ธีรินทร์ สุวรรณเตมีย์ หัวหน้าการตลาดธุรกิจกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล บลจ. ทิสโก้
ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนกำลังส่งผลให้เห็นไปทั่ว ทั้งภัยพิบัติทางธรรมชาติ สภาพอากาศ โรคระบาดชนิดใหม่ๆ ที่มีสามารถแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวล้วนส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย ดูเหมือนโลกเรากำลังจะเข้าสู่ภาวะข้าวยากหมากแพง อินเดีย และเวียดนามผู้ซึ่งเคยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับต้นๆของโลก ประกาศงดส่งออกข้าวในปีนี้ เพราะมีผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ ทำให้ยอดการสั่งซื้อข้าวไหลเข้ามาที่ประเทศไทย สัญญาณเหล่านี้เป็นเพียงส่วนเล็กน้อยที่ทำให้เราเชื่อมั่นได้ว่า ราคาสินค้าเกษตรกำลังจะทะยานต่อไปอย่างยากที่ยับยั้งด้วยสองปัจจัยหลักคือ
1.) อุปสงค์ (Demand) หรือความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประชากรโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี มีการคาดการณ์ว่าภายในปี ค.ศ 2050 ประขากรโลกจะเพิ่มจากปัจจุบัน 6.5 พันล้านคน เป็น 9.2 พันล้านคนทีเดียว เมื่อคนเยอะขึ้นก็ต้องการอาหารเพิ่มขึ้นอาหารที่บริโภคกันมาก เช่น ข้าวสาลี ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของอาหารจำพวก ขนมปัง เส้นพาสต้า และ ซีเรียล จึงมีราคาก็สูงขึ้นมากและหากใครจะแย้งว่าข้าวสาลีแพงนักกินสเต็กดีกว่า ก็ย่อมหมายถึงการบริโภควัตถุดิบจำพวก ข้าวโพดและถั่วเหลือง ในบริมาณสูงกว่าการบริโภคโดยตรงตรงๆเสียอีก เพราะการผลิตเนื้อสัตว์ 1 กก. ต้องใช้อาหารสัตว์ที่มักมีส่วนผสมหลักเป็นข้าวโพดและถั่วเหลืองถึง 10 กก. เลยทีเดียว
นอกจากนี้ประเทศอย่างจีนและอินเดียซึ่งมีจำนวนประชากรรวมกันถึงร้อยละ 40 ของประชากรโลก ก็มีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันมาหลายปี พูดในภาพรวมคือรวยขึ้น จึงเริ่มกินดีอยู่ดีขึ้น บริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหารสัตว์มากขึ้น สังเกตจากจีนซึ่งเคยเป็น “ขาใหญ่” ในการส่งออกข้าวโพดในอดีต ปัจจุบันก็กลายเป็นผู้นำเข้าเสียเอง ลองคิดดูเล่นๆ ถ้าคนจีนกับอินเดียทานเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นเพียงคนละ 1 ขีดต่อปีจะต้องใช้อาหารสัตว์เพิ่มขึ้นเท่าไหร่? 40% ของ 6.5 พันล้าน คือ 2.6 พันล้านคน ทานเนื้อสัตว์เพิ่มคนละ 1 ขีดก็ 2.6 พันล้านขีด หรือ 260,000 ตัน แปลว่าเราต้องใช้อาหารสัตว์ถึง 2.6 ล้านตัน เลยทีเดียว แล้วถ้าคนเหล่านั้นไม่ได้บริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นเพียงคนละ 1 ขีด? และคงไม่ต้องคำนวณซ้ำให้ดูว่าถ้าคนเหล่านี้ซื้อเสื้อผ้าเพิ่มขึ้นคนละ 1 ชุด โลกจะต้องผลิตฝ้ายเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ นอกจากนี้การที่น้ำมันมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมาก จนหลายประเทศหันมาสนใจการผลิตพลังงานชีวภาพ (Bio Fuel) อย่างจริงจัง ก็ได้ส่งผลให้ความต้องการถั่วเหลืองเพื่อใช้ผลิตไบโอดีเซลและความต้องการข้าวโพดเพื่อใช้ผลิตเอทานอลเพิ่มสูงขึ้นอีกเป็นทวีคูณ ดังที่เราเห็นในหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยๆ
2.) อุปทาน (Supply) หรือปริมาณสินค้าที่ลดลง หากความต้องการสินค้าชนิดใดเพิ่มขึ้น และผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าชนิดนั้นเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ราคาสินค้าเหล่านั้น ก็คงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่การผลิตสินค้าเกษตรไม่เหมือนกับการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่สามารถสั่งเพิ่มกำลังการผลิตได้ทันทีต้องการ หากย่อมเกี่ยวพันกับปัจจัยภายนอกอีกมากมาย เช่น พื้นที่เพาะปลูกที่นับวันมีแต่จะลดลง ซ้ำพื้นที่เหล่านั้นยังประสบกับภัยธรรมชาติ และสภาพอากาศที่แปรปรวนจากสภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง หรือบางครั้งก็เสียหายโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้จำนวนเกษตรกรก็ยังลดลงด้วยจากการที่ประชากรในประเทศเกษตรกรรมอย่างจีน และ อินเดียย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในเมือง กันมากขึ้น
