วานนี้(11 เม.ย.) นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข(สธ.) ซึ่งถูกที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลการถือครองหุ้นของภริยาเกิน 5 % ขัดรัฐธรรมนูญ ยังคงไปปฏิบัติหน้าที่เป็นปกติ โดยในเวลาประมาณ 10.00 น.ได้เดินทางไปเป็นประธานพิธีเปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2551 ที่จัดขึ้นโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
ทั้งนี้ ก่อนเปิดงานนายไชยาได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีกระแสข่าวเรื่องความขัดแย้งกับนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีที่ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า นายไชยาได้แจ้งลาออกแล้วว่า จริงๆ แล้วไม่ได้มีความขัดแย้งกับนายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด โดยได้เรียนนายสมัครไปว่าจะรอหนังสือและคำวินิจฉัยจาก ป.ป.ช.ก่อนว่าจะออกมาในทิศทางใด ซึ่งยังไม่แน่ใจในคำตัดสิน เนื่องจาก ณ ขณะนั้นกระแสข่าวที่ออกมายังไม่ชัดเจน บางข่าวก็บอกว่า ป.ป.ช.ยังไม่มีมีหนังสือออกมา บางข่าวก็บอกว่า ป.ป.ช.มีมติเป็นเอกฉันท์แล้ว ดังนั้น จึงเรียนนายกรัฐมนตรีไปว่าจะรอหนังสือจากป.ป.ช.ก่อน หากกฎหมายชี้ว่าผิดจริงก็ต้องลาออก
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าช่วงนี้ท่านนายกรัฐมนตรี งานยุ่งมาก จึงทำให้จับใจความในคำพูดผิดไปว่า รอหนังสือจากตนเอง แต่จริงๆ แล้วต้องรอหนังสือจาก ป.ป.ช.ที่จะตัดสินเรื่องทุกอย่าง ซึ่งช่วงบ่ายวันที่ 10 เม.ย. ได้โทรศัพท์เรียนนายกรัฐมนตรีอีกครั้งซึ่งท่านก็เข้าใจแล้ว ในส่วนภายในพรรคพลังประชาชนไม่มีการกดดันอะไร ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าเรื่องนี้เป็นความเข้าใจผิดเท่านั้นเอง
“วันนี้ ป.ป.ช. ยังไม่อาจชี้ถูกชี้ผิดได้ เพราะต้องรอส่งเรื่องไปยัง 4 องค์กรและรอฟังคำตัดสินจากศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ขาด ด้วยสิทธิอันชอบธรรม ผมจึงยังมีสิทธิทำงานต่อไป เรื่องนี้ยืนยันว่า ได้ใช้ความบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง”
ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อวันที่10 เม.ย. ได้เดินทางไปรดน้ำขอพรจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้ให้พรอะไรบ้าง นายไชยาตอบว่า “ท่านนายกฯทักษิณให้พร ขอให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป”
วันเดียวกันมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและกลุ่มแพทย์ชนบท ได้ตั้งจุดรับลงรายชื่อ เพื่อถอดถอน นายไชยา ออกจากตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข มีประชาชนมาร่วม ลงรายชื่อจำนวนหนึ่ง โดย น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า จนถึงขณะนี้รายชื่อที่ร่วมถอดถอน นายไชยา มีจำนวน 1,750 ชื่อ จากทั้งจุดรับลงรายชื่อที่ตึกซีพีทาวน์เวอร์ และมหวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมั่นใจว่าจะได้รายชื่อประชาชนร่วมถอดถอนนายไชยา ครบทั้ง 20,000 รายชื่อ และจะเข้ายื่นต่อ นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา หลังเทศกาลสงกรานต์นี้
