ความจริงแล้วหลังชนะการเลือกตั้งของพรรคพลังประชาชน และเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแทบจะหยุดการเคลื่อนไหวไปแล้ว เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐบาลที่มาตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยทำงานไปก่อน
กระทั่งเมื่อรัฐบาลส่งสัญญาณว่า เข้ามาใช้อำนาจเพื่อจัดการกับฝ่ายตรงข้ามและมีแนวโน้มจะฟื้นระบอบทักษิณ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงได้ออกมาเตือนว่า อย่าก้าวก่ายกระบวนการยุติธรรม และต้องให้คดีความของทักษิณและพรรคพวกเดินไปตามครรลองเพื่อพิสูจน์ความถูกผิดในชั้นศาล
แต่เมื่อรัฐบาลก็ยังคงเดินหน้าด้วยการสั่งโยกย้ายข้าราชการในกรมสอบสวนคดีพิเศษที่มีส่วนในการทำคดีทักษิณและพรรคพวกออกแบบล้างบาง พันธมิตรฯ ไม่อาจหยุดนิ่งอยู่ได้และต้องประกาศฟื้นสภาพองค์กรในที่สุด
ถ้ารัฐบาลปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมเดินไปตามครรลองของมัน พันธมิตรฯ ก็คงไม่มีความชอบธรรมที่จะออกมาเคลื่อนไหว และเมื่อรัฐบาลได้เข้ามาแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมอย่างแน่ชัดเช่นนี้แล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องที่บอกว่าให้ถอยออกมาคนละก้าว หรือให้มาสมานฉันท์กัน
ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อเข้ามาสู่อำนาจแล้วรัฐบาลยังพยายามจะเข้ามาแก้ไขกฎกติกาที่เป็นข้อตกลงร่วมของสังคม ด้วยเหตุผลว่า ตัวเองได้กระทำผิดกติกานั้น และกำลังถูกกฎเกณฑ์ของสังคมลงโทษหากปล่อยให้ทุกอย่างเดินไปตามทำนองคลองธรรม ด้วยการใช้เสียงข้างมากที่อ้างว่ามาจากกติกาในระบอบประชาธิปไตยเพื่อทำลายล้างกติกา และความชอบธรรมนั้นเสีย
นี่เป็นเหตุผลเดียวที่พรรคพลังประชาชนจะต้องฉีกทิ้ง มาตรา 237 ที่คดียุบพรรคกำลังเดินขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรม และลบมาตรา 309 เพื่อยุบ คตส.ที่กำลังเดินหน้าสอบสวนคดีการทุจริตคอร์รัปชันของระบอบทักษิณ ก่อนอ้างว่าจะแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับเพราะมาจากเผด็จการเมื่อเสียงคัดค้านแน่นหนาขึ้น
การอ้างว่า ต้องการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อประชาชน หรืออ้างว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นผลผลิตของเผด็จการเป็นเพียงเหตุผลบังหน้า และเป็นการสร้างวาทกรรมเพื่อสร้างความชอบธรรมในการฆาตกรรมอำพรางรัฐธรรมนูญฉบับนี้เพื่อตัดตอนคดีความของตัวเองเท่านั้น
เพราะถ้าลบมายาคติ และก้าวข้ามวาทกรรมว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากเผด็จการ และเขียนขึ้นเพื่อต่อต้านคนแบบทักษิณแล้ว หากเอารัฐธรรมนูญ 2540 กับรัฐธรรมนูญ 2550 มาเปรียบเทียบกันแบบรายมาตรา เราจะเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้สิทธิและเสรีภาพกับประชาชนมากว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2540 แต่บั่นทอนการใช้อำนาจรัฐที่ฉ้อฉลของนักการเมืองที่คดโกงและทุจริตคอร์รัปชัน
