รัฐบาลเสียงแตก วิปรัฐบาลไร้ค่า มีมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.237 มาตราเดียว แต่ พปช.ประกาศรื้อยกยวง แถมไม่ให้ทำประชามติ ขณะที่พรรคเพื่อแผ่นดินไม่เห็นด้วยแก้ ม.237 ระบุมีไว้เพื่อป้องปรามการทุจริตเลือกตั้ง พร้อมยืนยันจะไม่มีการนิรโทษกรรม 111 อดีต กก.บห.ทรท. “พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข” อดีตรักษาการ ปธ.คมช.เตือนอย่าแก้ไขเพื่อประโยชน์ตัวเอง “เหลิม” อ้างข้างๆ คูๆ แก้ รธน.ตามที่สัญญาไว้กับประชาชน แถมแว้งกัดพันธมิตรฯ ท้าแน่จริงเก่งจริงตั้งพรรคมาแข่งกัน
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เท่าที่พูดคุยกันภายในเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คงจะให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ดำเนินการ โดยเบื้องต้นตนให้แนวทางกับเลขาธิการพรรคพลังประชาชนว่าควรมีการนัดหารือกับแกนนำ หรือเลขาธิการพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 6 พรรคว่ามีความเห็นสอดคล้องกันหรือไม่ หรือหากเห็นพ้องกันก็ควรจะมีการแก้ไขมาตรา 237 เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง มาตราเดียวหรือแก้ไขทั้งหมด โดยในวันนี้ (25 มี.ค.) นี้ พรรคพลังประชาชนจะประชุมเพื่อหารือถึงเรื่องดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเห็นว่าควรแก้ไขเฉพาะมาตรา 237 ประเด็นที่ให้ถือว่า กรรมการบริหารพรรคกระทำผิดให้ถือว่าพรรคการเมืองร่วมกระทำผิดด้วย ส่วนที่นายกรัฐมนตรีต้องการให้แก้ไขทั้งฉบับนั้นตรงนี้สุดแล้วแต่นายกรัฐมนตรี
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากแก้ประเด็นเดียวอาจถูกมองว่าเป็นการจุดชนวน ให้เกิด ความรุนแรงได้และเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคฝ่ายเดียว นายชูศักดิ์กล่าวว่า เข้าใจว่าเกือบทุกพรรคติดใจประเด็นการเหมาเข่งความผิดที่ระบุว่าหากใครคนใดคนหนึ่ง ทำผิดให้ถือว่าพรรคนั้นกระทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจ โดยวิถีทางที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเป็นเหตุให้ต้องมีการยุบพรรค โดยที่คนส่วนใหญ่ในพรรคไม่ได้รู้เห็นด้วย
วิปรัฐบาลมีมติแก้แค่ ม.237
วันเดียวกันมีการประชุมคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) หลังการประชุม นายชัย ชิดชอบ ประธานวิปรัฐบาล แถลงว่าที่ประชุมวิปรัฐบาลเห็นพ้งอักนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 เพื่อความเป็นธรรมให้กับ ส.ส. และพรรคการเมือง โดยจะมีการเสนอแก้ไขในเร็วๆ นี้
อย่างไรก็ดี การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องแก้ไขในหลายมาตรา แต่จะแก้ในบางเรื่อง ที่มีความจำเป็นมาก แต่มาตรา 237 ต้องเร่งทำเพราะว่าจะได้ช่วย กกต.ให้มีทางออก เพราะว่าที่ผ่านมานายสุเมธ อุปนิสากร กกต. ระบุว่าไม่มีทางออกเพราะกฎหมาย บอกให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญกรณียุบพรรค เราจึงพยายามเสนอแก้เพื่อให้กฎหมาย มีทางออก และพยายามจะแก้ไขไม่ให้กระทบต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพื่อประโยชน์ทุกพรรคการเมืองและให้เดินหน้าไปได้ และไม่ให้เกิดการแตกความสามัคคี ส่วนประเด็นมาตรา 237 จะต้องปรับเปลี่ยนถ้อยคำใดบ้างนั้น อยู่ระหว่างการศึกษาอยู่ แต่เราจะพิจารณาอย่างรอบคอบที่สุด
“ยืนยันว่าไม่ได้คิดแก้เพื่อเรื่องยุบพรรค แต่บุคคลทำผิดเขาจับบุคคล เช่น ถ้าไปหลายคนเรียกปล้นทรัพย์ แต่ถ้าไปคนเดียวอาจเรียกลักทรัพย์เท่านั้น มันมีทางออกได้ การแก้ไม่ได้หาทางออกเพื่อวันนี้วันเดียว หรือช่วยพรรคพลังประชาชน ชาติไทย หรือมัชฌิมาธิปไตย หรือแม้แต่อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย แต่เป็นการหาทางออกไว้เพื่อวันข้างหน้า ให้ กกต.ได้สามารถใช้ดุลพินิจพิจารณาว่า ยุบพรรคจะต้องมีทางออกอย่างไร”
ผู้สื่อข่าวถามว่า กังวลเกมในสภาเรื่องการแก้ไข มาตรา 237 หรือไม่ นายชัย กล่าวว่า ไม่น่าจะหนักใจ ไม่ใช่เพราะเสียงเรามาก แต่เพราะเราไม่ได้ทำเฉพาะว่าจะมีการยุบพรรคพลังประชาชน เพราะดูแล้วน่าจะยุบกันก่อน เพราะเหตุการณ์บ้านเมือง เดี๋ยวกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะออกมาอีก จะอยู่ได้อีกสักกี่วันก็ไม่รู้ผู้แทนฯ
ค้านแนวคิด “สมัคร” ทำประชามติ
นายสามารถ แก้วมีชัย เลขานุการวิปรัฐบาล กล่าวว่า ต้องศึกษาประเด็นอื่น ที่อาจมีการแก้ไขอีก คือ มาตรา190 ที่ยังเป็นอุปสรรค คือตามที่ระบุว่าสัญญาต่างๆ ที่ต้องไปทำแล้วมีผลผูกพันด้านการค้าการลงทุนหรืองบประมาณของประเทศ ต้องให้ ครม.จัดทำประชาพิจารณ์จากนั้นนำเข้ารัฐสภา รวมทั้งมาตรา266 ที่ห้ามไม่ให้ส.ส. และส.ว. ไปก้าวก่ายกับข้าราชการประจำทั้งทางตรงทางอ้อม เพื่อประโยชน์ของตน ของพรรค หรือผู้ใด แต่คำนี้ในรัฐธรรมนูญไม่ได้นิยามว่าหมายถึงอะไร ซึ่งอาจส่งผล ไปยัง ส.ส., ส.ว. ที่ต้องการช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน ถ้าประสานงานไปยังอบต. ก็ทำไม่ได้ เพราะอาจเข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญและมีโทษถึงอาจสิ้นสภาพส.ส.ด้วย