เมื่อความต้องการสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นในขณะที่ปริมาณสินค้ามีแนวโน้มลดลง ราคาสินค้าเกษตรจึงมีแนวโน้มที่จะมีราคาสูงขึ้น ดังนั้นการจะมีสินค้าเกษตรไว้ในพอร์ตการลงทุนก็น่าจะเป็นช่องทางที่ดี ทั้งนี้การลงทุนในดัชนีราคาสินค้าเกษตรโดยตรงก็ย่อมจะสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกได้ดีกว่าการซื้อหุ้นในบริษัทที่ทำการธุรกิจด้านการเกษตร เพราะไม่ต้องรับปัจจัยเสี่ยงจากการบริหารงานของบริษัทนั้นๆ เช่น การฉ้อโกงภายในบริษัท หรือการประท้วงหยุดงานของลูกจ้างของบริษัทเหล่านั้น ไม่ต้องรับปัจจัยเสี่ยงของผลกระทบภายนอกต่อบริษัทเหล่านั้น เช่นหากเกิดพายุหรือโรคระบาดในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพด ทำให้ข้าวโพดได้รับความเสียหายรุนแรงจนเกิดการขาดแคลน บริษัทที่เป็นเจ้าของพื้นที่เพาะปลูกหรือมีสัญญารับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวอาจประสบปัญหาในการส่งมอบสินค้าแก่ลูกค้า ทำให้บริษัทขาดทุนและราคาหุ้นของบริษัทก็ลดลง ในขณะเดียวกันเนื่องจากข้าวโพดขาดแคลน ราคาข้าวโพดจึงพุ่งสูงขึ้น กรณีนี้หากผู้ลงทุนลงทุนในหุ้นของบริษัทดังกล่าวก็ย่อมรับผลกระทบจากการลดลงของราคาหุ้น แต่หากลงทุนในดัชนีราคาข้าวโพดก็ย่อมจะได้รับผลกำไรจากการปรับขึ้นของราคาข้าวโพด ดังนั้นการลงทุนในดัชนีราคาสินค้าเกษตรโดยตรงก็ย่อมจะสะท้อนการถึงเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกได้ถูกต้องแม่นยำกว่า
ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนกำลังส่งผลให้เห็นไปทั่ว ทั้งภัยพิบัติทางธรรมชาติ สภาพอากาศ โรคระบาดชนิดใหม่ๆ ที่มีสามารถแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวล้วนส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย ดูเหมือนโลกเรากำลังจะเข้าสู่ภาวะข้าวยากหมากแพง อินเดีย และเวียดนามผู้ซึ่งเคยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับต้นๆของโลก ประกาศงดส่งออกข้าวในปีนี้ เพราะมีผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ ทำให้ยอดการสั่งซื้อข้าวไหลเข้ามาที่ประเทศไทย สัญญาณเหล่านี้เป็นเพียงส่วนเล็กน้อยที่ทำให้เราเชื่อมั่นได้ว่า ราคาสินค้าเกษตรกำลังจะทะยานต่อไปอย่างยากที่ยับยั้งด้วยสองปัจจัยหลักคือ
1.) อุปสงค์ (Demand) หรือความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประชากรโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี มีการคาดการณ์ว่าภายในปี ค.ศ 2050 ประขากรโลกจะเพิ่มจากปัจจุบัน 6.5 พันล้านคน เป็น 9.2 พันล้านคนทีเดียว เมื่อคนเยอะขึ้นก็ต้องการอาหารเพิ่มขึ้นอาหารที่บริโภคกันมาก เช่น ข้าวสาลี ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของอาหารจำพวก ขนมปัง เส้นพาสต้า และ ซีเรียล จึงมีราคาก็สูงขึ้นมากและหากใครจะแย้งว่าข้าวสาลีแพงนักกินสเต็กดีกว่า ก็ย่อมหมายถึงการบริโภควัตถุดิบจำพวก ข้าวโพดและถั่วเหลือง ในบริมาณสูงกว่าการบริโภคโดยตรงตรงๆเสียอีก เพราะการผลิตเนื้อสัตว์ 1 กก. ต้องใช้อาหารสัตว์ที่มักมีส่วนผสมหลักเป็นข้าวโพดและถั่วเหลืองถึง 10 กก. เลยทีเดียว