การแก้รัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างความผิดของตัวเอง แต่กลับอ้างว่าถ้าไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้บ้านเมืองไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้นั้น เป็นประเภทคนไม่ผิดแต่แก๊สโซฮอลล์ผิดทั้งนั้น
ที่ตลกและขำก็คือ การสร้างวาทกรรมว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ร่างขึ้นเพื่อต่อต้านคนแบบทักษิณ แต่คนที่พูดเช่นนี้ไม่เคยบอกเลยว่า รัฐธรรมนูญมาตราไหนบ้างที่ต่อต้านคนแบบทักษิณ เพราะจะได้ถกเถียงกันว่า รัฐธรรมนูญมาตรานั้นมันต่อต้านคนอย่างทักษิณหรือต่อต้านคนไม่ดีกันแน่
เช่น รัฐธรรมนูญมาตรา 237 ก็เขียนขึ้นจากสภาพความเป็นจริงของสังคมที่มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกัน ถ้าหากการต่อต้านการซื้อเสียงถูกเปรียบเป็นการต่อต้านคนแบบทักษิณอย่างที่ฝ่ายทักษิณและฝ่ายสนับสนุนให้เร่งรัดแก้รัฐธรรมนูญกล่าวอ้าง มันก็แปลว่า ทักษิณเป็นคนไม่ดี แล้วถ้ารัฐธรรมนูญจะต่อต้านคนไม่ดีมันผิดปกติตรงไหน
หรือมาตรา 309 ก็เขียนขึ้นเพื่อทำให้การทำงานของ คตส.สามารถเดินหน้าต่อไปได้ แล้วการทำงานของ คตส.มันขัดขวางกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตรงไหน เพราะ คตส.เพียงแต่รวบรวมหลักฐานการทุจริตคอร์รัปชันเพื่อขึ้นสู่การพิจารณาในชั้นศาล และให้ผู้ถูกกล่าวหาไปพิสูจน์ตัวเอง ไม่ได้ตัดสินชี้เป็นชี้ตาย แล้วมีเหตุผลอะไรที่สังคมไม่ควรสนับสนุนการทำงานขององค์กร เช่น คตส.หรือการตรวจสอบการทุจริตเป็นกติกาต้องห้ามในระบอบประชาธิปไตย
และที่สำคัญคดีความต่างๆ ของระบอบทักษิณที่กำลังตรวจสอบโดย คตส.ก็ถูกขุดคุ้ยขึ้นมาก่อนหน้านี้โดยสื่อมวลชนทั้งสิ้น ในเมื่อสื่อมวลชนส่วนใหญ่เองก็เชื่อและรายงานข่าวขุดคุ้ยการทุจริตคอร์รัปชันในระบอบทักษิณมาอย่างต่อเนื่อง แล้วจะมาบอกประชาชนว่า เพื่อชาติบ้านเมืองเราควรจะถอยกันคนละก้าวหรือสมานฉันท์ให้อภัยกันในเรื่องเช่นนี้หรือ
น่าตกใจ สุชาติ ศรีสุวรรณ คอลัมนิสต์ของมติชน ซึ่งนิยมทักษิณ บอกว่า การแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้เหตุผลที่เป็นแรงผลักดันมากที่สุดคือ แก้ปัญหาการถูกยุบพรรค รัฐบาลจะต้องใช้ความกล้าแบบหักด้ามพร้าด้วยเข่า ถ้าจะมีม็อบมาจะมีม็อบชน มีความเคลื่อนไหวต่อต้านทางวิชาการ จะมีนักวิชาการส่วนหนึ่งออกมาสนับสนุน ก็ต้องพร้อมจะให้เดือดเป็นเดือด
สุชาติถึงกับบอกว่า ความชอบธรรมจะเป็นแค่เรื่องที่ต่างฝ่ายต่างอ้าง แต่ไม่ว่าจะพ่ายแพ้ในเรื่องชอบธรรมหรือไม่แค่ไหน ดูเหมือนไม่สำคัญเท่าต้องชนะในเกมการเมืองเฉพาะหน้าต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ได้ เพราะที่สุดแล้ว สิ่งที่นักการเมืองคิดคือ “ผู้ชนะคือผู้ถูกต้อง” เป็นเรื่องของเกมแห่งอำนาจ
หรือที่สรกล อดุลยานนท์ คนเขียนหนังสืออัศวินคลื่นลูกที่สาม ในนามปากกา วิหคเหินฟ้า อ้างคำพูดของจรัญ ภักดีธนากุลที่เป็นกรรมาธิการยกร่างที่เคยพูดว่า ให้รับร่างไปก่อนในตอนก่อนลงประชามติ เป็นเหตุผลสนับสนุนว่า ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้
การอ้างคำพูดของนายจรัญเพียงคนเดียวเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญที่มาจากประชามติของคน 14 ล้านคน เป็นเหตุผลที่ฟังขึ้นหรือไม่ก็ตามแต่ แต่ทำไมถึงไม่มองความจริงที่ปรากฏอยู่ซึ่งหน้าและบอกความจริงกับประชาชนว่า พรรคพลังประชาชนพยายามผลักดันให้การแก้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นไปอย่างเร่งรัด เร่งด่วน รวบรัด ข้ามขั้นตอนเพื่อล้มล้างความผิดของตัวเอง
ทั้งสุชาติและสรกลจริงแล้วก็เป็นเพื่อนฝูงกันครับ แต่ความเห็นเรื่องนี้เราต่างกัน และต่างกันทุกเรื่องที่เกี่ยวกับระบอบทักษิณ
ความจริงแล้ว กลุ่มบุคคล องค์กรต่างๆ ที่เข้ามาท้วงติงการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่มีใครบอกว่า รัฐธรรมนูญแก้ไม่ได้ ทุกคนบอกว่าแก้ได้ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็บอกว่า แก้ได้ พรรคประชาธิปัตย์ก็บอกว่า แก้ได้ ไม่มีใครไปขัดขวาง แต่ทุกฝ่ายเห็นว่า กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญต้องมีขั้นตอนที่ถูกต้องชอบธรรมเท่านั้น
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบของประชาชนมา 14 ล้านเสียงเพียงเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา จะปล่อยให้พรรคการเมืองอ้างว่ามาจากระบอบประชาธิปไตยแล้วฉีกทิ้ง และเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมาแบบแดกด่วน โดยไม่ฟังเสียงของประชาชนนั้นเป็นวิถีทางที่ชอบธรรมเช่นนั้นหรือ
หลักของบ้านเมืองอยู่ตรงไหน ถ้าคนที่ทำผิดแล้ว สามารถแก้กฎหมายเพื่อให้ตัวเองพ้นผิดได้
หรือสังคมไทยก้าวไปถึงขั้นที่คิดว่า ความชอบธรรมเป็นสิ่งที่สามารถทำลายหรือเหยียบย่ำได้ขอเพียงชนะในเกมการเมือง.
กระทั่งเมื่อรัฐบาลส่งสัญญาณว่า เข้ามาใช้อำนาจเพื่อจัดการกับฝ่ายตรงข้ามและมีแนวโน้มจะฟื้นระบอบทักษิณ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงได้ออกมาเตือนว่า อย่าก้าวก่ายกระบวนการยุติธรรม และต้องให้คดีความของทักษิณและพรรคพวกเดินไปตามครรลองเพื่อพิสูจน์ความถูกผิดในชั้นศาล
แต่เมื่อรัฐบาลก็ยังคงเดินหน้าด้วยการสั่งโยกย้ายข้าราชการในกรมสอบสวนคดีพิเศษที่มีส่วนในการทำคดีทักษิณและพรรคพวกออกแบบล้างบาง พันธมิตรฯ ไม่อาจหยุดนิ่งอยู่ได้และต้องประกาศฟื้นสภาพองค์กรในที่สุด
ถ้ารัฐบาลปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมเดินไปตามครรลองของมัน พันธมิตรฯ ก็คงไม่มีความชอบธรรมที่จะออกมาเคลื่อนไหว และเมื่อรัฐบาลได้เข้ามาแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมอย่างแน่ชัดเช่นนี้แล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องที่บอกว่าให้ถอยออกมาคนละก้าว หรือให้มาสมานฉันท์กัน
ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อเข้ามาสู่อำนาจแล้วรัฐบาลยังพยายามจะเข้ามาแก้ไขกฎกติกาที่เป็นข้อตกลงร่วมของสังคม ด้วยเหตุผลว่า ตัวเองได้กระทำผิดกติกานั้น และกำลังถูกกฎเกณฑ์ของสังคมลงโทษหากปล่อยให้ทุกอย่างเดินไปตามทำนองคลองธรรม ด้วยการใช้เสียงข้างมากที่อ้างว่ามาจากกติกาในระบอบประชาธิปไตยเพื่อทำลายล้างกติกา และความชอบธรรมนั้นเสีย
