xs
xsm
sm
md
lg

วิกฤตพืชผลการเกษตรทั่วโลกวุ่นแต่นักลงทุนรับทรัพย์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ช่องทางการลงทุนในปัจจุบันนี้มีหลากหลายรูปแบบ แต่เดิมกองทุน โดยเฉพาะเฮดจ์ฟันด์นั้น ชื่นชอบการลงทุนในน้ำมัน และทองคำมากที่สุด จนราคาซื้อขายมีการปรับตังเพิ่มขึ้นอย่างตัวเนื่อง และทำให้หลายคนมองไปถึงภาวะวิกฤตของโลก ในด้านพลังงาน แต่ต่อมาก็มีโปรดักต์หรือสินค้าใหม่ ที่ได้รับความสนใจจากกองทุนมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นคือ “คอมมอดิตี้”

“คอมมอดิตี้”หรือสินค้าโภคภัณฑ์ นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ กองทุนต่างๆทั่วโลก รวมทั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนของไทยล้วนให้ความสนใจในการลงทุนประเภทนี้เช่นกัน โดยเฉพาะการลงทุนในผลิตผลทางการเกษตร เนื่องจากสิ่งนี้เปรียบเสมือนหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มนุษย์เรานั้นขาดไม่ได้และจำเป็นที่จะต้องบริโภคอยู่เสมอ

แต่ปัจจุบันนี้ นอกเหนือจากมนุษย์และสัตว์ที่จำเป็นต้องบริโภคพืชผลทางการเกษตรแล้ว เครื่องยนต์กลไกต่างๆ ก็แสวงหาพลังงานจากพืชผลทางการเกษตรด้วยเช่นกัน เพื่อนำไปใช้ทำพลังงานทดแทน ซึ่งจากปัจจัยเหล่านี้เองที่ส่งผลให้ปริมาณการผลิตพืชผลทางการเกษตร อาทิ ข้าวโพด อ้อย มันสัมปะหลัง ฯลฯ ไม่เพียงพอต่อดีมานด์ และทำให้ราคาพืชผลเหล่านี้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเกือบเท่าตัวตั้งแต่ในช่วงไตรมาส4/2550

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทีมงานผู้จัดการกองทุน ได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนการดำเนินงานโรงงานแปรรูปอาหารและครบวงจรของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ที่มีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย และเป็นไปตามมาตรฐานนานาชาติ

แต่สิ่งที่ทีมงานให้ความสนใจเป็นพิเศษในครั้งนี้ นอกเหนือจากเทคโนโลยีแล้ว นั่นคือปัญหาราคาต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบให้กับผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่ และรายย่อย รวมทั้งประชาชนทั่วไปต้องจำใจควักจ่ายค่าราคาสินค้าสูงที่ขึ้น ซึ่งล้วนมีสาเหตุมาจาก พลังงานทดแทนนั่นเอง

ปัจจุบันนี้ ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ โดยเฉพาะ ข้าวโพดซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก ที่มีราคาปรับตัวสูงขึ้นมากนั้น ล้วนมากจากการนำข้าวโพดไปสกัดทำ เอทานอลเพื่อป้อนให้กับเครื่องจักร และเครื่องยนต์ต่างๆที่มีแนวโน้มขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจากข้อมูลพบว่า ปัจจุบัน สัดส่วนของธัญพืชที่นำไปใช้ในการเลี้ยงสัตว์คิดเป็น 60% ขณะที่มนุษย์บบริโภคเพียง 30% เท่านั้น และการที่มีการนำธัญพืชในส่วนที่มนุษย์มาบริโภคมาใช้ในการผลิตเป็นพลังงานทดแทน ทำให้ปริมาณผลผลิตลดน้อยลงไปอีก

ส่วนสัญญาณเตือนของการเกิดวิกฤตการณ์ในครั้งนั้น เริ่มมาจากทางอเมริกาเกิดวิกฤติพลังงาน และต้องการเพิ่มปริมาณแอลกอฮอล์เพื่อนำมาผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง จึงต้องนำข้าวโพด ซึ่งปกติใช้ในการเลี้ยงสัตว์ มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตแอลกอฮอล์แทน ผลคือ "ข้าวโพด" ขาดตลาด และมีราคาสูงขึ้น ผลพวงที่ตามมาคือ "อาหารสัตว์" มีราคาสูงขึ้นและต้องการวัตถุดิบอย่างมากเพื่อมาทดแทน โดยผลกระทบข้อนี้ส่งผลให้ราคาข้าวโพดในตลาดโลกสูงขึ้น และไทยก็ได้รับผลอันนี้เช่นเดียวกัน แต่ในทางกลับกันก็ทำให้ชาวไร่ข้าวโพดร่ำรวยไปตามๆ กัน

หลายฝ่าย คาดว่าปีนี้ผลผลิตข้าวโพด 1 ใน 4 ของสหรัฐจะถูกนำไปใช้ผลิตเป็นเชื้อเพลิงเอทานอล และแม้จะมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก แต่อุตสาหกรรมผลิตเอทานอลก็ยังคงเติบโตต่อไป

