ฟันด์แมเนเจอร์ชี้ กองทุนทั่วโลกทยอยกลับเข้ามาลงทุนบ้างแล้ว หลังปรับพอร์ตถือเงินสดหนีความเสี่ยง เผยการลงทุนในคอมมอดิตี้ เป็นสัญญาณชัดเจนที่สุด ส่วนหุ้น-ตราสารหนี้เริ่มมีบ้างแล้ว ระบุตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ-ผลประกอบการของสถาบันการเงิน เป็นปัจจัยบ่งชี้การลงทุนว่าจะเต็มที่ได้เมื่อไหร่ รวมถึงผลดีต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยด้วย "เอสซีบีควอนท์" แจง ปรับพอร์ตลดการถือเงินลดของกองทุนส่วนบุคคล จาก 90% ช่วงปลายปีเป็น 40-50% ในปัจจุบัน ชี้จับจังหวะลงทุนเพิ่ม ช่วงเกิดประเด็นปัญหาการเมือง เหตุฉุดดัชนีวูบทุกรอบ
นายอรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล ผู้อำนวยการ ฝ่ายจัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอสซีบี ควอนท์ จำกัด (SCBQ) เปิดเผยว่า การถือครองเงินสดของกองทุนทั่วโลก น่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว เพราะกองทุนต่างชาติเริ่มมีเปลี่ยนมุมมองจากถือเงินสดหันมาลงทุนมากขึ้น ซึ่งเริ่มเห็นสัญญาณหลังจากเหตุการณ์ที่แบร์ สเติร์นส์ สถาบันการเงินขนาดใหญ่ในสหรัฐประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง โดยเห็นได้จากอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ที่ผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 1.3-1.4% มาอยู่ที่ 2.2% กว่าๆ ในปัจจุบัน ขณะเดียวกัน ดัชนีหุ้นของสหรัฐเองก็ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกันจากระดับดัชนี 1.1 หมื่นจุดมาอยู่ที่ 1.3 หมื่นจุด
นอกจากนี้ การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) ถือเป็นสัญญาณการกลับเข้ามาลงทุนของกองทุนทั่วโลกได้ชัดเจนมากที่สุด เห็นได้จากราคาที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นราคาทองคำ หรือสินค้าเกษตร เพราะการลงทุนในหุ้นเองแม้จะปรับตัวขึ้นมาบ้าง แต่ความชัดเจนในแง่ของผลกระทบจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ก็ยังมีอยู่
ส่วนตลาดตราสารหนี้เอง ช่วงนี้ยังค่อนข้างมีความเสี่ยงสูง เพราะปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก เป็นแรงกดดันให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศไม่กล้าปรับลดอัตราดอกเบี้ยในประเทศลงเยอะ และส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะคงระดับอัตราดอกเบี้ยเอาไว้มากกว่า
"จริงๆแล้ว การที่กองทุนหันมาถือเงินสดมากขึ้น เกิดขึ้นจากปัญหาการขาดสภาพคล่องของสถาบันการเงินทั่วโลก ซึ่งเป็นมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว แต่ตอนนี้ถือว่ามีสัญญาณการทยอยกลับเข้ามาลงทุนบ้างแล้ว โดยเฉพาะการลงทุนในคอมมอดิตี้ เพราะหุ้นและตราสารหนี้เองยังมีความเสี่ยงอยู่บ้าง"นายอรุณศักดิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม การลงทุนดังกล่าวยังไม่เต็มที่เท่าไหร่ เพราะนักลงทุนยังกังวลความไม่แน่นอน ทั้งปัญหาด้านเครดิต ซับไพรม์ รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เอง จะเป็นสัญญาณที่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าจะมีการลงทุนเต็มที่ได้เมื่อไหร่ โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐ ถ้าตัวเลขต่างๆ กลับมาดีขึ้นน่าจะเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญ รวมถึงผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินถ้าออกมาดีกว่าคาดการณ์ ก็จะเป็นปัจจัยหนุนให้นักลงทุนที่ถือเงินสดอยู่ เปลี่ยนมาลงทุนมากขึ้น
"ตอนนี้ตัวเลขข้อมูลทางเศรษฐกิจของสหรัฐหลายอย่างก็เริ่มดีขึ้นบ้างแล้ว ถึงแม้จะติดลบอยู่บ้างแต่ก็เป็นตัวเลขที่ติดลบน้อยลง คนที่ถือเงินสดอยู่ 100 บาท ก็เริ่มแบ่งเงินออกมาลงทุนบ้างแล้วในสัดส่วน 2-3 บาท ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีของการเริ่มต้นลงทุน"นายอรุณศักดิ์กล่าว
สำหรับการลงทุนในประเทศไทย มองว่าคงเป็นแนวโน้มเดียวกับทั่วโลก เพราะการลงทุนส่วนใหญ่มาจากนักลงทุนรวมถึงกองทุนต่างชาติ ดังนั้นคงต้องรอกระแสเงินไหลเข้าเป็นหลัก ซึ่งน่าจะเริ่มเห็นสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นหลังจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐเช่นกัน เพราะเมื่อถึงเวลานั้น เงินทุนจะไหลเข้ามาลงทุนในภูมิภาค ประเทศเกิดใหม่ รวมถึงไทยด้วย
ทั้งนี้ ตลาดหุ้นไทยเองถือว่าค่อนข้างได้เปรียบกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะจีนหรือฮ่องกง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาดัชนีปรับลดลงไปไม่มากนัก จากระดับ 860 จุดในช่วงปลายปีมาอยู่ที่ระดับ 830 จุดในปัจจุบัน ซึ่งแพ้เพียงไต้หวันและเกาหลีใต้เท่านั้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าว ทำให้ตลาดหุ้นไทยอยู่ในระดับที่น่าสนใจพอสมควร
ส่วนปัญหาการเมืองที่ยังไม่มีความชัดเจนในขณะนี้ เรามองว่าน่าจะเป็นโอกาสที่ดีในการจับจังหวะการลงทุนมากกว่า เนื่องจากช่วงที่มีเหตุการณ์ทางการเมืองออกมา จะเป็นจังหวะที่ดัชนีปรับลดลงเกือบตลอด ซึ่งปัญหาการเมืองในประเทศไทยถือเป็น System Risk ของตลาดหุ้นไทยไปแล้ว เห็นได้จากช่วงที่มีประเด็นทางการเมืองออกมาดัชนีตลาดหุ้นไทยก็จะซึมรับข่าวมาตลอด
นายอรุณศักดิ์กล่าวว่า สำหรับพอร์ตการลงทุนของบลจ.เอสซีบีควอนท์ ปัจจุบันมีสัดส่วนการถือครองเงินลดประมาณ 40-50% ซึ่งสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงดังกล่าวเนื่องจากเป็นพอร์ตการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคล ไม่ใช่กองทุนรวมทั่วไป ทั้งนี้ สัดส่วนการถือเงินสดในระดับปัจจุบัน เพิ่มขึ้นจากจากปลายปีที่มีสัดส่วนถือครองเงินสดสูงถึง 90% ซึ่งเป็นผลมาจากบริษัทให้ความสำคัญกับผลกระทบของปัญหาซับไพรม์ค่อนข้างมาก และในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงในเดือนมกราคม เราก็มีการทำซอตเซลล์ (ธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์) ไปบ้าง
"พอร์ตการลงทุนของเราเองหลังจากนี้ สัดส่วนคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเรามองว่าน่าจะยังมีปัญหาการเมืองตามมาอีก ซึ่งช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่เราลงทุนเพิ่ม เราเองมองว่าปัญหาที่เป็นปัจจัยภายนอกประเทศซึ่งเกิดจากขายหุ้นเพื่อเอาไปอุดผลกระทบจากซับไพรม์คงหมดไปแล้ว จะมีแต่ผลกระทบจากซับไพรม์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมายอย่างกรณีของแบร์ สเติร์นส์มากกว่า"นายอรุณศักดิ์กล่าว
**การเมืองฉุดตลาดหุ้นไทย**
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด กล่าวว่า การที่ผู้จัดการกองทุนต่างชาติขายหุ้นเเละตราสารหนี้เเล้วหันมาดถือเงินสดมากขึ้น น่าจะมาจากการเกิดความกังวลในเรื่องของความผันผวนของตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก ซึ่งเงินสดที่กองทุนต่างชาติถือไว้ น่าจะไปลงทุนในตลาดที่ให้ผลตอบเเทนดีเเละมีความเสี่ยงพอรับได้
สำหรับตลาดหลักทรัพย์ของไทย ยังคงมีความน่าสนทั้งในเรื่องของ P/E เฉลี่ยอยู่ที่ 11.5 เท่า โดยให้ผลตอบเเทนอยู่ในระดับปานกลาง ที่สำคัญราคาซื้อก็ต่ำกว่าตลาดอื่น เเต่ที่น่ากังวลคือ สถานการณ์ทางการเมืองที่จะส่งผลให้ตลาดผันผวนอยู่ ในส่วนของการลงทุนของกองทุนภายใต้การจัดการของบลจ.บัวหลวงเอง จะถือเงินสดมากขึ้นหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับผู้จัดการกองทุนเเต่ละกองว่าจะจัดการบริหารพอร์ตการลงทุนมากกว่า
นายณัฐพัชร์ ลัคนาธรรมพิชิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านวิจัยเเละบริหารความเสี่ยง บลจ.บีที มองว่า ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก โดยภาพรวมทั้ง เอเชีย สหรัฐอเมริกา มีโอกาสพลิกฟื้นมีมากกว่าที่ดิ่งลง โดยคาดว่าไตรมาสที่ 2 น่าจะปรับตัวดีกว่าในไตรมาสเเรกของปี ซึ่งในตลาดหุ้นบ้านเราถ้าอัตราเงินเฟ้อไปถึงระดับหนึ่งเเล้วเเละทรงตัวต่อไป ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยไม่สูงนัก อีกทั้งค่าเงินบาทเเข็งค่าใหม่อีกรอบ น่าจะส่งผลให้นักลงทุนทั้งต่างประเทศเเละในประเทศกลับเข้ามาซื้อขายหุ้นอีกครั้ง
นายณัฐพล ชวลิตชิวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การที่บรรดากองทุนในต่างประเทศได้ทำการขายหุ้นและพันธบัตรทิ้งเพื่อถือเงินสดมากขึ้นในช่วงนี้ เป็นผลมาจากการที่นักลงทุนยังมีความกังวลในในเรื่องของวิกฤตสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพหรือซับไพร์มอยู่ ทำให้นักลงทุนเชื่อว่าการถือเงินสดเก็บไว้ในขณะนี้ น่าจะมีความมั่นคงมากกว่า ในขณะที่นักลงทุนส่วนหนึ่งได้นำเงินจากการขายหุ้นและพันธบัตรดังกล่าว ไปลงทุนหลักทรัพย์ประเภทอื่นเช่น ลงทุนหลักทรัพย์ประเภทคอมมอดิตี้แทน
ทั้งนี้ การที่กองทุนต่างๆ มีการเทขายหุ้นและพันธบัตรออกมานั้น เป็นผลมาจากในช่วงหลังจากเกิดวิกฤตซับไพร์ในประเทศสหรัฐอเมริการ ได้ส่งผลให้มูลค่าของหุ้นและพันธบัตรต่างๆลดลงไปมาก ส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนได้ไม่มาก นักลงทุนจึงเทขายทิ้งเพื่อนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์อื่น ประกอบกับนักลงทุนเองไม่กล้าที่จะไปลงทุนในประเทศสหรัฐอเมริกามากในช่วงนี้ คงต้องรอประมาณกลางปีหน้า เศรษฐกิจของอเมริกาถึงจะฟื้นตัวและกลับมาเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนได้อีกครั้ง