นายสามารถ กล่าวว่า การแก้รัฐธรรมนูญไม่จำเป็นต้องทำประชามติตามที่ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เสนอเพราะการแก้รัฐธรรมนูญนั้นในรัฐธรรมนูญ บัญญัติช่องทางไว้หลากหลาย อาทิ ให้ครม.สามารถเสนอ หรือ ส.ส.บวก ส.ว. หรือประชาชนเสนอ 5 หมื่นชื่อ ทั้งนี้โดยข้อเท็จจริงการไปทำประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญนั้น ส่วนใหญ่พี่น้องประชาชนก็ไม่ได้ให้ความสนใจที่จะไปใช้สิทธิ์ เหมือนการทำประชามติ ครั้งที่ผ่านมา เพราะคนที่สนใจจะเป็นคนกลุ่มหนึ่ง ส่วนอีกกลุ่มก็มองว่าเป็นภาระของเขา
“เราจะใช้ช่องทาง ส.ส. 1 ใน 5 ของ 480 คือ 96 คน แต่เวลาเสนอเข้าสู่สภาจะไม่ใช่เฉพาะส.ส. ต้องมี ส.ว.มาด้วย โดยรับหลักการวาระที่ 1 ต้องไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งคือ 315 คน ของสองสภา ซึ่งใช้วิธีลงคะแนนแบบเปิดเผยโดยการขานชื่อซึ่งต้องได้ กึ่งหนึ่งคือ 315 ส่วนการพิจารณาวาระสองใช้เสียงข้างมากธรรมดา และวาระ 3 ต้องมากกว่ากึ่งหนึ่ง คือ มากกว่า 316 ขึ้นไป”
นายสามารถ กล่าวว่า ทุกพรรคร่วมรัฐบาล จะคุยกันในที่ประชุมของแต่ละพรรค ในวันนี้ (25 มี.ค.) และจะนำข้อหารือในพรรคเข้าที่ประชุมวิปอีกรอบ และคาดว่า ในวันจันทร์ที่ 31 มี.ค. คงจะนำเข้าสู่ที่ประชุมวิปรัฐบาลเพื่อหาข้อยุติ
พปช.เมินมติวิปประกาศรื้อยกพวง
ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน เปิดเผยว่าในการประชุมพรรคพลังประชาชน วันนี้ (25 มี.ค.) จะมีการหยิบยกประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญ มาหารือโดยจะมีหยิบยกหลายมาตราที่ยังเป็นปัญหามาพิจารณาด้วย อาทิ มาตรา190 และมาตรา 265-266 รวมทั้งการเลือกตั้งแบบเขตเดียว 3 เบอร์ และที่มาของ ส.ว. ทั้งนี้ การพิจารณาจะยึดตามแนวทางที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ได้วางไว้คือจะยึดรัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นหลัก ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในส่วนไหนที่ดีแล้วก็จะคงไว้ อย่างเช่นเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน
ผู้สื่อข่าวถามว่า แนวโน้มการแก้ รธน.มาตรา 237 ต่อไปจะเป็นลักษณะหากผู้ใดกระทำผิดจะไม่โยงมาถึงจนเป็นเหตุให้พรรคถูกยุบหรือไม่ ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า คงจะเป็นอย่างนั้น เพราะว่ามาตราดังกล่าวในปัจจุบันไม่ได้เปิดทางให้พรรคการเมือง ที่ผิดต้องไม่ได้รับโทษ ซึ่งการยุบพรรคควรมีหลักเกณฑ์มากกว่านี้ ไม่ใช่เมื่อกรรมการบริหารพรรคผิดแล้วต้องยุบพรรค เขียนอย่างนี้มันตายตัวไปขัดหลักยุติธรรม เพราะฉะนั้นการเขียนที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันต้องมีหลักเกณฑ์มากกว่านี้ ไม่ใช่ใช้หลักด้วนๆ อย่างนี้ มันผิดกฎหมาย
ส่วนจะมีการหยิบยกเรื่องบทบาทหน้าที่องคมนตรีมาพิจารณาด้วยหรือไม่ ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า คงไม่ หมวดไหนดีอยู่แล้วก็จะไม่ยุ่ง แต่เราจะพิจารณาเฉพาะประเด็นการเมืองเท่านั้น
ขณะที่ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงหลังทราบมติที่ประชุมวิปรัฐบาลว่าการแก้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องแก้ทั้งฉบับและตนขอเสนอแนวคิดของนายกรัฐมนตรีเป็นเบื้องต้น คือคงหมวด 1 ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ส่วนที่เหลือ ให้นำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาเทียบเคียงและปรับแก้ให้ตรงตามข้อเท็จจริง ไม่ควรแก้ประเด็นใดประเด็นหนึ่งแม้ประเด็นดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับการยุบ หรือไม่ยุบพรรคการเมือง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การแถลงครั้งนี้ถือเป็นมติของรัฐบาลใช่หรือไม่ นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ได้มีการพูดคุยกันหลายฝ่ายและมีการหารือกันแล้ว ซึ่งตนได้พูดคุยกับรัฐมนตรีและ ส.ส.หลายท่าน เมื่อถามว่าวิปรัฐบาลได้ออกมาแถลงว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรา 237 เพียงมาตราเดียวจะขัดแย้งกันเองหรือไม่ นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ไม่ใช่เป็นการขัดแย้งแต่ต้องหารือกันซึ่งถือว่าข้อเสนอของวิปยังไม่ใช่ข้อสรุปในทันที
“เพื่อแผ่นดิน” ค้านแก้ รธน.ม.237
นายโสภณ เพชรสว่าง คณะทำงานการเมืองพรรคเพื่อแผ่นดิน กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 เพียงประเด็นเดียว เพื่อหนีคดียุบพรรค เพราะมาตรานี้มีไว้เพื่อป้องปรามการกระทำผิดของผู้สมัครเลือกตั้งที่เป็นกรรมการบริหารพรรคว่าความผิดทุจริตที่ก่อไว้ถึงขั้นยุบพรรค ถ้าไม่มีมาตรานี้ บรรดาหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค หรือนักการเมืองที่มีอำนาจเงินมากๆ จะไม่เกรงกลัว ย่ามใจ คิดว่าทุ่มเงินซื้อเสียงมาก็จะได้ที่นั่ง ส.ส.
“การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นควรพิจารณาอย่างรอบคอบ และคุยกันให้ตกผลึก จริงๆ เพราะมีอีกหลายประเด็นที่ส่งผลกระทบกับนักการเมืองและประชาชนอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นเขตเลือกตั้งแบบ 3 คนต่อ 1 เขต ที่ควรกลับมาสู่เขตเดียวเบอร์เดียวแบบ 400 คน 400 เขต จะทำให้ประชาชนรู้จักส.ส.ได้มากกว่า สามารถชี้แจงนโยบาย ให้ประชาชนรับรู้อย่างทั่วถึง หรือ ส.ว.ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และควรมีจำนวน 200 คนเหมือนรัฐธรรมนูญฉบับ 40”
นายไชยยศ จิรเมธากร โฆษกพรรคเพื่อแผ่นดิน กล่าวว่าพรรคเพื่อแผ่นดิน จะหารือเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันนี้ (25 มี.ค.) เวลา 14.00 น. ในการประชุมกรรมการบริหารพรรค อย่างไรก็ตามยืนยันว่า กฎหมายในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมอดีตกรรมการพรรคไทยรักไทยทั้ง 111 คน พรรคเพื่อแผ่นดินจะไม่แก้ไขอย่างแน่นอน แม้จะมีแกนนำพรรคหลายคนติดอยู่ก็ตาม เพราะเรื่องนี้ พรรคเพื่อแผ่นดินได้ยืนยันไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว
คมช.เตือนรัฐบาลอย่าแก้ รธน.เพื่อตัวเอง
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผบ.ทอ.และอดีตรักษาการประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กล่าวว่ารัฐธรรมนูญสามารถแก้ได้ แต่ที่สำคัญหากแก้ไข ต้องทำเพื่อประชาขนส่วนใหญ่และเพื่อชาติ ไม่ใช่เพื่อกลุ่มคนเล็กๆ เพื่อให้ดำเนินการต่างๆ ได้
“ผมยังไม่มองว่าเป็นการแก้เพื่อประโยชน์ใคร เพื่อใคร แต่ประชาชนต้องติดตาม หากแก้เพื่อประโยชน์ภาพรวมในการพัฒนาประชาธิปไตยก็สามารถทำได้ แต่หากทำเพื่อคนกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ประชาชนทุกคนมีสิทธิทักท้วงและเสนอแนะ อย่างไรก็ตามเราเพิ่มใช้รัฐธรรมนูญมาไม่นาน ต้องดูว่าเหมาะสมหรือไม่ ส่วนการเคลื่อนไหวคัดค้าน หากให้คำตอบประชาชนได้ก็สมควร แต่หากให้คำตอบประชาชนไม่ได้ก็ไม่เหมาะสม”
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลไม่ทำประชาพิจารณ์แก้รัฐธรรมนูญถือเป็นข้อเสนอของ ประชาชนได้อย่างไร พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า หากประชาชนในประเทศบอกว่าควรทำประชาพิจารณ์ก็ต้องทำ ไม่ใช่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งสั่งการให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนการเสนอแก้มาตรา 237 นั้นตนยังไม่มีความเห็น
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการอ้างว่าหากมีการยุบพรรคจะทำให้รัฐบาลบริหารงานไม่ได้ แล้วประเทศชาติจะเป็นอย่างไร พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ประเทศไทยไม่สิ้นคนดี เรามีประชากรถึง 60 กว่าล้านคน และเมื่อยุบพรรคแล้วก็สามารถตั้งขึ้นใหม่ได้
ส่วนที่มีคนมองว่า คมช. อยู่เบื้องหลังการเมืองขณะนี้นั้น พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า คมช.จบไปนานแล้ว ทั้งนี้ ไม่รู้ว่าเหตุใดจึงกลัวการยุบพรรค เพราะเป็นเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมาย และ คมช. ไม่ต้องการยุบใคร กฎหมายที่ปฏิบัติใช้ก็ไม่ได้จ้องเอาผิด พรรคใด แต่เมื่อมีกลุ่มคนทำผิดกฎหมายก็ต้องถูกดำเนินคดี ยืนยันว่า คมช. ไม่ได้อยู่เบื้องหลัง ซึ่ง กกต. ,ป.ป.ช. .ปปง. และ คตส.เป็นคนที่มีคุณวุฒิ อายุขนาดนี้ ไม่มีใครบังคับท่านได้ ยังไม่เห็นมีใครไปบังคับท่านได้ บางครั้งคนเราไม่โทษตัวเอง แต่โทษคนอื่น
“มาร์ค” ไม่เห็นด้วยตัดประเด็นยุบพรรค
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้มีปัญหาหากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการจะเริ่มต้นอย่างไร ซึ่งพรรคยืนยันว่าอยากให้เปิดกว้างให้ประชาชนและฝ่ายต่างๆ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และหลักการที่สำคัญคือ ความมุ่งหมาย ในการแก้ไขต้องเป็นไปเพื่อให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นและบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีมาตั้งแต่วันลงประชามติแล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่า แก้มาตราไหน และแก้เพื่อใคร ซึ่งหากเป็นการแก้มาตราที่เป็นปัญหาเพื่อประโยชน์ของ ส่วนรวมก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าแก้เพราะมีวาระแอบแฝงทางการเมืองก็ไม่เหมาะสม
“ผำนการแก้ไขหากตัดประเด็นการยุบพรรคการเมืองออกไป คงไม่เหมาะสม เพราะขณะนี้กำลังพูดถึงกฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้ ไม่ได้มีการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมา และความจริงคดีทุจริตเลือกตั้งก็ยังไม่ได้เดินหน้า ไปถึงขั้นข้อสรุปว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ และต้องไม่ลืมว่าคดีเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้น มาลอย ๆ คนที่กระทำผิดก็รู้อยู่แล้วว่ามีกฎหมายมีกติกาเช่นนี้ในวันที่กระทำความผิด”