ล่าสุด องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) คาดว่าทศวรรษหน้าราคาข้าวโพดอาจเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 27 ขณะที่ราคาเมล็ดพืชที่ให้น้ำมัน เช่น ถั่วเหลือง จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 ส่วนราคาข้าวอาจเพิ่มสูงขึ้นอีกร้อยละ 9

นอกจากนี้ ปัจจัยจากราคาน้ำมันแพง นับว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์แทนที่จะเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่กลับปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และการที่ดีมานด์ผลผลิตขาดแคลน โดยเฉพาะในแง่ของพื้นที่การเกษตรในบางประเทศ หรือ บางทวีป สามารถขยายตัวได้ไม่มากนัก อาทิ บราซิล และแอฟริกาใต้ ซึ่งมีพื้นที่รกร้างที่สามารพถนำมาใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกได้บ้าง แต่การที่ภาคอุตสาหกรรมเจริญเติบโตมากขึ้น อาทิ จีน และประเทศในภูมิภาคเอเชีย ทำให้พื้นที่บางส่วนกลายเป็นชุมชนเมือง ดั้งนั้น พื้นที่การเกษตรจึงไม่ได้เพิ่มขึ้น ทำให้แนวโน้มการเพาะปลูกและผลิตผลทางการเกษตรไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร

ขณะเดียวกัน การที่มีภาวะโลกร้อน ทำให้ปริมาณน้ำไม่พอเหมาะกับการเกษตร จะส่งผลให้ผลิตผลการเกษตรลดลง และยังมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น อาทิ อุทกภัยในจีน และความแห้งแล้วในทวีปยุโรป จะยิ่งทำให้พื้นที่เพาะปลูกน้อยลง หรือคิดง่าย หากดีมานด์สินค้าโภคภัณฑ์เติบโตขึ้น 3-4% และซัปพลายเติบโตขึ้นเพียง 1% ก็จะมีผลกระทบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้แล้ว

ทั้งนี้ เราต้องยอมรับว่า หากมองในแง่ของปัญหาแล้ว ประชากรชาวโลก จะต้องเผชิญวิกฤตการณ์พืชผลทางกรเกษตรขาดแคลน และราคาขายปรับตัวสูงขึ้นอย่างไม่มีทางหลีกพ้น เพราะยากเหลือเกินที่ราคาสินค้าเหล่านี้จะปรับลดลง ในเมื่อทุกประเทศ ทุกบ้านเรือน จำเป็นต้องใช้พลังงาน อีกทั้งมนุษย์ทุกคนจำเป็นต้องบริโภค แต่หากมองในแง่ของการลงทุน นับว่าที่คือโอกาส ที่ไม่ควรปล่อยให้หลุดมือไป

ดังนั้นเมื่อมองในแง่ของการลงทุน จะเห็นได้ว่าสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวขึ้นสูงตามแรงเก็งกำไรในตลาด ไม่ว่าจะเป็นราคาของข้าวสาลี ข้าวโพด อ้อย หรือฝ้าย ที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นแต่สินค้ามีอยู่จำกัด นอกจากนี้ราคาสินค้าเกษตรยังปรับขึ้นลงตามทิศทางราคาน้ำมันด้วย เพราะกระแสใช้สินค้าเกษตรผลิตเป็นพลังงานทดแทน ทำให้ดีมานด์เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ซึ่งกองทุนที่ลงทุนสินทรัพย์เหล่านี้จะได้ผลตอบแทนดีเมื่อเทียบกับสินทรัพย์อื่นในโลกอย่างหุ้นหรือตราสารหนี้ที่ยังเสี่ยงจากวิกฤตซับไพรม์อยู่

นอกจากนี้ ยังมีการคาดว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะมีแนวโน้มไปอีก 10-15 ปี เพราะว่าในแต่ละปีประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 70 ล้านคน และภายใน 25 ปีข้างหน้าจะมีประชากรโลกเพิ่มขึ้นถึง 3,000 ล้านคน ขณะที่พื้นที่ในการเพาะปลูกมีปริมาณที่จำกัด และยังมีการนำเอาผลผลิตทางการเกษตรไปใช้ในการผลิตพลังงานทดแทนอีกด้วย โดยตั้งแต่ปี 2541 Rici Rogers Index ระบุว่าสินค้าโภคภัณฑ์มีอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 12-13% ต่อปีมาโดยตลอด

สุดท้ายนี้ นักวิชาการ และผู้จัดการกองทุนหลายราย ให้ความเห็นตรงกันว่า หากราคาน้ำมันยังคงมีราคาปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดวิกฤติทางผลผลิตทางเกษตรภายใน 2-3 ปีข้างหน้า ดังนั้นเรื่องดังจึงนับว่าเป็นอีกหนึ่งงวิกฤตปัญหาที่เราทุกคนไม่ควรมองข้าม ไปเช่นกัน
กำลังโหลดความคิดเห็น