สินค้าโภคภัณฑ์ประเภทพืชสุดฮอต ดีมานด์ทั่วโลกอื้อ เผยเดิมแค่บริโภค-เลี้ยงสัตว์ ตอนนี้เป็นเหมืองทองคำของพลังงานทดแทนในการผลิตไบโอดีเซล ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบดีดตัว ไม่มีแนวโน้มจะหยุด ชี้ต้นทุนพุ่งแต่เพิ่มราคาขายไม่ได้ เร่งเดินหน้าสร้างโรงงานใหม่ในรัสเซีย และ เวียดนามรวม 4 แห่ง หวังดันกำลังการผลิตทั้งเครือซีพีโตเป็น 25 ล้านตัน ด้านวงการกองทุนรวม มองราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มไปได้อีก 10-15 ปี
นายธีรศักดิ์ อุรุนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร สายธุรกิจอาหารแปรรูปและครบวงจร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF กล่าวว่า ขณะนี้ราคาวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ โดยเฉพาะข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเกือบเท่าตัว ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เริ่มมีการหันมาใช้พืชผลทางการเกษตรเหล่านี้แปรรูปหรือมาสกัดทำน้ำมันไบโอดีเซลหรือพลังงานทดแทนทางเลือกใหม่ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการด้านอาหาร เนื่องจากต้องแบกรับต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ไม่สามารถปรับเพิ่มราคาขายให้กับผู้บริโภคได้
“วัตถุดิบในการนำมาทำอาหารสัตว์เดี่ยวนี้มีราคาแพงมาก เพราะสินค้าเกษตรเหล่านี้ถูกเกณฑ์เพื่อนำไปใช้ในการสกัดพลังงานทดแทน หรือ ไบโอดีเซล แต่ก่อนราคาข้าวโพดที่ซื้อมาเพื่อใช้เป็นส่วนผสมผลิตอาหารอยู่ที่กิโลกรัมละ 3-4 บาท แต่ปัจจุบันนี้มีราคาถึงกิโลกรัมละ 8-9 บาท และมีแนวโน้มที่ราคาจจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเกิน 9 บาทในไม่ช้านี้ ซึ่งปัจจุบันนี้ราคาสินค้าทางการเกษตรเหล่านี้ผลักดันให้ต้นทุนทางวัตถุดิบปรับตัวเพิ่มประมาณ 25- 30%”นายธีรศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้ปัจจุบันพบว่าราคาสินค้าทางการเกษตรที่สามารถนำไปใช้ผลิตเอทานอลได้นั้น เริ่มมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ในช่วงปลายไตรมาส 3 และตลอดไตรมาส 4 ของปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีการส่งเสริมการผลิตไบโอดีเซลเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันมีการคาดหมายว่า หากประเทศจีนและอินเดีย เริ่มหันมาให้ความสำคัญในการผลิตไบโอดีเซลมากขึ้น จะทำให้ราคาวัตถุดิบหรือสินทางการเกษตรเหล่านี้มีความปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
“ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาเริ่มให้ความสำคัญในเรื่องไบโอดีเซล เพื่อหวังที่จะใช้เป็นพลังงานแทนในประเทศ ดังนั้นพืชผลทางการเกษตรของประเทศจากเดิมที่ส่วนใหญ่จะเป็นการส่งออก กลับต้องนำสัดส่วนมาป้อนเข้าสู่โรงงงานเอทานอลที่เปิดขึ้นมากมาย จะเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ดีมานต์ ซัพพลายไม่เท่ากัน”
นายธีรศักดิ์ กล่าวว่า ตอนนี้รัฐบาลควรให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันนี้ข้าวโพดซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตอาหารสัตว์ บางปีมีปริมาณการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ จนต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ในขณะที่ยอดการผลิตไบโอดีเซลนั้น แม้ปัจจุบันจะเพิ่มมากขึ้นแต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้พลังงานทดแทนที่มีอยู่ดี ดังนั้นจึงประเมินว่าในระยะสั้น ราคาสินค้าทางการเกษตรเหล่านี้จะไม่มีการปรับตัวลดลงได้ เนื่องจากความต้องการนำมาใช้ผลิตไบโอดีเซลนั่นเอง
