา จะเข้าชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วยตัวเอง ส่วนในวันที่ 1 พ.ค.นี้ อนุกรรมการได้นัดให้ นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พาณิชย์ เข้าชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วย
เมื่อถามว่าผู้ถูกกล่าวหาเพิ่งเข้าชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา คดีนี้จะสรุปส่งให้อัยการสูงสุดได้ทันตามกรอบอายุ คตส.หรือไม่ นายนาม กล่าวว่า ถ้าไม่ทันก็โอนไปให้ป.ป.ช.ทำต่อ
ผู้สื่อข่าวถามว่าหาก คตส.หมดวาระ แล้วคดีโอนไปที่ ป.ป.ช.ถ้ามีการตั้งให้เป็นคณะทำงานดูแลคดีดังกล่าว จะรับเป็นคณะทำงานหรือไม่ นายนาม กล่าวว่า คงไม่ขัดข้อง เพราะเป็นการทำงานเพื่อประเทศ ผู้สื่อข่าวถ่ามย้ำว่า แสดงว่าแม้ คตส.หมดวาระ แต่ก็สามารถไปเกิดใหม่ได้ที่ ป.ป.ช. นายนาม หัวเราะ พร้อมกล่าวว่า อาจจะได้ไปอยู่ที่ป.ป.ช. ไปเป็นเจ้าหน้าที่ชุดอนุกรรมการของ ป.ป.ช. เพราะทางป.ป.ช.คงไม่รู้เรื่องดีเท่า คตส. ก็ต้องไปชี้ช่องให้เข้าใจ
อย่างไรก็ตาม จากการร่วมหารือกับนายกล้านรงค์ ทราบว่าในการประชุม ป.ป.ช.วันนี้ ที่ประชุมจะพิจารณาอนุมัติงบ 17 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้คตส. ซึ่งเดิมขอไป 19 ล้านบาท แต่ถูกสำนักงบประมาณตัดเหลือ 17 ล้านบาท แต่ก็ไม่กระทบกับการทำงานของ คตส.
ภายหลังการประชุม นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. แถลงว่า ที่ประชุมมีมติตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างป.ป.ช. และคตส. เพื่อพิจารณาส่งมอบงานระหว่างกันว่า คดีใดจะส่งมอบให้หน่วยงานใด โดยคดีที่เกี่ยวกับการทุจริต คอร์รัปชั่น เป็นอำนาจของป.ป.ช.โดยตรงที่จะรับไปดำเนินการทั้งหมด
ส่วนคดีที่เกี่ยวข้องกับภาษี จะส่งให้กรมสรรพากร และคดีที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ก็จะส่งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ.) โดย ป.ป.ช.จะเป็นหน่วยงานหลักในการประสานข้อมูล ติดตามทวงถาม และขอทราบความคืบหน้า นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นด้วยในคดีที่อยู่ระหว่างการไต่สวนของ คตส. แต่ยังไม่สามารถสรุปให้อัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องหรือไม่ โดย ป.ป.ช.จะรับช่วงต่อของคดี จะไม่มีการรื้อสำนวนขึ้นมาสอบใหม่ โดยกรรมการ ป.ป.ช. จะสามารถแต่งตั้งกรรมการ คตส. และอนุกรรมการไต่สวนจาก คตส. เข้าร่วมเป็นคณะทำงานดูแลคดีได้ โดยต้องเป็นมติจากที่ประชุมป.ป.ช. สำหรับคดีที่ส่งให้อัยการสูงสุด แต่มีความเห็นต่างกันจนต้องตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อพิจารณาความไม่สมบูรณ์ของสำนวน ซึ่งหากป.ป.ช.รับคดีในช่วงนี้ ทางป.ป.ช. สามารถตั้งกรรมการคตส. ที่เคยดูแลคดีดังกล่าวเข้ามาเป็นคณะทำงานร่วมกับอัยการสูงสุดได้
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ป.ป.ช.จะพิจารณาสำนวนอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และเลือกบุคคลากรที่มีความรู้เข้าไปดูแล เหมือนกับคดีอื่นที่ป.ป.ช. รับมาจากพนักงานสอบสวนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
นายกล้านรงค์ กล่าวอีกว่า ที่สำคัญที่สุดที่ประชุมทั้งสองฝ่ายเห็นว่าการพิจารณาตรวจสอบและไต่สวนของ คตส. มีข้อมูลข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง จึงเห็นควรให้มีการศึกษาข้อเท็จจริง และทำการวิจสัยเพื่อเผยแพร่กระบวนการทุจริตคอร์รัปชั่น ว่าซับซ้อนเพียงใด เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา และสาธารณชน และเป็นประโยชน์ต่อการบูรณาการในการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นต่อไป
เมื่อถามว่า หากมีการแก้รัฐธรรมนูญ กำหนดอายุ ป.ป.ช.ชุดนี้เหลือ 180 วัน หลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ จะส่งผลต่อคดีหรือไม่ นายกล้านรงค์ กล่าวว่า ป.ป.ช.ได้ตกลงร่วมกันว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญปี 50 กรรมการ ป.ป.ช.พร้อมทำตามอำนาจกฎหมายกำหนด หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีเหตุให้ป.ป.ช.สิ้นสุดลง ป.ป.ช. ทั้ง 9 คน ก็จะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ ไม่ท้อถอยจนวันสุดท้ายตามกฎหมาย
**เผยคตส.ถูกฟ้องแล้ว 19 คดี
ด้านนายสัก กอแสงเรืองโฆษก คตส. กล่าวว่า นอกจาก ป.ป.ช.ต้องรับโอนคดีของคตส.แล้ว ป.ป.ช.ยังต้องรับผิดชอบคดีที่ คตส.ถูกฟ้องทั้งทางแพ่ง และอาญา รวมขณะนี้ 19 คดี ทั้งที่อยู่ในกระบวนการของศาล ทั้งแพ่งและอาญา และอยู่ในชั้นการดำเนินงานของพนักงานสอบสวน โดยจะต้องดูแลในเรื่องของงบประมาณด้วย
ขณะนี้คดีที่คตส.ได้ดำเนินการและอยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาล คือ คดีการจัดซื้อที่ดินย่านรัชดา ซึ่งศาลนัดตรวจเอกสารในวันที่ 29-30 เม.ย.นี้ คดีเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษี ศาลนัดฟังคำพยานจำเลยในวันที่ 2 และ 30 พ.ค.นี้ คดีการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2-3 ตัว ที่ คตส. ตั้งทนายความจากสภาทนายความขึ้นมาฟ้องร้องคดีเอง โดยศาลนัดฟังคำสั่งวันที่ 14 พ.ค.นี้ ขณะที่คดีทุจริตการจัดซื้อพันธุ์กล้ายางพารา คตส. จะประสานขอความร่วมมือจากสภาทนายความในการฟ้องคดีเอง หลังจากที่อัยการสูงสุดเห็นไม่ตรงกับ คตส. นอกจากนี้ในคดีการปล่อยเงินกู้ให้รัฐบาลพม่า ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า หรือเอ็กซิมแบงก์ ที่คตส. ส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณาส่งฟ้องคดีเมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่ผ่านมา ขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบจากอัยการสุงสุด เพราะยังอยู่ในช่วง 30 วันที่อัยการสูงสุดมีอำนาจในการพิจารณา
สำหรับคดีที่สรุปสำนวนแล้วและกำลังขอมติจากที่ประชุม คตส. เพื่อส่งให้อัยการสูงสุดสั่งฟ้องต่อไปคือ คดีการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000 ในสนามบินสุวรรณภูมิ และคดีที่อยู่ระหว่างการสรุปของคณะอนุกรรมการไต่สวนคือ คดีการติดตั้งท่อร้อยสายไฟฟ้าในสนามบินสุวรรณภูมิ หรือ ท่อร้อยสาย คดีทางเชื่อมรถไฟฟ้าความเร็วสูงไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ หรือ แอร์พอร์ตลิงค์ คดีบ้านเอื้ออาทร คดีการจัดซื้อรถ-เรือดับเพลิงของกทม. คดีการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ของบริษัทห้องปฏิบัติการกลางตรวจสอบผลิตภัณฑ์เกษตร และอาหาร จำกัด หรือเซ็นทรัลแลป คดีการปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทย รวมถึงคดี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เอื้อประโยชน์ ให้กับธุรกิจตัวเองและพวกพ้อง
นอกจากนี้ยังรวมถึงการอายัดทรัพย์ครอบครัวชินวัตร 6.5 หมื่นล้าน ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการพิจารณาคำร้องพิสูจน์ทรัพย์ เพื่อเพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์ กำลังพิจารณาอยู่ ซึ่งคตส.จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลา
เมื่อถามว่า หากไม่เสร็จก่อน คตส.ครบวาระ จะส่งผลให้คำสั่งในการอายัดทรัพย์ไม่มีผลทางกฎหมายหรือไม่ นายกล้านรงค์ ตอบแทนว่า เป็นเรื่องที่คตส.จะพิจารณากัน เพราะในที่ประชุมไม่ได้พูดถึงรายละเอียด แต่เป็นประเด็นที่ คตส.ต้องหยิบมาพิจารณาเพื่อให้ได้ข้อยุติ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในส่วนของคดีภาษี ที่ผ่านมามีปัญหาคณะกรรมการอุทรณ์ภาษี ของนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ เห็นควรไม่ต้องเก็บภาษี ซึ่งไม่ตรงกับ คตส. เมื่อคตส.หมดวาระ จะมีปัญหาหรือไม่ เพราะกรรมการป.ป.ช.ไม่มีอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากร เหมือนกับ คตส. นายสัก กล่าวว่า ป.ป.ช. จะประสานคดีต่อเนื่องได้ แม้ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจในการประเมินภาษี แต่ก็มีช่องทางสามารถติดตามความคืบหน้าของคดีได้ ซี่งที่ผ่านมาคดีใดที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่น คตส. ก็ประสานโดยตรงอยู่แล้ว ขณะที่ นายกล้านรงค์ กล่าวว่า ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ใหอำนาจ คตส.กว้าง เช่น ให้มีอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรด้วย แต่ในคดีภาษีทาง คตส. ก็ต้องส่งให้กรมสรรพากรดูแล ส่วนขั้นตอนการติดตามเมื่อไม่มี คตส.แล้ว การติดตามประสานงานอย่างไรอยู่ที่ กรรมการ ป.ป.ช. จะพิจารณาอีกที เพราะตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คปค.ในการต่ออายุ คตส. มีการกำหนดให้ ป.ป.ช. ต้องเข้ามามีอำนาจรับผิดชอบคดีที่เกี่ยวกับคตส.ทั้งหมด
**"อภิรักษ์"แจงคตส.วันนี้
ด้านนายนาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส. ในฐานะประธานอนุกรรมการไต่สวนคดีการจัดซื้อเรือและรถดับเพลิงของ กทม. กล่าวว่า ในวันเดียวกันนี้ คุณหญิง ณฐนนท ทวีสิน อดีตปลัด กทม. หนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาคดีดังกล่าวได้เดินทางเข้าพบอนุกรรมการ เพื่อยื่นหนังสือขอเอกสาร และรายละเอียดการแจ้งข้อกล่าวเพิ่มเติม กว่า 10 รายการ โดยส่วนใหญ่เป็นสัญญาเกี่ยวกับการซื้อขาย เพื่อประกอบการทำหนังสือชี้แจงข้อกล่าวหา โดยอ้างว่าได้เกษียรอายุราชการไปกว่า 2 ปีแล้ว จึงหาเอกสารประกอบการชี้แจงได้ยาก ซึ่งคณะอนุกรรมการจะพิจารณาอีกครั้งว่าจะอนุมัติตามคำขอหรือไม่ในวันนี้
ทั้งนี้ ในช่วงบ่ายวันนี้ (29 เม.ย.)นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.หนึ่งในผู้ถูกกล่าวหา จะเข้าชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วยตัวเอง ส่วนในวันที่ 1 พ.ค.นี้ อนุกรรมการได้นัดให้ นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พาณิชย์ เข้าชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วย
เมื่อถามว่าผู้ถูกกล่าวหาเพิ่งเข้าชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา คดีนี้จะสรุปส่งให้อัยการสูงสุดได้ทันตามกรอบอายุ คตส.หรือไม่ นายนาม กล่าวว่า ถ้าไม่ทันก็โอนไปให้ป.ป.ช.ทำต่อ
ผู้สื่อข่าวถามว่าหาก คตส.หมดวาระ แล้วคดีโอนไปที่ ป.ป.ช.ถ้ามีการตั้งให้เป็นคณะทำงานดูแลคดีดังกล่าว จะรับเป็นคณะทำงานหรือไม่ นายนาม กล่าวว่า คงไม่ขัดข้อง เพราะเป็นการทำงานเพื่อประเทศ ผู้สื่อข่าวถ่ามย้ำว่า แสดงว่าแม้ คตส.หมดวาระ แต่ก็สามารถไปเกิดใหม่ได้ที่ ป.ป.ช. นายนาม หัวเราะ พร้อมกล่าวว่า อาจจะได้ไปอยู่ที่ป.ป.ช. ไปเป็นเจ้าหน้าที่ชุดอนุกรรมการของ ป.ป.ช. เพราะทางป.ป.ช.คงไม่รู้เรื่องดีเท่า คตส. ก็ต้องไปชี้ช่องให้เข้าใจ
อย่างไรก็ตาม จากการร่วมหารือกับนายกล้านรงค์ ทราบว่าในการประชุม ป.ป.ช.วันนี้ ที่ประชุมจะพิจารณาอนุมัติงบ 17 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้คตส. ซึ่งเดิมขอไป 19 ล้านบาท แต่ถูกสำนักงบประมาณตัดเหลือ 17 ล้านบาท แต่ก็ไม่กระทบกับการทำงานของ คตส.