ผู้จัดการรายวัน - “ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์” ไฟเขียวบอร์ดโรงงานยาสูบเลือกสถานที่ก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ตามมติ ครม.ในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคกลางไม่เกิน 200 กม.จากกรุงเทพฯ ยันไม่มีล้วงลูกแน่นอนปล่อยให้เดินหน้าตามกระบวนการ ด้านโฆษกโรงงานยาสูบระบุไม่เกิน 3 สัปดาห์ออกทีโออาร์แยกประมูล 2 ส่วน ตัวอาคารและเครื่องจักร
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า ในปลายเดือนนี้จะเดินทางไปตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายที่โรงงานยาสูบอีกครั้งหลังจากที่ได้เดินทางไปตวจเยี่ยมและรับฟังการรายงานข้อมูลการดำเนินงานเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะประเด็นการก่อสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่ทดแทนโรงงานเดิมย่านคลองเตยซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ใจกลางเมืองสามารถพัฒนาศักยภาพในการใช้สอยได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
จากการตรวจสอบข้อมูลในเบื้องต้นนั้นการก่อสร้างโรงงานยาสูบอยู่ในระหว่างขั้นตอนการดำเนินงานของคณะกรรมการโรงงานยาสูบในการร่างเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) โดยจะดำเนินการคัดเลือกสถานที่ก่อสร้างตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใต้กรอบวงเงิน1.62 หมื่นล้านบาท โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (พ.ศ.2551-2555) เพื่อทดแทนโรงงานผลิตยาสูบเดิมที่ต้องย้ายออกไปจากเขตกรุงเทพฯ และกำหนดให้ตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรม มีระยะห่างจากกรุงเทพฯในรัศมีไม่เกิน200 กิโลเมตร ซึ่งจะช่วยลดมลพิษทางอากาศบริเวณชุมชนรองโรงงาน ลดผลกระทบการจราจร และเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตกรุงเทพฯ
“การพิจารณาของบอร์ดโรงงานยาสูบจะเป็นไปโดยอิสระจะไม่มีการเมืองเข้าไปแทรกแซงเพราะหากสามารถดำเนินการก่อสร้างโรงงานยาสูบได้จะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เนื่องจากถือเป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐที่มีมูลค่าสูงกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท และในการตวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่บอร์ดครั้งต่อไปจะเน้นให้กระบวนการก่อสร้างเป็นไปอย่างใปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากที่สุด” นายประดิษฐ์กล่าว
อีก 3 สัปดาห์คลอดทีโออาร์
นางประภัสสร พงศ์พันธุ์พิศาล โฆษกโรงงานยาสูบ กล่าวว่า ภายใน 2-3 สัปดาห์บอร์ดโรงงานยาสูบจะเปิดขายร่างเอกสารประกวดราคาการก่อสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่ โดยจะเชิญนิคมอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรมในเขตภาคกลางที่มีคุณสมบัติตรงตามมติครม.เสนอราคาขายที่ดินเข้ามาเพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกของบอร์ดโรงงานยาสูบ
ซึ่งพื้นที่ที่โรงงานยาสูบต้องการสำหรับใช้ก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่นั้นจะใช้เนื้อที่ประมาณ 250 ไร่ โดยพื้นที่ 200 ไร่จะเป็นสถานที่ก่อสร้างตัวอาคารและโรงงานทั้งหมด ส่วนพื้นที่อีก 50 ไร่ที่เหลือจะเป็นพื้นที่สำหรับก่อสร้างที่พักอาศัยและพักผ่อนหย่อนใจของพนักงานและเจ้าหน้าที่โรงงานยาสูบ โดยข้อดีของการก่อสร้างในนิคมอุตสาหกรรมนั้นจะทำให้ประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานได้ประมาณ 3 พันล้านบาท
“เมื่อโรงงานยาสูบออกทีโออาร์เชิญชวนนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ในเขตรัศมี 200 กิโลเมตรเรียบร้อยแล้วด็จะดำเนินการคัดเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยจะเปรียบเทียบราคากับทีโออาร์ว่ามีความเหมาะสมมากเพียงใดหากนิคมอุตสาหกรรมใดได้คะแนนสูงสุดก็จะเลือกนิคมนั้นและดำเนินการต่อรองราคาเป็นขั้นตอนต่อไป” นางประภัสสรกล่าว
แยกประมูลโรงงาน-เครื่องจักร
โฆษกโรงงานยาสูบกล่าวว่า สำหรับขั้นตอนในการประมูลเพื่อก่อสร้างตัวอาคารและเครื่องจักรนั้นบอร์ดโรงงานยาสูบได้กำหนดให้มีการแยกประมูลการก่อสร้างทั้งสองส่วนออกจากกัน โดยตัวอาคารนั้นจะเป็นการประมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์(อีออกชัน) ส่วนเครื่องจักรนั้นจะเปิดประมูลแบบอินเตอร์เนชั่นแนลบิด เนื่องจากผู้ผลิตเครื่องจักรสำหรับผลิดยาสูบส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตในต่างประเทศ
ทั้งนี้ พื้นที่ที่โรงงานยาสูบเห็นว่ามีความเหมาะสมคือนิคมอุตสาหกรรมหนองแค อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี เพราะมีความเหมาะสมในแง่การขนส่งทั้งวัตถุดิบที่ต้องนำมาจากแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และการกระจายสินค้า ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ถือว่าเป็นจุดกึ่งกลางของประเทศ เหมาะสมในด้านการขนส่งและสามารถลดต้นทุนการขนส่งได้ดี รวมทั้งการสร้างโรงงานในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม จะช่วยลดต้นทุนในการก่อสร้างโรงงาน เพราะมีสาธารณูปโภคพื้นที่ครบถ้วนแล้ว
สำหรับพื้นที่ที่เป็นนิคมอุตสาหกรรม เขตอุตสาหกรรมจำนวน 11 แห่งที่อยู่ในข่ายมีศักยภาพตั้งโรงงานยาสูบได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ เขตอุตสาหกรรม 304 อินดัสเตรียลปาร์ค นิคมอุตสาหกรรมหนองแค เขตประกอบการเอสไอแอล(สระบุรี) นิคมอุตสาหกรรมเหมราช ชลบุรี (บ่อวิน) นิคมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) เป็นต้น
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า ในปลายเดือนนี้จะเดินทางไปตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายที่โรงงานยาสูบอีกครั้งหลังจากที่ได้เดินทางไปตวจเยี่ยมและรับฟังการรายงานข้อมูลการดำเนินงานเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะประเด็นการก่อสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่ทดแทนโรงงานเดิมย่านคลองเตยซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ใจกลางเมืองสามารถพัฒนาศักยภาพในการใช้สอยได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
จากการตรวจสอบข้อมูลในเบื้องต้นนั้นการก่อสร้างโรงงานยาสูบอยู่ในระหว่างขั้นตอนการดำเนินงานของคณะกรรมการโรงงานยาสูบในการร่างเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) โดยจะดำเนินการคัดเลือกสถานที่ก่อสร้างตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใต้กรอบวงเงิน1.62 หมื่นล้านบาท โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (พ.ศ.2551-2555) เพื่อทดแทนโรงงานผลิตยาสูบเดิมที่ต้องย้ายออกไปจากเขตกรุงเทพฯ และกำหนดให้ตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรม มีระยะห่างจากกรุงเทพฯในรัศมีไม่เกิน200 กิโลเมตร ซึ่งจะช่วยลดมลพิษทางอากาศบริเวณชุมชนรองโรงงาน ลดผลกระทบการจราจร และเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตกรุงเทพฯ
“การพิจารณาของบอร์ดโรงงานยาสูบจะเป็นไปโดยอิสระจะไม่มีการเมืองเข้าไปแทรกแซงเพราะหากสามารถดำเนินการก่อสร้างโรงงานยาสูบได้จะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เนื่องจากถือเป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐที่มีมูลค่าสูงกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท และในการตวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่บอร์ดครั้งต่อไปจะเน้นให้กระบวนการก่อสร้างเป็นไปอย่างใปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากที่สุด” นายประดิษฐ์กล่าว
อีก 3 สัปดาห์คลอดทีโออาร์
นางประภัสสร พงศ์พันธุ์พิศาล โฆษกโรงงานยาสูบ กล่าวว่า ภายใน 2-3 สัปดาห์บอร์ดโรงงานยาสูบจะเปิดขายร่างเอกสารประกวดราคาการก่อสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่ โดยจะเชิญนิคมอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรมในเขตภาคกลางที่มีคุณสมบัติตรงตามมติครม.เสนอราคาขายที่ดินเข้ามาเพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกของบอร์ดโรงงานยาสูบ
ซึ่งพื้นที่ที่โรงงานยาสูบต้องการสำหรับใช้ก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่นั้นจะใช้เนื้อที่ประมาณ 250 ไร่ โดยพื้นที่ 200 ไร่จะเป็นสถานที่ก่อสร้างตัวอาคารและโรงงานทั้งหมด ส่วนพื้นที่อีก 50 ไร่ที่เหลือจะเป็นพื้นที่สำหรับก่อสร้างที่พักอาศัยและพักผ่อนหย่อนใจของพนักงานและเจ้าหน้าที่โรงงานยาสูบ โดยข้อดีของการก่อสร้างในนิคมอุตสาหกรรมนั้นจะทำให้ประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานได้ประมาณ 3 พันล้านบาท
“เมื่อโรงงานยาสูบออกทีโออาร์เชิญชวนนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ในเขตรัศมี 200 กิโลเมตรเรียบร้อยแล้วด็จะดำเนินการคัดเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยจะเปรียบเทียบราคากับทีโออาร์ว่ามีความเหมาะสมมากเพียงใดหากนิคมอุตสาหกรรมใดได้คะแนนสูงสุดก็จะเลือกนิคมนั้นและดำเนินการต่อรองราคาเป็นขั้นตอนต่อไป” นางประภัสสรกล่าว
แยกประมูลโรงงาน-เครื่องจักร
โฆษกโรงงานยาสูบกล่าวว่า สำหรับขั้นตอนในการประมูลเพื่อก่อสร้างตัวอาคารและเครื่องจักรนั้นบอร์ดโรงงานยาสูบได้กำหนดให้มีการแยกประมูลการก่อสร้างทั้งสองส่วนออกจากกัน โดยตัวอาคารนั้นจะเป็นการประมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์(อีออกชัน) ส่วนเครื่องจักรนั้นจะเปิดประมูลแบบอินเตอร์เนชั่นแนลบิด เนื่องจากผู้ผลิตเครื่องจักรสำหรับผลิดยาสูบส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตในต่างประเทศ
ทั้งนี้ พื้นที่ที่โรงงานยาสูบเห็นว่ามีความเหมาะสมคือนิคมอุตสาหกรรมหนองแค อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี เพราะมีความเหมาะสมในแง่การขนส่งทั้งวัตถุดิบที่ต้องนำมาจากแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และการกระจายสินค้า ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ถือว่าเป็นจุดกึ่งกลางของประเทศ เหมาะสมในด้านการขนส่งและสามารถลดต้นทุนการขนส่งได้ดี รวมทั้งการสร้างโรงงานในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม จะช่วยลดต้นทุนในการก่อสร้างโรงงาน เพราะมีสาธารณูปโภคพื้นที่ครบถ้วนแล้ว
สำหรับพื้นที่ที่เป็นนิคมอุตสาหกรรม เขตอุตสาหกรรมจำนวน 11 แห่งที่อยู่ในข่ายมีศักยภาพตั้งโรงงานยาสูบได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ เขตอุตสาหกรรม 304 อินดัสเตรียลปาร์ค นิคมอุตสาหกรรมหนองแค เขตประกอบการเอสไอแอล(สระบุรี) นิคมอุตสาหกรรมเหมราช ชลบุรี (บ่อวิน) นิคมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) เป็นต้น