นอกจากนี้ประเทศอย่างจีนและอินเดียซึ่งมีจำนวนประชากรรวมกันถึงร้อยละ 40 ของประชากรโลก ก็มีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันมาหลายปี พูดในภาพรวมคือรวยขึ้น จึงเริ่มกินดีอยู่ดีขึ้น บริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหารสัตว์มากขึ้น สังเกตจากจีนซึ่งเคยเป็น “ขาใหญ่” ในการส่งออกข้าวโพดในอดีต ปัจจุบันก็กลายเป็นผู้นำเข้าเสียเอง ลองคิดดูเล่นๆ ถ้าคนจีนกับอินเดียทานเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นเพียงคนละ 1 ขีดต่อปีจะต้องใช้อาหารสัตว์เพิ่มขึ้นเท่าไหร่? 40% ของ 6.5 พันล้าน คือ 2.6 พันล้านคน ทานเนื้อสัตว์เพิ่มคนละ 1 ขีดก็ 2.6 พันล้านขีด หรือ 260,000 ตัน แปลว่าเราต้องใช้อาหารสัตว์ถึง 2.6 ล้านตัน เลยทีเดียว แล้วถ้าคนเหล่านั้นไม่ได้บริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นเพียงคนละ 1 ขีด? และคงไม่ต้องคำนวณซ้ำให้ดูว่าถ้าคนเหล่านี้ซื้อเสื้อผ้าเพิ่มขึ้นคนละ 1 ชุด โลกจะต้องผลิตฝ้ายเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ นอกจากนี้การที่น้ำมันมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมาก จนหลายประเทศหันมาสนใจการผลิตพลังงานชีวภาพ (Bio Fuel) อย่างจริงจัง ก็ได้ส่งผลให้ความต้องการถั่วเหลืองเพื่อใช้ผลิตไบโอดีเซลและความต้องการข้าวโพดเพื่อใช้ผลิตเอทานอลเพิ่มสูงขึ้นอีกเป็นทวีคูณ ดังที่เราเห็นในหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยๆ
2.) อุปทาน (Supply) หรือปริมาณสินค้าที่ลดลง หากความต้องการสินค้าชนิดใดเพิ่มขึ้น และผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าชนิดนั้นเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ราคาสินค้าเหล่านั้น ก็คงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่การผลิตสินค้าเกษตรไม่เหมือนกับการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่สามารถสั่งเพิ่มกำลังการผลิตได้ทันทีต้องการ หากย่อมเกี่ยวพันกับปัจจัยภายนอกอีกมากมาย เช่น พื้นที่เพาะปลูกที่นับวันมีแต่จะลดลง ซ้ำพื้นที่เหล่านั้นยังประสบกับภัยธรรมชาติ และสภาพอากาศที่แปรปรวนจากสภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง หรือบางครั้งก็เสียหายโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้จำนวนเกษตรกรก็ยังลดลงด้วยจากการที่ประชากรในประเทศเกษตรกรรมอย่างจีน และ อินเดียย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในเมือง กันมากขึ้น
เมื่อความต้องการสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นในขณะที่ปริมาณสินค้ามีแนวโน้มลดลง ราคาสินค้าเกษตรจึงมีแนวโน้มที่จะมีราคาสูงขึ้น ดังนั้นการจะมีสินค้าเกษตรไว้ในพอร์ตการลงทุนก็น่าจะเป็นช่องทางที่ดี ทั้งนี้การลงทุนในดัชนีราคาสินค้าเกษตรโดยตรงก็ย่อมจะสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกได้ดีกว่าการซื้อหุ้นในบริษัทที่ทำการธุรกิจด้านการเกษตร เพราะไม่ต้องรับปัจจัยเสี่ยงจากการบริหารงานของบริษัทนั้นๆ เช่น การฉ้อโกงภายในบริษัท หรือการประท้วงหยุดงานของลูกจ้างของบริษัทเหล่านั้น ไม่ต้องรับปัจจัยเสี่ยงของผลกระทบภายนอกต่อบริษัทเหล่านั้น เช่นหากเกิดพายุหรือโรคระบาดในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพด ทำให้ข้าวโพดได้รับความเสียหายรุนแรงจนเกิดการขาดแคลน บริษัทที่เป็นเจ้าของพื้นที่เพาะปลูกหรือมีสัญญารับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวอาจประสบปัญหาในการส่งมอบสินค้าแก่ลูกค้า ทำให้บริษัทขาดทุนและราคาหุ้นของบริษัทก็ลดลง ในขณะเดียวกันเนื่องจากข้าวโพดขาดแคลน ราคาข้าวโพดจึงพุ่งสูงขึ้น กรณีนี้หากผู้ลงทุนลงทุนในหุ้นของบริษัทดังกล่าวก็ย่อมรับผลกระทบจากการลดลงของราคาหุ้น แต่หากลงทุนในดัชนีราคาข้าวโพดก็ย่อมจะได้รับผลกำไรจากการปรับขึ้นของราคาข้าวโพด ดังนั้นการลงทุนในดัชนีราคาสินค้าเกษตรโดยตรงก็ย่อมจะสะท้อนการถึงเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกได้ถูกต้องแม่นยำกว่า