“เหลิม” อ้างทำตามสัญญาประชาชน
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย กล่าวว่า เมื่อช่วงหาเสียงเลือกตั้งพรรคพลังประชาชนบอกกับประชาชนว่าหากได้รับเลือกเป็นเสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาลได้ก็จะแก้ไขรัฐธรรมนญ เมื่อเราได้เป็นรัฐบาลจคึงต้องทำตามที่บอกกับประชาชนไว้
“ไม่เห็นมีอะไรตื่นเต้น ทำในสิ่งที่บอกกับประชาชนไว้ระหว่างรณรงคค์หาเสียง สื่อชอบไปถามพวกไม่มีงานทำ นานๆ ได้ออกทีวีก็แอ็ก ออกข่าวที่ก็กร่าง พูดจาว่าเหน็บแนม ผมบอกได้เลยว่า ถ้าไม่จำเป็นอย่าไปสัมภาษณ์ พวกสิ้นสภาพทางการเมือง สภาพบุคคลนับตั้งแต่คลอดเป็นทารก บุคคลเหล่านี้สภาพบุคคลยังพอมีอยู่ยังไม่ตาย แต่สภาพการเมืองหมดแล้ว รัฐธรรมนูญทั่วโลกต้องคำนึงถึงประเพณีวัฒนธรรมเป็นหลักอิงด้วย ไปเอาของต่างชาติมามากๆ เอามาไม่หมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องยุบพรรค หาสักประเทศซิ มีประเทศไหนบ้าง ส่วน กกต.ไม่มีประเทศไหนมีอำนาจมากเท่ากับประเทศไทย ผมศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ”
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ขอฝากถึง กกต.ในฐานะที่เป็นผู้พิพากษาก็ต้องระมัดระวังเรื่องการให้สัมภาษณ์บ้าง ถ้าพูดอะไรออกไปก็จะเป็นการชี้นำ ดีที่สุดต้องพูดน้อยๆ ตั้งใจทำงานไป
ถล่มพันธมิตรฯ ให้ดูเงาตัวตัวเอง
ส่วนที่ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มองพรรคพลังประชาชนว่า เห็นแก่ตัวที่เข้ามาแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อตัวเอง ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เวลามีประชาธิปไตยกลุ่มนี้เก่งนัก ตอนมีเผด็จการหายเงียบ กลุ่มนี้ไม่เคยว่าพรรคไทยรักไทยดี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายสมัคร สุนทรเวช และ ร.ต.อ.เฉลิมดี ไทยรักไทยพัฒนามาเป็นพรรคพลังประชน กลุ่มพันธมิตรฯ ยังตามมาด่า ถือเป็นเรื่องปกติ ถ้าไม่ด่าเป็นเรื่องผิดปกติ ถูกแล้ว ขอความกรุณาให้ด่าหนักๆ อย่าเลิกและอย่าหยุด เลือกตั้งรอบหน้าจะชนะอีก
“พันธมิตรฯ ไม่เคยดูเงาหัวเลยนะว่า สิ่งที่พูดมาติดคุกติดตะรางเป็นทิวแถว ไปลงเลือกตั้ง แพ้มากี่จังหวัด แพ้แล้วก็แอ็ก ออกมาบอกว่า รักประชาธิปไตย ไม่ได้ซื้อเสียง วันไหนชนะเลือกตั้งก็บอกว่า ประชาชนศรัทธา การเมืองวันนี้สบายๆ วันที่ 28 มี.ค.ผมไปทำงานที่จังหวัดนครราชสีมา ได้กำชับผู้ว่าฯ ผู้ที่เกี่ยวข้องอย่าให้ใครไปสกัดกั้นคนที่จะเข้ามาร่วมสัมมนากับกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ ม.ธรรมศาสตร์ แต่ถ้าไปจ้างคนมาขอให้เกิดความวิบัติ เพราะว่า ทำให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย”
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวอีกว่า คนที่ด่าเขาจนมีการปฏิวัติความจริงมีหรือไม่ สิ่งที่พันธมิตรฯพูดเรื่อง หมิ่นเบื้องสูง มันอับอายไหม เพราะสุดท้ายปรากฏว่า อัยการไม่ฟ้อง ตำรวจไม่ฟ้อง ในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็อยู่ต่างประเทศ บอกว่า ท่านทักษิณเดินทางกลับประเทศไทยแผ่นดินลุกเป็นไฟ มาแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม แล้วมีการแทรกแซง ที่ไหนมาถึง ก็มอบตัวกับตำรวจ ขึ้นศาลไปพิมพ์ลายนิ้วมือที่อัยการ พันธมิตรฯ มาแหกปากป่าวๆ แล้วมาทำอะไรให้บ้านเมือง อยากให้พันธมิตรฯ คิดถึงความเป็นไป ของบ้านเมืองบ้าง ถ้าพวกแน่จริงเก่งจริงตั้งพรรคสิวะ
รมว.มหาดไทย กล่าวว่า หลังจากพันธมิตรฯตั้งพรรคขอให้ออกนโยบายว่า นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นหัวหน้าพรรค เลขา ครป.อยากเป็นรัฐมนตรีต้องเป็น เลขาธิการพรรค ส่วนนายพิภพ ธงไชย นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ให้เป็นรองหัวหน้าพรรค หรือเป็นกรรมการบริหารพรรค แล้วตรวจสอบการทำงานเลย นั้นละตนจึงจะให้ความเคารพเกรงใจ แต่นี่นึกสนุกก็ออกมาด่า เคยกลับไปมองตัวพวกคุณหรือไม่
“นายสนธิกล่าวหากล่าวร้ายคนอื่น ด่า พ.ต.ท.ทักษิณ จำคุก 3 ปีไม่รอลงอาญา ด่านายภูมิธรรม หาว่าจะตั้งลัทธิใหม่ศาลสั่งจำคุก 2 ปีไม่รอลงอาญา ไปด่าป่าไม้ที่เชียงราย ศาลจำคุก 1 ปี ลด 1 ใน 4 เหลือ 9 เดือน 3 คดีที่นายสนธิถูกศาลตัดสิน 5 ปี 9 เดือน ซึ่งศาลให้ประกันตัวแต่ว่ามีเงื่อนไขไม่ให้เคลื่อนไหวทางการเมือง วันที่ 28 มี.ค.นี้ ถ้านายสนธิพูดจาหมิ่นประมาทสามารถร้องศาลได้ว่านายสนธิผิดเงื่อนไขที่ให้ไว้กับศาล ในวันชุมนุมคงไม่มีการอัดเทปให้มันเสียเทป แต่จะดูในเว็บของผู้จัดการ สุดท้ายนายสนธิจะต้องตายในคุก ตรอมใจตาย พวกคุณทำอะไรไว้กับพรรคพลังประชาชน จับใส่กุญแจมือ ยังได้ตั้ง 232 ที่นั่ง ไม่รู้สึก ไม่รู้สำนึก หลังเลือกตั้งยังด่าไม่เลิก ไม่อับอายหรือยังไงไม่รู้”
ร.ตอ.เฉลิม กล่าวว่า ขณะนี้นายสนธิไม่คุยกับตนแล้ว ทางเสือ เสือเดิน ทางหมา หมาเดิน ส่วนใครเป็นเสือใครเป็นหมานั้นไม่รู้ ถ้านายสนธิเป็นเสือ ตนก็เป็นหมา ถ้าตนเป็นเสือเขาจะเป็นอะไรก็ต้องคิดเอาเอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เท่าที่พูดคุยกันภายในเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คงจะให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ดำเนินการ โดยเบื้องต้นตนให้แนวทางกับเลขาธิการพรรคพลังประชาชนว่าควรมีการนัดหารือกับแกนนำ หรือเลขาธิการพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 6 พรรคว่ามีความเห็นสอดคล้องกันหรือไม่ หรือหากเห็นพ้องกันก็ควรจะมีการแก้ไขมาตรา 237 เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง มาตราเดียวหรือแก้ไขทั้งหมด โดยในวันนี้ (25 มี.ค.) นี้ พรรคพลังประชาชนจะประชุมเพื่อหารือถึงเรื่องดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเห็นว่าควรแก้ไขเฉพาะมาตรา 237 ประเด็นที่ให้ถือว่า กรรมการบริหารพรรคกระทำผิดให้ถือว่าพรรคการเมืองร่วมกระทำผิดด้วย ส่วนที่นายกรัฐมนตรีต้องการให้แก้ไขทั้งฉบับนั้นตรงนี้สุดแล้วแต่นายกรัฐมนตรี
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากแก้ประเด็นเดียวอาจถูกมองว่าเป็นการจุดชนวน ให้เกิด ความรุนแรงได้และเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคฝ่ายเดียว นายชูศักดิ์กล่าวว่า เข้าใจว่าเกือบทุกพรรคติดใจประเด็นการเหมาเข่งความผิดที่ระบุว่าหากใครคนใดคนหนึ่ง ทำผิดให้ถือว่าพรรคนั้นกระทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจ โดยวิถีทางที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเป็นเหตุให้ต้องมีการยุบพรรค โดยที่คนส่วนใหญ่ในพรรคไม่ได้รู้เห็นด้วย
วิปรัฐบาลมีมติแก้แค่ ม.237
วันเดียวกันมีการประชุมคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) หลังการประชุม นายชัย ชิดชอบ ประธานวิปรัฐบาล แถลงว่าที่ประชุมวิปรัฐบาลเห็นพ้งอักนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 เพื่อความเป็นธรรมให้กับ ส.ส. และพรรคการเมือง โดยจะมีการเสนอแก้ไขในเร็วๆ นี้
อย่างไรก็ดี การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องแก้ไขในหลายมาตรา แต่จะแก้ในบางเรื่อง ที่มีความจำเป็นมาก แต่มาตรา 237 ต้องเร่งทำเพราะว่าจะได้ช่วย กกต.ให้มีทางออก เพราะว่าที่ผ่านมานายสุเมธ อุปนิสากร กกต. ระบุว่าไม่มีทางออกเพราะกฎหมาย บอกให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญกรณียุบพรรค เราจึงพยายามเสนอแก้เพื่อให้กฎหมาย มีทางออก และพยายามจะแก้ไขไม่ให้กระทบต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพื่อประโยชน์ทุกพรรคการเมืองและให้เดินหน้าไปได้ และไม่ให้เกิดการแตกความสามัคคี ส่วนประเด็นมาตรา 237 จะต้องปรับเปลี่ยนถ้อยคำใดบ้างนั้น อยู่ระหว่างการศึกษาอยู่ แต่เราจะพิจารณาอย่างรอบคอบที่สุด
“ยืนยันว่าไม่ได้คิดแก้เพื่อเรื่องยุบพรรค แต่บุคคลทำผิดเขาจับบุคคล เช่น ถ้าไปหลายคนเรียกปล้นทรัพย์ แต่ถ้าไปคนเดียวอาจเรียกลักทรัพย์เท่านั้น มันมีทางออกได้ การแก้ไม่ได้หาทางออกเพื่อวันนี้วันเดียว หรือช่วยพรรคพลังประชาชน ชาติไทย หรือมัชฌิมาธิปไตย หรือแม้แต่อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย แต่เป็นการหาทางออกไว้เพื่อวันข้างหน้า ให้ กกต.ได้สามารถใช้ดุลพินิจพิจารณาว่า ยุบพรรคจะต้องมีทางออกอย่างไร”
ผู้สื่อข่าวถามว่า กังวลเกมในสภาเรื่องการแก้ไข มาตรา 237 หรือไม่ นายชัย กล่าวว่า ไม่น่าจะหนักใจ ไม่ใช่เพราะเสียงเรามาก แต่เพราะเราไม่ได้ทำเฉพาะว่าจะมีการยุบพรรคพลังประชาชน เพราะดูแล้วน่าจะยุบกันก่อน เพราะเหตุการณ์บ้านเมือง เดี๋ยวกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะออกมาอีก จะอยู่ได้อีกสักกี่วันก็ไม่รู้ผู้แทนฯ
ค้านแนวคิด “สมัคร” ทำประชามติ
นายสามารถ แก้วมีชัย เลขานุการวิปรัฐบาล กล่าวว่า ต้องศึกษาประเด็นอื่น ที่อาจมีการแก้ไขอีก คือ มาตรา190 ที่ยังเป็นอุปสรรค คือตามที่ระบุว่าสัญญาต่างๆ ที่ต้องไปทำแล้วมีผลผูกพันด้านการค้าการลงทุนหรืองบประมาณของประเทศ ต้องให้ ครม.จัดทำประชาพิจารณ์จากนั้นนำเข้ารัฐสภา รวมทั้งมาตรา266 ที่ห้ามไม่ให้ส.ส. และส.ว. ไปก้าวก่ายกับข้าราชการประจำทั้งทางตรงทางอ้อม เพื่อประโยชน์ของตน ของพรรค หรือผู้ใด แต่คำนี้ในรัฐธรรมนูญไม่ได้นิยามว่าหมายถึงอะไร ซึ่งอาจส่งผล ไปยัง ส.ส., ส.ว. ที่ต้องการช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน ถ้าประสานงานไปยังอบต. ก็ทำไม่ได้ เพราะอาจเข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญและมีโทษถึงอาจสิ้นสภาพส.ส.ด้วย