นายกล้านรงค์ จันทิก ในฐานะกรรมการ ป.ป.ช.กล่าวถึงการที่ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดนายไชยา กรณีภรรยาถือครองหุ้นเกิน 5 % ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 269 ควรจะยุติการทำงานเลยหรือไม่ว่า เป็นเรื่องของ นายกรัฐมนตรี คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ส.ส.และส.ว. ที่จะดำเนินการ และพิจารณาว่า ถ้านายไชยาทำงานอยู่จะมีปัญหาหรือไม่ แต่ทาง ป.ป.ช.เห็นว่ากรณีดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 269 ซึ่งก็จะต้องเข้าสู่มาตรา182 ซึ่งหมายถึง ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนายไชยา จะต้องพิจาณาตัวเองด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่าการที่นายไชยา ไม่ลาออกจะมีผลต่ออำนาจการสั่งโยกย้าย ข้าราชการหรือไม่ นายกล้านรงค์ กล่าวว่า จะต้องกลับไปดูมาตรา 92 ซึ่งจะต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อนทั้งนี้หากมีข้าราชการมาร้องเรียน ป.ป.ช.ก็จะพิจารณาเป็นรายๆไป
ด้านนายแก้วสรร อติโพธิ กรรมการ คตส.กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องไปถามนายไชยา ไม่ต้องไปถามใคร เพราะเด็กอนุบาลก็รู้ว่าน่าจะพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ ไปถามซิว่า ก่อนเข้ารับตำแหน่งได้สาบานไว้ว่าอย่างไร ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ใช่รึปล่าว
น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า หากนายไชยา ไม่ลาออก ตนมองว่า อาจจะเกิดความเสียหาย หากนายไชยายังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาใน 2 ประเด็น เกี่ยวกับเวลาของ การสิ้นสุดลง ของการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีระหว่างวันที่ 7 มี.ค. ซึ่งเป็นวันที่ครบ กำหนด 30 วันของการแจ้งการถือครองหุ้นของคู่สมรสนับจากวันรับตำแหน่ง หรือวันที่ค ป.ป.ช. พบว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม ก็จะมีผลเสียจากการทำหน้าที่ของรัฐมนตรี อาทิ หากนายไชยาไปลงนามคำสั่ง หรือ ทำนิติกรรมใดๆ ระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว จะทำให้ไม่มีผลทางกฎหมาย ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายตามมาอย่างมาก
“กฎหมายระบุไว้ชัดเจนในมาตรา 269 ไม่มีอะไรคลุมเครือ ซึ่งรัฐบาลชุดที่แล้ว ที่มักมีการกล่าวหาว่า เป็นรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจของทหาร แต่เมื่อเปรียบเทียบ กับกรณีที่เกิดขึ้นคล้ายกันนั้น ยังมีอดีตรัฐมนตรี 3 คน ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ แสดงจิตสำนึก และจริยธรรมทางการเมืองด้วยการลาออกทันที ไม่ปล่อยให้เรื่องบานปลายออกไป”
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนเข้าใจว่า นายไชยาไม่ได้จงใจจะปกปิด ซึ่งในประเด็นทางกฎหมายมีอยู่ 3 ข้อคือ 1.ไม่ยื่นทรัพย์สิน 2.การยื่นเป็นเท็จ 3.ปกปิดความจริง แต่ท่านคงเข้าใจว่าไม่เข้าข่ายใน 3 ข้อนี้ เพียงแต่ท่านไม่รู้ว่าต้องยื่น 5 % ในส่วนของภรรยาและบุตรซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญยังไม่เกิดขึ้น ฉะนั้น ท่านคงมองว่า ไม่เข้าข่ายที่จะยื่นล่าช้าหรือปกปิดเพราะครั้งแรก ที่ท่านยื่นของภรรยาด้วยและท่านเข้าใจว่าต้องใช้กฎหมายปี 2543 คงไม่คิดว่า จะเข้าข่ายข้อกฎหมาย 3 ข้อดังกล่าวเพียงแต่เป็นเรื่องของระยะเวลาเท่านั้นเอง
