ฟิลิปปินส์สู้ราคาข้าว ประมูลสูงสุดตันละ 1,200 เหรียญสหรัฐ เมื่อ 17 เม.ย.ที่ผ่านมา แถมจะเปิดประมูลรอบใหม่ 5 พ.ค.นี้ อีก 6.5 แสนตัน แต่กำหนดเงื่อนไขให้รัฐบาลผู้ขายรับรองผู้ส่งออกให้ด้วย หวั่นมีปัญหาไม่มีข้าวขายให้ เอกชนคาดราคาพุ่งต่อแน่ วอนรัฐบาลรับรองผู้ส่งออก หรือให้นำระบบจีทูจีมาใช้ เพื่อรักษาตลาดส่งออกข้าวไทยเอาไว้
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ เปิดเผยว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้อนุมัติซื้อข้าวจากไทย เวียดนาม และปากีสถาน ในการเปิดประมูลเมื่อวันที่ 17 เม.ย. มาแล้ว และซื้อในราคาที่แต่ละประเทศเสนอขาย ถือว่าเป็นราคาที่สูงมาก โดยไทยเสนอขายตันละ 1,080-1,190 เหรียญสหรัฐ (ราคาซีไอเอฟหรือราคาข้าวรวมค่าประกันภัยและค่าระวางเรือ) จำนวน 1.95 แสนตัน เวียดนามได้ราคา 1,200 เหรียญสหรัฐ จำนวน 1 แสนตัน ปากีสถาน ราคา 870 เหรียญ จำนวน 25,000 ตัน รวมเป็นปริมาณ 3.25 แสนตัน จากที่ต้องการซื้อ 5 แสนตัน
ทั้งนี้ ข้าวที่ขาด รัฐบาลฟิลิปปินส์จะนำไปรวมกับอีก 5 แสนตัน ที่จะเปิดประมูลรอบ 4 ของปี ในวันที่ 5 พ.ค.นี้ ซึ่งเท่ากับว่าฟิลิปปินส์ จะเปิดประมูลข้าวอีก 6.5 แสนตัน
นายชูเกียรติ กล่าวว่า ในการประมูลรอบใหม่ ผู้ส่งออกไทย น่าจะเสียโอกาส เพราะรัฐบาลฟิลิปปินส์กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ส่งออกที่จะเสนอประมูลต้องได้การรับรองจากรัฐบาล ดังนั้น เพื่อไม่ให้ไทยเสียตลาดส่งออกให้กับเวียดนาม รัฐบาลไทยต้องมาช่วยรับรองผู้ส่งออก หรือให้เข้าประมูล และซื้อขายผ่านระบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) เพราะหากไทยทิ้งโอกาสนี้ จะทำให้เหลือเวียดนามประเทศเดียวกับการเสนอขายข้าวครั้งใหม่
"การที่ฟิลิปปินส์สู้ราคาตามที่เสนอขาย ขณะที่ประเทศอื่นๆ ถอนตัวและชะลอการซื้อหมดแล้ว แสดงถึงความต้องการที่ยังสูง ซึ่งจะทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกยังไปได้อีก" นายชูเกียรติ กล่าว
นายสมพงษ์ กิตติเรียงลาภ ประธานบริษัท พงษ์ลาภ จำกัด กล่าวว่า กำลังรอคำตอบจากกระทรวงพาณิชย์ ที่ผู้ส่งออกได้เสนอให้รัฐบาลรับรองผู้ส่งออกในการเข้าร่วมประมูลขายข้าวให้ฟิลิปปินส์ ในวันที่ 5 พ.ค.นี้ รวมทั้งข้อเสนอที่ให้รัฐบาลนำการขายผ่านจีทูจีมาใช้ ในการรักษาตลาดส่งออกข้าวไทย ซึ่งเมื่อรัฐบาลชนะประมูลก็สามารถมอบหมายให้เอกชนจัดส่งข้าวแทนได้
"หากรัฐบาลไม่ออกหน้า ตลาดค้าข้าวก็จะไม่เดิน และระบบข้าวในประเทศจะเสียหายได้ เพราะการส่งออกไม่มี ไม่มีการซื้อข้าว ราคาข้าวที่ยังดีก็จะนิ่งและลดลง ซึ่งฟิลิปปินส์เป็นตลาดข้าวขาวถึงปีละ 3 ล้านตัน ก็จะเสียให้เวียดนามทั้งหมด ทั้งๆ ที่เสนอขายราคาสูงกว่าก็ยังขายได้ ตอนนี้ขายได้ก็ควรขาย อนาคตยังไม่รู้ว่าราคาจะดีอย่างนี้ในระยะยาวหรือแค่ระยะสั้นไม่เกิน 1-2 เดือนนี้" นายสมพงษ์ กล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า กระทรวงพาณิชย์ได้เรียกหารือและสอบถามผู้ส่งออกรายใหญ่แต่ละราย ถึงราคาเสนอขายข้าวให้ฟิลิปปินส์ในการประมูลครั้งใหม่ ว่าราคาจะเป็นเท่าไร