นายสามารถ กล่าวว่า การแก้รัฐธรรมนูญไม่จำเป็นต้องทำประชามติตามที่ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เสนอเพราะการแก้รัฐธรรมนูญนั้นในรัฐธรรมนูญ บัญญัติช่องทางไว้หลากหลาย อาทิ ให้ครม.สามารถเสนอ หรือ ส.ส.บวก ส.ว. หรือประชาชนเสนอ 5 หมื่นชื่อ ทั้งนี้โดยข้อเท็จจริงการไปทำประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญนั้น ส่วนใหญ่พี่น้องประชาชนก็ไม่ได้ให้ความสนใจที่จะไปใช้สิทธิ์ เหมือนการทำประชามติ ครั้งที่ผ่านมา เพราะคนที่สนใจจะเป็นคนกลุ่มหนึ่ง ส่วนอีกกลุ่มก็มองว่าเป็นภาระของเขา
“เราจะใช้ช่องทาง ส.ส. 1 ใน 5 ของ 480 คือ 96 คน แต่เวลาเสนอเข้าสู่สภาจะไม่ใช่เฉพาะส.ส. ต้องมี ส.ว.มาด้วย โดยรับหลักการวาระที่ 1 ต้องไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งคือ 315 คน ของสองสภา ซึ่งใช้วิธีลงคะแนนแบบเปิดเผยโดยการขานชื่อซึ่งต้องได้ กึ่งหนึ่งคือ 315 ส่วนการพิจารณาวาระสองใช้เสียงข้างมากธรรมดา และวาระ 3 ต้องมากกว่ากึ่งหนึ่ง คือ มากกว่า 316 ขึ้นไป”
นายสามารถ กล่าวว่า ทุกพรรคร่วมรัฐบาล จะคุยกันในที่ประชุมของแต่ละพรรค ในวันนี้ (25 มี.ค.) และจะนำข้อหารือในพรรคเข้าที่ประชุมวิปอีกรอบ และคาดว่า ในวันจันทร์ที่ 31 มี.ค. คงจะนำเข้าสู่ที่ประชุมวิปรัฐบาลเพื่อหาข้อยุติ
พปช.เมินมติวิปประกาศรื้อยกพวง
ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน เปิดเผยว่าในการประชุมพรรคพลังประชาชน วันนี้ (25 มี.ค.) จะมีการหยิบยกประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญ มาหารือโดยจะมีหยิบยกหลายมาตราที่ยังเป็นปัญหามาพิจารณาด้วย อาทิ มาตรา190 และมาตรา 265-266 รวมทั้งการเลือกตั้งแบบเขตเดียว 3 เบอร์ และที่มาของ ส.ว. ทั้งนี้ การพิจารณาจะยึดตามแนวทางที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ได้วางไว้คือจะยึดรัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นหลัก ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในส่วนไหนที่ดีแล้วก็จะคงไว้ อย่างเช่นเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน
ผู้สื่อข่าวถามว่า แนวโน้มการแก้ รธน.มาตรา 237 ต่อไปจะเป็นลักษณะหากผู้ใดกระทำผิดจะไม่โยงมาถึงจนเป็นเหตุให้พรรคถูกยุบหรือไม่ ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า คงจะเป็นอย่างนั้น เพราะว่ามาตราดังกล่าวในปัจจุบันไม่ได้เปิดทางให้พรรคการเมือง ที่ผิดต้องไม่ได้รับโทษ ซึ่งการยุบพรรคควรมีหลักเกณฑ์มากกว่านี้ ไม่ใช่เมื่อกรรมการบริหารพรรคผิดแล้วต้องยุบพรรค เขียนอย่างนี้มันตายตัวไปขัดหลักยุติธรรม เพราะฉะนั้นการเขียนที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันต้องมีหลักเกณฑ์มากกว่านี้ ไม่ใช่ใช้หลักด้วนๆ อย่างนี้ มันผิดกฎหมาย
ส่วนจะมีการหยิบยกเรื่องบทบาทหน้าที่องคมนตรีมาพิจารณาด้วยหรือไม่ ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า คงไม่ หมวดไหนดีอยู่แล้วก็จะไม่ยุ่ง แต่เราจะพิจารณาเฉพาะประเด็นการเมืองเท่านั้น
ขณะที่ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงหลังทราบมติที่ประชุมวิปรัฐบาลว่าการแก้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องแก้ทั้งฉบับและตนขอเสนอแนวคิดของนายกรัฐมนตรีเป็นเบื้องต้น คือคงหมวด 1 ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ส่วนที่เหลือ ให้นำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาเทียบเคียงและปรับแก้ให้ตรงตามข้อเท็จจริง ไม่ควรแก้ประเด็นใดประเด็นหนึ่งแม้ประเด็นดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับการยุบ หรือไม่ยุบพรรคการเมือง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การแถลงครั้งนี้ถือเป็นมติของรัฐบาลใช่หรือไม่ นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ได้มีการพูดคุยกันหลายฝ่ายและมีการหารือกันแล้ว ซึ่งตนได้พูดคุยกับรัฐมนตรีและ ส.ส.หลายท่าน เมื่อถามว่าวิปรัฐบาลได้ออกมาแถลงว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรา 237 เพียงมาตราเดียวจะขัดแย้งกันเองหรือไม่ นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ไม่ใช่เป็นการขัดแย้งแต่ต้องหารือกันซึ่งถือว่าข้อเสนอของวิปยังไม่ใช่ข้อสรุปในทันที
“เพื่อแผ่นดิน” ค้านแก้ รธน.ม.237
นายโสภณ เพชรสว่าง คณะทำงานการเมืองพรรคเพื่อแผ่นดิน กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 เพียงประเด็นเดียว เพื่อหนีคดียุบพรรค เพราะมาตรานี้มีไว้เพื่อป้องปรามการกระทำผิดของผู้สมัครเลือกตั้งที่เป็นกรรมการบริหารพรรคว่าความผิดทุจริตที่ก่อไว้ถึงขั้นยุบพรรค ถ้าไม่มีมาตรานี้ บรรดาหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค หรือนักการเมืองที่มีอำนาจเงินมากๆ จะไม่เกรงกลัว ย่ามใจ คิดว่าทุ่มเงินซื้อเสียงมาก็จะได้ที่นั่ง ส.ส.
“การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นควรพิจารณาอย่างรอบคอบ และคุยกันให้ตกผลึก จริงๆ เพราะมีอีกหลายประเด็นที่ส่งผลกระทบกับนักการเมืองและประชาชนอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นเขตเลือกตั้งแบบ 3 คนต่อ 1 เขต ที่ควรกลับมาสู่เขตเดียวเบอร์เดียวแบบ 400 คน 400 เขต จะทำให้ประชาชนรู้จักส.ส.ได้มากกว่า สามารถชี้แจงนโยบาย ให้ประชาชนรับรู้อย่างทั่วถึง หรือ ส.ว.ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และควรมีจำนวน 200 คนเหมือนรัฐธรรมนูญฉบับ 40”
นายไชยยศ จิรเมธากร โฆษกพรรคเพื่อแผ่นดิน กล่าวว่าพรรคเพื่อแผ่นดิน จะหารือเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันนี้ (25 มี.ค.) เวลา 14.00 น. ในการประชุมกรรมการบริหารพรรค อย่างไรก็ตามยืนยันว่า กฎหมายในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมอดีตกรรมการพรรคไทยรักไทยทั้ง 111 คน พรรคเพื่อแผ่นดินจะไม่แก้ไขอย่างแน่นอน แม้จะมีแกนนำพรรคหลายคนติดอยู่ก็ตาม เพราะเรื่องนี้ พรรคเพื่อแผ่นดินได้ยืนยันไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว
คมช.เตือนรัฐบาลอย่าแก้ รธน.เพื่อตัวเอง
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผบ.ทอ.และอดีตรักษาการประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กล่าวว่ารัฐธรรมนูญสามารถแก้ได้ แต่ที่สำคัญหากแก้ไข ต้องทำเพื่อประชาขนส่วนใหญ่และเพื่อชาติ ไม่ใช่เพื่อกลุ่มคนเล็กๆ เพื่อให้ดำเนินการต่างๆ ได้
“ผมยังไม่มองว่าเป็นการแก้เพื่อประโยชน์ใคร เพื่อใคร แต่ประชาชนต้องติดตาม หากแก้เพื่อประโยชน์ภาพรวมในการพัฒนาประชาธิปไตยก็สามารถทำได้ แต่หากทำเพื่อคนกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ประชาชนทุกคนมีสิทธิทักท้วงและเสนอแนะ อย่างไรก็ตามเราเพิ่มใช้รัฐธรรมนูญมาไม่นาน ต้องดูว่าเหมาะสมหรือไม่ ส่วนการเคลื่อนไหวคัดค้าน หากให้คำตอบประชาชนได้ก็สมควร แต่หากให้คำตอบประชาชนไม่ได้ก็ไม่เหมาะสม”
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลไม่ทำประชาพิจารณ์แก้รัฐธรรมนูญถือเป็นข้อเสนอของ ประชาชนได้อย่างไร พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า หากประชาชนในประเทศบอกว่าควรทำประชาพิจารณ์ก็ต้องทำ ไม่ใช่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งสั่งการให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนการเสนอแก้มาตรา 237 นั้นตนยังไม่มีความเห็น
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการอ้างว่าหากมีการยุบพรรคจะทำให้รัฐบาลบริหารงานไม่ได้ แล้วประเทศชาติจะเป็นอย่างไร พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ประเทศไทยไม่สิ้นคนดี เรามีประชากรถึง 60 กว่าล้านคน และเมื่อยุบพรรคแล้วก็สามารถตั้งขึ้นใหม่ได้
ส่วนที่มีคนมองว่า คมช. อยู่เบื้องหลังการเมืองขณะนี้นั้น พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า คมช.จบไปนานแล้ว ทั้งนี้ ไม่รู้ว่าเหตุใดจึงกลัวการยุบพรรค เพราะเป็นเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมาย และ คมช. ไม่ต้องการยุบใคร กฎหมายที่ปฏิบัติใช้ก็ไม่ได้จ้องเอาผิด พรรคใด แต่เมื่อมีกลุ่มคนทำผิดกฎหมายก็ต้องถูกดำเนินคดี ยืนยันว่า คมช. ไม่ได้อยู่เบื้องหลัง ซึ่ง กกต. ,ป.ป.ช. .ปปง. และ คตส.เป็นคนที่มีคุณวุฒิ อายุขนาดนี้ ไม่มีใครบังคับท่านได้ ยังไม่เห็นมีใครไปบังคับท่านได้ บางครั้งคนเราไม่โทษตัวเอง แต่โทษคนอื่น
“มาร์ค” ไม่เห็นด้วยตัดประเด็นยุบพรรค
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้มีปัญหาหากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการจะเริ่มต้นอย่างไร ซึ่งพรรคยืนยันว่าอยากให้เปิดกว้างให้ประชาชนและฝ่ายต่างๆ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และหลักการที่สำคัญคือ ความมุ่งหมาย ในการแก้ไขต้องเป็นไปเพื่อให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นและบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีมาตั้งแต่วันลงประชามติแล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่า แก้มาตราไหน และแก้เพื่อใคร ซึ่งหากเป็นการแก้มาตราที่เป็นปัญหาเพื่อประโยชน์ของ ส่วนรวมก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าแก้เพราะมีวาระแอบแฝงทางการเมืองก็ไม่เหมาะสม
“ผำนการแก้ไขหากตัดประเด็นการยุบพรรคการเมืองออกไป คงไม่เหมาะสม เพราะขณะนี้กำลังพูดถึงกฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้ ไม่ได้มีการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมา และความจริงคดีทุจริตเลือกตั้งก็ยังไม่ได้เดินหน้า ไปถึงขั้นข้อสรุปว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ และต้องไม่ลืมว่าคดีเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้น มาลอย ๆ คนที่กระทำผิดก็รู้อยู่แล้วว่ามีกฎหมายมีกติกาเช่นนี้ในวันที่กระทำความผิด”
“เหลิม” อ้างทำตามสัญญาประชาชน
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย กล่าวว่า เมื่อช่วงหาเสียงเลือกตั้งพรรคพลังประชาชนบอกกับประชาชนว่าหากได้รับเลือกเป็นเสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาลได้ก็จะแก้ไขรัฐธรรมนญ เมื่อเราได้เป็นรัฐบาลจคึงต้องทำตามที่บอกกับประชาชนไว้
“ไม่เห็นมีอะไรตื่นเต้น ทำในสิ่งที่บอกกับประชาชนไว้ระหว่างรณรงคค์หาเสียง สื่อชอบไปถามพวกไม่มีงานทำ นานๆ ได้ออกทีวีก็แอ็ก ออกข่าวที่ก็กร่าง พูดจาว่าเหน็บแนม ผมบอกได้เลยว่า ถ้าไม่จำเป็นอย่าไปสัมภาษณ์ พวกสิ้นสภาพทางการเมือง สภาพบุคคลนับตั้งแต่คลอดเป็นทารก บุคคลเหล่านี้สภาพบุคคลยังพอมีอยู่ยังไม่ตาย แต่สภาพการเมืองหมดแล้ว รัฐธรรมนูญทั่วโลกต้องคำนึงถึงประเพณีวัฒนธรรมเป็นหลักอิงด้วย ไปเอาของต่างชาติมามากๆ เอามาไม่หมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องยุบพรรค หาสักประเทศซิ มีประเทศไหนบ้าง ส่วน กกต.ไม่มีประเทศไหนมีอำนาจมากเท่ากับประเทศไทย ผมศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ”
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ขอฝากถึง กกต.ในฐานะที่เป็นผู้พิพากษาก็ต้องระมัดระวังเรื่องการให้สัมภาษณ์บ้าง ถ้าพูดอะไรออกไปก็จะเป็นการชี้นำ ดีที่สุดต้องพูดน้อยๆ ตั้งใจทำงานไป
ถล่มพันธมิตรฯ ให้ดูเงาตัวตัวเอง
ส่วนที่ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มองพรรคพลังประชาชนว่า เห็นแก่ตัวที่เข้ามาแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อตัวเอง ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เวลามีประชาธิปไตยกลุ่มนี้เก่งนัก ตอนมีเผด็จการหายเงียบ กลุ่มนี้ไม่เคยว่าพรรคไทยรักไทยดี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายสมัคร สุนทรเวช และ ร.ต.อ.เฉลิมดี ไทยรักไทยพัฒนามาเป็นพรรคพลังประชน กลุ่มพันธมิตรฯ ยังตามมาด่า ถือเป็นเรื่องปกติ ถ้าไม่ด่าเป็นเรื่องผิดปกติ ถูกแล้ว ขอความกรุณาให้ด่าหนักๆ อย่าเลิกและอย่าหยุด เลือกตั้งรอบหน้าจะชนะอีก
“พันธมิตรฯ ไม่เคยดูเงาหัวเลยนะว่า สิ่งที่พูดมาติดคุกติดตะรางเป็นทิวแถว ไปลงเลือกตั้ง แพ้มากี่จังหวัด แพ้แล้วก็แอ็ก ออกมาบอกว่า รักประชาธิปไตย ไม่ได้ซื้อเสียง วันไหนชนะเลือกตั้งก็บอกว่า ประชาชนศรัทธา การเมืองวันนี้สบายๆ วันที่ 28 มี.ค.ผมไปทำงานที่จังหวัดนครราชสีมา ได้กำชับผู้ว่าฯ ผู้ที่เกี่ยวข้องอย่าให้ใครไปสกัดกั้นคนที่จะเข้ามาร่วมสัมมนากับกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ ม.ธรรมศาสตร์ แต่ถ้าไปจ้างคนมาขอให้เกิดความวิบัติ เพราะว่า ทำให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย”
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวอีกว่า คนที่ด่าเขาจนมีการปฏิวัติความจริงมีหรือไม่ สิ่งที่พันธมิตรฯพูดเรื่อง หมิ่นเบื้องสูง มันอับอายไหม เพราะสุดท้ายปรากฏว่า อัยการไม่ฟ้อง ตำรวจไม่ฟ้อง ในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็อยู่ต่างประเทศ บอกว่า ท่านทักษิณเดินทางกลับประเทศไทยแผ่นดินลุกเป็นไฟ มาแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม แล้วมีการแทรกแซง ที่ไหนมาถึง ก็มอบตัวกับตำรวจ ขึ้นศาลไปพิมพ์ลายนิ้วมือที่อัยการ พันธมิตรฯ มาแหกปากป่าวๆ แล้วมาทำอะไรให้บ้านเมือง อยากให้พันธมิตรฯ คิดถึงความเป็นไป ของบ้านเมืองบ้าง ถ้าพวกแน่จริงเก่งจริงตั้งพรรคสิวะ
รมว.มหาดไทย กล่าวว่า หลังจากพันธมิตรฯตั้งพรรคขอให้ออกนโยบายว่า นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นหัวหน้าพรรค เลขา ครป.อยากเป็นรัฐมนตรีต้องเป็น เลขาธิการพรรค ส่วนนายพิภพ ธงไชย นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ให้เป็นรองหัวหน้าพรรค หรือเป็นกรรมการบริหารพรรค แล้วตรวจสอบการทำงานเลย นั้นละตนจึงจะให้ความเคารพเกรงใจ แต่นี่นึกสนุกก็ออกมาด่า เคยกลับไปมองตัวพวกคุณหรือไม่
“นายสนธิกล่าวหากล่าวร้ายคนอื่น ด่า พ.ต.ท.ทักษิณ จำคุก 3 ปีไม่รอลงอาญา ด่านายภูมิธรรม หาว่าจะตั้งลัทธิใหม่ศาลสั่งจำคุก 2 ปีไม่รอลงอาญา ไปด่าป่าไม้ที่เชียงราย ศาลจำคุก 1 ปี ลด 1 ใน 4 เหลือ 9 เดือน 3 คดีที่นายสนธิถูกศาลตัดสิน 5 ปี 9 เดือน ซึ่งศาลให้ประกันตัวแต่ว่ามีเงื่อนไขไม่ให้เคลื่อนไหวทางการเมือง วันที่ 28 มี.ค.นี้ ถ้านายสนธิพูดจาหมิ่นประมาทสามารถร้องศาลได้ว่านายสนธิผิดเงื่อนไขที่ให้ไว้กับศาล ในวันชุมนุมคงไม่มีการอัดเทปให้มันเสียเทป แต่จะดูในเว็บของผู้จัดการ สุดท้ายนายสนธิจะต้องตายในคุก ตรอมใจตาย พวกคุณทำอะไรไว้กับพรรคพลังประชาชน จับใส่กุญแจมือ ยังได้ตั้ง 232 ที่นั่ง ไม่รู้สึก ไม่รู้สำนึก หลังเลือกตั้งยังด่าไม่เลิก ไม่อับอายหรือยังไงไม่รู้”
ร.ตอ.เฉลิม กล่าวว่า ขณะนี้นายสนธิไม่คุยกับตนแล้ว ทางเสือ เสือเดิน ทางหมา หมาเดิน ส่วนใครเป็นเสือใครเป็นหมานั้นไม่รู้ ถ้านายสนธิเป็นเสือ ตนก็เป็นหมา ถ้าตนเป็นเสือเขาจะเป็นอะไรก็ต้องคิดเอาเอง