ตลาดตราสารหนี้ โชว์ไตรมาส 1/51 วอลุ่มเทรด 4 พันล้านบาทต่อวัน ทะลุเป้าหมายวางไว้ปีนี้ 3 พันล้านบาทต่อวัน หรือเติบโต 500% จากปีก่อน เหตุ ธปท.ปลดล็อก 30% ดันต่างชาติเทรดมากขึ้น-ปรับปรุงระบบซื้อขายใหม่รวดเร็วทันใจนักลงทุน “สันติ” เผยเตรียมเดินหน้าทำธุรกรรมรีโปร ขณะนี้ตั้งคณะกรรมการดูแลงาน 3 ชุด คาดให้บริการภายในปีนี้ หวังหนุน บจ.-บล.เข้าทำธุรกรรม
นายสันติ กีระนันทน์ ผู้จัดการตลาดตราสารหนี้ (BEX ) เปิดเผยว่า ตลาดตราสารหนี้ได้ตั้งเป้าปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ผ่าน BEX ปีนี้ อยู่ที่ 3,000 ล้านบาทต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 500% จากปีก่อนที่มีปริมาณการซื้อขาย 500 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งไตรมาส 1/51 มีปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ผ่าน BEX จำนวน 4,000 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้
โดยปริมาณการซื้อขายในไตรมาสแรกนั้นมีสัดส่วน ประมาณ 7-8% ของมูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้จำนวน 50,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจากปีก่อนมีสัดส่วนเพียง 1% อันเป็นผลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีมติยกเลิกมาตรการกันเงินสำรอง 30% ทำให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้มากขึ้น และจากการที่ BEX ได้ปรับปรุงระบบการซื้อขาย “FIRST” ทำให้การทำธุรกรรมเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ตรงตามความต้องการของผู้ลงทุน
ทั้งนี้ จากการที่ ธปท.มีการยกเลิกการธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร (รีโป) เพื่อต้องการผลักดันให้ทางภาคเอกชนมีการทำธุรกรรมดังกล่าวเอง ซึ่งทางตลาดหลักทรัพย์ได้ตั้งคณะทำงานรีโปขึ้นมา 3 ชุดเพื่อช่วยในการพัฒนา ประกอบไปด้วย คณะทำงานเผยแพร่ความรู้, คณะทำงานเกี่ยวกับภาษี และคณะทำงานเรื่องแนวทางการปฏิบัติงาน โดยทางตลาดตราสารหนี้ไทย ThaiBMA) จะทำหน้าที่เป็นผู้บริหารความเสี่ยง และทางศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย)จำกัด (TSD) ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารหลักประกัน ซึ่งงBEXจะเป็นตัวกลางในการซื้อขาย โดยคาดว่าจะให้บริการได้ภายในปีนี้
สำหรับการที่ตลาดหลักทรัพย์เข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการซื้อขายรีโปนั้น เพื่อต้องการให้บริษัทจดทะเบียน และบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เข้ามาระดมทุนจากที่มีต้นทุนที่ต่ำ และ บล.มีช่องทางในการทำธุรกิจที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากทางด้านการเป็นนายหน้าซื้อขายหุ้น โดยโบรกเกอร์สามารถที่จะทำให้ทั้งเป็นผู้ค้าตราสารหนี้ (ดีลเลอร์) ผู้ซื้อขาย โดยหากธุรกรรมรีโปเกิดขึ้นก็จะทำให้ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้เพิ่มขึ้น
“ในปีที่ผ่านมา BEX ได้เข้าไปคุยกับ บจ.ต่างๆ ในเรื่องการทำรีโป ซึ่ง บจ.หลายแห่งมีความสนใจที่จะทำธุรกรรมดังกล่าวเยอะมาก แต่ไม่มีความรู้ในเรื่องการทำรีโป ซึ่งทางเราก็จะมีการให้ความรู้เรื่องดังกล่าวกับ บจ.มากขึ้น” นายสันติ กล่าว
นายสันติ กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน BEX ยกเว้นค่าธรรมเนียมจดทะเบียนตราสารหนี้และค่าธรรมเนียมซื้อขายตราสารหนี้ที่เรียกเก็บจากสมาชิก เป็น 1 ปี หรือจะสิ้นสุดเดือน ธ.ค.2551 แต่เมื่อทิศทางตลาดดีขึ้น ประกอบกับอยู่ระหว่างผลักดันให้ตลาดซื้อคืนพันธบัตร (รีโป) ให้ BEX เป็นตัวกลางในการซื้อขาย ซึ่งน่าจะมีส่วนผลักดันให้ปริมาณการซื้อขายผ่าน BEX เพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงเป็นจังหวะที่ BEX เตรียมพิจารณาจะเริ่มเก็บค่าธรรมเนียมการซื้อขายตราสารหนี้ผ่าน BEX โดยการจะเก็บค่าธรรมเนียมการซื้อขาย หรือจะยกเว้นนั้น ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของตลาด
นายสันติ กีระนันทน์ ผู้จัดการตลาดตราสารหนี้ (BEX ) เปิดเผยว่า ตลาดตราสารหนี้ได้ตั้งเป้าปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ผ่าน BEX ปีนี้ อยู่ที่ 3,000 ล้านบาทต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 500% จากปีก่อนที่มีปริมาณการซื้อขาย 500 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งไตรมาส 1/51 มีปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ผ่าน BEX จำนวน 4,000 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้
โดยปริมาณการซื้อขายในไตรมาสแรกนั้นมีสัดส่วน ประมาณ 7-8% ของมูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้จำนวน 50,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจากปีก่อนมีสัดส่วนเพียง 1% อันเป็นผลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีมติยกเลิกมาตรการกันเงินสำรอง 30% ทำให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้มากขึ้น และจากการที่ BEX ได้ปรับปรุงระบบการซื้อขาย “FIRST” ทำให้การทำธุรกรรมเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ตรงตามความต้องการของผู้ลงทุน
ทั้งนี้ จากการที่ ธปท.มีการยกเลิกการธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร (รีโป) เพื่อต้องการผลักดันให้ทางภาคเอกชนมีการทำธุรกรรมดังกล่าวเอง ซึ่งทางตลาดหลักทรัพย์ได้ตั้งคณะทำงานรีโปขึ้นมา 3 ชุดเพื่อช่วยในการพัฒนา ประกอบไปด้วย คณะทำงานเผยแพร่ความรู้, คณะทำงานเกี่ยวกับภาษี และคณะทำงานเรื่องแนวทางการปฏิบัติงาน โดยทางตลาดตราสารหนี้ไทย ThaiBMA) จะทำหน้าที่เป็นผู้บริหารความเสี่ยง และทางศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย)จำกัด (TSD) ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารหลักประกัน ซึ่งงBEXจะเป็นตัวกลางในการซื้อขาย โดยคาดว่าจะให้บริการได้ภายในปีนี้
สำหรับการที่ตลาดหลักทรัพย์เข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการซื้อขายรีโปนั้น เพื่อต้องการให้บริษัทจดทะเบียน และบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เข้ามาระดมทุนจากที่มีต้นทุนที่ต่ำ และ บล.มีช่องทางในการทำธุรกิจที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากทางด้านการเป็นนายหน้าซื้อขายหุ้น โดยโบรกเกอร์สามารถที่จะทำให้ทั้งเป็นผู้ค้าตราสารหนี้ (ดีลเลอร์) ผู้ซื้อขาย โดยหากธุรกรรมรีโปเกิดขึ้นก็จะทำให้ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้เพิ่มขึ้น
“ในปีที่ผ่านมา BEX ได้เข้าไปคุยกับ บจ.ต่างๆ ในเรื่องการทำรีโป ซึ่ง บจ.หลายแห่งมีความสนใจที่จะทำธุรกรรมดังกล่าวเยอะมาก แต่ไม่มีความรู้ในเรื่องการทำรีโป ซึ่งทางเราก็จะมีการให้ความรู้เรื่องดังกล่าวกับ บจ.มากขึ้น” นายสันติ กล่าว
นายสันติ กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน BEX ยกเว้นค่าธรรมเนียมจดทะเบียนตราสารหนี้และค่าธรรมเนียมซื้อขายตราสารหนี้ที่เรียกเก็บจากสมาชิก เป็น 1 ปี หรือจะสิ้นสุดเดือน ธ.ค.2551 แต่เมื่อทิศทางตลาดดีขึ้น ประกอบกับอยู่ระหว่างผลักดันให้ตลาดซื้อคืนพันธบัตร (รีโป) ให้ BEX เป็นตัวกลางในการซื้อขาย ซึ่งน่าจะมีส่วนผลักดันให้ปริมาณการซื้อขายผ่าน BEX เพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงเป็นจังหวะที่ BEX เตรียมพิจารณาจะเริ่มเก็บค่าธรรมเนียมการซื้อขายตราสารหนี้ผ่าน BEX โดยการจะเก็บค่าธรรมเนียมการซื้อขาย หรือจะยกเว้นนั้น ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของตลาด