ผู้จัดการรายวัน – กองทุนประกันสังคม สุดปลื้มการลงทุนในหุ้นสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่อง ตลอด 4 ปีที่ผ่านมาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 15% ต่อปี ล่าสุดไตรมาส1/51 ให้ยิลด์สูงถึง 31.08% จากเม็ดเงินลงทุนทั้งหมด 47,000 ล้านบาท จากเกณฑ์การคัดเลือกหุ้นที่เข้มงวด กลั่นกรอง 500 บริษัทจดทะเบียน ให้เหลือเพียง 30บริษัท ส่วนภาพรวมการลงทุนQ1ทั้งหมด มีผลตอบแทนถึง 5,854 ล้านบาท หรือ 6.58%
นายวิน พรหมแพทย์ รองโฆษกสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2551 กองทุนประกันสังคมมีเงินลงทุนรวม 522,868 ล้านบาท โดยในส่วนนี้มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นประมาณ 9% หรือคิดเป็นเงินลงทุนประมาณ 47,000 ล้านบาท ซึ่งในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 22.23% แต่พอร์ตการลงทุนในหุ้นของสปส.สามารถให้ผลตอบแทนสูงถึง 31.08%
“แม้ภาวะหุ้นในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา จะมีความผันผวนจากปัจจัยหลายเรื่อง แต่จากการเกณฑ์การคัดเลือกหุ้นที่เข้มงวดและวินัยการลงทุนในระยะยาวของสปส. เป็นผลให้กองทุนสามารถได้รับผลตอบแทนได้สูงถึง 31% หรือมากกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ 8 -9 % ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ”นายวิน กล่าว
สำหรับการลงทุนในหุ้นของ สปส.นั้น รองโฆษกสปส. กล่าวว่า การลงทุนดังกล่าวสามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทุกปีตั้งแต่ปี2547 หมายถึงมีผลตอบแทนเป็นบวกอยู่เสมอแม้ในช่วงปีนั้นดัชนีดลาดหลักทรัพย์จะติดลบ จากปัจจัยต่างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
โดยในปี 2547 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ติดลบ 13.48% กองทุนได้ผลตอบแทนเป็นบวก 2.16%, ปี 2548 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทน 4.27% กองทุนสปส.ได้ผลตอบแทน 19.66%, ปี 2549 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ติดลบ 4.75% กองทุนได้ผลตอบแทน 2.84%, ส่วนในปี 2550 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทน 26.22% กองทุนได้ผลตอบแทน 36.08%
“ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา เราสามารถกล่าวได้ว่าการลงทุนในหุ้นของกองทุนสปส.สามารถให้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 15% ต่อปี สูงกว่าผลตอบแทนการลงทุนในพันธบัตรและตราสารหนี้ซึ่งอยู่ที่ 4.0 – 5.0% ต่อปี และสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารซึ่งอยู่ที่ 2.0% ต่อปี”
นายวิน กล่าวว่า การลงทุนในหุ้นนั้นแม้จะมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาในระยะสั้น แต่หากมีวินัยการลงทุนที่เคร่งครัด และคัดเลือกลงทุนเฉพาะในหุ้นของบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี เน้นรับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล รวมทั้งเน้นลงทุนระยะยาวตั้งแต่ 5-10 ปีขึ้นไปก็จะให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในเงินฝากและพันธบัตรมาก
ทั้งนี้ ในแต่ละปี คณะกรรมการสปส.จะอนุมัติแผนการลงทุนประจำปี ซึ่งจะกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อคัดกรองหุ้นสามัญที่ลงทุนได้โดยคัดเลือกเฉพาะบริษัทจดทะเบียนที่มีผลประกอบการและปัจจัยพื้นฐานดี และมีสภาพคล่องสูง จากหุ้นจดทะเบียนกว่า 500 บริษัท ให้เหลือเพียง 70 บริษัท หลังจากนั้น ทีมนักวิเคราะห์และทีมผู้จัดการกองทุนของสปส.จะทำการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินและความสามารถในการทำกำไรของ 70 บริษัทโดยละเอียด เพื่อคัดเลือกหุ้นที่จะลงทุนจริงไว้ประมาณ 30 บริษัทเท่านั้น
“กองทุนประกันสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีชราภาพซึ่งเป็นเงินออมของผู้ประกันตนจำเป็นต้องแสวงหาดอกผลจากการลงทุนในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้กองทุนมีเงินเพียงพอสำหรับการจ่ายบำนาญชราภาพในอนาคต ดังนั้นการเข้าลงทุนในหุ้น ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของสปส. เนื่องจากผลตอแทนที่ได้รับกลับมานั้นอยู่ในระดับที่น่าพอใจ”
สำหรับ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2551 กองทุนประกันสังคม มีเงินลงทุนรวม 522,868 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินกองทุนกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ จำนวน 415,883 ล้านบาท เงินกองทุนที่ดูแลกรณีเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ คลอดบุตร 75,954 ล้านบาท และเงินกองทุนกรณีว่างงาน 31,031 ล้านบาท
โดยเงินลงทุนจำนวน 522,868 ล้านบาทในปัจจุบัน แบ่งลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน เงินฝากธนาคาร และหุ้นกู้เอกชน 436,635 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 84 ของเงินลงทุน และลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ตราสารหนี้อื่นๆ หน่วยลงทุน และหุ้นสามัญ 86,232 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16 ของเงินลงทุน
นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการ กล่าวว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2551 กองทุนประกันสังคมได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนจำนวน 5,854 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนซึ่งได้ผลตอบแทนจำนวน 4,246 ล้านบาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทน 6.58% ซึ่งนับเป็นผลตอบแทนที่น่าพอใจ
“ผลของการรักษาวินัยการลงทุนอย่างเคร่งครัด และการกระจายการลงทุนให้มีความหลากหลายมากขึ้น ช่วยสร้างผลตอนแทนให้กับสปส.ได้ในระดับดี”
โดย การลงทุนในตราสารหนี้ ถือเป็นสัดส่วนใหญ่ของกองทุนและสามารถให้ผลตอบแทน 4.61% สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร 1 ปีที่ 2.00% ในขณะที่การลงทุนในหุ้นให้ผลตอบแทนมากถึง 31.08% สูงกว่าผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 22.23%
ขณะที่แผนการลงทุนปี 2551 สปส.ยังคงเน้นการกระจายลงทุนอย่างต่อเนื่องด้วยการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรระยะยาว หุ้นกู้เอกชนที่มีเครดิตดี หุ้นสามัญ พันธบัตรและหุ้นกู้ต่างประเทศ รวมทั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เพราะคาดว่าภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว ประกอบกับการขยายการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน จะช่วยให้สปส.มีแหล่งลงทุนเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ณ ปัจจุบัน สปส.มีกำไรสะสมจากการลงทุนแล้วกว่า 120,000 ล้านบาท จึงทำให้กองทุนมีความมั่นคงและสามารถดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนได้มากขึ้น โดยล่าสุด สปส.ได้ปรับเพิ่มค่าทำศพ จาก 30,000 บาทเป็น 40,000 บาท อีกทั้งปรับเพิ่มอัตราค่าบริการทางแพทย์ ทำให้ขณะนี้สำนักงานมีค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลในอัตราเฉลี่ย 2,194.21 บาทต่อผู้ประกันตนหนึ่งคนต่อปี และปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญ ซึ่งจะทำให้ท่านผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินบำนาญมากขึ้นเมื่อเกษียณ
นายวิน พรหมแพทย์ รองโฆษกสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2551 กองทุนประกันสังคมมีเงินลงทุนรวม 522,868 ล้านบาท โดยในส่วนนี้มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นประมาณ 9% หรือคิดเป็นเงินลงทุนประมาณ 47,000 ล้านบาท ซึ่งในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 22.23% แต่พอร์ตการลงทุนในหุ้นของสปส.สามารถให้ผลตอบแทนสูงถึง 31.08%
“แม้ภาวะหุ้นในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา จะมีความผันผวนจากปัจจัยหลายเรื่อง แต่จากการเกณฑ์การคัดเลือกหุ้นที่เข้มงวดและวินัยการลงทุนในระยะยาวของสปส. เป็นผลให้กองทุนสามารถได้รับผลตอบแทนได้สูงถึง 31% หรือมากกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ 8 -9 % ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ”นายวิน กล่าว
สำหรับการลงทุนในหุ้นของ สปส.นั้น รองโฆษกสปส. กล่าวว่า การลงทุนดังกล่าวสามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทุกปีตั้งแต่ปี2547 หมายถึงมีผลตอบแทนเป็นบวกอยู่เสมอแม้ในช่วงปีนั้นดัชนีดลาดหลักทรัพย์จะติดลบ จากปัจจัยต่างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
โดยในปี 2547 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ติดลบ 13.48% กองทุนได้ผลตอบแทนเป็นบวก 2.16%, ปี 2548 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทน 4.27% กองทุนสปส.ได้ผลตอบแทน 19.66%, ปี 2549 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ติดลบ 4.75% กองทุนได้ผลตอบแทน 2.84%, ส่วนในปี 2550 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทน 26.22% กองทุนได้ผลตอบแทน 36.08%
“ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา เราสามารถกล่าวได้ว่าการลงทุนในหุ้นของกองทุนสปส.สามารถให้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 15% ต่อปี สูงกว่าผลตอบแทนการลงทุนในพันธบัตรและตราสารหนี้ซึ่งอยู่ที่ 4.0 – 5.0% ต่อปี และสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารซึ่งอยู่ที่ 2.0% ต่อปี”
