ผู้จัดการรายวัน - ผู้ผลิตชุดอุปกรณ์ส่องสว่างยานยนต์รายใหญ่ "สแตนเลย์" ประกาศทุ่มเงินลงทุนเพิ่ม 1.2 พันล้านบาท รองรับรถยนต์โมเดลใหม่ๆ เผยเม็ดเงินดังกล่าวยังไม่รวมโครงการอีโคคาร์ ที่บีโอไอกำลังพิจารณาอนุมัติอยู่ หากทุกอย่างชัดเจนและบริษัทรถเลือก จะต้องลงทุนตั้งโรงงานแห่งใหม่รองรับโดยเฉพาะ ขณะที่รายได้ปีนี้น่าจะเติบโต 5% จากปีที่แล้วที่ทำได้ 7.9 พันล้านบาท
นายชิเกโอะ ซูซูกิ ตัวแทนผู้บริหาร บริษัท สแตนเลย์ อิเลคทริค จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ผู้ผลิตชุดอุปกรณ์ส่องสว่างสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง โดยดูจากปริมาณรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี และกลุ่มสแตนเลย์ยังคงให้ความสำคัญต่อตลาดไทยอย่างต่อเนื่อง
"ที่ผ่านมาสเตนเลย์ขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย โดยนับจากช่วงปี 2540 เป็นต้นมา สเตนเลย์ใช้เงินลงทุนขยายกำลังการผลิตไปแล้วถึง 6,214 ล้านบาท และในปี 2551 นี้ สแตนเลย์ยังคงจะขยายการลงทุนต่อไป"
นายอภิชาติ ลี้อิสระนุกูล รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า จำกัด(มหาชน) (STANLY)ผู้ผลิตชุดอุปกรณ์ส่องสว่างสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีการลงทุนใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์เกือบทุกยี่ห้อ และมีการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาดต่อเนื่อง เพื่อรองรับทิศทางการผลิตของบริษัทรถดังกล่าว ทำให้บริษัทฯ จำเป็นต้องมีการลงทุนเพิ่มในทุกๆ ปี
"ปีนี้แสตนเลย์ได้เตรียมงบลงทุนกว่า 1.2 พันล้านบาท เพื่อผลิตโคมไฟให้กับรถยนต์โมเดลใหม่ๆ รวมถึงโครงการผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็ก หรือซับคอมแพ็กตของมาสด้าและฟอร์ด ที่จะเริ่มในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ซึ่งผลจากการขยายการลงทุนทำให้สามารถรองรับการผลิตรถยนต์ได้อีกประมาณ 2 แสนคัน ส่วนผลประกอบการของสแตนเลย์ในปีที่ผ่านมา มีมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 7.9 พันล้านบาท และคาดว่าปีนี้จะมีรายได้เพิ่มขึ้น 5% หรือมากกว่า 8 พันล้านบาท"
อย่างไรก็ตาม เงินลงทุนดังกล่าวยังไม่รวมถึงการรองรับรถยนต์ ภายใต้โครงการรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโคคาร์ ที่กำลังอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไออยู่ โดยล่าสุดได้มีการอนุมัติไปแล้ว 3 ราย ได้แก่ โตโยต้า ซูซูกิ และนิสสัน ยังรออนุมัติการลงทุนอีก 3-4 ราย ซึ่งน่าจะได้ข้อสรุปในอีก 1-2 ข้างหน้านี้
"เรายังไม่ได้คุยกับผู้ผลิตรถยนต์เกี่ยวกับโครงการอีโคคาร์ เพราะยังมีบางรายที่รอรับการส่งเสริมจากบีโอไออยู่ ซึ่งคาดว่าเร็วๆ นี้น่าจะมีการเจรจาในเรื่องนี้ และแม้ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าเก่าของสแตนเลย์ แต่ก็ไม่ทราบว่าจะได้รับออเดอร์หรือเปล่า ซึ่งแน่นอนจากกรอบข้อกำหนดของบีโอไอ ที่แต่ละบริษัทจะต้องผลิตรถยนต์ให้ได้ 1 แสนคัน ในปีที่ 5 เป็นต้นไป จำนวนดังกล่าวนับว่ามีปริมาณมากทีเดียว และหากลูกค้าเลือกเราเป็นผู้ผลิตชุดอุปกรณ์ส่องสว่างให้ โรงงานใหม่แห่งที่ 5 ที่เพิ่งลงทุนไปรองรับได้เพียง 2 แสนคันเท่านั้น นั่นย่อมหมายความว่าจะต้องมีการตั้งโรงงานใหม่รองรับ อาจจะเป็นโรงงงานที่ 6 ก็เป็นไปได้ แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตรถยนต์จะเลือกสแตนเลย์หรือไม่" นายอภิชาตกล่าวและว่าปัจจุบันผลิตภัณฑ์สแตนเลย์ที่ผลิตในประเทศไทย ประกอบไปด้วยหลอดไฟยานยนต์มีกำลังการผลิต 8 ล้านชิ้นต่อเดือน อุปกรณ์ส่องสว่างสำหรับยานยนต์ มีกำลังการผลิต 2,600,000 ชิ้นต่อเดือน และแม่พิมพ์ ซึ่งมีกำลังการผลิต 400 ชิ้นต่อปี โดยประมาณ 95% จะผลิตให้กับโรงงานผู้ผลิตรถยนต์ ได้แก่ ฮอนด้า, อีซูซุ, มิตซูบิชิ, โตโยต้า, ฟอร์ด, มาสด้า, นิสสัน, เดมเลอร์ไครสเลอร์ และนิสสันดีเซล
นอกจากนี้ยังมีการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก จากเดิมสัดส่วนส่งออกประมาณ 30% ในปีที่ผ่านมาสัดส่วนระหว่างในประเทศกับต่างประเทศเท่ากัน และคาดว่าปีนี้ส่งออกจะมีมากกว่า
สำหรับปัญหาของสแตนเลย์ในปัจจุบัน ได้มีสินค้าปลอมและเลียนแบบเข้ามาตีตลาดจำนวนมาก โดยล่าสุดบริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบังคับการปราบปรามอาชญกรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี โดยพล.ต.ต.วิสุทธิ์ วาณิชบุตร ผู้บังคับการ ได้ดำเนินการยึดผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ส่องสว่างสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ที่ละเมิดลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้า Stanley กว่า 1 แสนชิ้น คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 5 ล้านบาท และได้จัดการทำลาย ณ บริเวณโรงงานผลิตอุปกรณ์ส่องสว่างสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จังหวัดปทุมธานี ไปเมื่อวานนี้(2 เม.ย.)
"ความจริงแล้วไม่เพียงแต่เทปผีซีดีเถื่อนเท่านั้น ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดรวมถึงอุปกรณ์ยานยนต์ อาทิ ผ้าเบรก และน้ำมันเครื่อง รวมถึงหลอดไฟยานยนต์ที่ได้ร่วมมือกับบริษัทสแตนเลย์ฯ ในการยึดและทำลายล่าสุดนี้ ถือเป็นการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับเจ้าของผลิตภัณฑ์ ที่ช่วยให้ข้อมูลและชี้เบาะแสให้กับเราทราบ จนนำไปสู่การปราบปรามอย่างได้ผลที่สุด" พล.ต.ต.วิสุทธ์กล่าว
นายชิเกโอะ ซูซูกิ ตัวแทนผู้บริหาร บริษัท สแตนเลย์ อิเลคทริค จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ผู้ผลิตชุดอุปกรณ์ส่องสว่างสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง โดยดูจากปริมาณรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี และกลุ่มสแตนเลย์ยังคงให้ความสำคัญต่อตลาดไทยอย่างต่อเนื่อง
"ที่ผ่านมาสเตนเลย์ขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย โดยนับจากช่วงปี 2540 เป็นต้นมา สเตนเลย์ใช้เงินลงทุนขยายกำลังการผลิตไปแล้วถึง 6,214 ล้านบาท และในปี 2551 นี้ สแตนเลย์ยังคงจะขยายการลงทุนต่อไป"
นายอภิชาติ ลี้อิสระนุกูล รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า จำกัด(มหาชน) (STANLY)ผู้ผลิตชุดอุปกรณ์ส่องสว่างสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีการลงทุนใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์เกือบทุกยี่ห้อ และมีการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาดต่อเนื่อง เพื่อรองรับทิศทางการผลิตของบริษัทรถดังกล่าว ทำให้บริษัทฯ จำเป็นต้องมีการลงทุนเพิ่มในทุกๆ ปี
"ปีนี้แสตนเลย์ได้เตรียมงบลงทุนกว่า 1.2 พันล้านบาท เพื่อผลิตโคมไฟให้กับรถยนต์โมเดลใหม่ๆ รวมถึงโครงการผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็ก หรือซับคอมแพ็กตของมาสด้าและฟอร์ด ที่จะเริ่มในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ซึ่งผลจากการขยายการลงทุนทำให้สามารถรองรับการผลิตรถยนต์ได้อีกประมาณ 2 แสนคัน ส่วนผลประกอบการของสแตนเลย์ในปีที่ผ่านมา มีมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 7.9 พันล้านบาท และคาดว่าปีนี้จะมีรายได้เพิ่มขึ้น 5% หรือมากกว่า 8 พันล้านบาท"
อย่างไรก็ตาม เงินลงทุนดังกล่าวยังไม่รวมถึงการรองรับรถยนต์ ภายใต้โครงการรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโคคาร์ ที่กำลังอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไออยู่ โดยล่าสุดได้มีการอนุมัติไปแล้ว 3 ราย ได้แก่ โตโยต้า ซูซูกิ และนิสสัน ยังรออนุมัติการลงทุนอีก 3-4 ราย ซึ่งน่าจะได้ข้อสรุปในอีก 1-2 ข้างหน้านี้
"เรายังไม่ได้คุยกับผู้ผลิตรถยนต์เกี่ยวกับโครงการอีโคคาร์ เพราะยังมีบางรายที่รอรับการส่งเสริมจากบีโอไออยู่ ซึ่งคาดว่าเร็วๆ นี้น่าจะมีการเจรจาในเรื่องนี้ และแม้ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าเก่าของสแตนเลย์ แต่ก็ไม่ทราบว่าจะได้รับออเดอร์หรือเปล่า ซึ่งแน่นอนจากกรอบข้อกำหนดของบีโอไอ ที่แต่ละบริษัทจะต้องผลิตรถยนต์ให้ได้ 1 แสนคัน ในปีที่ 5 เป็นต้นไป จำนวนดังกล่าวนับว่ามีปริมาณมากทีเดียว และหากลูกค้าเลือกเราเป็นผู้ผลิตชุดอุปกรณ์ส่องสว่างให้ โรงงานใหม่แห่งที่ 5 ที่เพิ่งลงทุนไปรองรับได้เพียง 2 แสนคันเท่านั้น นั่นย่อมหมายความว่าจะต้องมีการตั้งโรงงานใหม่รองรับ อาจจะเป็นโรงงงานที่ 6 ก็เป็นไปได้ แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตรถยนต์จะเลือกสแตนเลย์หรือไม่" นายอภิชาตกล่าวและว่าปัจจุบันผลิตภัณฑ์สแตนเลย์ที่ผลิตในประเทศไทย ประกอบไปด้วยหลอดไฟยานยนต์มีกำลังการผลิต 8 ล้านชิ้นต่อเดือน อุปกรณ์ส่องสว่างสำหรับยานยนต์ มีกำลังการผลิต 2,600,000 ชิ้นต่อเดือน และแม่พิมพ์ ซึ่งมีกำลังการผลิต 400 ชิ้นต่อปี โดยประมาณ 95% จะผลิตให้กับโรงงานผู้ผลิตรถยนต์ ได้แก่ ฮอนด้า, อีซูซุ, มิตซูบิชิ, โตโยต้า, ฟอร์ด, มาสด้า, นิสสัน, เดมเลอร์ไครสเลอร์ และนิสสันดีเซล
นอกจากนี้ยังมีการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก จากเดิมสัดส่วนส่งออกประมาณ 30% ในปีที่ผ่านมาสัดส่วนระหว่างในประเทศกับต่างประเทศเท่ากัน และคาดว่าปีนี้ส่งออกจะมีมากกว่า
สำหรับปัญหาของสแตนเลย์ในปัจจุบัน ได้มีสินค้าปลอมและเลียนแบบเข้ามาตีตลาดจำนวนมาก โดยล่าสุดบริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบังคับการปราบปรามอาชญกรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี โดยพล.ต.ต.วิสุทธิ์ วาณิชบุตร ผู้บังคับการ ได้ดำเนินการยึดผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ส่องสว่างสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ที่ละเมิดลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้า Stanley กว่า 1 แสนชิ้น คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 5 ล้านบาท และได้จัดการทำลาย ณ บริเวณโรงงานผลิตอุปกรณ์ส่องสว่างสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จังหวัดปทุมธานี ไปเมื่อวานนี้(2 เม.ย.)
"ความจริงแล้วไม่เพียงแต่เทปผีซีดีเถื่อนเท่านั้น ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดรวมถึงอุปกรณ์ยานยนต์ อาทิ ผ้าเบรก และน้ำมันเครื่อง รวมถึงหลอดไฟยานยนต์ที่ได้ร่วมมือกับบริษัทสแตนเลย์ฯ ในการยึดและทำลายล่าสุดนี้ ถือเป็นการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับเจ้าของผลิตภัณฑ์ ที่ช่วยให้ข้อมูลและชี้เบาะแสให้กับเราทราบ จนนำไปสู่การปราบปรามอย่างได้ผลที่สุด" พล.ต.ต.วิสุทธ์กล่าว