ปัจจุบันฮอนด้านับเป็นเจ้าตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากถึง 70% แต่เส้นทางสู่อันดับ 1 ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ต้องเผชิญปัญหาและอุปสรรคมากมาย ยิ่งไปกว่านั้น จะต้องพยายามสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมโดยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
บริษัทฮอนด้าได้เข้ามาทำธุรกิจในประเทศอย่างจริงจังนับตั้งแต่ปี 2507 เมื่อมีการก่อตั้งบริษัทจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย ต่อมาได้ก่อตั้งโรงงานประกอบรถจักรยานยนต์ขึ้นในประเทศไทยและเริ่มผลิตเมื่อปี 2510 โดยในช่วงแรกๆ รถจักรยานยนต์ฮอนด้าประสบผลสำเร็จไม่มากนัก ซึ่งในช่วงนั้นรถจักรยานยนต์ 3 ยี่ห้อ คือ ฮอนด้า ยามาฮ่า และซูซูกิ มีส่วนแบ่งทางการตลาดพอๆ กัน คือ ประมาณ 30% ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ เพื่อครองตำแหน่งอันดับ 1
ต่อมาธุรกิจรถจักรยานยนต์ฮอนด้าต้องเผชิญวิกฤตครั้งใหญ่เมื่อปี 2525 – 2528 เมื่อยอดขายตกลงมาเหลือส่วนแบ่งทางการตลาดไม่ถึง 20% โดยหล่นมาเป็นอันดับ 3 ตามหลังรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า และซูซูกิ โดยเอาชนะเฉพาะคาวาซากิเท่านั้น จนบริษัทแม่ในญี่ปุ่นเกือบถอดใจเกี่ยวกับธุรกิจรถจักรยานยนต์ในประเทศไทยว่าจะไปรอดหรือไม่
เพื่อแก้ไขสถานการณ์ บริษัทแม้ได้ปรับเปลี่ยนผู้บริหารชาวญี่ปุ่นคนใหม่ ซึ่งได้เดินทางไปสำรวจยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในเชิงลึก รวมถึงได้ส่งทีมงานไปศึกษาพฤติกรรมและรสนิยมของลูกค้าเป้าหมายกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษา ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ผลการศึกษาสรุปได้ว่าฮอนด้ามีจุดอ่อนสำคัญ 3 ประการ
ประการแรก ลูกค้าต้องการรถจักรยานยนต์แบบเครื่องยนต์ 2 จังหวะ ซึ่งคู่แข่งมีรถจักรยานยนต์แบบนี้สนองความต้องการของลูกค้า แต่บริษัทฮอนด้ามีเฉพาะเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะเท่านั้น โดยรถจักรยานยนต์แบบ 2 จังหวะ มีข้อดี คือ อัตราเร่งดีกว่าและราคาถูกกว่ารถจักรยานยนต์แบบ 4 จังหวะ โดยกรณีของประเทศไทยในช่วงนั้น รถจักรยานยนต์แบบ 4 จังหวะ จะได้รับความนิยมเฉพาะที่มีขนาดตั้งแต่ 150 ซีซี ขึ้นไปเท่านั้น
ประการที่สอง ผู้จำหน่ายมีความสัมพันธ์ที่ดีกับยี่ห้ออื่น และมีส่วนช่วยในการโน้มน้าวให้ลูกค้าเลือกซื้อยี่ห้ออื่นมากกว่าของตน ยิ่งไปกว่านั้น ผู้จำหน่ายบางรายเน้นการจำหน่ายสินค้าอย่างเดียว ไม่สนใจบริการหลังขาย
ประการที่สาม ประกอบกับโครงสร้างการบริหารงานของบริษัทมีความยุ่งยาก มีตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยหลายราย บรรดาผู้จำหน่ายจะสั่งซื้อกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งก็ได้ ทำให้การพัฒนาตลาดไม่เป็นเอกภาพ
ภายหลังวิเคราะห์ปัญหาอย่างถ่องแท้แล้ว ผู้บริหารของฮอนด้าในประเทศไทยจึงได้ทำการผ่าตัดครั้งใหญ่
ประการแรก ดำเนินการโน้มน้าวบริษัทแม่ ในการยินยอมให้โรงงานในประเทศไทยผลิตและจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบ 2 จังหวะ
ประการที่สอง ปรับโครงสร้างการจำหน่าย จากเดิมมีผู้แทนจำหน่าย 2 บริษัท ได้ควบรวมกันเป็นบริษัทเดียว