ขณะเดียวกันจากการที่ราคาวัตถุดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นได้สร้างผลกระทบต่อผู้ประกอบการ เนื่องจากแม้ราคาวัตถุดิบจะแพงขึ้น จนส่งผลให้ต้นทุนปรับตัวสูงขึ้นตาม แต่ราคาขายสินค้าให้กับประชาชนทั่วไปไม่สามารถปรับขึ้นตามต้นทุนได้ เนื่องจากต้องขออนุมัติจากกระทรวงพาณิชย์ และกรมการค้าภายในก่อน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่หนักใจของผู้ประกอบการอีกประการหนึ่ง
สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจของบมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ในปี 2551 บริษัทเชื่อว่ายอดขายและรายได้ในปีนี้จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และตามแผนยุทธ์ศาสตร์ของบริษัท โดยปัจจุบันบริษัทพยายามเพิ่มสัดส่วนการส่งออกไก่สุกไปต่างประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนสัดส่วนการส่งเนื้อไก่ดิบที่ลดลงไปตั้งแต่เกิดปัญหาไข้หวัดนกเมื่อปี 2547 โดยปัจจุบันนี้เครือซีพี ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการด้านอาหารรายใหญ่ของโลก และมีการจัดตั้งโรงงานขึ้นทั่วโลกจำนวน 122 โรงงานใน 12 ประเทศ หรือมีกำลังผลิตรวมกว่า 24 ล้านตัน
โดยในปีนี้บริษัทมีแผนจัดตั้งโรงงานอาหารครบวงจรที่ประเทศรัสเซีย มูลค่า 40 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จในช่วงปลายปีและขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการติดตั้งเครื่องจักร เพื่อสร้างกำลังการผลิตอีก 2 หมื่นตันต่อเดือน
ขณะที่ประเทศเวียดนาม เครือซีพีมีโรงงานด้วยกันทั้งสิ้น จำนวน 5 โรงงาน แบ่งเป็นโรงงานสัตว์บก 3 โรงงาน และโรงงานสัตว์น้ำ 2 โรงงาน ซึ่งตอนนี้บริษัทกำลังดำเนินการก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตอีก 5 แสนตันต่อปี ซึ่งจะเริ่มเดินเครื่องได้ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2552 รวมถึงแผนการตั้งโรงงานใหม่ในเวียดนามเพิ่มอีก 2 แห่ง โดยหากโรงงานใหม่เหล่านี้ก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มเดินเครื่องจะทำให้กำลังผลิตของเครือซีพี ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 25 ล้านตันต่อเดือนในอนาคต
**วงการกองทุนมองโอกาส10-15ปี**
นายธีระ ภู่ตระกูล ประธานกรรมการ บลจ.ฟินันซ่า กล่าวว่า การที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวขึ้นมา เนื่องจากมีหลายปัจจัยประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ราคาทองคำ โดยคาดว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะมีแนวโน้มไปอีก 10-15 ปี เพราะว่าในแต่ละปีประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 70 ล้านคน และภายใน 25 ปีข้างหน้าจะมีประชากรโลกเพิ่มขึ้นถึง 3,000 ล้านคน ขณะที่พื้นที่ในการเพาะปลูกมีปริมาณที่จำกัด และยังมีการนำเอาผลผลิตทางการเกษตรไปใช้ในการผลิตพลังงานทดแทนอีกด้วย โดยที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2541 Rici Rogers Index ระบุว่าสินค้าโภคภัณฑ์มีอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 12-13% ต่อปีมาโดยตลอด
ทั้งนี้ แนะนำว่าหากมีเงิน 100 บาท ควรนำไปลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ประมาณ 10-15% เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
นายธีรนาถ รุจิเมธาภาส รองกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล บลจ.ทิสโก้ กล่าวว่า สินค้าโภคภัณฑ์จะสามารถเจริญเติบโตได้อีกมาก เพราะว่าจำนวนประชากรของโลกเพิ่มขึ่นทุกปี ทำให้ไม่มีเหตุผลอะไรที่การบริโภคจะลดลง และจากการที่ประชากรโลกมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยเมื่อรายได้มากขึ้นก็หันมาบริโภคเนื้อสัตว์แทนมากขึ้น ทำให้การบริโภคผลิตผลการเกษตรโดยอ้อมปรับเพิ่มขึ้นไปอีก และไม่น่าจะเป็นเพียงแฟชั่นของการลงทุนเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่เป็นตัวเร่งอย่างราคาน้ำมันแพงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์แทนที่จะเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป กลายเป็นราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และการที่ดีมานด์ ผลผลิตขาดแคลน โดยในแง่ของพื้นที่การเกษตรสามารถขยายตัวได้ในบางประเทศ บางทวีปไม่มาก อาทิ บราซิล และแอฟริกาใต้ ซึ่งมีพื้นที่รกร้างที่สามารพถนำมาใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกได้บ้าง แต่การที่ภาคอุตสาหกรรมเจริญเติบโจมากขึ้น อาทิ จีน และประเทศในำภูมิภาคเอเชีย ทำให้พื้นที่บางส่วนกลายเป็นชุมชนเมือง ดั้งนั้น พื้นที่การเกษตรเลยไม่ได้เพิ่มขึ้น ทำให้แนวโน้มการเพาะปลูกและผลิตผลทางการเกษตรไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร
ขณะเดียวกัน การที่มีภาวะโลกร้อน ทำให้ปริมาณน้ำไม่พอเหมาะกับการเกษตร ทำให้ผลิตผลการเกาตรลดลง และยังมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นอย่างการเกิดอุทกภัยในจีน และความแกห้งแล้วในทวีปยุโรปด้วย ทำให้พื้นที่เพาะปลูกน้อยลง ทั้งนี้ หากดีมานด์สินค้าโภคภัณฑ์เติบโตขึ้น 3-4% และซัปพลายเติบโตขึ้นเพียง 1% จะมีผลกระทบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้แล้ว
สำหรับสัดส่วนของธัญพืชที่นำไปใช้ในการเลี้ยงสัตว์คิดเป็น 60% ขณะที่มนุษย์บบริโภคเพียง 30% เท่านั้น และการที่มีการนำธัญพืชในส่วนที่มนุษย์มาบริโภคมาใช้ในการผลิตเป็นพลังงานทดแทน ทำให้ปริมาณผลผลิตลดน้อยลงไปอีก
ทั้งนี้ หากราคาน้ำมันยังคงมีราคาปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดวิกฤติทางผลผลิตทางเกาตรภายใน 2-3 ปีข้างหน้าด้วย ซึ่งการที่ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้น สินค้าที่สามารถใช้ทดแทนกันได้อย่างสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีการนำมาผลิตพลังงานทดแทนจะมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย
นายธีรศักดิ์ อุรุนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร สายธุรกิจอาหารแปรรูปและครบวงจร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF กล่าวว่า ขณะนี้ราคาวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ โดยเฉพาะข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเกือบเท่าตัว ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เริ่มมีการหันมาใช้พืชผลทางการเกษตรเหล่านี้แปรรูปหรือมาสกัดทำน้ำมันไบโอดีเซลหรือพลังงานทดแทนทางเลือกใหม่ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการด้านอาหาร เนื่องจากต้องแบกรับต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ไม่สามารถปรับเพิ่มราคาขายให้กับผู้บริโภคได้
“วัตถุดิบในการนำมาทำอาหารสัตว์เดี่ยวนี้มีราคาแพงมาก เพราะสินค้าเกษตรเหล่านี้ถูกเกณฑ์เพื่อนำไปใช้ในการสกัดพลังงานทดแทน หรือ ไบโอดีเซล แต่ก่อนราคาข้าวโพดที่ซื้อมาเพื่อใช้เป็นส่วนผสมผลิตอาหารอยู่ที่กิโลกรัมละ 3-4 บาท แต่ปัจจุบันนี้มีราคาถึงกิโลกรัมละ 8-9 บาท และมีแนวโน้มที่ราคาจจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเกิน 9 บาทในไม่ช้านี้ ซึ่งปัจจุบันนี้ราคาสินค้าทางการเกษตรเหล่านี้ผลักดันให้ต้นทุนทางวัตถุดิบปรับตัวเพิ่มประมาณ 25- 30%”นายธีรศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้ปัจจุบันพบว่าราคาสินค้าทางการเกษตรที่สามารถนำไปใช้ผลิตเอทานอลได้นั้น เริ่มมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ในช่วงปลายไตรมาส 3 และตลอดไตรมาส 4 ของปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีการส่งเสริมการผลิตไบโอดีเซลเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันมีการคาดหมายว่า หากประเทศจีนและอินเดีย เริ่มหันมาให้ความสำคัญในการผลิตไบโอดีเซลมากขึ้น จะทำให้ราคาวัตถุดิบหรือสินทางการเกษตรเหล่านี้มีความปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
“ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาเริ่มให้ความสำคัญในเรื่องไบโอดีเซล เพื่อหวังที่จะใช้เป็นพลังงานแทนในประเทศ ดังนั้นพืชผลทางการเกษตรของประเทศจากเดิมที่ส่วนใหญ่จะเป็นการส่งออก กลับต้องนำสัดส่วนมาป้อนเข้าสู่โรงงงานเอทานอลที่เปิดขึ้นมากมาย จะเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ดีมานต์ ซัพพลายไม่เท่ากัน”
นายธีรศักดิ์ กล่าวว่า ตอนนี้รัฐบาลควรให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันนี้ข้าวโพดซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตอาหารสัตว์ บางปีมีปริมาณการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ จนต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ในขณะที่ยอดการผลิตไบโอดีเซลนั้น แม้ปัจจุบันจะเพิ่มมากขึ้นแต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้พลังงานทดแทนที่มีอยู่ดี ดังนั้นจึงประเมินว่าในระยะสั้น ราคาสินค้าทางการเกษตรเหล่านี้จะไม่มีการปรับตัวลดลงได้ เนื่องจากความต้องการนำมาใช้ผลิตไบโอดีเซลนั่นเอง
ขณะเดียวกันจากการที่ราคาวัตถุดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นได้สร้างผลกระทบต่อผู้ประกอบการ เนื่องจากแม้ราคาวัตถุดิบจะแพงขึ้น จนส่งผลให้ต้นทุนปรับตัวสูงขึ้นตาม แต่ราคาขายสินค้าให้กับประชาชนทั่วไปไม่สามารถปรับขึ้นตามต้นทุนได้ เนื่องจากต้องขออนุมัติจากกระทรวงพาณิชย์ และกรมการค้าภายในก่อน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่หนักใจของผู้ประกอบการอีกประการหนึ่ง
สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจของบมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ในปี 2551 บริษัทเชื่อว่ายอดขายและรายได้ในปีนี้จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และตามแผนยุทธ์ศาสตร์ของบริษัท โดยปัจจุบันบริษัทพยายามเพิ่มสัดส่วนการส่งออกไก่สุกไปต่างประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนสัดส่วนการส่งเนื้อไก่ดิบที่ลดลงไปตั้งแต่เกิดปัญหาไข้หวัดนกเมื่อปี 2547 โดยปัจจุบันนี้เครือซีพี ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการด้านอาหารรายใหญ่ของโลก และมีการจัดตั้งโรงงานขึ้นทั่วโลกจำนวน 122 โรงงานใน 12 ประเทศ หรือมีกำลังผลิตรวมกว่า 24 ล้านตัน
โดยในปีนี้บริษัทมีแผนจัดตั้งโรงงานอาหารครบวงจรที่ประเทศรัสเซีย มูลค่า 40 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จในช่วงปลายปีและขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการติดตั้งเครื่องจักร เพื่อสร้างกำลังการผลิตอีก 2 หมื่นตันต่อเดือน
ขณะที่ประเทศเวียดนาม เครือซีพีมีโรงงานด้วยกันทั้งสิ้น จำนวน 5 โรงงาน แบ่งเป็นโรงงานสัตว์บก 3 โรงงาน และโรงงานสัตว์น้ำ 2 โรงงาน ซึ่งตอนนี้บริษัทกำลังดำเนินการก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตอีก 5 แสนตันต่อปี ซึ่งจะเริ่มเดินเครื่องได้ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2552 รวมถึงแผนการตั้งโรงงานใหม่ในเวียดนามเพิ่มอีก 2 แห่ง โดยหากโรงงานใหม่เหล่านี้ก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มเดินเครื่องจะทำให้กำลังผลิตของเครือซีพี ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 25 ล้านตันต่อเดือนในอนาคต