นายวิน กล่าวว่า การลงทุนในหุ้นนั้นแม้จะมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาในระยะสั้น แต่หากมีวินัยการลงทุนที่เคร่งครัด และคัดเลือกลงทุนเฉพาะในหุ้นของบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี เน้นรับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล รวมทั้งเน้นลงทุนระยะยาวตั้งแต่ 5-10 ปีขึ้นไปก็จะให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในเงินฝากและพันธบัตรมาก
ทั้งนี้ ในแต่ละปี คณะกรรมการสปส.จะอนุมัติแผนการลงทุนประจำปี ซึ่งจะกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อคัดกรองหุ้นสามัญที่ลงทุนได้โดยคัดเลือกเฉพาะบริษัทจดทะเบียนที่มีผลประกอบการและปัจจัยพื้นฐานดี และมีสภาพคล่องสูง จากหุ้นจดทะเบียนกว่า 500 บริษัท ให้เหลือเพียง 70 บริษัท หลังจากนั้น ทีมนักวิเคราะห์และทีมผู้จัดการกองทุนของสปส.จะทำการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินและความสามารถในการทำกำไรของ 70 บริษัทโดยละเอียด เพื่อคัดเลือกหุ้นที่จะลงทุนจริงไว้ประมาณ 30 บริษัทเท่านั้น
“กองทุนประกันสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีชราภาพซึ่งเป็นเงินออมของผู้ประกันตนจำเป็นต้องแสวงหาดอกผลจากการลงทุนในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้กองทุนมีเงินเพียงพอสำหรับการจ่ายบำนาญชราภาพในอนาคต ดังนั้นการเข้าลงทุนในหุ้น ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของสปส. เนื่องจากผลตอแทนที่ได้รับกลับมานั้นอยู่ในระดับที่น่าพอใจ”
สำหรับ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2551 กองทุนประกันสังคม มีเงินลงทุนรวม 522,868 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินกองทุนกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ จำนวน 415,883 ล้านบาท เงินกองทุนที่ดูแลกรณีเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ คลอดบุตร 75,954 ล้านบาท และเงินกองทุนกรณีว่างงาน 31,031 ล้านบาท
โดยเงินลงทุนจำนวน 522,868 ล้านบาทในปัจจุบัน แบ่งลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน เงินฝากธนาคาร และหุ้นกู้เอกชน 436,635 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 84 ของเงินลงทุน และลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ตราสารหนี้อื่นๆ หน่วยลงทุน และหุ้นสามัญ 86,232 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16 ของเงินลงทุน
นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการ กล่าวว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2551 กองทุนประกันสังคมได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนจำนวน 5,854 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนซึ่งได้ผลตอบแทนจำนวน 4,246 ล้านบาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทน 6.58% ซึ่งนับเป็นผลตอบแทนที่น่าพอใจ
“ผลของการรักษาวินัยการลงทุนอย่างเคร่งครัด และการกระจายการลงทุนให้มีความหลากหลายมากขึ้น ช่วยสร้างผลตอนแทนให้กับสปส.ได้ในระดับดี”
โดย การลงทุนในตราสารหนี้ ถือเป็นสัดส่วนใหญ่ของกองทุนและสามารถให้ผลตอบแทน 4.61% สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร 1 ปีที่ 2.00% ในขณะที่การลงทุนในหุ้นให้ผลตอบแทนมากถึง 31.08% สูงกว่าผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 22.23%
ขณะที่แผนการลงทุนปี 2551 สปส.ยังคงเน้นการกระจายลงทุนอย่างต่อเนื่องด้วยการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรระยะยาว หุ้นกู้เอกชนที่มีเครดิตดี หุ้นสามัญ พันธบัตรและหุ้นกู้ต่างประเทศ รวมทั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เพราะคาดว่าภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว ประกอบกับการขยายการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน จะช่วยให้สปส.มีแหล่งลงทุนเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ณ ปัจจุบัน สปส.มีกำไรสะสมจากการลงทุนแล้วกว่า 120,000 ล้านบาท จึงทำให้กองทุนมีความมั่นคงและสามารถดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนได้มากขึ้น โดยล่าสุด สปส.ได้ปรับเพิ่มค่าทำศพ จาก 30,000 บาทเป็น 40,000 บาท อีกทั้งปรับเพิ่มอัตราค่าบริการทางแพทย์ ทำให้ขณะนี้สำนักงานมีค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลในอัตราเฉลี่ย 2,194.21 บาทต่อผู้ประกันตนหนึ่งคนต่อปี และปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญ ซึ่งจะทำให้ท่านผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินบำนาญมากขึ้นเมื่อเกษียณ