ประการที่สาม ปรับปรุงโครงสร้างผู้จำหน่ายครั้งใหญ่ โดยแต่งตั้งผู้จำหน่ายที่สนใจจะทำธุรกิจครบวงจรกับบริษัท ตั้งแต่การจำหน่าย บริการหลังการขาย อะไหล่ และในระยะหลังครอบคลุมถึงการฝึกอบรมการขับขี่ปลอดภัย เพื่อเน้นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าของฮอนด้าให้ดีที่สุด
จากการดำเนินมาตรการดังกล่าวข้างต้น เมื่อได้วางจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบใหม่ 2 จังหวะ ปรากฏว่าประสบผลสำเร็จอย่างท่วมท้น ส่งผลให้สามารถก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตรถจักรยานยนต์อันดับ 1 ของประเทศไทยนับตั้งแต่ช่วงนั้นจนถึงปัจจุบัน
ภายหลังปรับเปลี่ยนรถจักรยานยนต์เป็นแบบ 2 จังหวะได้ไม่นานนัก นายนิบูฮิโกะ คาวาโมโต้ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของบริษัทฮอนด้าในญี่ปุ่นอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2533 – 2541 ได้เดินทางมาประเทศไทยหลายครั้ง รวมถึงได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2535 เพื่อน้อมเกล้าถวายรถยนต์ฮอนด้าเพื่อทรงใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย
พระองค์ได้มีพระราชดำรัสสอบถามเกี่ยวกับเทคโนโลยีในด้านยานยนต์หลายประการ ซึ่งสร้างความประทับใจและประหลาดใจแก่เขาเป็นอันมากในพระปรีชาสามารถและความสนพระทัยในด้านนี้ โดยเฉพาะในด้านการประหยัดพลังงานและด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
นายคาวาโมโต้ได้ถวายการอธิบายว่าการขับรถยนต์ เมื่อมีการเร่งเครื่อง จะสิ้นเปลืองพลังงานจำนวนมาก แต่เมื่อแตะเบรก จะเกิดการสูญเสียพลังงาน พร้อมกับอธิบายว่าฮอนด้ากำลังพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์แบบไฮบริดที่สามารถนำเอาพลังงานที่สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์จากการเบรกไปสะสมในแบตเตอรี่ เพื่อใช้เป็นพลังงานเสริมเมื่อรถยนต์ต้องการใช้พลังงานจำนวนมาก ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานนัก บริษัทฮอนด้าได้ประสบผลสำเร็จในการวิจัยและพัฒนารถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีไฮบริด เพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์เป็นบริษัทแรกในโลก
สำหรับในด้านสิ่งแวดล้อม พระองค์ได้ทรงมีพระราชกระแสและพระราชดำรัสห่วงใยในผลกระทบของไอเสียจากยานยนต์ต่อสิ่งแวดล้อมทางอากาศและสุขภาพของพสกนิกร ได้ทรงสอบถามถึงสาเหตุและแนวทางแก้ไข พร้อมกับทรงมีพระราชปรารภว่าฮอนด้าในฐานะผู้ผลิตรถจักรยานยนต์รายใหญ่อันดับ 1 ของประเทศ ควรแสวงหาแนวทางแก้ไขในด้านนี้
นายคาวาโมโต้จึงได้ถวายคำอธิบายว่าไอเสียจากรถจักรยานยนต์โดยเฉพาะปัญหาควันขาวนั้น เกิดขึ้นในกรณีที่เป็นรถจักรยานยนต์แบบ 2 จังหวะ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทยในช่วงนั้น แนวทางแก้ไข คือ การเปลี่ยนมาใช้รถจักรยานยนต์แบบ 4 จังหวะ
จากพระราชปรารภข้างต้น ภายหลังนายคาวาโมโต้เดินทางกลับประเทศญี่ปุ่น เขาได้ตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะวิจัยและพัฒนารถจักรยานยนต์แบบ 4 จังหวะ สำหรับจำหน่ายในประเทศไทย โดยดำเนินการในด้านต่างๆ เป็นต้นว่า
ประการแรก ได้สั่งการให้ฝ่ายวิจัยและพัฒนาของบริษัทฮอนด้าให้พยายามแก้ไขปัญหาข้อเสียเปรียบของเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ อันนำไปสู่การวิจัยและพัฒนาเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์แบบ 4 จังหวะ ที่มีอัตราเร่งดีขึ้นและราคาถูกลงเทียบเท่ากับเครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะ
ประการที่สอง พยายามสร้างการยอมรับของตลาด เนื่องจากช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของประเทศ พยายามชักจูงให้ลูกค้าเลือกซื้อรถจักรยานยนต์แบบ 2 จังหวะ เนื่องจากซ่อมง่าย ดังนั้น จึงได้ส่งบุคลากรไปสอนเกี่ยวกับการซ่อมแซมเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ ซึ่งความจริงแล้วซ่อมไม่ยากอย่างที่คิด
สำหรับในด้านการส่งเสริมการลงทุนนั้น เดิมได้เปิดให้การส่งเสริมการลงทุนผลิตรถจักรยานยนต์ตั้งแต่ปี 2507 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ต่อมาได้ปิดให้การส่งเสริม เนื่องจากกิจการนี้สามารถดำเนินการได้ดีอยู่แล้ว
แต่ปัญหาสำคัญ คือ เป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบ 2 จังหวะ เป็นสัดส่วนสูงมาก โดยในปี 2535 มีการประกอบรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย 850,000 คัน โดยในจำนวนนี้ เป็นแบบ 4 จังหวะเพียงแค่ 130,000 คัน หรือเพียง 15% ของทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้น เป็นการผลิตแบบ 4 จังหวะ เพื่อส่งออกมากถึง 35,000 คัน คงเหลือที่จำหน่ายในประเทศเพียง 95,000 คัน
เพื่อสนับสนุนการผลิตและจำหน่ายรถจักรยานยนต์ที่มีผลกระทบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมน้อยลง คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2536 เปิดให้การส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการผลิตรถจักรยานยนต์อีกครั้ง แต่มีข้อจำกัดว่าจะต้องผลิตเฉพาะรถจักรยานยนต์แบบ 4 จังหวะเท่านั้น
ทั้งนี้นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานกรรมการส่งเสริมการลงทุนโดยตำแหน่ง ซึ่งมีบ้านพักที่ซอยหมอเหล็งนั้น มักมีรถจักรยานยนต์แล่นผ่านไปผ่านมาเป็นจำนวนมาก ได้สนับสนุนนโยบายนี้อย่างเต็มที่ โดยให้ทัศนะว่ารถจักรยานยนต์แบบ 2 จังหวะ นอกจากจะมีมลพิษสูงกว่าแล้ว ยังมีเสียงดังหนวกหูมากกว่าอีกด้วย
จากความพยายามร่วมกันเพื่อสนองพระราชดำริ ให้ประชาชนคนไทยหันมานิยมใช้รถจักรยานยนต์แบบ 4 จังหวะ ส่งผลให้รถจักรยานยนต์แบบ 2 จังหวะสูญพันธุ์ไปจากท้องตลาด ซึ่งปัจจุบันฮอนด้าได้ยกเลิกการผลิตรถจักรยานยนต์แบบ 2 จังหวะทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย นับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา
ยิ่งไปกว่านั้น ในระยะหลังฮอนด้าสามารถเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศไทยสูงถึง70% เนื่องจากในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 บริษัทคู่แข่งชะลอการลงทุน เนื่องจากตลาดหดตัวลงมาก ต้องการลดค่าใช้จ่ายลงเพื่อความอยู่รอดของบริษัท
แต่ฮอนด้าได้ใช้วิกฤตเป็นโอกาส ได้ลงทุนต่อไปเพื่อผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลง พร้อมกับลงทุนในด้านวิจัยและพัฒนารถจักรยานยนต์แบบ 4 จังหวะรุ่นใหม่ๆ เพื่อทดแทนจักรยานยนต์แบบ 2 จังหวะที่จะทำการยกเลิกการผลิต
กลยุทธ์ดังกล่าวนับว่าเหมาะสมอย่างมาก เมื่อเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวขึ้น ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้าเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทำให้ฮอนด้าสามารถแย่งตลาดได้อย่างเป็นกอบเป็นกำเพิ่มขึ้นเป็น 70% จนทำให้หน่วยราชการบางแห่งได้เพ่งเล็งฮอนด้ามากเป็นพิเศษ โดยเกรงว่าจะมีอำนาจเหนือตลาด
