ผู้จัดการรายวัน - กบข.อาศัยจังหวะดอกเบี้ยพันธบัตรวูบ จากผลผวงการยกเลิกมาตรการ 30% เทขายพอร์ตตราสารหนี้ระยะยาวทำกำไร ก่อนนำเงินไปลงทุนต่างประเทศต่อ เผยสนใจเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ทั้งในและต่างแเดน ด้าน "เอ็มเอฟซี" ประเมินเงินต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนธุรกิจอสังหาเพิ่มขึ้น ทั้งทางตรงและผ่านกองทุน พร้อมจี้รัฐเปิดทางพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ไทย ออกไปลงทุนเมืองนอกได้ และหนุนตลาดหลักทรัพย์ จัดหมวดกองทุนอสังหาฯ
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า ในช่วง 2 วันหลังจากการยกเลิกมาตรการ 30% กบข. ได้ขายทำกำไรจากการลงทุนในตราสารหนี้ออกไปบางส่วน หลังจากจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดตราสารหนี้ปรับตัวลดลง อันเป็นผลจากการคาดการณ์ว่าจะมีนักลงทุนเข้ามามาขึ้น ส่งผลให้การลงทุนในตราสารหนี้ของกบข. ได้รับผลตอบแทนค่อนข้างดี เนื่องจากพอร์ตการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในตราสารหนี้ระยะยาว ซึ่งปัจจุบันกบข.มีพอร์ตการลงทุนประมาณ 58% โดยมีอายุการลงทุนเฉลี่ยประมาณ 4-4.5 ปี
ทั้งนี้ กำไรจากการขายตราสารหนี้ออกไปส่วนหนึ่ง กบข.จะนำไปเพิ่มพอร์ตการลงทุนในต่างประเทศ วึ่งคาดว่าในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า เพดานการลงทุนในต่างประเทศของกบข.จะขยับขึ้นอีก 2-3% จากปัจจุบันอยู่ที่ 14% อย่างไรก็ตาม การเพิ่มสัดส่วนการลงทุนต่างประเทศดังกล่าว เป็นไปตามนโยบายการลงทุนของกบข. เอง โดยไม่เกี่ยวกับมาตรการของธนานาคารแห่งประเทศไทย ที่สนับสนุนให้มีการออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนดังกล่าว คงเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยปัจจุบัน กบข.มีมีเพดานการลงทุนในต่างประเทศอยู่ที่ 25%
นายวิสิฐกล่าวว่า สำหรับสินทรัพย์ที่กบข.สนใจลงทุนในต่างประเทศนั้น มีทั้งการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก เอเชีย รวมถึงการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศด้วย ซึ่งปัจจุบันกองทุนตราสารหนี้ในต่างประเทศ ให้ผลตอบแทนประมาณ 8-10% สูงกว่าผลตอบแทนในประเทศประมาณ 1-2% โดยกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในประเทศให้ผลตอบแทนประมาณ 7-9%
ส่วนการยกเลิกมาตรการ 30% มองว่า จะส่งผลให้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในประเทศได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ส่วนจะทำให้สถาพคล่องของกองทุนในตลาดเพิ่มขึ้นหรือไม่คงประเมินไม่ได้ เพราะต้องขึ้นอยู่กับสภาพคล่องในตลาดของกองทุนนั้นๆ ด้วย ซึ่งการลงทุนที่ดีและจะได้รับความสนใจ ต้องเป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่พอสมควร
ทั้งนี้ กบข.คาดว่าเม็ดเงินที่กบข.จะมีการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ คิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 3,000-5,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1-1.5% ของสินทรัพย์ของกบข.
สำหรับความกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าของเงินบาท นายวิสิฐกล่าวว่า ในส่วนของกบข. เราไม่กังวลอยู่แล้ว เนื่องจากก่อนหน้านี้ เราได้ประเมินการแข็งค่าของเงินบาทเอาไว้แล้ว ขณะเดียวกัน ก็มีการทำการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้ด้วย ทั้งนี้ กบข.ยังมองว่าทั้งปีนี้ กบข.จะมีผลตอบแทนจากลงทุนประมาณ 5-6%
นายศุภกร สุนทรกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC กล่าวว่า บรรยากาศการลงทุนในตลาดตราสารหนี้เริ่มดีขึ้น จากการคาดการณ์ว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนจากกองทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากการลงทุนในตอนนี้ ไม่มีต้นทุนสูงเหมือนในอดีตแล้ว อย่างไรก็ตาม ตลาดตราสารหนี้จะได้รับความนิยมมากน้อยแค่ไหน คงขึ้นอยู่กับอันดับเครดิตของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคด้วย
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรปรับตัวลดลงเพียงเล็กน้อย หลังจากที่แบงก์ชาติประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% แม้จะมีการคาดการณ์ว่าจะมีเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามา แต่การที่กระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตรเพื่อรองรับโครงการเมกะโปรเจ็ก จึงทำให้ปริมาณตราสารหนี้ในระบบเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง 5.6% เป็นอีกแรงกดดันที่ทำให้ดอกเบี้ยลดลงไม่มาก
จี้รัฐเปิดทางพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ลงทุนตปท.
ส่วนการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หลังจากยกเลิกมาตรการ 30% แล้ว นายศุภกรกล่าวว่า อาจได้เห็นกองทุนอสังหาจากต่างประเทศ เข้ามาซื้อสินทรัพย์หรือเข้ามาลงทุนในกองทุนอสังหาของไทยเพิ่มขึ้น เพื่อกระจายการลงทุนและขยายขนาดของกองทุน โดยปัจจุบันมีกองทุนอสังหาของหลายประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ได้อนุญาตให้กองทุนออกไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยตรง หรือผ่านกองทุนในต่างประเทศได้แล้ว
ส่วนการลงทุนของกองทุนอสังหาในประเทศมองว่า ภาครัฐควรจะให้การสนับสนุนกองทุนอสังหาฯ ของไทย ไปลงทุนสินทรัพย์ในต่างประเทศได้เช่นกะน เพื่อเป็นการขยายการลงทุนและเพิ่มขนาดกองทุนให้มีความน่าสนใจ และแม้ว่าในปัจจุบันภาครัฐก็มีนโยบายสนับสนุนให้กองทุนอสังหา สามารถกู้ยืมเงินเพื่อขยายการลงทุนได้ในสัดส่วนไม่เกิน 10% ของขนาดกองทุนได้แล้ว ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะกองทุนสามารถนำเงินไปต่อยอดการลงทุนเพิ่มได้ แต่อย่างไรก็ตาม สัดส่วนการให้กู้ยืมปัจจุบันยังถือว่าน้อยกว่ากองทุนอสังหาของต่างประเทศ ที่อนุญาตให้กู้ยืมได้ถึง 40% ของขนาดกองทุน
ขณะเดียวกัน ยังสนับสนุนให้แยกหมวดกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ออกจากหมวดอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจและป้องกันไม่ให้นักลงทุนเกิดความสับสน โดยปัจจุบันถือว่าจำนวนหลักทรัพย์ของกองทุนอสังหาฯ มีมากกว่า 17 หลักทรัพย์ ถือว่ามากพอที่สามารถจะแยกหมวดได้
"หลายคนสับสนเกี่ยวกับการจัดหมวดของกองทุนอสังหาฯ ที่นำไปรวมกับหมวดอสังหาฯทั้งที่ลักษณะการลงทุนนั้นแตกต่างกัน เหมือนเอาตราสารหนี้ไปอยู่รวมกับหุ้นถ้าหากแยกหมวดออกมาได้น่าจะเป็นสิ่งดี" นายศุภกร กล่าว
ทั้งนี้ ประเมินว่าในช่วงกลางปีนี้ บริษัทจัดการกองทุน น่าจะเสนอขายกองทุนอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนมาก หลังจากมาตรการกันสำรอง 30% ยกเลิกไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม กองทุนที่จะได้รับความสนใจคงเป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าคั้งแต่ 100-200 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป หรือประมาณ 3,000-6,000 ล้านบาทขึ้นไป
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า ในช่วง 2 วันหลังจากการยกเลิกมาตรการ 30% กบข. ได้ขายทำกำไรจากการลงทุนในตราสารหนี้ออกไปบางส่วน หลังจากจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดตราสารหนี้ปรับตัวลดลง อันเป็นผลจากการคาดการณ์ว่าจะมีนักลงทุนเข้ามามาขึ้น ส่งผลให้การลงทุนในตราสารหนี้ของกบข. ได้รับผลตอบแทนค่อนข้างดี เนื่องจากพอร์ตการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในตราสารหนี้ระยะยาว ซึ่งปัจจุบันกบข.มีพอร์ตการลงทุนประมาณ 58% โดยมีอายุการลงทุนเฉลี่ยประมาณ 4-4.5 ปี
ทั้งนี้ กำไรจากการขายตราสารหนี้ออกไปส่วนหนึ่ง กบข.จะนำไปเพิ่มพอร์ตการลงทุนในต่างประเทศ วึ่งคาดว่าในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า เพดานการลงทุนในต่างประเทศของกบข.จะขยับขึ้นอีก 2-3% จากปัจจุบันอยู่ที่ 14% อย่างไรก็ตาม การเพิ่มสัดส่วนการลงทุนต่างประเทศดังกล่าว เป็นไปตามนโยบายการลงทุนของกบข. เอง โดยไม่เกี่ยวกับมาตรการของธนานาคารแห่งประเทศไทย ที่สนับสนุนให้มีการออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนดังกล่าว คงเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยปัจจุบัน กบข.มีมีเพดานการลงทุนในต่างประเทศอยู่ที่ 25%
นายวิสิฐกล่าวว่า สำหรับสินทรัพย์ที่กบข.สนใจลงทุนในต่างประเทศนั้น มีทั้งการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก เอเชีย รวมถึงการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศด้วย ซึ่งปัจจุบันกองทุนตราสารหนี้ในต่างประเทศ ให้ผลตอบแทนประมาณ 8-10% สูงกว่าผลตอบแทนในประเทศประมาณ 1-2% โดยกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในประเทศให้ผลตอบแทนประมาณ 7-9%
ส่วนการยกเลิกมาตรการ 30% มองว่า จะส่งผลให้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในประเทศได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ส่วนจะทำให้สถาพคล่องของกองทุนในตลาดเพิ่มขึ้นหรือไม่คงประเมินไม่ได้ เพราะต้องขึ้นอยู่กับสภาพคล่องในตลาดของกองทุนนั้นๆ ด้วย ซึ่งการลงทุนที่ดีและจะได้รับความสนใจ ต้องเป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่พอสมควร
ทั้งนี้ กบข.คาดว่าเม็ดเงินที่กบข.จะมีการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ คิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 3,000-5,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1-1.5% ของสินทรัพย์ของกบข.
สำหรับความกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าของเงินบาท นายวิสิฐกล่าวว่า ในส่วนของกบข. เราไม่กังวลอยู่แล้ว เนื่องจากก่อนหน้านี้ เราได้ประเมินการแข็งค่าของเงินบาทเอาไว้แล้ว ขณะเดียวกัน ก็มีการทำการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้ด้วย ทั้งนี้ กบข.ยังมองว่าทั้งปีนี้ กบข.จะมีผลตอบแทนจากลงทุนประมาณ 5-6%
นายศุภกร สุนทรกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC กล่าวว่า บรรยากาศการลงทุนในตลาดตราสารหนี้เริ่มดีขึ้น จากการคาดการณ์ว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนจากกองทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากการลงทุนในตอนนี้ ไม่มีต้นทุนสูงเหมือนในอดีตแล้ว อย่างไรก็ตาม ตลาดตราสารหนี้จะได้รับความนิยมมากน้อยแค่ไหน คงขึ้นอยู่กับอันดับเครดิตของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคด้วย
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรปรับตัวลดลงเพียงเล็กน้อย หลังจากที่แบงก์ชาติประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% แม้จะมีการคาดการณ์ว่าจะมีเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามา แต่การที่กระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตรเพื่อรองรับโครงการเมกะโปรเจ็ก จึงทำให้ปริมาณตราสารหนี้ในระบบเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง 5.6% เป็นอีกแรงกดดันที่ทำให้ดอกเบี้ยลดลงไม่มาก
จี้รัฐเปิดทางพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ลงทุนตปท.
ส่วนการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หลังจากยกเลิกมาตรการ 30% แล้ว นายศุภกรกล่าวว่า อาจได้เห็นกองทุนอสังหาจากต่างประเทศ เข้ามาซื้อสินทรัพย์หรือเข้ามาลงทุนในกองทุนอสังหาของไทยเพิ่มขึ้น เพื่อกระจายการลงทุนและขยายขนาดของกองทุน โดยปัจจุบันมีกองทุนอสังหาของหลายประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ได้อนุญาตให้กองทุนออกไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยตรง หรือผ่านกองทุนในต่างประเทศได้แล้ว
ส่วนการลงทุนของกองทุนอสังหาในประเทศมองว่า ภาครัฐควรจะให้การสนับสนุนกองทุนอสังหาฯ ของไทย ไปลงทุนสินทรัพย์ในต่างประเทศได้เช่นกะน เพื่อเป็นการขยายการลงทุนและเพิ่มขนาดกองทุนให้มีความน่าสนใจ และแม้ว่าในปัจจุบันภาครัฐก็มีนโยบายสนับสนุนให้กองทุนอสังหา สามารถกู้ยืมเงินเพื่อขยายการลงทุนได้ในสัดส่วนไม่เกิน 10% ของขนาดกองทุนได้แล้ว ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะกองทุนสามารถนำเงินไปต่อยอดการลงทุนเพิ่มได้ แต่อย่างไรก็ตาม สัดส่วนการให้กู้ยืมปัจจุบันยังถือว่าน้อยกว่ากองทุนอสังหาของต่างประเทศ ที่อนุญาตให้กู้ยืมได้ถึง 40% ของขนาดกองทุน
ขณะเดียวกัน ยังสนับสนุนให้แยกหมวดกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ออกจากหมวดอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจและป้องกันไม่ให้นักลงทุนเกิดความสับสน โดยปัจจุบันถือว่าจำนวนหลักทรัพย์ของกองทุนอสังหาฯ มีมากกว่า 17 หลักทรัพย์ ถือว่ามากพอที่สามารถจะแยกหมวดได้
"หลายคนสับสนเกี่ยวกับการจัดหมวดของกองทุนอสังหาฯ ที่นำไปรวมกับหมวดอสังหาฯทั้งที่ลักษณะการลงทุนนั้นแตกต่างกัน เหมือนเอาตราสารหนี้ไปอยู่รวมกับหุ้นถ้าหากแยกหมวดออกมาได้น่าจะเป็นสิ่งดี" นายศุภกร กล่าว
ทั้งนี้ ประเมินว่าในช่วงกลางปีนี้ บริษัทจัดการกองทุน น่าจะเสนอขายกองทุนอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนมาก หลังจากมาตรการกันสำรอง 30% ยกเลิกไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม กองทุนที่จะได้รับความสนใจคงเป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าคั้งแต่ 100-200 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป หรือประมาณ 3,000-6,000 ล้านบาทขึ้นไป