จะเสนอขายในปริมาณเท่าไร รวมถึงให้ประเมินสถานการณ์ราคาและปริมาณข้าวของเวียดนาม และอินเดียที่จะเสนอขายในตลาดโลกใน 1-2 เดือนข้างหน้า จะอยู่ในระดับที่เท่าไร ซึ่งจะมีการนำข้อมูลเสนอให้นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ พิจารณาว่าจะกำหนดแนวทางในการส่งออกข้าวในส่วนของรัฐบาลอย่างไร ภายหลังประเทศผู้ซื้อ เพิ่มเงื่อนไขให้รัฐบาลค้ำประกันผู้ส่งออกข้าว เพราะหวั่นว่าจะไม่มีข้าวส่งมอบตามกำหนด หรือยอมเสียค่าปรับในการยกเลิกสัญญาส่งมอบข้าว หากข้าวในวันส่งมอบมีราคาสูงกว่าที่เสนอขาย ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า แม้ว่าหลายฝ่าย จะมีข้อเสนอเกี่ยวเนื่องกับการบริหารสต็อกข้าวของรัฐบาล แต่ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ ยังมีนโยบายที่จะคงปริมาณสต็อกข้าวสำรอง (Safety Stock) ไว้ที่ 2.1 ล้านตัน จนกว่าผลผลิตข้าวในฤดูกาลใหม่จะออก เพื่อป้องกันสถาการณ์ขาดแคลนข้าวในอนาคต โดยจะไม่นำข้าวดังกล่าว เข้าร่วมประมูลข้าวของรัฐบาลฟิลิปปินส์ในวันที่ 5 พ.ค.นี้ ส่วนจะมีการดำเนินการในด้านอื่น เพื่อเข้าร่วมประมูลหรือไม่นั้น จะต้องหารือกับนายมิ่งขวัญก่อน
ส่วนกรณีที่ญี่ปุ่นมีการล้มประมูลข้าวไม่เป็นเรื่องที่น่ากลัวทางการค้าข้าว เพราะขณะนี้ตลาดข้าวสำคัญยังไม่ได้เปิดประมูล โดยเฉพาะอิหร่าน 9 แสนตัน น่าจะประมาณกลางปี ขณะที่ฟิลิปปินส์ต้องนำเข้า 2.7 ล้านตัน อินโดนีเซีย 1 ล้านตัน อิรัก 1.1 ล้านตัน บังกลาเทศ ซึ่งประสบปัญหาพายุไต้ฝุ่นน่าจะนำเข้าข้าว 1 ล้านตัน และยังมีไนจีเรีย ตะวันออกกลาง และจีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวหอมมะลิรายใหญ่ ปีละ4.6 แสนตัน และฮ่องกง นำเข้าหอมมะลิปีละ 3 แสนตันด้วย
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ เปิดเผยว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้อนุมัติซื้อข้าวจากไทย เวียดนาม และปากีสถาน ในการเปิดประมูลเมื่อวันที่ 17 เม.ย. มาแล้ว และซื้อในราคาที่แต่ละประเทศเสนอขาย ถือว่าเป็นราคาที่สูงมาก โดยไทยเสนอขายตันละ 1,080-1,190 เหรียญสหรัฐ (ราคาซีไอเอฟหรือราคาข้าวรวมค่าประกันภัยและค่าระวางเรือ) จำนวน 1.95 แสนตัน เวียดนามได้ราคา 1,200 เหรียญสหรัฐ จำนวน 1 แสนตัน ปากีสถาน ราคา 870 เหรียญ จำนวน 25,000 ตัน รวมเป็นปริมาณ 3.25 แสนตัน จากที่ต้องการซื้อ 5 แสนตัน
ทั้งนี้ ข้าวที่ขาด รัฐบาลฟิลิปปินส์จะนำไปรวมกับอีก 5 แสนตัน ที่จะเปิดประมูลรอบ 4 ของปี ในวันที่ 5 พ.ค.นี้ ซึ่งเท่ากับว่าฟิลิปปินส์ จะเปิดประมูลข้าวอีก 6.5 แสนตัน
นายชูเกียรติ กล่าวว่า ในการประมูลรอบใหม่ ผู้ส่งออกไทย น่าจะเสียโอกาส เพราะรัฐบาลฟิลิปปินส์กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ส่งออกที่จะเสนอประมูลต้องได้การรับรองจากรัฐบาล ดังนั้น เพื่อไม่ให้ไทยเสียตลาดส่งออกให้กับเวียดนาม รัฐบาลไทยต้องมาช่วยรับรองผู้ส่งออก หรือให้เข้าประมูล และซื้อขายผ่านระบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) เพราะหากไทยทิ้งโอกาสนี้ จะทำให้เหลือเวียดนามประเทศเดียวกับการเสนอขายข้าวครั้งใหม่
"การที่ฟิลิปปินส์สู้ราคาตามที่เสนอขาย ขณะที่ประเทศอื่นๆ ถอนตัวและชะลอการซื้อหมดแล้ว แสดงถึงความต้องการที่ยังสูง ซึ่งจะทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกยังไปได้อีก" นายชูเกียรติ กล่าว
นายสมพงษ์ กิตติเรียงลาภ ประธานบริษัท พงษ์ลาภ จำกัด กล่าวว่า กำลังรอคำตอบจากกระทรวงพาณิชย์ ที่ผู้ส่งออกได้เสนอให้รัฐบาลรับรองผู้ส่งออกในการเข้าร่วมประมูลขายข้าวให้ฟิลิปปินส์ ในวันที่ 5 พ.ค.นี้ รวมทั้งข้อเสนอที่ให้รัฐบาลนำการขายผ่านจีทูจีมาใช้ ในการรักษาตลาดส่งออกข้าวไทย ซึ่งเมื่อรัฐบาลชนะประมูลก็สามารถมอบหมายให้เอกชนจัดส่งข้าวแทนได้
"หากรัฐบาลไม่ออกหน้า ตลาดค้าข้าวก็จะไม่เดิน และระบบข้าวในประเทศจะเสียหายได้ เพราะการส่งออกไม่มี ไม่มีการซื้อข้าว ราคาข้าวที่ยังดีก็จะนิ่งและลดลง ซึ่งฟิลิปปินส์เป็นตลาดข้าวขาวถึงปีละ 3 ล้านตัน ก็จะเสียให้เวียดนามทั้งหมด ทั้งๆ ที่เสนอขายราคาสูงกว่าก็ยังขายได้ ตอนนี้ขายได้ก็ควรขาย อนาคตยังไม่รู้ว่าราคาจะดีอย่างนี้ในระยะยาวหรือแค่ระยะสั้นไม่เกิน 1-2 เดือนนี้" นายสมพงษ์ กล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า กระทรวงพาณิชย์ได้เรียกหารือและสอบถามผู้ส่งออกรายใหญ่แต่ละราย ถึงราคาเสนอขายข้าวให้ฟิลิปปินส์ในการประมูลครั้งใหม่ ว่าราคาจะเป็นเท่าไร จะเสนอขายในปริมาณเท่าไร รวมถึงให้ประเมินสถานการณ์ราคาและปริมาณข้าวของเวียดนาม และอินเดียที่จะเสนอขายในตลาดโลกใน 1-2 เดือนข้างหน้า จะอยู่ในระดับที่เท่าไร ซึ่งจะมีการนำข้อมูลเสนอให้นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ พิจารณาว่าจะกำหนดแนวทางในการส่งออกข้าวในส่วนของรัฐบาลอย่างไร ภายหลังประเทศผู้ซื้อ เพิ่มเงื่อนไขให้รัฐบาลค้ำประกันผู้ส่งออกข้าว เพราะหวั่นว่าจะไม่มีข้าวส่งมอบตามกำหนด หรือยอมเสียค่าปรับในการยกเลิกสัญญาส่งมอบข้าว หากข้าวในวันส่งมอบมีราคาสูงกว่าที่เสนอขาย ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า แม้ว่าหลายฝ่าย จะมีข้อเสนอเกี่ยวเนื่องกับการบริหารสต็อกข้าวของรัฐบาล แต่ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ ยังมีนโยบายที่จะคงปริมาณสต็อกข้าวสำรอง (Safety Stock) ไว้ที่ 2.1 ล้านตัน จนกว่าผลผลิตข้าวในฤดูกาลใหม่จะออก เพื่อป้องกันสถาการณ์ขาดแคลนข้าวในอนาคต โดยจะไม่นำข้าวดังกล่าว เข้าร่วมประมูลข้าวของรัฐบาลฟิลิปปินส์ในวันที่ 5 พ.ค.นี้ ส่วนจะมีการดำเนินการในด้านอื่น เพื่อเข้าร่วมประมูลหรือไม่นั้น จะต้องหารือกับนายมิ่งขวัญก่อน
ส่วนกรณีที่ญี่ปุ่นมีการล้มประมูลข้าวไม่เป็นเรื่องที่น่ากลัวทางการค้าข้าว เพราะขณะนี้ตลาดข้าวสำคัญยังไม่ได้เปิดประมูล โดยเฉพาะอิหร่าน 9 แสนตัน น่าจะประมาณกลางปี ขณะที่ฟิลิปปินส์ต้องนำเข้า 2.7 ล้านตัน อินโดนีเซีย 1 ล้านตัน อิรัก 1.1 ล้านตัน บังกลาเทศ ซึ่งประสบปัญหาพายุไต้ฝุ่นน่าจะนำเข้าข้าว 1 ล้านตัน และยังมีไนจีเรีย ตะวันออกกลาง และจีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวหอมมะลิรายใหญ่ ปีละ4.6 แสนตัน และฮ่องกง นำเข้าหอมมะลิปีละ 3 แสนตันด้วย