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
********************
บริษัทฮอนด้าได้เข้ามาทำธุรกิจในประเทศอย่างจริงจังนับตั้งแต่ปี 2507 เมื่อมีการก่อตั้งบริษัทจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย ต่อมาได้ก่อตั้งโรงงานประกอบรถจักรยานยนต์ขึ้นในประเทศไทยและเริ่มผลิตเมื่อปี 2510 โดยในช่วงแรกๆ รถจักรยานยนต์ฮอนด้าประสบผลสำเร็จไม่มากนัก ซึ่งในช่วงนั้นรถจักรยานยนต์ 3 ยี่ห้อ คือ ฮอนด้า ยามาฮ่า และซูซูกิ มีส่วนแบ่งทางการตลาดพอๆ กัน คือ ประมาณ 30% ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ เพื่อครองตำแหน่งอันดับ 1
ต่อมาธุรกิจรถจักรยานยนต์ฮอนด้าต้องเผชิญวิกฤตครั้งใหญ่เมื่อปี 2525 – 2528 เมื่อยอดขายตกลงมาเหลือส่วนแบ่งทางการตลาดไม่ถึง 20% โดยหล่นมาเป็นอันดับ 3 ตามหลังรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า และซูซูกิ โดยเอาชนะเฉพาะคาวาซากิเท่านั้น จนบริษัทแม่ในญี่ปุ่นเกือบถอดใจเกี่ยวกับธุรกิจรถจักรยานยนต์ในประเทศไทยว่าจะไปรอดหรือไม่
เพื่อแก้ไขสถานการณ์ บริษัทแม้ได้ปรับเปลี่ยนผู้บริหารชาวญี่ปุ่นคนใหม่ ซึ่งได้เดินทางไปสำรวจยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในเชิงลึก รวมถึงได้ส่งทีมงานไปศึกษาพฤติกรรมและรสนิยมของลูกค้าเป้าหมายกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษา ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ผลการศึกษาสรุปได้ว่าฮอนด้ามีจุดอ่อนสำคัญ 3 ประการ
ประการแรก ลูกค้าต้องการรถจักรยานยนต์แบบเครื่องยนต์ 2 จังหวะ ซึ่งคู่แข่งมีรถจักรยานยนต์แบบนี้สนองความต้องการของลูกค้า แต่บริษัทฮอนด้ามีเฉพาะเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะเท่านั้น โดยรถจักรยานยนต์แบบ 2 จังหวะ มีข้อดี คือ อัตราเร่งดีกว่าและราคาถูกกว่ารถจักรยานยนต์แบบ 4 จังหวะ โดยกรณีของประเทศไทยในช่วงนั้น รถจักรยานยนต์แบบ 4 จังหวะ จะได้รับความนิยมเฉพาะที่มีขนาดตั้งแต่ 150 ซีซี ขึ้นไปเท่านั้น
ประการที่สอง ผู้จำหน่ายมีความสัมพันธ์ที่ดีกับยี่ห้ออื่น และมีส่วนช่วยในการโน้มน้าวให้ลูกค้าเลือกซื้อยี่ห้ออื่นมากกว่าของตน ยิ่งไปกว่านั้น ผู้จำหน่ายบางรายเน้นการจำหน่ายสินค้าอย่างเดียว ไม่สนใจบริการหลังขาย
ประการที่สาม ประกอบกับโครงสร้างการบริหารงานของบริษัทมีความยุ่งยาก มีตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยหลายราย บรรดาผู้จำหน่ายจะสั่งซื้อกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งก็ได้ ทำให้การพัฒนาตลาดไม่เป็นเอกภาพ
ภายหลังวิเคราะห์ปัญหาอย่างถ่องแท้แล้ว ผู้บริหารของฮอนด้าในประเทศไทยจึงได้ทำการผ่าตัดครั้งใหญ่
ประการแรก ดำเนินการโน้มน้าวบริษัทแม่ ในการยินยอมให้โรงงานในประเทศไทยผลิตและจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบ 2 จังหวะ
ประการที่สอง ปรับโครงสร้างการจำหน่าย จากเดิมมีผู้แทนจำหน่าย 2 บริษัท ได้ควบรวมกันเป็นบริษัทเดียว
ประการที่สาม ปรับปรุงโครงสร้างผู้จำหน่ายครั้งใหญ่ โดยแต่งตั้งผู้จำหน่ายที่สนใจจะทำธุรกิจครบวงจรกับบริษัท ตั้งแต่การจำหน่าย บริการหลังการขาย อะไหล่ และในระยะหลังครอบคลุมถึงการฝึกอบรมการขับขี่ปลอดภัย เพื่อเน้นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าของฮอนด้าให้ดีที่สุด
