เอเอฟพี – ธนาคารโลกชี้เศรษฐกิจไทยจะเติบโตเพิ่มขึ้นในปีนี้ สวนกระแสประเทศอื่น ๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกที่ตัวเลขการขยายตัวจะลดลง อันเนื่องมาจากวิกฤตการเงินโลกที่ต่อเนื่องมาจากปัญหาของสหรัฐฯ
“เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวราว 5 % ในปีนี้เปรียบเทียบกับอัตรา 4.8 % ของปี 2007 เพราะการบริโภคภายในจะเพิ่มขึ้นมาก แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจระหว่างประเทศจะยังคงผันผวนอย่างมาก” เอียน พอร์เตอร์ ผู้อำนวยสำนักงานในประเทศไทยของธนาคารโลกกล่าวในการแถลงข่าวเมื่อวานนี้(1)
นอกจากนี้ การลงทุนของทั้งภาครัฐและเอกชนก็จะดีขึ้น และเป็นอีกหนึ่งหัวจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้าไป อย่างไรก็ตามธนาคารโลกก็เตือนว่าไทยยังคงจะต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงเรื่องราคาสินค้าที่ทะยานขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมัน และอาหาร รวมทั้งแรงสะเทือนที่มาจากปัญหาเศรษฐกิจของโลกด้วย
พอร์เตอร์กล่าวว่าเพื่อจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจยั่งยืนต่อไป ไทยจำเป็นจะต้องปรับปรุงผลิตภาพรวมทั้งความสามารถทางด้านการแข่งขันทั้งในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ นอกจากนี้ก็ควรลงทุนในการศึกษา ปรับประสิทธิภาพของระบบกฎหมายและการกำกับดูแล และลงทุนขยายโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ
ทางด้าน กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นคนไทยของธนาคารโลกกล่าวว่า การไหลเข้าของเงินทุนจะเพิ่มมากขึ้นในปีนี้เพราะนักลงทุนต่างชาติได้กลับเข้ามาอีกครั้งหนึ่งหลังจากสองปีของการเฝ้าดูสถานการณ์อยู่ห่าง ๆ เพราะไม่แน่ใจในเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศที่เริ่มมีปัญหาตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา
นักเศรษฐศาสตร์ผู้นี้ยังได้กล่าวอีกว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยนั้นขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลสามารถสร้างความชัดเจนด้านนโยบายเศรษฐกิจและทำให้การเมืองภายในมั่นคงได้หรือไม่ แม้ว่ารัฐบาลได้ออกมามาตรการหลายประการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแต่การลดภาษีและมาตรการเงินกู้ต่าง ๆก็จะได้ผลเพียงชั่วคราวเท่านั้น นอกจากนี้การที่เงินบาทยังคงแข็งค่าอย่างต่อเนื่องต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัญจะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทยลดลง และจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก เพราะการส่งออกมีสัดส่วนสูงถึง 60 เปอร์เซนต์ในผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ
การแถลงข่าวคราวนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเปิดตัวรายงานรอบครึ่งปี ว่าด้วยเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกฉบับล่าสุด โดยสำหรับเอเชียตะวันออกโดยรวม ซึ่งประกอบด้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, จีน และประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่ในภูมิภาค แต่ยกเว้นญี่ปุ่นนั้น ธนาคารโลกได้ลดประมาณการอัตราการขยายตัวในปีนี้ลงมาเหลือ 7.3 % จากเดิมที่คาดไว้ 8.2 % ซึ่งหากเป็นดังนั้นจริงก็จะขยายตัวต่ำกว่าปี 2007 ที่อยู่ในระดับ 8.7 % เป็นอย่างมาก
เฉพาะประเทศกำลังพัฒนาแห่งเอเชียตะวันออก ซึ่งรวมประเทศที่มีรายได้ต่อหัวในระดับกลางและต่ำ อย่างเช่น จีน อินโดนีเซีย รายงานล่าสุดของธนาคารโลกพยากรณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ไว้ที่ 8.6 % เทียบกับ 10.2% ของปีที่แล้ว ซึ่งหมายความว่าปีนี้จะเป็นอัตราการขยายตัวต่ำที่สุดของกลุ่มประเทศนี้ตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา
ส่วน “ประเทศอุตสาหกรรมใหม่” หรือสี่เสือแห่งเอเชีย คือ สิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกงและเกาหลีใต้ จะมีอัตราขยายตัวเศรษฐกิจ 4.6% ปีนี้ลดลงจาก 5.6% ของเมื่อปีที่แล้ว
สาเหตุของการลดลงก็คือ การส่งออกซึ่งเป็นเสาหลักสำคัญของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกกำลังจะถูกกระทบจากสถานการณ์ย่ำแย่ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดสินค้าใหญ่ที่สุดในโลก วิกรัม เนห์รู รักษาการณ์หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกชี้ว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะเริ่มเห็นว่ายอดส่งออกไปยังสหรัฐฯตกลงไปอย่างมาก เพราะการค้าที่ประเทศอื่นๆ ทำกับสหรัฐฯจะเริ่มได้รับผลสะเทือนจากตลาดการเงินในที่สุด
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่จะสร้างความปั่นป่วนต่อประเทศเอเชียตะวันออกได้มากกว่าวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯตามความเห็นของวิกรัม ก็คือ ราคาอาหารและเชื้อเพลิงที่ทะยานขึ้นเรื่อยมา โดยรายได้รวมในผลผลิตมวลรวมประชาชาติของประเทศในภูมิภาคจะลดลง 1% เนื่องมาจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น และคนจนจะได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด
ทั้งนี้ ข้าวและน้ำมัน สองโภคภัณฑ์หลักมีราคาเพิ่มขึ้นตลอดมาเนื่องจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ความต้องการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้การผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่ดิ่งลง และการเก็งกำไรของนักค้าตราสารในตลาดโลก ต่างเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศต่าง ๆพุ่งขึ้น และกินเข้าไปในรายได้ของประชาชนส่วนใหญ่
วิกรัมกล่าวว่าเงินเฟ้อสูงจะทำให้การแก้ไขปัญหาความยากจนในภูมิภาคนี้ซึ่งดำเนินคืบหน้าไปในช่วงทศวรรษที่แล้ว อาจต้องถอยหลังกลับ และจำนวนคนยากจนจะหวนย้อนเพิ่มขึ้นอีก
“เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวราว 5 % ในปีนี้เปรียบเทียบกับอัตรา 4.8 % ของปี 2007 เพราะการบริโภคภายในจะเพิ่มขึ้นมาก แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจระหว่างประเทศจะยังคงผันผวนอย่างมาก” เอียน พอร์เตอร์ ผู้อำนวยสำนักงานในประเทศไทยของธนาคารโลกกล่าวในการแถลงข่าวเมื่อวานนี้(1)
นอกจากนี้ การลงทุนของทั้งภาครัฐและเอกชนก็จะดีขึ้น และเป็นอีกหนึ่งหัวจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้าไป อย่างไรก็ตามธนาคารโลกก็เตือนว่าไทยยังคงจะต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงเรื่องราคาสินค้าที่ทะยานขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมัน และอาหาร รวมทั้งแรงสะเทือนที่มาจากปัญหาเศรษฐกิจของโลกด้วย
พอร์เตอร์กล่าวว่าเพื่อจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจยั่งยืนต่อไป ไทยจำเป็นจะต้องปรับปรุงผลิตภาพรวมทั้งความสามารถทางด้านการแข่งขันทั้งในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ นอกจากนี้ก็ควรลงทุนในการศึกษา ปรับประสิทธิภาพของระบบกฎหมายและการกำกับดูแล และลงทุนขยายโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ
ทางด้าน กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นคนไทยของธนาคารโลกกล่าวว่า การไหลเข้าของเงินทุนจะเพิ่มมากขึ้นในปีนี้เพราะนักลงทุนต่างชาติได้กลับเข้ามาอีกครั้งหนึ่งหลังจากสองปีของการเฝ้าดูสถานการณ์อยู่ห่าง ๆ เพราะไม่แน่ใจในเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศที่เริ่มมีปัญหาตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา
นักเศรษฐศาสตร์ผู้นี้ยังได้กล่าวอีกว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยนั้นขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลสามารถสร้างความชัดเจนด้านนโยบายเศรษฐกิจและทำให้การเมืองภายในมั่นคงได้หรือไม่ แม้ว่ารัฐบาลได้ออกมามาตรการหลายประการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแต่การลดภาษีและมาตรการเงินกู้ต่าง ๆก็จะได้ผลเพียงชั่วคราวเท่านั้น นอกจากนี้การที่เงินบาทยังคงแข็งค่าอย่างต่อเนื่องต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัญจะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทยลดลง และจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก เพราะการส่งออกมีสัดส่วนสูงถึง 60 เปอร์เซนต์ในผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ
การแถลงข่าวคราวนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเปิดตัวรายงานรอบครึ่งปี ว่าด้วยเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกฉบับล่าสุด โดยสำหรับเอเชียตะวันออกโดยรวม ซึ่งประกอบด้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, จีน และประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่ในภูมิภาค แต่ยกเว้นญี่ปุ่นนั้น ธนาคารโลกได้ลดประมาณการอัตราการขยายตัวในปีนี้ลงมาเหลือ 7.3 % จากเดิมที่คาดไว้ 8.2 % ซึ่งหากเป็นดังนั้นจริงก็จะขยายตัวต่ำกว่าปี 2007 ที่อยู่ในระดับ 8.7 % เป็นอย่างมาก
เฉพาะประเทศกำลังพัฒนาแห่งเอเชียตะวันออก ซึ่งรวมประเทศที่มีรายได้ต่อหัวในระดับกลางและต่ำ อย่างเช่น จีน อินโดนีเซีย รายงานล่าสุดของธนาคารโลกพยากรณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ไว้ที่ 8.6 % เทียบกับ 10.2% ของปีที่แล้ว ซึ่งหมายความว่าปีนี้จะเป็นอัตราการขยายตัวต่ำที่สุดของกลุ่มประเทศนี้ตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา
ส่วน “ประเทศอุตสาหกรรมใหม่” หรือสี่เสือแห่งเอเชีย คือ สิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกงและเกาหลีใต้ จะมีอัตราขยายตัวเศรษฐกิจ 4.6% ปีนี้ลดลงจาก 5.6% ของเมื่อปีที่แล้ว
สาเหตุของการลดลงก็คือ การส่งออกซึ่งเป็นเสาหลักสำคัญของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกกำลังจะถูกกระทบจากสถานการณ์ย่ำแย่ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดสินค้าใหญ่ที่สุดในโลก วิกรัม เนห์รู รักษาการณ์หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกชี้ว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะเริ่มเห็นว่ายอดส่งออกไปยังสหรัฐฯตกลงไปอย่างมาก เพราะการค้าที่ประเทศอื่นๆ ทำกับสหรัฐฯจะเริ่มได้รับผลสะเทือนจากตลาดการเงินในที่สุด
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่จะสร้างความปั่นป่วนต่อประเทศเอเชียตะวันออกได้มากกว่าวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯตามความเห็นของวิกรัม ก็คือ ราคาอาหารและเชื้อเพลิงที่ทะยานขึ้นเรื่อยมา โดยรายได้รวมในผลผลิตมวลรวมประชาชาติของประเทศในภูมิภาคจะลดลง 1% เนื่องมาจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น และคนจนจะได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด
ทั้งนี้ ข้าวและน้ำมัน สองโภคภัณฑ์หลักมีราคาเพิ่มขึ้นตลอดมาเนื่องจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ความต้องการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้การผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่ดิ่งลง และการเก็งกำไรของนักค้าตราสารในตลาดโลก ต่างเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศต่าง ๆพุ่งขึ้น และกินเข้าไปในรายได้ของประชาชนส่วนใหญ่
วิกรัมกล่าวว่าเงินเฟ้อสูงจะทำให้การแก้ไขปัญหาความยากจนในภูมิภาคนี้ซึ่งดำเนินคืบหน้าไปในช่วงทศวรรษที่แล้ว อาจต้องถอยหลังกลับ และจำนวนคนยากจนจะหวนย้อนเพิ่มขึ้นอีก