"สัญญาณที่จะส่งผลให้เห็นว่าประเทศสหรัฐอเมริกากลับมาน่าลงทุนคือ การที่ GDP ของประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มปรับตัวสูงขึ้น"นายณัฐพลกล่าว
นายอรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล ผู้อำนวยการ ฝ่ายจัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอสซีบี ควอนท์ จำกัด (SCBQ) เปิดเผยว่า การถือครองเงินสดของกองทุนทั่วโลก น่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว เพราะกองทุนต่างชาติเริ่มมีเปลี่ยนมุมมองจากถือเงินสดหันมาลงทุนมากขึ้น ซึ่งเริ่มเห็นสัญญาณหลังจากเหตุการณ์ที่แบร์ สเติร์นส์ สถาบันการเงินขนาดใหญ่ในสหรัฐประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง โดยเห็นได้จากอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ที่ผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 1.3-1.4% มาอยู่ที่ 2.2% กว่าๆ ในปัจจุบัน ขณะเดียวกัน ดัชนีหุ้นของสหรัฐเองก็ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกันจากระดับดัชนี 1.1 หมื่นจุดมาอยู่ที่ 1.3 หมื่นจุด
นอกจากนี้ การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) ถือเป็นสัญญาณการกลับเข้ามาลงทุนของกองทุนทั่วโลกได้ชัดเจนมากที่สุด เห็นได้จากราคาที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นราคาทองคำ หรือสินค้าเกษตร เพราะการลงทุนในหุ้นเองแม้จะปรับตัวขึ้นมาบ้าง แต่ความชัดเจนในแง่ของผลกระทบจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ก็ยังมีอยู่
ส่วนตลาดตราสารหนี้เอง ช่วงนี้ยังค่อนข้างมีความเสี่ยงสูง เพราะปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก เป็นแรงกดดันให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศไม่กล้าปรับลดอัตราดอกเบี้ยในประเทศลงเยอะ และส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะคงระดับอัตราดอกเบี้ยเอาไว้มากกว่า
"จริงๆแล้ว การที่กองทุนหันมาถือเงินสดมากขึ้น เกิดขึ้นจากปัญหาการขาดสภาพคล่องของสถาบันการเงินทั่วโลก ซึ่งเป็นมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว แต่ตอนนี้ถือว่ามีสัญญาณการทยอยกลับเข้ามาลงทุนบ้างแล้ว โดยเฉพาะการลงทุนในคอมมอดิตี้ เพราะหุ้นและตราสารหนี้เองยังมีความเสี่ยงอยู่บ้าง"นายอรุณศักดิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม การลงทุนดังกล่าวยังไม่เต็มที่เท่าไหร่ เพราะนักลงทุนยังกังวลความไม่แน่นอน ทั้งปัญหาด้านเครดิต ซับไพรม์ รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เอง จะเป็นสัญญาณที่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าจะมีการลงทุนเต็มที่ได้เมื่อไหร่ โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐ ถ้าตัวเลขต่างๆ กลับมาดีขึ้นน่าจะเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญ รวมถึงผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินถ้าออกมาดีกว่าคาดการณ์ ก็จะเป็นปัจจัยหนุนให้นักลงทุนที่ถือเงินสดอยู่ เปลี่ยนมาลงทุนมากขึ้น
