xs
xsm
sm
md
lg

มุมมอง นักบริหารหนี้:ใครรวย จากมาตรการ เงินสำรอง 30 % !!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

หนึ่งปีกับสองเดือนและสิบสี่วันที่ทางการได้นำมาตรการเงิสำรองการนำเงินเข้าจากต่างประเทศมาใช้นัยว่าเพื่อลดความผันผวนและการแข็งค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับสกุลเงินตราต่างประเทศ ซึ่งแม้จะถูกขอร้องจากนักธุรกิจหลายสาขาให้ยกเลิกเสียทีมาโดยตลอด แต่ก็อึดทนได้อย่างทุลักทุเลมาได้ ผ่านแม้กระทั่งรัฐมนตรีคลังคนก่อนซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์และเคยไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าวก่อนเป็นรัฐมนตรี แปลกแต่จริง พอมีรัฐมนตรีที่เป็นหมอกลับยกเลิกได้ โดยมีเหตุผลที่สังคมยังมีข้อสงสัยพอสมควร ว่ามีใครหรือมือที่มองไม่เห็นจากไหนได้ประโยชน์หรือไม่อย่างไร

มาตรการเงินสำรอง 30% เริ่มปประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2549 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้สถาบัการเงินทำความตกลงกับลูกค้า เพื่อตกลงยินยอมให้กัน "เงินสำรอง" จากเงินตราต่างประเทศที่ลูกค้านำมาขายรับบาท ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา หรือเทียบเท่าในอัตราร้อยละ 30 ของเงินตราต่างประเทศที่ลูกค้านำมาขาย ยกเว้นธุรกรรมตามประกาศของเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน โดยมีเงื่อนไขว่า " ลูกค้าที่คงเงินในประเทศไทยครบ 1 ปี สามารถขอรับเงินสำรองคืนได้เต็มจำนวน แต่ถ้าคงเงินไว้ในประเทศไทยไม่ครบ 1 ปี สามารถขอรับ เงินสำรอง คืนได้เพียง 2 ใน 3 เท่านั้น"

จากวันที่ 18 ธันวาคม 2549 จนถึงยกเลิกมาตรการเงินสำรอง เมื่อ 3 มีนาคม 2551 ทางการได้ทยอยผ่อนคลายมาโดยตลอด ดูเสมือนทำไปแก้ไขให้สอดคล้องกับสถานการณ์ไป เพราะอย่าลืมว่าทางการได้เข้าแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศเป็นระยะๆด้วย แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งค่าเงินบาทมิให้แข็งค่าได้ แต่ก็สามารถทำให้มีเสถียรภาพได้ระดับหนึ่ง และได้ยืนยันความจำเป็นต้องมีมาตรการ 30 % มาโดยตลอดจนการเมืองเปลี่ยนสี มีประชาธิปไตยอีกครั้ง จึงคิดใหม่ได้

มาตรการดูแลการเก็งกำไรค่าเงินบาทใหม่หลังยกเลิกมตรการ 30% แล้วทีเปิดเผยทั่วไปมีสองประการคือ มาตรการจำกัดการปล่อยสภาพคล่องเงินบาท และ มาตรการดูแลเงินทุนนำเข้าการกู้เงินบาทจากผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศไทยหรือการทำธุรกรรมที่เสมือนการกู้ยืมเงินบาทโดยไม่มีการค้าการลงทุนในประเทศไทยใดๆรองรับเลย

ในมาตรการแรกนั้น การปล่อยสภาพคล่องเงินบาทให้แก่บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศโดยไม่มีธุรกรรมรองรับให้แต่ละสถาบันการเงินทำได้ไม่เกิน 300 ล้านบาทต่อกลุ่มบุคคลดังกล่าว ส่วนการรับซื้อเงินตราต่างประเทศแลกบาทในวันเดียวกัน(หรือพรุ่งนี้) เพื่อการค้าการลงทุนในประเทศไทยทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต

ยกเว้นการรับซื้อโดยไม่มีการค้าการลงทุนในประเทศไทยทำได้ไม่เกิน 300 ล้านบาทต่อกลุ่ม สำหรับมาตรการที่สองการนำเงินทุนเข้าที่ไมมีธุรกรรมรองรับกำหนดให้มีการจำกัดทุกอายุสัญญา โดยแต่ละสถาบันการเงินทำได้ไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อกลุ่มลูกค้าที่ไม่มีการค้าการลงทุนในประเทศไทยรองรับ

มาตรการดังกล่าวจะได้ผลอย่างไรหรือไม่ ต้องตามไปดูต่อไป??????

แต่ที่แน่ๆเลยก็คือผลจากมาตรการเมื่อ 18 ธัวาคม 2549 ที่ตอนนั้นเงินบาทมีค่าอยู่ราวๆ 36 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. หากใครนำเงินเข้ามาแลกเป็นบาทช่วงนั้น สมมุติ 10,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ก็แลกเงินบาทได้ ประมาณ 36,000 ล้านบาท มาลงทุนในตลาดหุ้นหรือตลาดตราสารหนี้ หรือฝากกินดอกเบี้ย หากนำเงินออกช่วงที่อัตราแลกเปลี่ยน 31.45 บาท ( วันที่ 29 กพ 51 )หรือประมาณ 31 บาท จะได้รับผลตอบแทนสองต่อหรือสองเด้งทีเดียว ทั้งเงินที่ได้จากการลงทุนในไทยและเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ท่านลองคำนวณดูก็แล้วกันว่า จะได้รับเงินดอลลาร์กลับบ้านเป็นกอบเป็นกำขนาดไหน ซึ่งคนที่มีเงินในต่างประเทศมากๆ สามารถ หากำไรจากประเทศไทยได้ไม่ยากนัก เพราะรู้ว่าค่าเงินบาทวันต่อวันที่มีการแทรกแซงให้ค่าเงินบาทอ่อนกว่าราคาตลาดมากน้อยเท่าใด และบทเรียนจากปี 2540 สอนว่า ไทยสู้ได้ไม่นาน ดังนั้นโอกาสที่เงินบาทจะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจนต่ำกว่า 31 บาท ยังมีอยู่ หากมาตรการใหม่ไร้ผล

ทั้งนี้เพราะปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเกินดุล ค่าดอลลาร์ สรอ. ที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงตามภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะถดถอยและราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทีสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อปลายปี 2549นั้น ยังมีอยู่

ดังนั้นการบริหารเศรษฐกิจที่ทันเหตุการณ์อย่างมืออาชีพและยึดปรัชญาเศรษฐกกิจพอเพียงเป็นหลักการบริหาร จึงจะพาเศรษฐกิจของชาติรอดและเจริญก้าวหน้าในระยะยาวได้
กำลังโหลดความคิดเห็น