นายชูศักดิ์ กล่าวอีกว่า แต่เมื่อรู้ว่ายื่นผิดพลาดไปก็ต้องมาดำเนินใหม่ ทำให้ถูกต้องในระบบ 5 % แต่คงไม่จงใจทุจริตใดๆ หากเป็นเช่นนี้หมายความว่า เมื่อท่านยังอยู่ในตำแหน่ง ถ้า ป.ป.ช. ส่งเรื่องไปยัง กกต.พิจารณาหาก กกต.มีมติว่า ผิดก็จะส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมองว่าเป็นเรื่องของความสง่างามหรือไม่หากไม่แสดงสปิริต ในการทำงาน นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ตนคงตอบแทนหรือวิจารณ์คงไม่ใช่มารยาทที่ดีงาม ส่วนจะมองว่าจะสง่างามหรือไม่แล้วแต่จะมอง ท่านจึงมองว่าไม่ได้ทุจริตคดโกงอะไร ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงอะไรเพียงแต่ว่าเงื่อนไขทางกฎหมายท่านไม่ทราบแต่พอทราบ ก็ยื่นไป แต่กฎหมายไม่ได้ระบุว่าหากเกิน 30 วันแล้วจะเป็นอย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่าห่วงกระแสสังคมหรือไม่เพราะขณะนี้รัฐบาลถูกจับตามอง ในเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญและเรื่องดังกล่าวด้วย นายชูศักดิ์ กล่าวว่า สุดแต่มุมมอง แต่จุดสำคัญคือท่านไม่ได้จงใจปกปิดอะไรซึ่งตรงนี้ต้องบอกสังคมด้วย เพียงแต่ท่าน ไม่ได้คำนึงถึงตรงนี้เพราะขณะนั้นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญยังไม่ออก ดังนั้น กระแสสังคมแล้วแต่มุมมองแต่ต้องรอคำตัดสินจากศาลรัฐธรรมนูญว่าจะออกมาอย่างไร
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่ามีบุคคลในพรรคพลังประชาชนกดดันนายไชยาให้ลาออก จากตำแหน่งนั้น นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบรายละเอียดและในพรรคก็ไม่มีการ คุยกันถึงเรื่องดังกล่าว โดยมารยาทตนไม่มีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์ใคร
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินจะกระทบกับการทำงานหรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ปกติกฎมายตามรัฐธรรมนูญจะมีผลตั้งแต่วันที่ศาลวินิจฉัย แต่เรื่องสมาชิกภาพทางข้อกฎหมายจะเขียนเป็นเรื่องเดียวกันหมด คือไม่มีผลกระทบต่อการกระทำใดๆ ที่ผ่านมา เหมือนกับกรณีที่ส.ส.ได้รับค่าตอบแทนต่างๆ ซึ่งเป็นหลักทั่วไปของกฎหมาย
ทั้งนี้ ก่อนเปิดงานนายไชยาได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีกระแสข่าวเรื่องความขัดแย้งกับนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีที่ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า นายไชยาได้แจ้งลาออกแล้วว่า จริงๆ แล้วไม่ได้มีความขัดแย้งกับนายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด โดยได้เรียนนายสมัครไปว่าจะรอหนังสือและคำวินิจฉัยจาก ป.ป.ช.ก่อนว่าจะออกมาในทิศทางใด ซึ่งยังไม่แน่ใจในคำตัดสิน เนื่องจาก ณ ขณะนั้นกระแสข่าวที่ออกมายังไม่ชัดเจน บางข่าวก็บอกว่า ป.ป.ช.ยังไม่มีมีหนังสือออกมา บางข่าวก็บอกว่า ป.ป.ช.มีมติเป็นเอกฉันท์แล้ว ดังนั้น จึงเรียนนายกรัฐมนตรีไปว่าจะรอหนังสือจากป.ป.ช.ก่อน หากกฎหมายชี้ว่าผิดจริงก็ต้องลาออก
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าช่วงนี้ท่านนายกรัฐมนตรี งานยุ่งมาก จึงทำให้จับใจความในคำพูดผิดไปว่า รอหนังสือจากตนเอง แต่จริงๆ แล้วต้องรอหนังสือจาก ป.ป.ช.ที่จะตัดสินเรื่องทุกอย่าง ซึ่งช่วงบ่ายวันที่ 10 เม.ย. ได้โทรศัพท์เรียนนายกรัฐมนตรีอีกครั้งซึ่งท่านก็เข้าใจแล้ว ในส่วนภายในพรรคพลังประชาชนไม่มีการกดดันอะไร ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าเรื่องนี้เป็นความเข้าใจผิดเท่านั้นเอง