นี่เป็นเหตุผลเดียวที่พรรคพลังประชาชนจะต้องฉีกทิ้ง มาตรา 237 ที่คดียุบพรรคกำลังเดินขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรม และลบมาตรา 309 เพื่อยุบ คตส.ที่กำลังเดินหน้าสอบสวนคดีการทุจริตคอร์รัปชันของระบอบทักษิณ ก่อนอ้างว่าจะแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับเพราะมาจากเผด็จการเมื่อเสียงคัดค้านแน่นหนาขึ้น
การอ้างว่า ต้องการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อประชาชน หรืออ้างว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นผลผลิตของเผด็จการเป็นเพียงเหตุผลบังหน้า และเป็นการสร้างวาทกรรมเพื่อสร้างความชอบธรรมในการฆาตกรรมอำพรางรัฐธรรมนูญฉบับนี้เพื่อตัดตอนคดีความของตัวเองเท่านั้น
เพราะถ้าลบมายาคติ และก้าวข้ามวาทกรรมว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากเผด็จการ และเขียนขึ้นเพื่อต่อต้านคนแบบทักษิณแล้ว หากเอารัฐธรรมนูญ 2540 กับรัฐธรรมนูญ 2550 มาเปรียบเทียบกันแบบรายมาตรา เราจะเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้สิทธิและเสรีภาพกับประชาชนมากว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2540 แต่บั่นทอนการใช้อำนาจรัฐที่ฉ้อฉลของนักการเมืองที่คดโกงและทุจริตคอร์รัปชัน
การแก้รัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างความผิดของตัวเอง แต่กลับอ้างว่าถ้าไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้บ้านเมืองไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้นั้น เป็นประเภทคนไม่ผิดแต่แก๊สโซฮอลล์ผิดทั้งนั้น
ที่ตลกและขำก็คือ การสร้างวาทกรรมว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ร่างขึ้นเพื่อต่อต้านคนแบบทักษิณ แต่คนที่พูดเช่นนี้ไม่เคยบอกเลยว่า รัฐธรรมนูญมาตราไหนบ้างที่ต่อต้านคนแบบทักษิณ เพราะจะได้ถกเถียงกันว่า รัฐธรรมนูญมาตรานั้นมันต่อต้านคนอย่างทักษิณหรือต่อต้านคนไม่ดีกันแน่
เช่น รัฐธรรมนูญมาตรา 237 ก็เขียนขึ้นจากสภาพความเป็นจริงของสังคมที่มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกัน ถ้าหากการต่อต้านการซื้อเสียงถูกเปรียบเป็นการต่อต้านคนแบบทักษิณอย่างที่ฝ่ายทักษิณและฝ่ายสนับสนุนให้เร่งรัดแก้รัฐธรรมนูญกล่าวอ้าง มันก็แปลว่า ทักษิณเป็นคนไม่ดี แล้วถ้ารัฐธรรมนูญจะต่อต้านคนไม่ดีมันผิดปกติตรงไหน
หรือมาตรา 309 ก็เขียนขึ้นเพื่อทำให้การทำงานของ คตส.สามารถเดินหน้าต่อไปได้ แล้วการทำงานของ คตส.มันขัดขวางกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตรงไหน เพราะ คตส.เพียงแต่รวบรวมหลักฐานการทุจริตคอร์รัปชันเพื่อขึ้นสู่การพิจารณาในชั้นศาล และให้ผู้ถูกกล่าวหาไปพิสูจน์ตัวเอง ไม่ได้ตัดสินชี้เป็นชี้ตาย แล้วมีเหตุผลอะไรที่สังคมไม่ควรสนับสนุนการทำงานขององค์กร เช่น คตส.หรือการตรวจสอบการทุจริตเป็นกติกาต้องห้ามในระบอบประชาธิปไตย
และที่สำคัญคดีความต่างๆ ของระบอบทักษิณที่กำลังตรวจสอบโดย คตส.ก็ถูกขุดคุ้ยขึ้นมาก่อนหน้านี้โดยสื่อมวลชนทั้งสิ้น ในเมื่อสื่อมวลชนส่วนใหญ่เองก็เชื่อและรายงานข่าวขุดคุ้ยการทุจริตคอร์รัปชันในระบอบทักษิณมาอย่างต่อเนื่อง แล้วจะมาบอกประชาชนว่า เพื่อชาติบ้านเมืองเราควรจะถอยกันคนละก้าวหรือสมานฉันท์ให้อภัยกันในเรื่องเช่นนี้หรือ
น่าตกใจ สุชาติ ศรีสุวรรณ คอลัมนิสต์ของมติชน ซึ่งนิยมทักษิณ บอกว่า การแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้เหตุผลที่เป็นแรงผลักดันมากที่สุดคือ แก้ปัญหาการถูกยุบพรรค รัฐบาลจะต้องใช้ความกล้าแบบหักด้ามพร้าด้วยเข่า ถ้าจะมีม็อบมาจะมีม็อบชน มีความเคลื่อนไหวต่อต้านทางวิชาการ จะมีนักวิชาการส่วนหนึ่งออกมาสนับสนุน ก็ต้องพร้อมจะให้เดือดเป็นเดือด
สุชาติถึงกับบอกว่า ความชอบธรรมจะเป็นแค่เรื่องที่ต่างฝ่ายต่างอ้าง แต่ไม่ว่าจะพ่ายแพ้ในเรื่องชอบธรรมหรือไม่แค่ไหน ดูเหมือนไม่สำคัญเท่าต้องชนะในเกมการเมืองเฉพาะหน้าต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ได้ เพราะที่สุดแล้ว สิ่งที่นักการเมืองคิดคือ “ผู้ชนะคือผู้ถูกต้อง” เป็นเรื่องของเกมแห่งอำนาจ
หรือที่สรกล อดุลยานนท์ คนเขียนหนังสืออัศวินคลื่นลูกที่สาม ในนามปากกา วิหคเหินฟ้า อ้างคำพูดของจรัญ ภักดีธนากุลที่เป็นกรรมาธิการยกร่างที่เคยพูดว่า ให้รับร่างไปก่อนในตอนก่อนลงประชามติ เป็นเหตุผลสนับสนุนว่า ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้
การอ้างคำพูดของนายจรัญเพียงคนเดียวเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญที่มาจากประชามติของคน 14 ล้านคน เป็นเหตุผลที่ฟังขึ้นหรือไม่ก็ตามแต่ แต่ทำไมถึงไม่มองความจริงที่ปรากฏอยู่ซึ่งหน้าและบอกความจริงกับประชาชนว่า พรรคพลังประชาชนพยายามผลักดันให้การแก้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นไปอย่างเร่งรัด เร่งด่วน รวบรัด ข้ามขั้นตอนเพื่อล้มล้างความผิดของตัวเอง
ทั้งสุชาติและสรกลจริงแล้วก็เป็นเพื่อนฝูงกันครับ แต่ความเห็นเรื่องนี้เราต่างกัน และต่างกันทุกเรื่องที่เกี่ยวกับระบอบทักษิณ
ความจริงแล้ว กลุ่มบุคคล องค์กรต่างๆ ที่เข้ามาท้วงติงการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่มีใครบอกว่า รัฐธรรมนูญแก้ไม่ได้ ทุกคนบอกว่าแก้ได้ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็บอกว่า แก้ได้ พรรคประชาธิปัตย์ก็บอกว่า แก้ได้ ไม่มีใครไปขัดขวาง แต่ทุกฝ่ายเห็นว่า กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญต้องมีขั้นตอนที่ถูกต้องชอบธรรมเท่านั้น
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบของประชาชนมา 14 ล้านเสียงเพียงเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา จะปล่อยให้พรรคการเมืองอ้างว่ามาจากระบอบประชาธิปไตยแล้วฉีกทิ้ง และเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมาแบบแดกด่วน โดยไม่ฟังเสียงของประชาชนนั้นเป็นวิถีทางที่ชอบธรรมเช่นนั้นหรือ
หลักของบ้านเมืองอยู่ตรงไหน ถ้าคนที่ทำผิดแล้ว สามารถแก้กฎหมายเพื่อให้ตัวเองพ้นผิดได้
หรือสังคมไทยก้าวไปถึงขั้นที่คิดว่า ความชอบธรรมเป็นสิ่งที่สามารถทำลายหรือเหยียบย่ำได้ขอเพียงชนะในเกมการเมือง.