"ตอนนี้ตัวเลขข้อมูลทางเศรษฐกิจของสหรัฐหลายอย่างก็เริ่มดีขึ้นบ้างแล้ว ถึงแม้จะติดลบอยู่บ้างแต่ก็เป็นตัวเลขที่ติดลบน้อยลง คนที่ถือเงินสดอยู่ 100 บาท ก็เริ่มแบ่งเงินออกมาลงทุนบ้างแล้วในสัดส่วน 2-3 บาท ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีของการเริ่มต้นลงทุน"นายอรุณศักดิ์กล่าว
สำหรับการลงทุนในประเทศไทย มองว่าคงเป็นแนวโน้มเดียวกับทั่วโลก เพราะการลงทุนส่วนใหญ่มาจากนักลงทุนรวมถึงกองทุนต่างชาติ ดังนั้นคงต้องรอกระแสเงินไหลเข้าเป็นหลัก ซึ่งน่าจะเริ่มเห็นสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นหลังจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐเช่นกัน เพราะเมื่อถึงเวลานั้น เงินทุนจะไหลเข้ามาลงทุนในภูมิภาค ประเทศเกิดใหม่ รวมถึงไทยด้วย
ทั้งนี้ ตลาดหุ้นไทยเองถือว่าค่อนข้างได้เปรียบกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะจีนหรือฮ่องกง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาดัชนีปรับลดลงไปไม่มากนัก จากระดับ 860 จุดในช่วงปลายปีมาอยู่ที่ระดับ 830 จุดในปัจจุบัน ซึ่งแพ้เพียงไต้หวันและเกาหลีใต้เท่านั้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าว ทำให้ตลาดหุ้นไทยอยู่ในระดับที่น่าสนใจพอสมควร
ส่วนปัญหาการเมืองที่ยังไม่มีความชัดเจนในขณะนี้ เรามองว่าน่าจะเป็นโอกาสที่ดีในการจับจังหวะการลงทุนมากกว่า เนื่องจากช่วงที่มีเหตุการณ์ทางการเมืองออกมา จะเป็นจังหวะที่ดัชนีปรับลดลงเกือบตลอด ซึ่งปัญหาการเมืองในประเทศไทยถือเป็น System Risk ของตลาดหุ้นไทยไปแล้ว เห็นได้จากช่วงที่มีประเด็นทางการเมืองออกมาดัชนีตลาดหุ้นไทยก็จะซึมรับข่าวมาตลอด
นายอรุณศักดิ์กล่าวว่า สำหรับพอร์ตการลงทุนของบลจ.เอสซีบีควอนท์ ปัจจุบันมีสัดส่วนการถือครองเงินลดประมาณ 40-50% ซึ่งสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงดังกล่าวเนื่องจากเป็นพอร์ตการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคล ไม่ใช่กองทุนรวมทั่วไป ทั้งนี้ สัดส่วนการถือเงินสดในระดับปัจจุบัน เพิ่มขึ้นจากจากปลายปีที่มีสัดส่วนถือครองเงินสดสูงถึง 90% ซึ่งเป็นผลมาจากบริษัทให้ความสำคัญกับผลกระทบของปัญหาซับไพรม์ค่อนข้างมาก และในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงในเดือนมกราคม เราก็มีการทำซอตเซลล์ (ธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์) ไปบ้าง
"พอร์ตการลงทุนของเราเองหลังจากนี้ สัดส่วนคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเรามองว่าน่าจะยังมีปัญหาการเมืองตามมาอีก ซึ่งช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่เราลงทุนเพิ่ม เราเองมองว่าปัญหาที่เป็นปัจจัยภายนอกประเทศซึ่งเกิดจากขายหุ้นเพื่อเอาไปอุดผลกระทบจากซับไพรม์คงหมดไปแล้ว จะมีแต่ผลกระทบจากซับไพรม์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมายอย่างกรณีของแบร์ สเติร์นส์มากกว่า"นายอรุณศักดิ์กล่าว