“วันนี้ ป.ป.ช. ยังไม่อาจชี้ถูกชี้ผิดได้ เพราะต้องรอส่งเรื่องไปยัง 4 องค์กรและรอฟังคำตัดสินจากศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ขาด ด้วยสิทธิอันชอบธรรม ผมจึงยังมีสิทธิทำงานต่อไป เรื่องนี้ยืนยันว่า ได้ใช้ความบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง”
ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อวันที่10 เม.ย. ได้เดินทางไปรดน้ำขอพรจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้ให้พรอะไรบ้าง นายไชยาตอบว่า “ท่านนายกฯทักษิณให้พร ขอให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป”
วันเดียวกันมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและกลุ่มแพทย์ชนบท ได้ตั้งจุดรับลงรายชื่อ เพื่อถอดถอน นายไชยา ออกจากตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข มีประชาชนมาร่วม ลงรายชื่อจำนวนหนึ่ง โดย น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า จนถึงขณะนี้รายชื่อที่ร่วมถอดถอน นายไชยา มีจำนวน 1,750 ชื่อ จากทั้งจุดรับลงรายชื่อที่ตึกซีพีทาวน์เวอร์ และมหวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมั่นใจว่าจะได้รายชื่อประชาชนร่วมถอดถอนนายไชยา ครบทั้ง 20,000 รายชื่อ และจะเข้ายื่นต่อ นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา หลังเทศกาลสงกรานต์นี้
นายกล้านรงค์ จันทิก ในฐานะกรรมการ ป.ป.ช.กล่าวถึงการที่ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดนายไชยา กรณีภรรยาถือครองหุ้นเกิน 5 % ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 269 ควรจะยุติการทำงานเลยหรือไม่ว่า เป็นเรื่องของ นายกรัฐมนตรี คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ส.ส.และส.ว. ที่จะดำเนินการ และพิจารณาว่า ถ้านายไชยาทำงานอยู่จะมีปัญหาหรือไม่ แต่ทาง ป.ป.ช.เห็นว่ากรณีดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 269 ซึ่งก็จะต้องเข้าสู่มาตรา182 ซึ่งหมายถึง ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนายไชยา จะต้องพิจาณาตัวเองด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่าการที่นายไชยา ไม่ลาออกจะมีผลต่ออำนาจการสั่งโยกย้าย ข้าราชการหรือไม่ นายกล้านรงค์ กล่าวว่า จะต้องกลับไปดูมาตรา 92 ซึ่งจะต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อนทั้งนี้หากมีข้าราชการมาร้องเรียน ป.ป.ช.ก็จะพิจารณาเป็นรายๆไป
ด้านนายแก้วสรร อติโพธิ กรรมการ คตส.กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องไปถามนายไชยา ไม่ต้องไปถามใคร เพราะเด็กอนุบาลก็รู้ว่าน่าจะพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ ไปถามซิว่า ก่อนเข้ารับตำแหน่งได้สาบานไว้ว่าอย่างไร ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ใช่รึปล่าว
น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า หากนายไชยา ไม่ลาออก ตนมองว่า อาจจะเกิดความเสียหาย หากนายไชยายังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาใน 2 ประเด็น เกี่ยวกับเวลาของ การสิ้นสุดลง ของการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีระหว่างวันที่ 7 มี.ค. ซึ่งเป็นวันที่ครบ กำหนด 30 วันของการแจ้งการถือครองหุ้นของคู่สมรสนับจากวันรับตำแหน่ง หรือวันที่ค ป.ป.ช. พบว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม ก็จะมีผลเสียจากการทำหน้าที่ของรัฐมนตรี อาทิ หากนายไชยาไปลงนามคำสั่ง หรือ ทำนิติกรรมใดๆ ระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว จะทำให้ไม่มีผลทางกฎหมาย ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายตามมาอย่างมาก
“กฎหมายระบุไว้ชัดเจนในมาตรา 269 ไม่มีอะไรคลุมเครือ ซึ่งรัฐบาลชุดที่แล้ว ที่มักมีการกล่าวหาว่า เป็นรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจของทหาร แต่เมื่อเปรียบเทียบ กับกรณีที่เกิดขึ้นคล้ายกันนั้น ยังมีอดีตรัฐมนตรี 3 คน ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ แสดงจิตสำนึก และจริยธรรมทางการเมืองด้วยการลาออกทันที ไม่ปล่อยให้เรื่องบานปลายออกไป”
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนเข้าใจว่า นายไชยาไม่ได้จงใจจะปกปิด ซึ่งในประเด็นทางกฎหมายมีอยู่ 3 ข้อคือ 1.ไม่ยื่นทรัพย์สิน 2.การยื่นเป็นเท็จ 3.ปกปิดความจริง แต่ท่านคงเข้าใจว่าไม่เข้าข่ายใน 3 ข้อนี้ เพียงแต่ท่านไม่รู้ว่าต้องยื่น 5 % ในส่วนของภรรยาและบุตรซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญยังไม่เกิดขึ้น ฉะนั้น ท่านคงมองว่า ไม่เข้าข่ายที่จะยื่นล่าช้าหรือปกปิดเพราะครั้งแรก ที่ท่านยื่นของภรรยาด้วยและท่านเข้าใจว่าต้องใช้กฎหมายปี 2543 คงไม่คิดว่า จะเข้าข่ายข้อกฎหมาย 3 ข้อดังกล่าวเพียงแต่เป็นเรื่องของระยะเวลาเท่านั้นเอง
นายชูศักดิ์ กล่าวอีกว่า แต่เมื่อรู้ว่ายื่นผิดพลาดไปก็ต้องมาดำเนินใหม่ ทำให้ถูกต้องในระบบ 5 % แต่คงไม่จงใจทุจริตใดๆ หากเป็นเช่นนี้หมายความว่า เมื่อท่านยังอยู่ในตำแหน่ง ถ้า ป.ป.ช. ส่งเรื่องไปยัง กกต.พิจารณาหาก กกต.มีมติว่า ผิดก็จะส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมองว่าเป็นเรื่องของความสง่างามหรือไม่หากไม่แสดงสปิริต ในการทำงาน นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ตนคงตอบแทนหรือวิจารณ์คงไม่ใช่มารยาทที่ดีงาม ส่วนจะมองว่าจะสง่างามหรือไม่แล้วแต่จะมอง ท่านจึงมองว่าไม่ได้ทุจริตคดโกงอะไร ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงอะไรเพียงแต่ว่าเงื่อนไขทางกฎหมายท่านไม่ทราบแต่พอทราบ ก็ยื่นไป แต่กฎหมายไม่ได้ระบุว่าหากเกิน 30 วันแล้วจะเป็นอย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่าห่วงกระแสสังคมหรือไม่เพราะขณะนี้รัฐบาลถูกจับตามอง ในเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญและเรื่องดังกล่าวด้วย นายชูศักดิ์ กล่าวว่า สุดแต่มุมมอง แต่จุดสำคัญคือท่านไม่ได้จงใจปกปิดอะไรซึ่งตรงนี้ต้องบอกสังคมด้วย เพียงแต่ท่าน ไม่ได้คำนึงถึงตรงนี้เพราะขณะนั้นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญยังไม่ออก ดังนั้น กระแสสังคมแล้วแต่มุมมองแต่ต้องรอคำตัดสินจากศาลรัฐธรรมนูญว่าจะออกมาอย่างไร
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่ามีบุคคลในพรรคพลังประชาชนกดดันนายไชยาให้ลาออก จากตำแหน่งนั้น นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบรายละเอียดและในพรรคก็ไม่มีการ คุยกันถึงเรื่องดังกล่าว โดยมารยาทตนไม่มีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์ใคร
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินจะกระทบกับการทำงานหรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ปกติกฎมายตามรัฐธรรมนูญจะมีผลตั้งแต่วันที่ศาลวินิจฉัย แต่เรื่องสมาชิกภาพทางข้อกฎหมายจะเขียนเป็นเรื่องเดียวกันหมด คือไม่มีผลกระทบต่อการกระทำใดๆ ที่ผ่านมา เหมือนกับกรณีที่ส.ส.ได้รับค่าตอบแทนต่างๆ ซึ่งเป็นหลักทั่วไปของกฎหมาย