จากการดำเนินมาตรการดังกล่าวข้างต้น เมื่อได้วางจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบใหม่ 2 จังหวะ ปรากฏว่าประสบผลสำเร็จอย่างท่วมท้น ส่งผลให้สามารถก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตรถจักรยานยนต์อันดับ 1 ของประเทศไทยนับตั้งแต่ช่วงนั้นจนถึงปัจจุบัน
ภายหลังปรับเปลี่ยนรถจักรยานยนต์เป็นแบบ 2 จังหวะได้ไม่นานนัก นายนิบูฮิโกะ คาวาโมโต้ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของบริษัทฮอนด้าในญี่ปุ่นอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2533 – 2541 ได้เดินทางมาประเทศไทยหลายครั้ง รวมถึงได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2535 เพื่อน้อมเกล้าถวายรถยนต์ฮอนด้าเพื่อทรงใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย
พระองค์ได้มีพระราชดำรัสสอบถามเกี่ยวกับเทคโนโลยีในด้านยานยนต์หลายประการ ซึ่งสร้างความประทับใจและประหลาดใจแก่เขาเป็นอันมากในพระปรีชาสามารถและความสนพระทัยในด้านนี้ โดยเฉพาะในด้านการประหยัดพลังงานและด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
นายคาวาโมโต้ได้ถวายการอธิบายว่าการขับรถยนต์ เมื่อมีการเร่งเครื่อง จะสิ้นเปลืองพลังงานจำนวนมาก แต่เมื่อแตะเบรก จะเกิดการสูญเสียพลังงาน พร้อมกับอธิบายว่าฮอนด้ากำลังพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์แบบไฮบริดที่สามารถนำเอาพลังงานที่สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์จากการเบรกไปสะสมในแบตเตอรี่ เพื่อใช้เป็นพลังงานเสริมเมื่อรถยนต์ต้องการใช้พลังงานจำนวนมาก ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานนัก บริษัทฮอนด้าได้ประสบผลสำเร็จในการวิจัยและพัฒนารถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีไฮบริด เพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์เป็นบริษัทแรกในโลก
สำหรับในด้านสิ่งแวดล้อม พระองค์ได้ทรงมีพระราชกระแสและพระราชดำรัสห่วงใยในผลกระทบของไอเสียจากยานยนต์ต่อสิ่งแวดล้อมทางอากาศและสุขภาพของพสกนิกร ได้ทรงสอบถามถึงสาเหตุและแนวทางแก้ไข พร้อมกับทรงมีพระราชปรารภว่าฮอนด้าในฐานะผู้ผลิตรถจักรยานยนต์รายใหญ่อันดับ 1 ของประเทศ ควรแสวงหาแนวทางแก้ไขในด้านนี้
นายคาวาโมโต้จึงได้ถวายคำอธิบายว่าไอเสียจากรถจักรยานยนต์โดยเฉพาะปัญหาควันขาวนั้น เกิดขึ้นในกรณีที่เป็นรถจักรยานยนต์แบบ 2 จังหวะ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทยในช่วงนั้น แนวทางแก้ไข คือ การเปลี่ยนมาใช้รถจักรยานยนต์แบบ 4 จังหวะ
จากพระราชปรารภข้างต้น ภายหลังนายคาวาโมโต้เดินทางกลับประเทศญี่ปุ่น เขาได้ตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะวิจัยและพัฒนารถจักรยานยนต์แบบ 4 จังหวะ สำหรับจำหน่ายในประเทศไทย โดยดำเนินการในด้านต่างๆ เป็นต้นว่า
ประการแรก ได้สั่งการให้ฝ่ายวิจัยและพัฒนาของบริษัทฮอนด้าให้พยายามแก้ไขปัญหาข้อเสียเปรียบของเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ อันนำไปสู่การวิจัยและพัฒนาเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์แบบ 4 จังหวะ ที่มีอัตราเร่งดีขึ้นและราคาถูกลงเทียบเท่ากับเครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะ
ประการที่สอง พยายามสร้างการยอมรับของตลาด เนื่องจากช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของประเทศ พยายามชักจูงให้ลูกค้าเลือกซื้อรถจักรยานยนต์แบบ 2 จังหวะ เนื่องจากซ่อมง่าย ดังนั้น จึงได้ส่งบุคลากรไปสอนเกี่ยวกับการซ่อมแซมเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ ซึ่งความจริงแล้วซ่อมไม่ยากอย่างที่คิด
สำหรับในด้านการส่งเสริมการลงทุนนั้น เดิมได้เปิดให้การส่งเสริมการลงทุนผลิตรถจักรยานยนต์ตั้งแต่ปี 2507 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ต่อมาได้ปิดให้การส่งเสริม เนื่องจากกิจการนี้สามารถดำเนินการได้ดีอยู่แล้ว
แต่ปัญหาสำคัญ คือ เป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบ 2 จังหวะ เป็นสัดส่วนสูงมาก โดยในปี 2535 มีการประกอบรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย 850,000 คัน โดยในจำนวนนี้ เป็นแบบ 4 จังหวะเพียงแค่ 130,000 คัน หรือเพียง 15% ของทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้น เป็นการผลิตแบบ 4 จังหวะ เพื่อส่งออกมากถึง 35,000 คัน คงเหลือที่จำหน่ายในประเทศเพียง 95,000 คัน
เพื่อสนับสนุนการผลิตและจำหน่ายรถจักรยานยนต์ที่มีผลกระทบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมน้อยลง คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2536 เปิดให้การส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการผลิตรถจักรยานยนต์อีกครั้ง แต่มีข้อจำกัดว่าจะต้องผลิตเฉพาะรถจักรยานยนต์แบบ 4 จังหวะเท่านั้น
ทั้งนี้นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานกรรมการส่งเสริมการลงทุนโดยตำแหน่ง ซึ่งมีบ้านพักที่ซอยหมอเหล็งนั้น มักมีรถจักรยานยนต์แล่นผ่านไปผ่านมาเป็นจำนวนมาก ได้สนับสนุนนโยบายนี้อย่างเต็มที่ โดยให้ทัศนะว่ารถจักรยานยนต์แบบ 2 จังหวะ นอกจากจะมีมลพิษสูงกว่าแล้ว ยังมีเสียงดังหนวกหูมากกว่าอีกด้วย
จากความพยายามร่วมกันเพื่อสนองพระราชดำริ ให้ประชาชนคนไทยหันมานิยมใช้รถจักรยานยนต์แบบ 4 จังหวะ ส่งผลให้รถจักรยานยนต์แบบ 2 จังหวะสูญพันธุ์ไปจากท้องตลาด ซึ่งปัจจุบันฮอนด้าได้ยกเลิกการผลิตรถจักรยานยนต์แบบ 2 จังหวะทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย นับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา
ยิ่งไปกว่านั้น ในระยะหลังฮอนด้าสามารถเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศไทยสูงถึง70% เนื่องจากในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 บริษัทคู่แข่งชะลอการลงทุน เนื่องจากตลาดหดตัวลงมาก ต้องการลดค่าใช้จ่ายลงเพื่อความอยู่รอดของบริษัท
แต่ฮอนด้าได้ใช้วิกฤตเป็นโอกาส ได้ลงทุนต่อไปเพื่อผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลง พร้อมกับลงทุนในด้านวิจัยและพัฒนารถจักรยานยนต์แบบ 4 จังหวะรุ่นใหม่ๆ เพื่อทดแทนจักรยานยนต์แบบ 2 จังหวะที่จะทำการยกเลิกการผลิต
กลยุทธ์ดังกล่าวนับว่าเหมาะสมอย่างมาก เมื่อเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวขึ้น ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้าเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทำให้ฮอนด้าสามารถแย่งตลาดได้อย่างเป็นกอบเป็นกำเพิ่มขึ้นเป็น 70% จนทำให้หน่วยราชการบางแห่งได้เพ่งเล็งฮอนด้ามากเป็นพิเศษ โดยเกรงว่าจะมีอำนาจเหนือตลาด
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
********************