**การเมืองฉุดตลาดหุ้นไทย**
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด กล่าวว่า การที่ผู้จัดการกองทุนต่างชาติขายหุ้นเเละตราสารหนี้เเล้วหันมาดถือเงินสดมากขึ้น น่าจะมาจากการเกิดความกังวลในเรื่องของความผันผวนของตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก ซึ่งเงินสดที่กองทุนต่างชาติถือไว้ น่าจะไปลงทุนในตลาดที่ให้ผลตอบเเทนดีเเละมีความเสี่ยงพอรับได้
สำหรับตลาดหลักทรัพย์ของไทย ยังคงมีความน่าสนทั้งในเรื่องของ P/E เฉลี่ยอยู่ที่ 11.5 เท่า โดยให้ผลตอบเเทนอยู่ในระดับปานกลาง ที่สำคัญราคาซื้อก็ต่ำกว่าตลาดอื่น เเต่ที่น่ากังวลคือ สถานการณ์ทางการเมืองที่จะส่งผลให้ตลาดผันผวนอยู่ ในส่วนของการลงทุนของกองทุนภายใต้การจัดการของบลจ.บัวหลวงเอง จะถือเงินสดมากขึ้นหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับผู้จัดการกองทุนเเต่ละกองว่าจะจัดการบริหารพอร์ตการลงทุนมากกว่า
นายณัฐพัชร์ ลัคนาธรรมพิชิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านวิจัยเเละบริหารความเสี่ยง บลจ.บีที มองว่า ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก โดยภาพรวมทั้ง เอเชีย สหรัฐอเมริกา มีโอกาสพลิกฟื้นมีมากกว่าที่ดิ่งลง โดยคาดว่าไตรมาสที่ 2 น่าจะปรับตัวดีกว่าในไตรมาสเเรกของปี ซึ่งในตลาดหุ้นบ้านเราถ้าอัตราเงินเฟ้อไปถึงระดับหนึ่งเเล้วเเละทรงตัวต่อไป ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยไม่สูงนัก อีกทั้งค่าเงินบาทเเข็งค่าใหม่อีกรอบ น่าจะส่งผลให้นักลงทุนทั้งต่างประเทศเเละในประเทศกลับเข้ามาซื้อขายหุ้นอีกครั้ง
นายณัฐพล ชวลิตชิวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การที่บรรดากองทุนในต่างประเทศได้ทำการขายหุ้นและพันธบัตรทิ้งเพื่อถือเงินสดมากขึ้นในช่วงนี้ เป็นผลมาจากการที่นักลงทุนยังมีความกังวลในในเรื่องของวิกฤตสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพหรือซับไพร์มอยู่ ทำให้นักลงทุนเชื่อว่าการถือเงินสดเก็บไว้ในขณะนี้ น่าจะมีความมั่นคงมากกว่า ในขณะที่นักลงทุนส่วนหนึ่งได้นำเงินจากการขายหุ้นและพันธบัตรดังกล่าว ไปลงทุนหลักทรัพย์ประเภทอื่นเช่น ลงทุนหลักทรัพย์ประเภทคอมมอดิตี้แทน
ทั้งนี้ การที่กองทุนต่างๆ มีการเทขายหุ้นและพันธบัตรออกมานั้น เป็นผลมาจากในช่วงหลังจากเกิดวิกฤตซับไพร์ในประเทศสหรัฐอเมริการ ได้ส่งผลให้มูลค่าของหุ้นและพันธบัตรต่างๆลดลงไปมาก ส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนได้ไม่มาก นักลงทุนจึงเทขายทิ้งเพื่อนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์อื่น ประกอบกับนักลงทุนเองไม่กล้าที่จะไปลงทุนในประเทศสหรัฐอเมริกามากในช่วงนี้ คงต้องรอประมาณกลางปีหน้า เศรษฐกิจของอเมริกาถึงจะฟื้นตัวและกลับมาเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนได้อีกครั้ง
"สัญญาณที่จะส่งผลให้เห็นว่าประเทศสหรัฐอเมริกากลับมาน่าลงทุนคือ การที่ GDP ของประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มปรับตัวสูงขึ้น"นายณัฐพลกล่าว