**วงการกองทุนมองโอกาส10-15ปี**
นายธีระ ภู่ตระกูล ประธานกรรมการ บลจ.ฟินันซ่า กล่าวว่า การที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวขึ้นมา เนื่องจากมีหลายปัจจัยประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ราคาทองคำ โดยคาดว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะมีแนวโน้มไปอีก 10-15 ปี เพราะว่าในแต่ละปีประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 70 ล้านคน และภายใน 25 ปีข้างหน้าจะมีประชากรโลกเพิ่มขึ้นถึง 3,000 ล้านคน ขณะที่พื้นที่ในการเพาะปลูกมีปริมาณที่จำกัด และยังมีการนำเอาผลผลิตทางการเกษตรไปใช้ในการผลิตพลังงานทดแทนอีกด้วย โดยที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2541 Rici Rogers Index ระบุว่าสินค้าโภคภัณฑ์มีอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 12-13% ต่อปีมาโดยตลอด
ทั้งนี้ แนะนำว่าหากมีเงิน 100 บาท ควรนำไปลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ประมาณ 10-15% เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
นายธีรนาถ รุจิเมธาภาส รองกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล บลจ.ทิสโก้ กล่าวว่า สินค้าโภคภัณฑ์จะสามารถเจริญเติบโตได้อีกมาก เพราะว่าจำนวนประชากรของโลกเพิ่มขึ่นทุกปี ทำให้ไม่มีเหตุผลอะไรที่การบริโภคจะลดลง และจากการที่ประชากรโลกมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยเมื่อรายได้มากขึ้นก็หันมาบริโภคเนื้อสัตว์แทนมากขึ้น ทำให้การบริโภคผลิตผลการเกษตรโดยอ้อมปรับเพิ่มขึ้นไปอีก และไม่น่าจะเป็นเพียงแฟชั่นของการลงทุนเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่เป็นตัวเร่งอย่างราคาน้ำมันแพงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์แทนที่จะเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป กลายเป็นราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และการที่ดีมานด์ ผลผลิตขาดแคลน โดยในแง่ของพื้นที่การเกษตรสามารถขยายตัวได้ในบางประเทศ บางทวีปไม่มาก อาทิ บราซิล และแอฟริกาใต้ ซึ่งมีพื้นที่รกร้างที่สามารพถนำมาใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกได้บ้าง แต่การที่ภาคอุตสาหกรรมเจริญเติบโจมากขึ้น อาทิ จีน และประเทศในำภูมิภาคเอเชีย ทำให้พื้นที่บางส่วนกลายเป็นชุมชนเมือง ดั้งนั้น พื้นที่การเกษตรเลยไม่ได้เพิ่มขึ้น ทำให้แนวโน้มการเพาะปลูกและผลิตผลทางการเกษตรไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร
ขณะเดียวกัน การที่มีภาวะโลกร้อน ทำให้ปริมาณน้ำไม่พอเหมาะกับการเกษตร ทำให้ผลิตผลการเกาตรลดลง และยังมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นอย่างการเกิดอุทกภัยในจีน และความแกห้งแล้วในทวีปยุโรปด้วย ทำให้พื้นที่เพาะปลูกน้อยลง ทั้งนี้ หากดีมานด์สินค้าโภคภัณฑ์เติบโตขึ้น 3-4% และซัปพลายเติบโตขึ้นเพียง 1% จะมีผลกระทบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้แล้ว
สำหรับสัดส่วนของธัญพืชที่นำไปใช้ในการเลี้ยงสัตว์คิดเป็น 60% ขณะที่มนุษย์บบริโภคเพียง 30% เท่านั้น และการที่มีการนำธัญพืชในส่วนที่มนุษย์มาบริโภคมาใช้ในการผลิตเป็นพลังงานทดแทน ทำให้ปริมาณผลผลิตลดน้อยลงไปอีก
ทั้งนี้ หากราคาน้ำมันยังคงมีราคาปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดวิกฤติทางผลผลิตทางเกาตรภายใน 2-3 ปีข้างหน้าด้วย ซึ่งการที่ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้น สินค้าที่สามารถใช้ทดแทนกันได้อย่างสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีการนำมาผลิตพลังงานทดแทนจะมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย